Station 15 LE preparation and ESR อ. วรวรรณ ชุมเปีย กลุ่มวิชาจุลทรรศน์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ สามารถเข้าใจหลักการ LE preparation and ESR สามารถแปลผลการทดสอบ LE และ ESR ได้อย่างถูกต้อง
Lupus erythematosus (LE) preparation เป็นการตรวจกรองเพื่อหา LE factor หรือ antinuclear Abในซีรัมของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม autoimmune disease การตรวจหา antinuclear Ab มีหลายวิธี Radioimmunoassay Immunofluorescense Latex agglutination LE cell preparation
หลักการทดสอบ LE cell preparation LE factor หรือ antinuclear Ab ที่มีในซีรัมของผู้ป่วยสามารถทำปฏิกิริยากับนิวเคลียสของเซลล์ที่แตกแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างกลายเป็นก้อนกลมๆซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากนิวเคลียสของเม็ดเลือดขาวชนิดใด เมื่อนำมาย้อมด้วยสี wright’s stain ติดสีชมพูทั่วทั้งก้อน เรียกว่า purple homogenous mass และมีเม็ดเลือดขาวซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิด neutrophil โอบล้อมรอบจับกิน LE cell
ขั้นตอนทำการทดสอบ 1.นำ clotted blood ที่มีองค์ประกอบของก้อนลิ่มเลือดและซีรัมมาเทบนตะแกรงซึ่งมีภาชนะรองรับและบดก้อนลิ่มเลือดผ่านตะแกรงลงมา 2. นำส่วนน้ำเลือดที่ผ่านตะแกรงผสมให้เข้ากัน ดูดใส่หลอด wintrobe และนำไปปั่นด้วยความเร็ว 3000 รอบ/นาที นาน 10 นาที 3. ดูดซีรัมส่วนใสทิ้งจนกระทั่งใกล้บริเวณที่มีสีขาว ระวังอย่าให้กระทบบริเวณซึ่งมีลักษณะเป็นสีขาว เป็นบริเวณที่มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก และต้องนำไปใช้ทำการทดสอบต่อไป
ขั้นตอนทำการทดสอบ 4. ดูดส่วนสีขาว และนำไปหยดบนสไลด์และไถด้วยตัวไถ หรือเตรียมด้วย squash technique 5.นำไปย้อมด้วยสี Wright’s stain 6. ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่เลนส์ใกล้วัตถุซึ่งมีกำลังขยายต่ำ (10X) เมื่อพบบริเวณที่สงสัยจึงปรับมาใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูง (100X)
LE cell preparation ลักษณะที่พบ Rosette formation : เป็นลักษณะที่มีเม็ดเลือดขาวหลายตัวมาล้อมรอบก้อนสีชมพูซึ่งอยู่ตรงกลาง เม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่เป็นชนิด neutrophil LE cell positive : พบเม็ดเลือดขาวโอบล้อมรอบก้อนที่ติดสีชมพู ให้รายงานผล “ LE cell were seen” Tart cell : เม็ดเลือดขาวมาโอบล้อมล้อมเซลล์ที่ตายแล้ว หรือเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง แต่สามารถเห็นลักษณะ รูปร่างของเม็ดเลือดขาว และสามารถทราบว่าเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดใด
LE positive ประกอบด้วย 1. nucleoprotein หรือ LE body ก้อนติดสีชมพูสม่ำเสมอ (homogenous mass) 2. Antinuclear factor หรือ LE factor 3. Neutrophil phagocytose LE body
LE body neutrophils neutophils ก้อน LE body ที่มี neutrophil มาโอบล้อมรอบเป็น Rosette formation
Tart cell Monocyte Neutrophil phagocytose Eosinophil white blood cell Basophil
Erythrocyte sedimentation rate (ESR) Erythrocyte sedimentation rate : อัตราการตกตะกอนเม็ดเลือดแดงภายในเวลา 1 ชั่วโมง รายงานค่าเป็น ......mm/hr เป็นการตรวจกรองหรือติดตามการตอบสนองต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อ(Inflammation, injury) การติดเชื้อ (infection)ซึ่งร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางชนิดขึ้นมา ทำให้ความเข้มข้นของโปรตีนในพลาสมาเปลี่ยนแปลงไป
Erythrocyte sedimentation rate (ESR) การทดสอบมี 2 วิธี 1.Westergren method 2.Wintrobe method
Erythrocyte sedimentation rate (ESR) อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะ 1 10 นาทีแรก เม็ดเลือดแดงจะค่อยๆตกลงมา ระยะ 2 40 นาทีต่อมา เม็ดเลือดแดงตกลงมาและจับกันเป็น rouleaux formation ระยะ 3 10 นาทีสุดท้าย เม็ดเลือดแดงตกด้วยสภาวะ constant rate หรือ decatation phase
Erythrocyte sedimentation rate (ESR) เม็ดเลือดแดง : เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ ตกเร็วกว่าเม็ดเลือดแดงที่มีขนาดเล็ก องค์ประกอบในพลาสมา เป็นปัจจัยที่สำคํญที่สุดต่อค่า ESR Acute phase protein: fibrinogen, alpha globulin Mechanical/ technical factor การเอียงหลอด Vibration Temperature ความเข้มข้นของสารกันเลือดแข็ง ความเข้มข้นของสารกันเลือดแข็งสูง ESR เวลาในการเจาะเก็บเลือด > 4 ชม มีผลทำให้ค่า ESR เปลี่ยนแปลงไป