อารมณ์ (Emotion) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1 1 นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย และพัฒนาการของอารมณ์ได้ 2 นักศึกษาสามารถจำแนกแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีอารมณ์ในแต่ละทฤษฎีได้ 3 นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมอารมณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4 นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเรื่องความฉลาด ทางด้านอารมณ์ที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมของนักศึกษาได้
ความหมาย “อารมณ์” เป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ผิดแปลกไปจากเดิม อันเนื่องมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและอินทรีย์
พัฒนาการทางอารมณ์ ระยะแรกเกิด อารมณ์ที่เด็กทารกแสดงโต้ตอบกับสิ่งเร้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดัง การขาดคนอุ้ม ความไม่สบายทางกาย ความเปียกชื้น หรือความหิวกระหายก็ตาม พฤติกรรมที่ทารกแสดงออกนั้นเปิดเผย จะสังเกตได้ชัดเจนและมีเพียงอารมณ์เดียวคือ อารมณ์ตื่นเต้น (Excitement)
ทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์ ทฤษฎีทางอารมณ์ของ เจมส์–แลงค์ (James – Lange) ทฤษฎี Cannon –Bard The Jukebox Theory
ทฤษฎีทางอารมณ์ของ เจมส์–แลงค์ (James – Lange) “อารมณ์เป็นผลต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย แต่ อารมณ์ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง” (Emotion is a consequence, not the cause of the bodily expression)
ทฤษฎี Cannon–Bard ขณะที่บุคคลกำลังเผชิญหน้าอยู่กับสิ่งเร้า ที่กระตุ้นอารมณ์อยู่นั้น แรงกระตุ้นจากประสาทจะส่งผ่านไปยังส่วนของสมองที่ชื่อ ทาลามัส ซึ่งจะจัดการแยกแรงกระตุ้นออกเป็น 2 ส่วน โดยแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งจะวิ่งผ่านไปสู่ส่วนที่เรียกว่าเปลือกสมอง และแรงกระตุ้นส่วนที่สองจะวิ่งผ่านไปยังสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งเป็นศูนย์การควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ของร่างกาย และหลังจากนั้นอารมณ์ก็จะเกิดตามมา
The Jukebox Theory ทฤษฎีนี้เปรียบมนุษย์เหมือนกับเป็น ตู้เพลง การหยอดเหรียญลงไปก็เท่ากับเป็นสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่ง จะเข้าไปปลุกระบบที่ก่อให้เกิดอารมณ์ การเลือก เพลงเปรียบได้กับการเกิดอารมณ์ ซึ่ง จะเป็นประเภทใด หรือชนิดใดจะต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ของบุคคลนั้น ๆ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การที่เราจะมีอารมณ์แบบใดเกิดขึ้น จะต้องขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมเป็นหลักสำคัญ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ 1.พันธุกรรม 2.ประสบการณ์เดิม 3.สังคม 4.ยาหลอนประสาท
ประเภทของอารมณ์ อารมณ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรก จัดเป็นอารมณ์ดี มีความสุข มี 2 แบบ ได้แก่ ความรัก ความร่าเริงสนุกสนาน ประเภทที่สอง จัดเป็นอารมณ์ไม่ดี มีความทุกข์ มี 4 แบบ ได้แก่ ความกลัว ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเศร้า
Prolong Intense Emotion คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องคั่งค้างเป็นเวลานาน ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจและบุคลิกภาพ และเป็นที่มาของโรคทางกายหลายชนิด เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ฯลฯ
การควบคุมอารมณ์ และการปลดปล่อยอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ คือการดูแลรักษาอารมณ์ของตนเองเอาไว้ ไม่แสดงออกจนเป็นผลเสียต่อตนเอง และผู้อื่น ส่วน การปลดปล่อยอารมณ์ คือ การระบายอารมณ์ออกไปจากตัวเรา การปลดปล่อยอารมณ์ไม่ดีออกไปเสีย จะเกิดประโยชน์ต่อตนเอง เพราะอารมณ์ไม่ดี ถ้ามีในตัวเรามาก ๆ นานๆ จะเกิดผลเสียต่อ สุขภาพกาย และสุขภาพจิต
วุฒิภาวะทางอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ การมีอารมณ์สมวัย
EQ (Emotional Quotient) EQ เป็นชื่อย่อของ Emotional Quotient ชื่อเรียกของ EQ ในภาษาไทยนั้นเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์อย่างเป็นทางการ จึงยังมีชื่อเรียกกันหลากหลาย บ้างเรียกว่า เชาวน์อารมณ์ ความเฉลียว- ฉลาดทางอารมณ์ ปัญญาแห่งอารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ สติอารมณ์ฯลฯ
EQ (Emotional Quotient)
EQ (Emotional Quotient) Goleman ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของ EQ มีสมรรถนะที่สำคัญ 2 ด้าน คือ สมรรถนะส่วนบุคคล และสมรรถนะทางสังคม 1.สมรรถนะส่วนบุคคล (personal competence) 2. สมรรถนะทางสังคม (social competence)
1.สมรรถนะส่วนบุคคล (personal competence) ได้แก่ 1.1 การตระหนักรู้จักตนเอง (self awareness) 1.2 การควบคุมตนเอง (self regulation) 1.3 การสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อตนเอง (self motivation)
2. สมรรถนะทางสังคม (social competence) ได้แก่ 2.1 การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) 2.2 ทักษะทางสังคม (social skills)
แนวทางการพัฒนา EQ การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) 1 การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) 2 การบริหารจัดการกับอารมณ์ของตน (Managing emotion) 3 การจูงใจตนเอง (Motivation oneself) การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (Recognizing emotions in others) หรือความรู้สึกร่วม (Empathy) 4 5 การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Handling relationships)
แบบทดสอบ EQ ของกรมสุขภาพจิต http://www.watpon.com/test/emotional.htm