ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยในสูงอายุ ของรพ.พุทธชินราช DEPRESSION OF INPATIENTS IN BUDDHACHINARAJ HOSPITAL
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนในวัยอื่นๆ ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ
ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วไป พบภาวะซึมเศร้า 16-40% พบว่าภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์กับอัตราการฆ่าตัวตายของ ผู้สูงอายุถึงร้อยละ 90 จากการศึกษาของ Forsell และคณะ (1997) ศึกษาประชากร ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป พบว่ามีความชุกของผู้ป่วย ที่มีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เท่ากับ ร้อยละ 13.3 และพบว่าความคิดอยากฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์ อย่างมากกับโรคซึมเศร้า (depressive disorder)
OBJECTIVES ศึกษาความชุกของผู้ป่วยในสูงอายุในโรงพยาบาลพุทธชินราช ศึกษาระดับภาวะความซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงอายุ ศึกษาปัจจัยและสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าใน ผู้ป่วยสูงอายุ ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยลดความซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงอายุ
วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา Cross-sectional Study ระหว่างวันที่ 24 -28 กรกฎาคม 2543 ประเมินโดยแบบประเมินความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ( TGDS) มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.93 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป EPI Info 6 โดยกำหนดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญให้ p < 0.05
Criteria of Samples เป็นผู้ป่วยในของรพ.พุทธชินราช มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ อาชีพ สถานภาพสมรส ฐานะ ระดับการศึกษา และโรคทางกาย ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เป็นผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคปานกลาง ตามหลักการจำแนก ผู้ป่วยของการพยาบาล
ผลการวิจัย ศึกษาในผู้สูงอายุ 99 ราย เป็นชาย 50 ราย เป็นหญิง 49 ราย Exclude 16 ราย พบว่ามีภาวะความซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุ 39.39% ส่วนใหญ่มีภาวะความซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย พบว่าผู้ป่วยเพศหญิงมีภาวะความซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย คิดเป็นอัตราส่วนระหว่างหญิงต่อชาย 1.18 : 1
สรุป ผู้ป่วยในสูงอายุส่วนใหญ่ของโรงพยาบาล มีสุขภาพจิตที่ดี ผู้ป่วยในสูงอายุส่วนใหญ่ของโรงพยาบาล มีสุขภาพจิตที่ดี ความชุกและอัตราภาวะซึมเศร้าระหว่างหญิงต่อชายของผู้ป่วยไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุปกติ สาเหตุของภาวะซึมเศร้า ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับโรค และปัญหาในครอบครัว วิธีที่ใช้ลดภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยปกติจะใช้วิธีที่เหมาะสมมากกว่า
ข้อเสนอแนะ การมองเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุของสังคมย่อมมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล บุคลากรทางด้านการแพทย์สามารถมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ เพื่อทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเหล่านั้นมีภาวะซึมเศร้าลดลงจากการที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานๆ