ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เรื่อง ระเบียบแก้ไขวันเดือนปีเกิด
Advertisements

กฎหมายมรดก.
การสืบสวน สอบสวน การสืบสวน
อุทธรณ์.
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ กับ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )
วิชาว่าความและ การถามพยาน
ขั้นตอนการดำเนินงานเอกสาร
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ปัญหาเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริง
เมื่อ ๕ ก.ย.๕๕ , ๐๙๐๐ ณ ห้องประชุม สธน.ทหาร
การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
การจ้างลูกจ้างชั่วคราว
กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. คำนิยาม ขาย สินค้า การบริการ ใบกำกับภาษี ภาษีขาย ภาษีซื้อ 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 3. การยกเว้น.
ประเด็นบรรยาย เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ตรวจการสหกรณ์
การตรวจการสหกรณ์ ไพฑูรย์ ชนะชู นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ
การใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ประเภทของยา แบ่งตามแผนของการประกอบโรคศิลปะ
YOUR SUBTITLE GOES HERE
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภาษีสรรพสามิต
คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ
พระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวก(แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่)
ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.​ ๒๕๕๑
การประชุมชี้แจง การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และ การขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน
แนะนำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง (รยส.)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
องค์การคลังสินค้า (อคส.)
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สสร.)
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ...
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
1.อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
“ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวินัย” โดย พ. ต. ท
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 243/2556 เรื่อง แนวทางการ ปฏิบัติในการพิจารณาคำขอรวมทั้ง เอกสารที่เกี่ยวข้องตาม.
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนสิทธิตามใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 20 เมษายน 2555.
ระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ตุลาคม.
ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การทุจริตทางทะเบียนและบัตร
การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น
การให้ข้อเท็จจริงในคดีปกครอง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรม อนามัย
การบริหารงานบุคคล สุรเกียรติ ฐิตะฐาน บทเรียนจากองค์กรวินิจฉัย
พระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
1. มาอย่างไร 2. ปัจจุบันใครเป็นบ้าง 3. อำนาจหน้าที่ได้มา อย่างไร 4. ผู้อื่นทำหน้าที่แทนได้ หรือไม่ 1. มาอย่างไร 2. ปัจจุบันใครเป็นบ้าง 3. อำนาจหน้าที่ได้มา.
บทที่ 7 อากรแสตมป์.
รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
ข้อพิจารณา ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 12 กันยายน 2554.
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
บทที่ 1 หลักการและโครงสร้างของภาษีอากร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และความรับผิดทางละเมิด ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการกรมสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - พ.ร.บ. ทุกฉบับที่รับผิดชอบ - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร ฯ - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯ ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ - พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ - พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ฯ - กฎหมายอื่น ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภาษีสรรพสามิต พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม ใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ ยกเว้นจาก พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ

คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร วงจรการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ (ม. 26-33) เจ้าหน้าที่ (ม. 12-20) คู่กรณี (ม. 21-25) คณะกรรมการ (ม. 75-84) การแจ้ง (ม. 68-74) คำสั่งทางปกครอง (ม. 34-43) ระยะเวลาและอายุความ (ม. 64-67) อุทธรณ์ (ม. 44-48) เพิกถอน (ม. 49-53) ขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) บังคับทางปกครอง (ม. 55-63) ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ข้อที่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 กฎหมายเฉพาะ (กฎหมายสรรพสามิต) - มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม - มีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ** ต่ำกว่าหรือสูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ ** - มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามกฎหมายสรรพสามิต

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 34 ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 45 เมื่อปรากฏว่าเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนได้ แต่ต้องแจ้งการเพิกถอนนั้นเป็นหนังสือให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ผู้อุทธรณ์มีสิทธิดำเนินการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 66 ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรี

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 78 ผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้แล้ว อธิบดีจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกินสามเดือนหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ในกรณีที่มีการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนจัดการจำหน่ายบรรดาเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนที่ได้ผลิตไว้ก่อนแล้ว ภายในเงื่อนไขที่อธิบดีเห็นสมควร ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรี ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้รับแจ้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ มีสิทธิคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน คำคัดค้านให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา 89 ผู้ยื่นคำคัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยตามมาตรา 88 ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น อุทธรณ์ให้ยื่นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดีกำหนด...

ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 34 ผู้ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อรัฐมนตรีได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่ออธิบดีหรือเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยชี้ขาดของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... (8) การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในทางอาญา ... ” มาตรา 5 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 5 “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต 1. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำคำสั่งทางปกครอง (ม. 12 และ 13) 2. สิทธิของคู่กรณีในการมีทนายความหรือที่ปรึกษา (ม.23) 3. เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ (ม. 26) 4. การแจ้งสิทธิและการชี้แจง (ม. 27 และ 30)

พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต 5. รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง (ม. 37, 40 และ 41) 6. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (ม. 44) 7. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (ม. 49, 51 - 53) 8. การขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) 9. การบังคับทางปกครอง (ม. 57, 62 และ 63) 10. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง (ม. 68, 69, 70, 71 และ 74)

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 16 บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกี่ยวกับการเสียภาษี หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร ...”

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 27 ให้เจ้าหน้าแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี ...” มาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

พ.ร.บ. วิ. ปกครองฯ มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ...”

คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 81 เมื่อประเมินแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินเป็นหนังสือต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี มาตรา 88 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายวินิจฉัยคำคัดค้านตามมาตรา 86 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำคัดค้านและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคำคัดค้านโดยมิชักช้า … มาตรา 95 คณะกรรมการพิจารณอุทธรณ์มีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ เพิกถอนการประเมินหรือคำสั่งของผู้พิจารณาคำคัดค้าน หรือแก้การประเมินหรือคำสั่งของผู้พิจารณาคำคัดค้านให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แล้วแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ให้ถือว่าได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์

คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 33 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดไม่เกินหกเดือนหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาต (1) ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ (3) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งเช่นว่านั้นให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ถูกสั่งดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานปิดคำสั่งไว้ ณ สถานที่ที่ปรากฏในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541 ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมินเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534 - ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และ 30 (2) มิได้บัญญัติให้การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน จึงย่อมอ้างเหตุอื่นที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2546 -คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างจำเลยกับโจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ทำเป็นหนังสือก็ย่อมต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือจะต้องให้เหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ประมวลรัษฎากร มาตรา 34 เพียงแต่กำหนดให้ทำเป็นหนังสือโดยมิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2546 - หนังสือแจ้งการประเมินภาษีและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 จึงต้องทำให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 ประมวลรัษฎากรมาตรา 19 ถึง 21 และมาตรา 34 เป็นบทกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 41 คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์ … (2) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง … เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย กรณีตาม (2) (3) และ (4) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 40 คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว ...”

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 18 หนังสือเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษี หรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของบุคคลนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีในวรรคหนึ่ง จะกระทำโดยวิธีปิดหนังสือนั้นในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน โรงอุตสาหกรรม ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับนั้นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 64 กำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้น หรือมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย แม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่บุคุคคลใดต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมายหรือโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่หรือวันหยุดตามประเพณีของบุคคลผู้รับคำสั่ง ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น เว้นแต่กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่มีคำสั่งจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 57 คำสั่งทางปกรองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 140 ทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีอาจถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษีที่ค้าง โดยให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึดหรือขายทอดตลาดได้โดยมิต้องขออำนาจศาล การยึดทรัพย์สินจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีที่ค้างภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์สินจะกระทำมิได้ในระหว่างระยะเวลาที่ได้ยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 86 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 89 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 96 และตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านหรืออุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุด

พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 63 ถ้าบทกฎหมายใดกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามาตรการบังคับนั้นมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามหมวดนี้แทนก็ได้ มาตรา 62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ มาตรา 8 “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ...”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 5 “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดซึ่งเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ...”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 6 “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 7 “ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ...”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 9 “ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายนั้น”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ มาตรา 10 “ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...”

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 11 “ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ...” มาตรา 14 “เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง