Chromosome Q : ยีนกับโครโมโซมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร A : ยีนมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม (DNA เป็นองค์ประกอบของโครโมโซม และยีนก็เป็นส่วนหนึ่ง ของ DNA ที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมที่อยู่บน โครโมโซม)
รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนโครโมโซม โดยทั่วไปโครโมโซมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามระยะต่าง ๆ ในวัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) โดยโครโมโซมในระยะอินเตอร์เฟสจะมีลักษณะยืดยาว และเมื่อเซลล์เข้าสู่ระยะการแบ่งตัว โครโมโซมจะหดตัวสั้นเข้าและหดตัวมากที่สุดในระยะเมตาเฟส ซึ่งเป็นระยะที่มองเห็นชัดเจนที่สุด เรียกโครโมโซมระยะนี้ว่า โครโมโซมเมตาเฟส
ชนิดของโครโมโซม Metacentric chromosome Submetacentric chromosome Acrocentric chromosome Telocentric chromosome
Metacentric chromosome โครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ อยู่ตรงตำแหน่งกึ่งกลางพอดีทำให้แขน (arm) ทั้งสองข้างของโครโมโซมมีความยาวเท่ากัน
Submetacentric chromosome โครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ อยู่ใกล้กลางแท่งโครโมโซม ทำให้แขนทั้งสองข้างของโครโมโซมมีความยาวไม่เท่ากัน จึงมีแขนเป็นแขนข้างสั้นและแขนข้างยาว
Acrocentric chromosome โครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ อยู่เกือบปลายสุดจึงทำให้แขนข้างสั้นมีความสั้นมากจนแทบไม่ปรากฏ
Telocentric chromosome โครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ อยู่ตอนปลายสุดของโครโมโซม มีผลทำให้โครโมโซมมีแขนเพียงข้างเดียว
โครโมโซมของสิ่งมีชีวิต โครโมโซม แบ่งเป็น 2 ชนิด 1. Autosome : เป็น chromosome ที่ควบคุมลักษณะต่างๆของร่างกาย 2. Sex – chromosome : ควบคุม ,กำหนดเพศ chromosome X , chromosome Y หญิง XX ชาย XY
เซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกันเป็นคู่ๆ โครโมโซม 2 ชุด เรียกว่า ดิพลอยด์ โครโมโซมแต่ละคู่เรียกว่า Homologous chromosome เช่น คน โครโมโซมชุดหนึ่งได้รับมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งได้รับมาจากแม่ (เมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส) เมื่อเสร็จสิ้นการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครโมโซมในเซลล์ลูกที่เกิดขึ้นจะลดลงครึ่งหนึ่งเรียกว่า แฮพลอยด์
จำนวนโครโมโซม สิ่งมีชีวิต จำนวนchromosome มนุษย์ 46 สน 24 ลิงชิมแพนซี 48 กะหล่ำปลี 18 ม้า 64 ถั่วลันเตา 14 แมว 38 ฝ้าย 52 หนู 40 มะเขือเทศ ไก่ 78 ยาสูบ กบ 26 ข้าว ผึ้ง 32 กล้วย 22
ส่วนประกอบของโครโมโซม Q : DNA อยู่ที่ส่วนใดของโครโมโซม และที่โครโมโซมนอกจากมี DNA แล้วยังมีสารอื่นอีกหรือไม่อย่างไร
โครโมโซมของยูคาริโอต ประกอบด้วย DNA 1 ใน 3 และอีก 2 ใน 3 เป็นโปรตีน โดยส่วนที่เป็นโปรตีนจะเป็น ฮิสโตน (histone) และนอนฮิสโตน (non-histone) อย่างละประมาณเท่าๆกัน
ในปี พ.ศ. 2427 นักวิทยาศาสตร์พบว่าฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะมิโนที่มีประจุบวก(basic amino acid) เช่น ไลซีน และอาร์จินีน ทำให้มีสมบัติในการเกาะจับกับสาย DNA ซึ่งมีประจุลบได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดการสร้างสมดุลของประจุ (neutralize) ของโครมาทินด้วยสาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮิสโตนคล้ายเม็ดลูกปัด เรียกโครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม(nucleosome) โดยจะมีฮิสโตนบางชนิดเชื่อมต่อระหว่างเม็ดลูกปัดแต่ละเม็ด
ส่วนของโปรตีนนอนฮิสโตนนั้นมีมากมายหลายชนิด อาจเป็นร้อยหรือพันชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต โดยโปรตีนเหล่านี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป บางชนิดมีหน้าที่ช่วยในการขดตัวของ DNA หรือบางชนิดก็เกี่ยวข้องกับ กระบวนการจำลองตัวเองของDNA (DNA replication) หรือการแสดงออกของยีนเป็นต้น สำหรับในโพรคาริโอต เช่น แบคทีเรีย E. coli มีจำนวนโครโมโซมชุดเดียว เป็นรูปวงแหวนอยู่ในไซโตพลาสซึม ประกอบด้วย DNA 1 โมเลกุล และไม่มีฮิสโตนเป็นองค์ประกอบ
สารพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ เรียกว่า จีโนม(genome) จากการศึกษาพบว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีขนาดของจีโนมและจำนวนยีนแตกต่างกัน
สวัสดี