โดย ครูภาวัติ บุญกาญจน์ สื่อการสอนวิชาดนตรีไทย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒ เรื่องการขับร้องเพลงไทย โดย ครูภาวัติ บุญกาญจน์
การขับร้องเพลงไทย การขับร้อง หมายถึง ศิลปะการใช้เสียงที่ ถ่ายทอดความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ โดยใช้ ถ้อยคำบรรยายหรือพรรณนาเนื้อหาสาระที่ ต้องการบอกให้ผู้อื่นรู้ ซึ่งเรียกว่าเนื้อร้องหรือคำ ร้องประกอบลีลาจังหวะและแนวทำนองเพลง
ขับร้องหมู่ในวงปี่พาทย์ไม้นวม - การขับร้องเพลงไทยจะถูกแบ่งออกเป็น การขับร้องเดี่ยว และการขับร้องหมู่
เพลงขับร้องจะถูกแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้ เพลงเถา คือ เพลงที่นำมาร้องขับร้องและบรรเลงรวมกันทั้ง ๓ อัตราจังหวะ คือ ๓ ชั้น ๒ชั้น และชั้นเดียว เช่น เพลงแขกบรเทศ เถา เพลงโสมส่องแสง เถา ฯลฯ เพลงตับ คือ เพลงอัตราจังหวะ ๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้นซึ่งนำมาขับร้องและบรรเลง ติดกันไปหลายๆเพลง มี ๒ ชนิด คือ ตับเพลง และตับเรื่อง เพลงเกร็ด คือ เพลงที่แยกออกมาขับร้องเป็นเพลงๆ ไปโดยไม่ต้องบรรเลงเป็น ชุด เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงนกขมิ้น ๓ ชั้น เพลงลาวดวงเดือน ๒ ชั้น ฯลฯ เพลงลา คือ เพลงที่บรรเลงเป็นอันดับสุดท้ายก่อนที่การบรรเลงจะจบลง ลักษณะของเพลงจะแฝงไปด้วยความหมายในทางอำลา อาลัย เช่น เพลงอกทะเล เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ฯลฯ
หลักการขับร้องเพลงไทย เพลงไทยจะไพเราะได้ เนื่องจากผู้ร้องต้องมีวิธีการร้องเพลงไทยที่ถูกต้อง ดังนั้นในการร้องเพลงไทยให้ไพเราะจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ การนั่ง ควรนั่งพับเพียบ ตัวตรง ไม่ก้มหน้า การนั่งตัวตรงจะช่วยให้ระบบการ หายใจเข้าออกได้สะดวก การใช้กำลังเสียง กำลังเสียง หมายถึง การออกเสียงดังอย่างเต็มที่ในช่วงระยะลม หายใจแต่ละช่วง การร้องเพลงไทยต้องร้องเต็มเสียงไม่ออมแรง จังหวะ ร้องเพลงให้มีจังหวะแน่นอนและถูกต้อง สามารถรู้ว่าการร้องตอนใดลง จังหวะ ฉิ่ง หรือ ฉับ ผู้ฝึกร้องควรเคาะจังหวะเองในเวลาฝึกร้องทุกครั้ง การเอื้อน สัญลักษณ์ของเพลงไทย คือ การทำให้เกิดเป็นทำนองเรียกว่าเสียง “เอื่อน” เอื่อนอาจร้องเริ่มต้นเพลง หรืออยู่ระหว่างคำร้อง เช่น เออ เอย เอ๋ย อือ เฮอ
บทเพลงไทยสำหรับฝึกร้อง เพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น บทเพลงไทยสำหรับฝึกร้อง เพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น คำร้อง : คุณหญิงชิ้น ศิลปะบรรเลง ธูปเทียนทองสองมือ ถือไว้ตั้งใจวันทา (ซ้ำ) น้อมเคารพบูชา พระศาสดาของชาวพุทธ (ซ้ำ) พระปัญญาเลิศล้น ทรงค้นพบสัจธรรม พระการุณเลิศล้ำ ทรงน้อมธรรมสู่มนุษย์ พระองค์เลิศล้วนบริสุทธิ์ สอนชนเพื่อหลุดพ้นทางทุกทน (ซ้ำ) จากบทละครเรื่อง “อิเหนา” ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน ประพันธ์เพลงโดย หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)