หลักการพัฒนา หลักสูตร (Principle of curriculum development) [จัดทำโดย] นายศศิวัฒน์ สุริยะแก่นทราย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หลักการพัฒนาหลักสูตร (Oliva. 2001 : 28 – 41) 1 การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นสิ่งที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นสิ่งที่ จําเป็นต้องมี 2 หลักสูตรเป็นผลผลิตของแต่ละช่วงเวลาและ ต้องตอบสนองต่อสังคม หลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพบริบท ของสังคมในแต่ละยุค 3 การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจะไม่เป็นการเริ่มต้น และจบลงทันทีทันใด การพัฒนาหลักสูตรจะมีกระบวนการและขั้นตอน ส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกัน หรือทับซ้อนกันอยู่
หลักการพัฒนาหลักสูตร 4 การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล อันได้แก่ นักพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความรู้ การอบรม และการให้มีส่วนร่วม ในกิจกรรม 5 การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่ต้องอาศัยความ ร่วมมือจากบุคคล หลายฝ่าย 6 การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการของ การตัดสินใจ การตัดสินใจเกี่ยวกับ การเลือกรายวิชา เนื้อหาวิชา และการบริหารจัดการ หลักสูตร
หลักการพัฒนาหลักสูตร 7 การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นสิ่งที่จําเป็นต้องมี 8 การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิผลจําเป็นต้องมี การพิจารณา อย่างครอบคลุม 9 การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพต้องมี การดําเนินการไปตามกระบวนการอย่างมี ระบบ (ซึ่งจะส่งผลดีมากกว่าการลองผิดลองถูก)
หลักการพัฒนาหลักสูตร 10 การพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มจากหลักสูตรเดิม ที่มีอยู่แล้ว โดยการตรวจสอบและประเมินดูว่ามีส่วน ใด เป็นส่วนดี มีส่วนใดที่จําเป็น ต้องแก้ไข
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ Tyler (Tyler model of curriculum development) [จัดทำโดย] นายศศิวัฒน์ สุริยะแก่นทราย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Ralph W. Tyler (1902-1994) ในปี ค.ศ. 1949 ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) นักการศึกษาชาวอเมริกาได้ให้ หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า ในการพัฒนาหลักสูตรและวางแผนการ สอนนั้นควรต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
1 2 คำถาม 4 ประการ What is the purpose of the education ? คำถาม 4 ประการ 1 What is the purpose of the education ? มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่ โรงเรียนควรแสวงหา 2 What educational experiences will attain the purposes ? มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่ โรงเรียนสามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุ จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
คำถาม 4 ประการ 3 How can these experiences be effectively organized ? โรงเรียนจะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้ อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด 4 How can we determine when the purposes are met ? จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ใน การเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ กำหนดไว้
คำถาม 4 ประการกับองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร คำถาม 4 ประการกับองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร คำถามทั้ง 4 ประการตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ การตั้งเป้าประสงค์ การเลือกเนื้อหา การสอน การประเมินผล
กรอบในการตอบคำถาม 4 ประการของ Tyler 1 What is the purpose of the education ? นักพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มค้นหา จุดประสงค์ทางการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจาก 3 แหล่งข้อมูล ดังนี้ แหล่งข้อมูลนักเรียน แหล่งข้อมูลสังคม แหล่งข้อมูลจากข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญ
กรอบในการตอบคำถาม 4 ประการของ Tyler 2 What educational experiences will attain the purposes ? Tyler ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์ การเรียนรู้ไว้ ดังนี้ 1) ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหา ตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์ 2) กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้นั้น ควรทำให้ ผู้เรียนพอใจที่จะปฏิบัติตาม พฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์ 3) กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรอยู่ในข่ายที่นักเรียน สามารถปฏิบัติได้ 4) กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้าน ของผู้เรียน อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เพียงข้อเดียวก็ได้ 5) กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่าง อาจตอบสนองจุดประสงค์ หลายๆข้อได้
คำถาม 4 ประการกับองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร คำถาม 4 ประการกับองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร ครูควรให้ความสนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ การพัฒนาทักษะการคิด การช่วยให้ได้รับข้อสนเทศมา การช่วยพัฒนาเจตคติเชิงสังคม การช่วยพัฒนาประโยชน์หรือความสนใจของผู้เรียน
กรอบในการตอบคำถาม 4 ประการของ Tyler 3 How can these experiences be effectively organized ? ประสบการณ์การเรียนรู้ควรได้รับการจัดให้ ถูกต้องและชัดเจน จะต้องเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้บรรลุ จุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน ประสบการณ์การเรียนรู้ควรมีลักษณะเป็นแนวตั้ง เริ่มจากง่ายไปหายาก ควรจะเสริมแรงโดยใช้กิจกรรมต่างๆใน รายวิชาอื่น ๆที่มีความคล้ายคลึงกัน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ ความต่อเนื่อง (Continuity) จากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้น การจัดลำดับ (Sequence) จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากตามลำดับก่อนหลังของเนื้อหา การบูรณาการ (Integration) จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกัน
กรอบในการตอบคำถาม 4 ประการของ Tyler How can we determine when the purposes are met ? ควรกำหนดความเหมาะสมระหว่างผลของ วัตถุประสงค์เฉพาะ กับผลของผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง การประเมินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้เรียนและการปฏิบัติ ควรใช้เทคนิคอื่นๆนอกเหนือจากการทดสอบ ด้วย เช่น การสังเกต , การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และ ตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน
ควรจะมีการปรับแก้ในส่วนที่ยังบกพร่อง โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำเกิดพฤติกรรมเหล่านั้น ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ข้อดีและข้อจำกัด ของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ Tyler ข้อดี 1. เป็นวิธีการที่ไม่มีความซับซ้อน มีความเป็นเส้นตรง 2. ใช้ปรัชญาการศึกษาและจิตวิทยาการศึกษาในการ กลั่นกรองวัตถุประสงค์ 3. เน้นการรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 4. ใช้การประเมินแบบ formative evaluation และมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย 5. ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใช้หลักเกณฑ์ คือ ความต่อเนื่อง การจัดลำดับ และการบูรณาการ ข้อจำกัด 1) ไม่มีการบอกวิธีการเลือกเนื้อหาว่า มีวิธีอย่างไร 2) ไม่ได้บอกถึงการใช้แหล่งข้อมูลว่ามีวิธีการใช้ อย่างไร 3) พูดในมุมมองที่กว้างเกินไป 4) ขาดความยืดหยุ่น
บรรณานุกรม ดร.สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. 2532. ดร.สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. 2532. พินโย พรมเมือง. (2553). รูปแบบของหลักสูตร Tyler’s Rational – Linear Approach. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฏาคม2556, จากเว็บไซต์ http://pinayo-ci.blogspot.com/2010/11/blog-post.html ภัทราวดี ทองแท้ (2556). สรุปองค์ความรู้: การพัฒนาหลักสูตร. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฏาคม2556 , จากเว็บไซต์ http://pattarawadeemaii.blogspot.com/2013/03/blog-post.html