การจำแนก ประเภทความพิการ
ได้กำหนดประเภทความบกพร่อง ที่ต้องการการศึกษาพิเศษไว้ 9 ประเภท ที่ต้องการการศึกษาพิเศษไว้ 9 ประเภท คือ
1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนถึงบอดสนิท
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. คนตาบอด 2. คนเห็นเลือนราง
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึง ระดับน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลข่าวสารผ่านการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง 2. คนตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง
ระดับการสูญเสียการได้ยิน 1. ตึงเล็กน้อย 26 - 40 เดซิเบล 2. ตึงปลานกลาง 41 - 55 เดซิเบล 3. ตึงมาก 56 - 70 เดซิเบล 4. ตึงรุนแรง 71 - 90 เดซิเบล 5. หูหนวก 90 เดซิเบลขึ้นไป
3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง คนที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนปกติทั่วไป เมื่อ วัดโดยใช้แบบทดสอบมาตราฐาน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1. บกพร่องระดับเล็กน้อย ระดับเชาว์ ประมาณ 50 - 70 2. บกพร่องระดับปานกลาง ระดับเชาว์ ประมาณ 35- 49 3. บกพร่องระดับรุนแรง ระดับเชาว์ ประมาณ 20 - 34 4. บกพร่องระดับรุนแรงมาก ระดับเชาว์ ประมาณ ต่ำกว่า 20
4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ หมายถึง คนที่มี อวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหวซึ้งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง คนที่มี ความบกพร่องอย่างใดย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวกับการเข้าใจหรือการใช้ภาษา
6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง คนที่มีความบกพร่องในการออกเสียง เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ และการใช้ภาษาพูด
7.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง คนที่มี พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติอย่างมาก และเป็นอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม
8. บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการทางสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ และจินตนาการ ซึ้งมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานของสมองบางส่วนที่ผิดปกติไป และ พบได้ก่อนวัย 30 เดือน
ลักษณะของบุคคลออทิสติก 1. มีความบกพร่องทางปฎิสัมพันธ์ทางสังคม 2. มีความบกพร่องทางการสื่อสาร 3. มีความบกพร่องทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ 4. มีความบกพร่องด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส 5. มีความบกพร่องด้านการใช้อวัยวะต่าง 6. มีความบกพร่องด้านจินตนาการ 7. มีความบกพร่องด้านสมาธิ
9. บุคคลพิการซ้อน หมายถึง คนที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เป็นต้น