เรื่องคำควบกล้ำ คำควบกล้ำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัวเรียวกัน ประสมสระเดียวกันและอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นทั้ง 2 ตัว พร้อมกัน ออกเสียงกล้ำกัน พยัญชนะตัวกล้ำ คือ พยัญชนะตัวหลัง ซึ่งพยัญชนะตัวกล้ำ มีเพียง 3 ตัว ได้แก่ ร ล ว
พยัญชนะต้นควบกับ ร (ควบแท้) ร ควบกล้ำเวลาอ่านออก เสียงกล้ำพร้อมกันมี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน
พยัญชนะควบแท้ ล ล ควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กล- ขล- คล- ปล- พล- ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก เกล็ดปลา ตีกลอง
คำควบกล้ำแท้ ว ว ควบกล้ำ คือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กว- ขว- คว- ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด
ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ . คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง กลาง สะกดว่า กล + อา + ง อ่านว่า กลาง ควาย สะกดว่า คว + อา + ย อ่านว่า ควาย แขวน สะกดว่า ขว + แอ + น อ่านว่า แขวน
ฝึกอ่านคำควบกล้ำ ลูกกวาด ลากเกวียน แกว่งไกว กวักมือ เขากวาง ลูกกวาด ลากเกวียน แกว่งไกว กวักมือ เขากวาง ไกวเปล แขนขวา มีดขวาน ขว้างปา ขวักไขว่ ขวัญใจ ไขว่ห้าง ไม้แขวน ขวนขวาย คว้าแขน เคว้งคว้าง ควักกะปิ ควันไฟ อ้อยควั่น นอนคว่ำ แว่นแคว้น ควานหา
คำควบกล้ำไม่แท้ คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน พยัญชนะตัวหน้าเป็นตัว จ ซ ท ศ ส พยัญชนะตัวควบเป็นตัว ร ประสมสระเดียวกัน เช่น จร จริง ศร เศร้า ทร ทราบ ทราม ทราย เเทรก ซร ไซร้ สร สร้าง เสริม เวลาอานออกเสียงคำควบไม่แม้ ที่มีตัว จร ชร ศร และสร จะอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ไม่ต้องออกเสียงตัว ร เช่น จริง อ่านว่า จิง ไซร้ อ่านว่า ไซ้ เศร้า อ่านว่า เส้า สร้อย อ่านว่า ส้อย
คำควบกล้ำไม่แท้ ที่มี ทร คำควบกล้ำไม่แท้ ที่มี ทร คำควบกล้ำไม่เเท้ที่มีตัว ทร ให้อ่านออกเสียงเป็น ซ เช่น คำที่ใช้ ทร เเต่ออกเสียงเป็น ซ ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรีย์ มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา ตัว "ทร" เหล่านี้เรา ออกเสียงเป็นเสียง "ซ" จาก หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ * แต่ถ้า ท กับ ร ควบกันแล้วออกเสียงกล้ำกันสนิท ก็จะนับว่าเป็นคำควบกล้ำเเท้ เช่น นิทรา อ่านว่า นิด-ทรา เป็นต้น
จัดทำโดย นาง วิไลลักษณ์ ผาสุก โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย