ตัวอย่างการคิดอย่างมีเหตุผลในชีวิตประจำวัน คุณจะมีคำตอบอย่างไรสำหรับคำถามต่อไปนี้ 9 กรกฎาคม 2552
เรื่องมีอยู่ว่า หนุ่มน้อยคนหนึ่งมีคำถามมาว่า ผมมีเพื่อนที่มีใจให้ผม แต่ผมไม่เคยชอบเขาเลย ส่วนเพื่อนคนที่ผมชอบเธอ เธอกลับไม่ชอบผม แต่เพื่อนคนที่ผมชอบกลับไปชอบคนที่มาชอบผม แบบนี้ผมจะทำยังไงดี? คือเพื่อนที่ผมชอบ เธอเป็นผู้หญิงครับ แต่ดูเหมือนเธอจะเป็นทอม แต่เธอกลับไปชอบเพื่อนหญิงอีกคนที่เธอคนนั้นมาชอบผม ซึ่งเธอที่มาชอบผม ผมเองก็ไม่ได้ชอบเธอเลย ผมก็ไม่กล้าปฏิเสธกลัวว่าเธอจะเสียใจ ทุกวันนี้ยังดูท่าทีอยู่ครับ ถ้าหากเป็นไปได้ ผมเองก็อยากจะชอบคนที่ผมชอบมากกว่า ชอบคนที่ผมรักน่ะครับ แต่อยากสอบถามเพื่อความแน่ใจว่า ถ้าเป็นแบบนี้จะดีหรือเปล่า?
หลักการและแนวทางการคิด วิเคราะห์ความคิดและความรู้สึกของผู้ถาม วิเคราะห์บุคลิกภาพและอุปนิสัยของผู้ถาม วิเคราะห์โจทย์และกำหนดกรอบเพื่อหาทางเลือก ใช้เหตุผลอธิบายแต่ละกรอบ/ทางเลือก หาข้อสรุปที่เป็นไปได้
คำถามต่อไปนี้ถามโดย Einstein เขากล่าวว่าคน 98% ในโลกนี้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ คุณจะเป็นหนึ่งในจำนวน 2% นั้นได้หรือไม่? มีบ้าน 5 หลัง แต่ละหลังมีสีแตกต่างกัน คนที่อาศัยอยู่แต่ละหลังมีเชื้อชาติต่างกัน ทั้ง 5 คนนี้ ดื่มเครื่องดื่มต่างชนิดกัน ชอบกินผลไม้ต่างกัน และมีสัตว์เลี้ยงต่างกัน คนอังกฤษอาศัยอยู่ในบ้านสีแดง คนสวีเดนเลี้ยงสุนัข คนเดนมาร์คดื่มชา บ้านหลังสีเขียวอยู่ด้านซ้ายของบ้านสีขาว (they are also next door to each other) เจ้าของบ้านหลังสีเขียวดื่มกาแฟ
คำถามต่อ คนที่ชอบกินแอปเปิล เลี้ยงนก เจ้าของบ้านหลังสีเหลือง ชอบกินสตรอเบอรี่ คนที่มีบ้านอยู่ตรงกลางดื่มนม คนนอร์เวย์อยู่บ้านหลังแรก คนที่ชอบกินลูกแพร์ มีบ้านอยู่ถัดจากคนที่เลี้ยงแมว คนที่เลี้ยงม้าอยู่บ้านถัดจากคนที่ชอบกินสตรอเบอรี่ คนที่ชอบกินลูกพลับ ดื่มเบียร์ด้วย คนเยอรมันชอบกินกล้วยหอม คนนอร์เวย์อยู่บ้านถัดจากบ้านหลังสีฟ้า คนที่ชอบกินลูกแพร์ มีเพื่อนบ้านคนที่ดื่มน้ำ คำถามคือ ใครเลี้ยงปลา?
ลองวิเคราะห์ตัวอย่างนี้ดู ในช่วงเวลานับแต่ปี พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบันพบว่า ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.58 แม้ว่าราคาเนื้อสุกรในท้องตลาดจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากมีเพื่อนนักศึกษาคณะอื่นถามเรา เราจะอธิบายเขาให้เข้าใจได้อย่างไรหรือโดยวิธีใด
อย่าลืมเรื่องรูปแบบการคิด การนำเสนอรายงานสามารถคิดได้ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง การนำเสนอสัมมนาควรคิดได้ทั้งเชิงลึก แต่ต้องมีความรู้เชิงกว้าง การนำเสนอปัญหาพิเศษควรคิดได้ทั้งเชิงลึก แต่ต้องมีความรู้เชิงกว้าง การคิดทุกอย่างต้องมีเหตุผล และอาจต้องมีหลักฐาน (ข้อมูล สารสนเทศ รูปภาพ และ ฯลฯ รองรับ)