(Knowledge Management : A Tool for Strategic Success) Professor Ikujiro Nonaka ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยฮิโตซึบาชิ ประเทศญี่ปุ่น บรรยายให้ความรู้ในเรื่อง“การจัดการความรู้ เครื่องมือสู่ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์” (Knowledge Management : A Tool for Strategic Success) การสัมมนาวิชาการ เวทีนวัตกรรม ครั้งที่ 3 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ณ ห้อง ESCAP Hall ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กระบวนการในการสร้างความรู้ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานความรู้ทั้ง 2 ประเภท สามารถถ่ายทอดออกมาได้เป็นแบบจำลอง SECI (SECI Model)ซึ่งแบ่งกระบวนการ ในการสร้างความรู้ออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
การสร้างสังคมความรู้ ความรู้ในตัวคน ความรู้ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล (TACIT KNOWLEDGE) เช่น ทักษะ ความชำนาญ อุดมคติ ความเชื่อ ฯลฯ ความรู้นอกตัวคน ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( EXPLICIT KNOWLEDGE ) เช่น ทฤษฎี ภาษา ข้อมูล ตำรา ฯลฯ ความรู้ในตัวคน ความรู้ในตัวคน การสร้างสังคมความรู้ การถ่ายทอดความรู้ ช ช ก บ บ ความรู้ในตัวคน ความรู้นอกตัวคน บ บ บ บ บ การใช้ความรู้ใหม่ สู่การปฏิบัติ การผสมผสานความรู้ เป็นความรู้ใหม่ ช อ ความรู้ในตัวคน ก ก ความรู้นอกตัวคน อ ช บ ก ก ก ความรู้นอกตัวคน ความรู้นอกตัวคน บ = ตัวบุคคล ก = กลุ่มคน อ = องค์กร ช = ชุมชน
ของบุคคลากรและองค์กรอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา S = Socialization เป็นการสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ด้วยการพบปะสมาคม หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การพูดคุย ใช้เวลาอยู่ด้วยการ การสอนงาน ฝึกงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น E = Externalization เป็นการถ่ายทอดความรู้ โดยการอธิบายหรือแสดงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับการแบ่งปัน โดยการแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมาเป็นแนวคิดภาษาสัญลักษณ์ ลายลักษณ์อักษร เช่น คู่มือ ตำรา ภาพ การบันทึกเสียง เป็นต้น C = Combination เป็นการผสมผสาน โดยนำความรู้ที่ชัดแจ้งมาสร้างสรรค์ หรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ในเรื่องใหม่ ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น หรือเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้ง่ายขึ้น I = Internalization เป็นการนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆ จนกลายเป็นความรู้ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนความรู้ที่ชัดแจ้งให้กลายเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ดังนั้น กระบวนการในการสร้างความรู้ที่จะเกิดประโยชน์จริง ๆ นั้น จะต้องมีการนำความรู้ไปลงมือ ปฏิบัติ และมีการหมุนเวียน กระบวนการ SECI ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันยุติ นำไปสู่การปรับปรุงตนเอง ของบุคคลากรและองค์กรอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา