การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อมูลทั่วไป คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไป ตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) สังกัด : กระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ : นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ กรรมการผู้แทน กค. : นางเสาวนีย์ กมลบุตร Website : http://www.pwa.co.th โทร. 0 2551 8528-9 ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้ว่าการ (CEO) : นายวิเศษ ชำนาญวงษ์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 19 พ.ค. 52 ระยะเวลาจ้าง : 19 พ.ค. 52 – 7 พ.ย. 54 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก (รองผู้ว่าการ(ปฏิบัติการ 3) การประปาส่วนภูมิภาค) รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ ประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปาโดยการสำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่ง น้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปารวมทั้งการดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การให้บริการสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ ((ม. 5 ดู ม. 7 ประกอบ) กปภ. มีอำนาจดำเนินการเพื่อจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่ซึ่งอยู่นอกเขตที่การประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการ แต่ กปภ. อาจดำเนินการจำหน่ายน้ำประปาในเขตที่การประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการประปานครหลวง (ม. 8) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 6,351 คน (31 พ.ค 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมอนามัย ผู้ว่าการ กรรมการอื่นอีกไม่เกิน 7 คน ผู้ว่าการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ (ม.12) วาระการดำรงตำแหน่ง : 3 ปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน การแต่งตั้งกรรมการอื่น ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการ ด้วยความเห็นชอบของ ครม. (ม.19) ผู้ว่าการอาจพ้นจากตำแหน่งโดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยความเห็นชอบจาก ครม. (ม. 21 (3)) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ (ม.14) ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ต้อง (1) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง (2) ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ผู้ว่าการ ต้องไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (ม.20 (1)) ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ทรัพย์สินของ กปภ. ซึ่งใช้หรือจะใช้ในการดำเนินการเพื่อประสิทธิภาพแห่งระบบการประปา ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม.11) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม.28) อำนาจใช้สอยหรือเข้าครองครองอสังหาริมทรัพย์ภายใต้เงื่อนไข (ม. 29) อำนาจเดินท่อและติดตั้งอุปกรณ์ผ่านที่ดินของบุคคลใดๆ (ม. 30) อำนาจรื้อถอนทำลายสิ่งที่เป็นอันตรายหรืออุปสรรคต่อการผลิต ส่ง จำหน่ายน้ำประปา (ม. 31) อำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของผู้อื่น (ม. 32) อำนาจในการได้อสังหาริมทรัพย์มาเพื่อใช้ในการวางหรือจัดสร้างระบบการผลิต ส่ง จำหน่ายน้ำประปา (ม.33) ปัจจุบันมีโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนดำเนินการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา ปทุมธานี – รังสิต (BOOT) อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการตาม ม. 22 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สิทธิในการให้บริการประปาภายในตัวอาคารที่เป็นงานการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแก่ส่วนราชการ โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และดำเนินการได้โดยวิธีพิเศษ(ตาม มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 ธ.ค. 2522 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 209 ลว 14 ธ.ค. 22) สิทธิในการให้บริการภายนอกตัวอาคาร โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และดำเนินการได้โดยวิธีพิเศษ(ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 171 ลว 25 ก.ย.23) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวยสวดี นิลคูหา โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6721 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เลขเสร็จที่ 80/2546 สัญญานี้ กปภ. ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทประปาฉะเชิงเทรา จำกัดโดยไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ เนื่องจากเงื่อนไขสัญญาที่ให้เอกชนผลิตน้ำประปาเพื่อขายให้แก่สำนักงานประปาของ กปภ. ดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการที่บริษัทฯ ได้ ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในตัวเงินและ กปภ. ก็มิได้รับเงินจำนวนใดๆ จากบริษัทฯ อันเนื่องมาจากการดำเนินการลดน้ำสูญเสียหรือการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ รวมทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการแปลงหนี้อื่นมาเป็นหนี้เงินกู้ แต่มีลักษณะทำนองเดียวกับการออกเงินทดรองให้ก่อนตามที่อีกฝ่ายหนึ่งร้องขอ จึงถือไม่ได้ว่า กปภ. กู้ยืมเงินจากบริษัทฯ ตามมาตรา 650 แห่ง ปพพ. ดังนั้น เมื่อไม่เป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่ต้องด้วย ม. 48 (2) แห่ง พรบ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ต้องขอความเห็นชอบจาก ครม.