พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ ออกกำลังกายในสถานประกอบการ : กรณีศึกษา บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ Development of Physical Activity Promotion Model for Workplace Personnel : A Case Study of Nestle (Thai) Company Limited. ดรุณี อ้นขวัญเมือง นักวิชาการสาธารณสุข 7 กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 70% ประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น หัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ ตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉลี่ย 30 คนต่อวัน และแนวโน้มตายสูงขึ้น มากกว่า 10 ล้านคนมีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเบาหวาน 3.2 ล้านคน (แสดงอาการแล้ว) ประมาณ 10 ล้านคนมีน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่แสดงอาการ ประมาณ 15% มีภาวะไขมันในเลือดสูง 15% มีรอบเอวเกินมาตรฐาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 60% คนวัยทำงานเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย น้อยหรือไม่เคลื่อนไหวฯ คนไทย สาเหตุ ขาดการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย บริโภคอาหาร ไม่เหมาะสม
พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในสถานประกอบการ วัตถุประสงค์หลัก พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในสถานประกอบการ พัฒนาสถานประกอบการตัวอย่างในการดำเนินงานส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายสำหรับบุคลากร วัตถุประสงค์เฉพาะ ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในสถานประกอบการ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกาย สภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากรในสถานประกอบการ
วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย : ใช้รูปแบบ Action Research กระบวนการวิจัย : 2 กระบวนการ - การสำรวจ (Survey Research) - การทดลองเพื่อประเมินประสิทธิผลของการทดลองรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว ด้วยการวัดก่อน-หลังการทดลอง (Pre-Post test One Group Design) ประชากร: บุคลากรของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ จำนวน 608 คน กลุ่มตัวอย่าง : บุคลากรที่สมัครใจร่วมโครงการ จำนวน 166 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดที่ 1 เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 2 เครื่องมือใช้ในการทดลอง 1. เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ส่วน ก. แบบสำรวจสมรรถภาพทางกาย ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ส่วนสูง น้ำหนัก เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต อัตราเต้นหัวใจขณะพัก ความอดทนแข็งแรงของหัวใจ/ระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ประเมินผลการทดสอบฯ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาโดย กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) ข. แบบสำรวจสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ข้อ ได้แก่ การมีโรคประจำตัว พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มสุรา และพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) ค. แบบสำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน ข้อคำถาม 7 ข้อ ได้แก่ เวลาที่เคลื่อนไหวออกแรงทั้งวัน บริบทการทำงาน การทำงานที่ต้องออกแรงอย่างหนัก การทำงานที่ต้องออกแรงปานกลาง การเดินเท้าหรือถีบจักรยาน การปฏิบัติกิจกรรมเวลาว่างที่ต้องออกแรงอย่างหนัก การปฏิบัติกิจกรรมเวลาว่างที่ต้องออกแรงปานกลาง สร้างและพัฒนาจาก Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ตามแนวทางในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลของ GPAQ
โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) 2. เครื่องมือใช้ในการทดลอง โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย โปรแกรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ รูปแบบ วิธีการ การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย เป็นระยะ (ระดับบุคคล และระดับกลุ่ม) โปรแกรมเสริมทักษะการออกกำลังกายทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. ด้วยรูปแบบการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แอโรบิก และ Body weight สถานประกอบการสนับสนุนสถานที่เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันเวลา 17.30 – 19.00 น. ด้วยรูปแบบ การเต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก็ก ฯลฯ - ภาครัฐสนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ VCD ส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย เช่น การเดิน เดินขึ้นบันได ออกกำลังสะสม ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และ 5A day ฯลฯ
โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย การเก็บรวบรวมข้อมูล และดำเนินการทดลอง พฤษภาคม 2549 ธันวาคม 2549 ทดลอง โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย 6 เดือน เก็บข้อมูลก่อนทดลอง ทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำรวจสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ สำรวนการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน เก็บข้อมูลก่อนทดลอง ทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำรวจสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ สำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน
