แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ชุติมณฑ์ บุญมาก
แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
แนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล Semantic Model อี-อาร์โมเดล
แนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล Semantic Model เป็นแบบจำลองข้อมูลที่กล่าวถึงแนวคิดหรือความหมายของคำต่างๆ คือ Entity หมายถึง สิ่งที่สนใจสามารถระบุได้ในความเป็นจริง และต้องการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นๆด้วย Property หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของ Entity Property ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละ Entity เรียกว่า Identity Relation หมายถึง Entity Typeที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 Entity Typeขึ้นไป Subtype
แนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อี-อาร์โมเดล (Entity-Relationship Model) เป็นแบบจำลองข้อมูลซึ่งแสดงถึงโครงสร้างของฐานข้อมูล สัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในอี-อาร์โมเดลเรียกว่า อี-อาร์ไดอะแกรม Entity ใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า Property ใช้สัญลักษณ์รูปวงรี Relation ใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และเชื่อมต่อ Entity อื่นด้วยเส้นตรง SubType และ SuperType
อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล ปัญหาจากการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล การแปลงฐานข้อมูลที่ออกแบบด้วยอี-อาร์โมเดลเป็น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ศึกษารายละเอียดและลักษณะหน้าที่งานของระบบ กำหนด Entity ที่ควรมีในระบบฐานข้อมูล กำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง Entity กำหนดคุณลักษณะของ Entity กำหนดคีย์หลักของแต่ละ Entity นำสัญลักษณ์ที่ใช้ในอี-อาร์โมเดลมาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ปัญหาจากการออกแบบฐานข้อมูลด้วยอี-อาร์โมเดล Fan Trap เป็นปัญหาที่เกิดจากลักษณะการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง Entity Chasm Trap เป็นปัญหาที่เกิดจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลไม่ได้
อี-อาร์โมเดลกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การแปลงฐานข้อมูลที่ออกแบบด้วยอี-อาร์โมเดลเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีขั้นตอนดังนี้ แปลงเอนติทีให้เป็นรีเลชัน และแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน แปลงรายละเอียดของเอนทิตีให้เป็นแอททริบิวต์ของรีเลชันและกำหนดคีย์ต่างๆให้แก่รีเลชัน การพิจารณาเค้าร่างข้อมูลของแต่ละรีเลชันที่ได้จาก 2 ขั้นตอนแรก