การประเมินภาวะการใช้ยา Ceftazidime และ Imipenem ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
หลักการและเหตุผล กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการประเมินการใช้ยาในโรงพยาบาลในกลุ่มยาที่มีราคาแพงและเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์สูง โดยที่ยาเหล่านี้มีขอบเขตการกำจัดเชื้อกว้าง ถ้าเชื้อดื้อต่อยาจะหายาอื่นรักษาได้ยาก ในการสั่งยาต้องใช้ใบควบคุมการสั่งยาประกอบทุกครั้ง จึงต้องมีการประเมินผลและติดตามการใช้ยาเหล่านี้
ทบทวนวรรณกรรม ลักษณะการสั่งใช้ยา ceftazidime ของ รพ. มหาราชนครศรีธรรมราช การประเมินการใช้ยา cephalosporins รุ่น 3 ในผู้ป่วย รพ.น่าน การประเมินการใช้ยา ceftazidime ในผู้ป่วย รพ. อุดรธานี การประเมินการใช้ยา ceftazidime ใน รพ. มะการักษ์ การศึกษาพฤติกรรมของแพทย์ในการสั่งใช้ยากลุ่ม cephalosporins ใน รพ. อุตรดิตถ์ การประเมินการใช้ยา Cefotaxime ในโรงพยาบาลโพธาราม-นนทบุรี
วัตถุประสงค์ ประเมินการใช้ยา ceftazidime และ imipenem ในด้าน นำผล c/s มาประกอบการสั่งยา ขนาดยา ผลการรักษา ปริมาณยาที่ไม่ก่อประโยชน์ในการรักษา
วิธีการศึกษา Study design : Prospective descriptive study เก็บข้อมูล : 11-26 กค. 43 วิเคราะห์ข้อมูล : ร้อยละ
ผลการศึกษา(CEFTAZIDIME)
ผลการศึกษา(IMIPENEM)
ประเภทของInappropriate Indication
วิจารณ์การศึกษา ไม่ส่ง C/S ก่อนให้ยา: แพทย์ใช้ประสบการณ์ในการสั่ง ข้อบ่งใช้ไม่ตรงตามเกณฑ์: แพทย์อาศัยประสบการณ์และอาการทางคลินิก ขนาดยาไม่ตรงตามเกณฑ์:ให้ตามเกณฑ์แล้ว Pt.ไม่ดีขึ้น ปริมาณยาที่ไม่ก่อประโยชน์ในการรักษา:อาการคงเดิม,เสียชีวิต
สรุปผลการศึกษา(CEFTAZIDIME) ถูกต้องและเหมาะสมตามเกณฑ์ 55.14% แพทย์ให้ความสำคัญกับข้อบ่งใช้และขนาดยาที่ถูกต้อง แพทย์ยังไม่ให้ความสำคัญกับการส่ง C/S สำหรับ specific therapy มีปัญหาในการปรับเปลี่ยนขนาดยาใน Pt. ไตผิดปกติ
สรุปผลการศึกษา(IMIPENEM) ถูกต้องและเหมาะสมตามเกณฑ์ 36.6% แพทย์ให้ความสำคัญกับข้อบ่งใช้และขนาดยาที่ถูกต้อง แพทย์ไม่เห็นความสำคัญในการส่ง C/S หลังให้ยาใน empiric therapy และ C/S เพื่อยืนยันใน specific therapy แพทย์ไม่ให้ความสำคัญในการเปลี่ยนขนาดยาในผู้ป่วยไตผิดปกติ
ข้อเสนอแนะ แพทย์ควรให้ความสำคัญการส่ง C/S มากขึ้นจะทำให้การสั่งใช้ยาได้เกิดประโยชน์สูงสุด แพทย์ควรมีการสั่งใช้ยา Ceftazidime และ Imipenem ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากยามีราคาแพง และ หากเกิดการดื้อยาจะทำให้มีปัญหาในการหายาตัวอื่นมารักษามากขึ้น แพทย์ควรมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาให้กับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติทุกราย
ข้อเสนอแนะ ควรให้เวลาในการวิจัยมากขึ้น จะทำให้ทางผู้วิจัยสามารถที่จะทำการศึกษาวิจัยได้ใน 3 ระยะ : pre-intervention, intervention, post-intervention ควรสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินขึ้นมาใช้ซึ่งเป็นของทางโรงพยาบาลพุทธชินราชเอง