ระดับสมรรถภาพความดันโลหิต สรุปผลการวิจัย (ก่อน-หลังการทดลอง) การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ระดับสมรรถภาพหัวใจ ระดับสมรรถภาพความดันโลหิต
ระดับความอดทนแข็งแรงของหัวใจและปอด ระดับดัชนีมวลกาย ระดับความอดทนแข็งแรงของหัวใจและปอด
ระดับความอดทนแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ
การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ
การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) พฤติกรรมการออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน ๆ 30 นาที
จำนวนวัน/สัปดาห์ของการออกกำลังกาย จำนวนนาที/วันของ การออกกำลังกาย การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนวัน-เวลา ของการออกกำลังกาย จำนวนวัน/สัปดาห์ของการออกกำลังกาย X S.D. t-value df p-value ก่อนการทดลอง .83 1.745 -8.571 629 .000 หลังการทดลอง 2.17 1.676 จำนวนนาที/วันของ การออกกำลังกาย X S.D. t-value df p-value ก่อนการทดลอง 15.37 31.37 -2.981 629 .003 หลังการทดลอง 23.55 27.39
การสำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากร PAปานกลาง = กิจกรรมที่ออกแรงพอประมาณ รู้สึกค่อนข้างเหนื่อย หายใจกระชั้นขึ้น ขณะออกแรงสามารถพูดคุยได้จบประโยค เกณฑ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที PAหนัก = กิจกรรมที่ออกแรงมาก รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยมาก หายใจเร็ว แรง หอบ ขณะออกแรงไม่สามารถพูดคุยได้จบประโยค ต้องหยุดหายใจและพูดต่อ เกณฑ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 นาที PA ครบเกณฑ์ภาพรวม ก่อนทดลอง = 42.10 หลังทดลอง = 60.30
การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เวลา ของPA หนัก ในช่วงเวลาว่าง จำนวนนาที/วันของ การออกกำลังกาย X S.D. t-value df p-value ก่อนการทดลอง 0.61 1.943 -10.425 628 .000 หลังการทดลอง 13.13 25.699 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เวลา ของPA ปานกลาง ในช่วงเวลาว่าง จำนวนนาที/วันของ การออกกำลังกาย X S.D. t-value df p-value ก่อนการทดลอง 2.05 2.655 -14.931 629 .000 หลังการทดลอง 22.72 29.567
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์มีผู้ไม่ดื่มเพิ่มมากขึ้น สรุป ผลการศึกษา ภายหลังการทดลอง ระดับสมรรถภาพทางกายของบุคลากรเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น ทั้งสมรรถภาพความอดทนของหัวใจและปอด ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ระดับสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรดีขึ้น โรคประจำตัวของบุคลากรมีจำนวนลดลง ภาวการณ์ไม่มีโรคเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ผู้ไม่สูบบุหรี่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์มีผู้ไม่ดื่มเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมการออกกำลังกาย มีผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยของจำนวนวัน และเวลาในการออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย ภายหลังการทดลอง ระดับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติกิจกรรมช่วงเวลาว่างที่ต้องออกแรงระดับหนัก และระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
อภิปรายผล ผลการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา 6 เดือน เป็นตัวบ่งชี้ว่ารูปแบบที่พัฒนา เป็นรูปแบบที่สามารถส่งเสริมให้บุคลากรได้นำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังที่เป็นรูปแบบยาก ใช้รูปแบบการออกแรงง่าย ๆ ในวิถีชีวิต เช่น การเดิน เดินขึ้นบันได ออกกำลังเป็นช่วง ๆ ฯลฯ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีได้ ภาครัฐ ร่วมมือกับสถานประกอบการในการขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน โดยภาครัฐให้องค์ความรู้ แนวคิด ข้อแนะนำ สถานประกอบการ เห็นความสำคัญ ดำเนินการภายใต้แนวคิดและขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง สถานประกอบการ ขับเคลื่อนกระบวนการได้เอง หรือจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการภายใต้แนวทางของภาครัฐร่วมกับสถานประกอบการเอง
ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารองค์กร ควรให้ความสำคัญ สนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย ให้บุคลากร เช่น การส่งเสริมสนับสนุนสถานที่ เวลา วัสดุและอุปกรณ์ ฯลฯ โดยเฉพาะจัดตั้งทีมงานให้การสนับสนุน หรือเป็นผู้นำการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย หรือ จัดจ้างองค์กรที่มีความชำนาญเป็นผู้นำส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ควรให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) มีการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยสามารถดำเนินการในรูปแบบของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดกระบวนการ องค์ความรู้ ผ่านสื่อมวลชน เว็บไซด์ ฯลฯ ที่บุคลากรสามารถเข้าถึงได้ง่าย ควรมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อค้นหาปัญหาอุปสรรค์ และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สวัสดี