ตรรกวิทยา จัดทำโดย รศ.สมฤดี วิศทเวทย์ สำหรับการเรียนการสอนวิชาปรัชญาและตรรกวิทยา 2207 103 ภาคปลาย 2547
การอ้างเหตุผลคืออะไร ความถูกต้องกับความจริง เกณฑ์ตัดสินความถูกต้องของการอ้างเหตุผล ข้อดีข้อเสียของเกณฑ์นิรนัยและอุปนัย
การอ้างเหตุผล ข้ออ้าง ข้อสรุป
การอ้างเหตุผล คือการยกข้อความบางข้อความมาสนับสนุนข้อความอีกข้อความหนึ่งว่าจริง ข้อความที่ยกมาสนับสนุน เรียกว่า ข้ออ้าง ข้อความที่ถูกสนับสนุน เรียกว่า ข้อสรุป
การทำแท้งเป็นการฆ่าเด็กที่บริสุทธิ์ - ข้ออ้าง ฉะนั้น การทำแท้งเป็นการทำบาป - ข้อสรุป คำว่า “สรุป” ไม่ได้มีความหมายว่า พูดให้สั้น และกระชับ หรือย่อเอาแต่เนื้อความสำคัญ
ความสัมพันธ์ที่ ถูกต้อง สิ่งสำคัญในการอ้างเหตุผล ความสัมพันธ์ที่ ถูกต้อง ระหว่างข้ออ้างและข้อสรุป ไม่ใช่ความจริงของข้ออ้างหรือข้อสรุปตามลำพัง
ความจริงของข้ออ้างเป็นตัวกำหนดความจริงของข้อสรุป ความถูกต้อง ความจริงที่อยู่ในรูปของเงื่อนไข
คุณสมบัติของการอ้างเหตุผล ความถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริง คุณสมบัติของข้อความ ความจริง เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง
เกณฑ์ตัดสิน ความถูกต้อง นิรนัย อุปนัย
ถ้าข้ออ้างจริง เป็นไปไม่ได้ที่ข้อสรุปจะเท็จ เกณฑ์นิรนัย ถ้าข้ออ้างจริง เป็นไปไม่ได้ที่ข้อสรุปจะเท็จ ถ้าใครมาสายเกินครึ่งชั่วโมงจะไม่มีสิทธิสอบ คนที่ไม่ได้มารถไฟฟ้ามาสายเกินครึ่งชั่วโมง ดังนั้น คนที่ไม่ได้มารถไฟฟ้าไม่มีสิทธิสอบ
ข้อสรุปของการอ้างเหตุผล ที่ถูกต้องอาจจริงหรือเท็จ ตัวอย่าง นกเป็นสัตว์ปีก สัตว์ปีกมี 2 ขา ดังนั้น นกมี 2 ขา ตัวอย่าง คนเป็นสัตว์ 2 ขา สัตว์ 2 ขาทุกตัวบินได้ ดังนั้น คนบินได้ ถูกต้อง ข้อสรุปของการอ้างเหตุผล ที่ถูกต้องอาจจริงหรือเท็จ
ข้อสรุปของการอ้างเหตุผล ที่ไม่ถูกต้องอาจจริงหรือเท็จ ตัวอย่าง คนจนกินข้าวเหนียว ฉันกินข้าวเหนียว ดังนั้น ฉันเป็นคนจน ตัวอย่าง น้ำไม่ใช่ไฟ ไฟไม่ใช่ลม ดังนั้น น้ำไม่ใช่ลม ไม่ถูกต้อง ข้อสรุปของการอ้างเหตุผล ที่ไม่ถูกต้องอาจจริงหรือเท็จ
ถ้าข้ออ้างจริง ข้อสรุปมีความน่าจะเป็นจริงสูง เกณฑ์อุปนัย ถ้าข้ออ้างจริง ข้อสรุปมีความน่าจะเป็นจริงสูง ส้มทุกผลที่ฉันชิมในตะกร้านี้หวาน ดังนั้น ส้มทุกผลในตะกร้านี้หวาน
ข้ออ้างทุกข้อจริง + การสรุปถูกต้องตามเกณฑ์ ตัวอย่าง ทองแดงเป็นโลหะ โลหะเป็นสื่อไฟฟ้า ทองแดงเป็นสื่อไฟฟ้า ตัวอย่าง ก. สอบได้ A มาทุกวิชา ดังนั้น วิชานี้ ก. น่าจะ สอบได้ A อีก การอ้างเหตุผลที่ดี ข้ออ้างทุกข้อจริง + การสรุปถูกต้องตามเกณฑ์
เกณฑ์นิรนัย ข้อดี ข้อสรุปจริง 100% ถ้าข้ออ้างจริง ข้อเสีย ข้อสรุปไม่ใช่ความจริง “ใหม่”
คนไทยทุกคนนับถือศาสนาพุทธ นิศาเป็นคนไทย ฉะนั้น นิศานับถือศาสนาพุทธ คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
เกณฑ์อุปนัย ข้อดี ข้อสรุปให้ความจริงใหม่ ข้อเสีย ข้อสรุปไม่จริง 100% แม้ข้ออ้างจริง
? ข้อสรุปของอุปนัยเป็นการ “กระโดด“ จากบางสิ่ง หรือทุกสิ่งที่รู้ ไปสรุปบางสิ่งหรือทุกสิ่งที่ยังไม่รู้