พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ. ศ.2537
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ดังต่อไปนี้ มาตราที่ 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ.2537 ”
มาตราที่ 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เป็นต้นไป
มาตราที่ 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ. 2521
มาตราที่ 4 ในพระราชบัญญัตินี้ได้ให้นิยามของคำต่างๆ ดังนี้ “ ผู้สร้างสรรค์ ” หมายถึง ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ ลิขสิทธิ์ ” หมายถึง สิทธิแต่ เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตาม พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้ สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
“ วรรณกรรม ” หมายถึง งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
มาตราที่ 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่น ในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้ สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าว จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
บทสรุป พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ. 2537
1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ ประเภทวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนศึกษา ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะ แสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบใด 2. เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสื่อบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น และอนุญาติให้ผู้อื่นให้สิทธิดังกล่าวข้างต้นได้
3. อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ให้มีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย 4. การละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยมิได้อนุญาต ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือการเผยแพร่ต่อสาธารณชน 5. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่ การกระทำดังต่อไปนี้ คือ - ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏขึ้น เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจทางกฎหมาย - ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ของตนเอง - ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการบัญญัติถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น - เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
คำ พิพากษาฎีกาที่ 954/2536 ความผิดตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ มาตรา 27 คดีจะต้องได้ความว่างานที่เป็นลิขสิทธิ์ ของโจทก์ และจำเลยมีส่วน เกี่ยวข้อง เช่น ให้เช่า เสนอให้เช่า หรือนำออก โฆษณานั้น จะต้องเป็นงานที่ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่ คดีนี้ไม่ได้ความว่าม้วนเทปของ กลางได้ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงหรือไม่ ทั้งฏีกา โจทก์ก็มิได้ยืนยันความดังกล่าว กลับกล่าวอ้างว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ ของโจทก์ จำเลยนำให้เช่า เสนอให้ เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น คดีนี้ต้องฟังว่า ม้วนเทปของกลางมิได้ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามมาตรา 27