การประเมินผลการปฏิบัติงาน Performance Appraisal
ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน หมายถึง ระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อหาคุณค่า ในลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลที่ปฏิบัติงานในแง่ของผลการปฏิบัติงานว่าผลการปฏิบัติงานนั้นได้ผลหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการประเมินผลงานโดยปกติจะประเมินโดยผู้บังคับบัญชาโดยตรงของบุคคลนั้น ทั้งนี้จะต้องประเมินอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบ มีมาตรฐาน มีเกณฑ์การประเมินที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาความดีความชอบแก่พนักงานทุกระดับ เพื่อเป็นข้อปฏิบัติอย่างยุติธรรม เพื่อเป็นหลักในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการวัดค่าการปฏิบัติงานของพนักงาน เป็นเครื่องชี้ถึงความแตกต่างของพนักงานในด้านต่าง ๆ เพื่อหาจุดเด่น และจุดด้อยของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิธีการฝึกอบรม
กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดแบบและลักษณะของงานที่จะประเมินผล กำหนดตัวผู้ประเมินและฝึกอบรมผู้ประเมิน - ใช้หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรง (Immediate Supervisor Rating) - ใช้ผู้ร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน (Peer Rating) - ใช้คณะกรรมการ (Rating Committees) - ใช้การประเมินตนเอง (Self Rating) - การใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน (Subordinate Appraising) - การใช้ผู้บังคับบัญชาหลายระดับประเมินผล กำหนดวิธีการประเมินผล การวิเคราะห์ผล และการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
เทคนิควิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินโดยกราฟ (Graphic Rating Scales) การจัดลำดับ (Graphic Rating Scales) การกระจาย (Force Distribution) การตรวจสอบรายการ (Check List) การบันทึกเหตุการณ์สำคัญ (Critical Incidents) การทบทวนการปฏิบัติงาน (Field Rewiew) การเขียนผลงาน (Free-From Essay) การประเมินโดยกลุ่ม(Group Appraisal) การประเมินตามผลงาน (Appraisal By Results)
การแจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานแก่ผู้ถูกประเมิน แจ้งแบบผู้พิจารณา (Tell and sell) แจ้งผลโดยการรับฟัง ข้อคิดเห็นจากผู้รับแจ้ง (Tell and listen) แจ้งแบบแก้ปัญหา (Problem solving)
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความเกี่ยวข้องโดยตรง (Relevance) เป็นที่ยอมรับ ความเชื่อถือได้ (Reliability) มีความสามารถในการจำแนก มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Practicality)
ปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากมาตรฐานที่ไม่ชัดเจน การประเมินโดยใช้ความรู้สึกมากกว่าข้อมูล ประเมินตามแนวโน้มสายกลาง (Central tendency) ประเมินโดยมุ่งให้ทุกคนพอใจ ประเมินโดยพิจารณาเฉพาะผลงานหรือพฤติกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น ประเมินโดยใช้ตัวผู้ประเมินเข้าไปแข่งขันด้วย เนื่องจากการปล่อยหรือกดคะแนน (leniency or stricness) การมีหลักฐานไม่เพียงพอ (Insufficient evidence) อิทธิพลของหน่วยงาน (Organizational influence) ความแตกต่างของตัวผู้ทำการประเมิน (Individual differences)
สรุปการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นวิธีที่ใช้หาค่าของพนักงานในแง่การปฏิบัติงานและประสิทธิภาพในการ ทำงานโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ อย่างปราศจากอคติใดๆ เพื่อให้ ผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการพิจารณาความดีความชอบ วินิจฉัย ปรับปรุง ส่งเสริมและพัฒนาพนักงานให้มีคุณภาพมากขึ้น ใน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมพนักงานให้มีความพอใจและสร้างขวัญและ กำลังใจในหมู่พนักงาน วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น การ ประเมินด้วยกราฟ การจัดลำดับ การกระจาย การตรวจสอบ การบันทึก เหตุการณ์สำคัญ การทบทวนการปฏิบัติงาน การเขียนรายงาน การประเมิน โดยกลุ่ม และการประเมินติดตามงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานต้องมีรากฐานความยุติธรรม เป็นสำคัญ ใช้ระบบคุณธรรมเป็นที่ตั้ง เพื่อทำการปรับปรุงและ พัฒนาบุคลากรให้สามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ การออกแบบระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานต้องยึดหลักการ กระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินมีความเข้าใจ อันดีต่อกัน เสริมสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อ ความสำเร็จขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง
ขอบคุณครับ