“การสร้างองค์กรต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ” จัดโดย สำนักงาน ปปช. สรุปและนำเสนอโดย ภญ.ธีรารัตน์ สุวรรณาลัย
“ เศรษฐกิจพอเพียงกับการป้องกันทุจริต” โดย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ โดย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” พระปฐมบรมราชโองการที่ว่า... “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓
ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้หลัก ทศพิธราชธรรมในการปกครอง ๑.ทาน :การให้วัตถุทานและธรรมทาน ๒.ศีล :ความประพฤติดีงาม ๓.ปริจจาคะ :สละของเล็กเพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า ๔.อาชชวะ :ความซื่อตรง ๕.มัททวะ :ความอ่อนโยนทั้งกายและใจ ๖.ตปะ :ความบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง ๗.อักโกธะ :ความไม่โกรธ ๘.อวิหิงสา :ความไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ๙.ขันติ :ความอดทน ขันติธรรม ๑๐.อวิโรธนะ :ความไม่ประพฤติผิดธรรม
พระราชทาน วันที่ ๔ ธันวาคม ๑๕๔๑ พระบรมราโชวาท พระราชทาน วันที่ ๔ ธันวาคม ๑๕๔๑ “คนเราถ้าพอใจในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนน้อย ถ้ามีความคิดอันนี้ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”
หน่วยงานภาครัฐ ความสุขของผู้ป่วย /ประชาชน/ ชุมชน /สังคม ความสุขในองค์กรและคนในองค์กร ความสุขของผู้ป่วย /ประชาชน/ ชุมชน /สังคม
คนในองค์กร มีมาตรฐานความประพฤติ (ศีล) เพื่อลดความอยาก พอดีในคำพูด พอดีในการปฏิบัติ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ – สมาธิ เจริญสติ(อินทรีย์สังวร) มีหิริโอตะปะ(ละอายเกรงกลัวต่อบาป) รักษาตัวเราให้มีเศรษฐกิจที่สามารถให้ตนเองอยู่ได้ ครอบครัวอยู่ได้ (ควบคุมรายจ่าย,ลดหนี้ –ใช้ปัญญา) พิจารณาคุณค่าแท้ –คุณค่าเทียม (ใช้ในสิ่งที่จำเป็น) ใช้จ่ายให้พอดีกับรายได้
องค์กรพอเพียง บริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาล หลักนิติธรรม – ระเบียบ กฎหมาย หลักคุณธรรม – พรหมวิหาร๔ ฆาราวาสธรรม หลักความโปร่งใส - ตรวจสอบได้ หลักความรับผิดชอบร่วมกัน หลักการมีส่วนร่วม – สามัคคีธรรม สาธารณีธรรม หลักความคุ้มค่า – ประสิทธิภาพ คุ้มค่าสูงสุด พอเพียง
องค์กรพอเพียง ผู้บังคับบัญชา ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ) ผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักฆาราวาสธรรม๔ ( สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ )
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความเข้าใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง คุณ สายเมือง วิชัยศิริ รองเลขาธิการ สำนักงานกปร (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทฤษฎี แต่เป็นหลักการทรงงานของในหลวง เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นกิจกรรมหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริของในหลวง
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด... พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่เราอยู่ อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้... พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแต่พระพุทธศักราช 2517
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน”
องค์ประกอบ 3 ห่วง หมายถึง องค์ประกอบหลัก 3 ประการของความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ก) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
องค์ประกอบ 3 ห่วง หมายถึง องค์ประกอบหลัก 3 ประการของความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ข) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
องค์ประกอบ 3 ห่วง หมายถึง องค์ประกอบหลัก 3 ประการของความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ค) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
องค์ประกอบ 2 เงื่อน หมายถึง เงื่อนไขอันเป็นพื้นฐานในการคิดตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงประกอบด้วย 2 เงื่อนไขได้แก่ ก) คุณธรรม ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
องค์ประกอบ 2 เงื่อน หมายถึง เงื่อนไขอันเป็นพื้นฐานในการคิดตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงประกอบด้วย 2 เงื่อนไขได้แก่ ข) ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
องค์ประกอบ 4 ผลลัพธ์ หมายถึงผลที่เกิดขึ้นเมื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประกอบด้วย 4 ประการได้แก่ ความสมดุล ความมั่นคง ความสุขและความยั่งยืน
องค์ประกอบ 5 ระดับ หมายถึง แวดวงที่สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย 5 ระดับได้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับเศรษฐกิจ ระดับสังคม และระดับสิ่งแวดล้อม
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ (๑) เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ (๒) เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง (๓) จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ (๔) ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อ การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน (๕) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และดำเนินการ ทุกขั้นตอน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ (๖) จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
การดำเนินงาน ตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหน่วยงานภาครัฐ
พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ “ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดินจะต้องรู้ตระหนักแน่ในการสละอันได้แก่ การสละสำคัญสองประการ คือ สละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ยิ่งใหญ่และเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง กับสละความคิดจิตใจที่ต่ำทรามต่าง ๆ อีกประการหนึ่งจึงจะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนทั้งปวง และสามารถดำรงตำแหน่งหน้าที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีความเจริญมั่นคงตลอดไป” พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
กระบวนทัศนการพัฒนา 1.คนเป็นตัวตั้ง-คนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับผลของการพัฒนา 2.ปัจจัยการดำเนินชีวิตของคนทุกระดับต้องดำเนินไปในทางสายกลาง 3.การบริหารงานเป็นลักษณะ องค์รวมแบบบูรณาการ(มีจุดมุ่งหมายร่วมในการดำเนินการ Common Global ) 4.ใช้พลังทางสังคมมามีส่วนร่วมที่จะช่วยกันขับเคลื่อนปรัชญา
เป้าหมายสุดท้ายของเศรษฐกิจพอเพียง คือความสุขหรือประโยชน์สุข หมายถึง การมองที่ผลลัพธ์ของการพัฒนา จะต้องไม่เกิดความขัดแย้ง
สวัสดี พอเพียง เพื่อเพียงพอ ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน