ประเด็นบรรยาย เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ตรวจการสหกรณ์ ประเด็นบรรยาย เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ตรวจการสหกรณ์ โดย สุรศักดิ์ นาคสวัสดิ์ 20 สิงหาคม 2556
การตรวจการสหกรณ์ ความหมาย : สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง ให้การดำเนินงานของสหกรณ์ถูกต้อง เจตนารมณ์ : ให้มีผู้ใช้อำนาจรัฐตรวจสอบความถูกต้อง ชอบธรรม การดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์สมาชิก ชุมชน และสังคม เรียกผู้ใช้อำนาจนี้ว่า “ผู้ตรวจการสหกรณ์” ที่มาผู้ตรวจการสหกรณ์ : นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้ง
บทบาทผู้ตรวจการสหกรณ์ สอดส่อง ดูแล การดำเนินการของสหกรณ์ให้มีความถูกต้องชอบธรรม ด้วยการ ไม่ให้กระทำการที่มิใช่อุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ ไม่ให้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายข้อบังคับสหกรณ์ ไม่ให้กระทำการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี ไม่ให้กระทำการที่ไม่ชอบธรรมกับสมาชิก เมื่อมีความไม่ชอบเกิดขึ้นกับสหกรณ์ ต้องเสนอแนะให้ นายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจสั่งแก้ไข
อำนาจหน้าที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ ตรวจสอบฐานะการเงินของสหกรณ์ เงื่อนไขการตรวจสอบ ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด รายงานผลการตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์
เครื่องมือการใช้อำนาจของผู้ตรวจการ (1) สอบสวนบุคคล (2) เรียกเอกสารและรายงานการประชุม (3) เข้าไปในสำนักงานสหกรณ์ (4) บุคคลใดไม่ให้ความร่วมมือ หรืออำนวยความสะดวก มีความผิดทางอาญา
ความรับผิดของผู้ตรวจการสหกรณ์ (1) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ (2) ไม่รักษาวินัยข้าราชการ (3) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด (4) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ผู้ตรวจการสหกรณ์ต้องทำอย่างไร เมื่อตรวจพบว่าสหกรณ์ปฏิบัติไม่ชอบ (1) คณะกรรมการดำเนินการกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน จะทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ สหกรณ์หรือสมาชิก หรือ (2) สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับกิจการ หรือฐานะการเงิน
ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการสหกรณ์ เพื่อให้นายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจสั่งการได้อย่างหนึ่งอย่างไรดังนี้ (1) แก้ไขความบกพร่องตามวิธีการ และกำหนดเวลาตามความเหมาะสม (2) ให้คณะกรรมการระงับการปฏิบัติส่วนที่เป็นเหตุข้อบกพร่อง หรือเสื่อมเสียผลประโยชน์ (3) ให้คณะกรรมการหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (4) ให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือรายตัว
พบความไม่ชอบกรณีอื่นๆ (1) การลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ของสหกรณ์ ระเบียบ คำสั่ง ของนายทะเบียนสหกรณ์ ข้อเสนอแนะ ขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียน สหกรณ์ยับยั้งหรือเพิกถอนมตินั้น (2) ในกรณีกรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ทำให้ สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ข้อเสนอแนะ ขอให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียน สหกรณ์ ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทน
ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? (1) การใช้เงินของสหกรณ์ไม่เป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่ (2) การใช้เงินของสหกรณ์ฝากหรือลงทุนไม่ชอบด้วยกฎหมาย (3) การดำเนินการของสหกรณ์ไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ (4) ดำเนินกิจการนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ และอำนาจกระทำการ ของสหกรณ์
ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? (5) ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีกับบุคคลที่ทำให้สหกรณ์เสียหาย (6) มีเจตนากระทำหรือละเว้นกระทำโดยทุจริต (7) มีเจตนากระทำหรือละเว้นกระทำโดยฝ่าฝืนกฎ (8) ปล่อยให้สหกรณ์มีคณะกรรมการรักษาการโดยไม่ชอบ (9) สหกรณ์รับผิดในความเสียหาย โดยการกระทำไม่ชอบของ คณะกรรมการ
ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? ผู้ตรวจการสหกรณ์ตรวจพบความไม่ชอบ เรื่องเหล่านี้หรือไม่? (10) คณะกรรมการประชุมพิจารณาเรื่องที่มีผลประโยชน์ขัดกัน (11) คณะกรรมการไม่ปฏิบัติต่อผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ตามหลักกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน (12) ตรวจพบว่ามีความไม่ชอบ แต่ปกปิดหรือช่วยปกปิด หรือช่วยแก้ต่างให้ หรือบิดเบือน
ขอบคุณ และ สวัสดีครับ