ข้อสังเกตและข้อผิดพลาด ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ข้อสังเกต Datastore ใน DFD Level 0 ขึ้นไป มันก็คือ entity ที่เกิดใน E-R Diagram Datastore ใด เกิดจาก process ที่มี input จาก External Entity จะถูกแปลงไปเป็น strong entity ใน E-R Datastore ใด เกิดจาก process ที่มี input จาก datastore อื่นๆ แสดงว่า datastore นั้น เมื่อถูกแปลงไปเป็น entity ใน E-R จะต้องมีความสัมพันธ์กับ entity ที่ถูกแปลงมาจาก datastore ที่เป็น input นั้น (เช่น datastore C สร้างจาก process ที่มี input จาก datastore A และ datastore B เมื่อแปลงไปเป็น E-R จะ ได้ entity A, B, C โดยที่ entity C จะต้องมีความสัมพันธ์กับ entity B และ A)
ข้อผิดพลาดที่พบในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การเขียน Context Diagram และ Data Flow Diagram ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ การสร้างบาง process ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบหรือเกี่ยวข้องทางอ้อม การเขียน E-R Diagram ไม่สอดคล้องกับ DFD Table ที่กำหนด ไม่สอดคล้องกับ entity ใน E-R การออกแบบ Input form ควรมีมากกว่าหรือเท่ากับ process ใน DFD การออกแบบ output form ต้องออกแบบว่าแต่ละรายงาน มีรายละเอียด อะไร เพื่อจะได้ทราบว่า ต้อง input มาจากแหล่งเก็บใด
การเขียน DFD ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 1. กระแสข้อมูลออกจาก data store และวิ่งไปยัง external Entity โดยไม่ผ่าน process พนักงาน ข้อมูลการจอง 2. ชื่อของกระแสข้อมูลไม่สอดคล้องกับ process หรือ Data store ข้อมูลลูกค้า จัดการข้อมูล ห้องพัก ข้อมูลห้องพัก
การเขียน DFD ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 3. เขียนโดยมี External Entity เกิดขึ้นหลายครั้งในระบบ ทั้งๆ ที่สามารถเขียนให้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวได้ 4. ตำแหน่งของ external entity ในContext diagram และ DFD ควรอยู่ตำแหน่งเดียวกัน หรือตำแหน่งใกล้เคียงกัน 5. กระแสข้อมูลที่เข้า-ออก ระหว่าง process กับ external Entity ของ context diagram และ DFD ควร สอดคล้องกัน
การเขียน E-R DIAGRAM ควรยึดตาม Data store ที่เกิดตอนเขียน DFD (นั่นคือ entity จะมาจาก data store ใน DFD) Data store บางตัวใน DFD จะเกิดจากความสัมพันธ์ ระหว่าง entity ที่เป็นแบบ M:N
การ mapping ตารางจาก E-R พบว่า ตารางที่นักศึกษาออกแบบ ไม่สอดคล้องกับ E-R เนื่องจากตามหลักการแล้ว entity ใน E-R จะกลายไปเป็น table ในฐานข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่าง entity ที่เป็นแบบ M:N จะกลาย ไปเป็น table หนึ่งในฐานข้อมูล