คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท นายอนันต์ นาคนิยม ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง โทร. 0-2629-8307-14 ต่อ 502-505
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท กระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ยุติธรรมทางเลือกหรือการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) คือ กระบวนการระงับข้อขัดแย้งด้วยวิธีที่นอกเหนือจากการดำเนินการคดีในศาล เช่น อนุญาโตตุลาการ การไกล่เกลี่ย เป็นต้น
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่ง ผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมี ขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน มาตรา 851 อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้อง ให้บังคับหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) มาตรา 852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็น ของตน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้ ... (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ....”
มาตรา 28 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 กำหนดที่มาของ กม. ดังนี้ กม. โดยตำแหน่ง กม. โดยการเลือก ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2-10 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อปท. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม
ข้อพิพาทที่ กม. ทำการประนีประนอมได้ 1 เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่งหรือความอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ 2 คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้ กม. ประนีประนอม ข้อพิพาท 3 ข้อพิพาทดังกล่าวเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน
ขั้นตอนการดำเนินการ 1. คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมาตกลง ทำบันทึกยินยอมให้ กม. ประนีประนอม 2. ผู้ใหญ่บ้านนัดหมาย กม. ทำการประนีประนอม -กม. จะมอบหมายให้กรรมการไม่น้อยกว่า 2 คน ดำเนินการแทนก็ได้ - กม. จะเชิญบุคคลอื่นเข้าร่วมทำการประนีประนอมด้วยก็ได้
ขั้นตอนการดำเนินการ (ต่อ) 3. แสวงหาข้อเท็จจริง โดย (1) สอบถามคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (2) ตรวจสอบเอกสาร หรือวัตถุ หรือสถานที่ 4. การประนีประนอมข้อพิพาทให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่กรณี ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร 5. ประนีประนอมข้อพิพาทโดยอาศัยหลักกฎหมาย จารีต ประเพณี แห่งท้องถิ่น ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
ยุติเรื่อง 6. ผลการประนีประนอม จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้น 4 ฉบับ ตกลง กันได้ จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้น 4 ฉบับ ตกลงกันไม่ได้ ยุติเรื่อง
7. รายงานผลให้นายอำเภอทราบ ทุกเดือน