รอบรู้อาเซียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จัดทำโดย นางสาว วราภรณ์ พลโคตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เลขที่ 28 เสนอ คุณครู อรวรรณ กองพิลา โรงเรียนฝางวิทยายน
มารู้จัก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนกันเถอะ
สัญลักษณ์อาเซียน รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
คำทักทายประจำชาติอาเซียน
ชุดประจำชาติอาเซียน
ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
อาหารประจำชาติอาเซียน
สัตว์ประจำชาติกลุ่มประเทศอาเซียน
สกุลเงินของสมาชิกอาเซียน
วิวัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการเกษตร ของกลุ่มประชาคมอาเซียน
การเมือง: ระบบการเมืองการปกครองของประเทศสมาชิกในอาเซียนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ระบบการเมืองมีความหลากหลายอย่างมาก บางประเทศปกครองด้วยระบอบสมบูรณ์อาญาสิทธิราชย์ (บรูไน) ในขณะที่บางประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (กัมพูชา มาเลเซีย และไทย) ส่วนบางประเทศปกครองด้วยระบอบประธานาธิบดี (อินโดนิเซีย ลาว เมียนม่าร์ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ความหลากหลายของระบบการเมืองกลับไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน พัฒนาการของระบบการเมืองการปกครองของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ในขณะที่บางประเทศมีความมั่นคงทางการเมืองสูงอย่าง (มาเลเซียและสิงคโปร์) บางประเทศกลับประสบปัญหาสงครามกลางเมืองและการก่อการร้าย โครงการวิจัยของ The Polity IV วิเคราะห์ระบบการเมืองการปกครองในประเทศต่างๆ และกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้เห็นแนวโน้มของสถาบันทางการเมืองและความมั่นคงทางการเมือง
เศรษฐกิจ: ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในขณะที่บรูไนและสิงคโปร์มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูง ประเทศในแถบอินโดจีนกลับติดอยู่ในกลุ่มประเทศยากจนกลุ่มหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตามประเทศในกลุ่มอาเซียนถือเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคน อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่หลายประเทศสนใจอยากมีความสัมพันธ์ทางการค้า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูกแต่มีทักษะฝีมือดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพในการเจริญเติบโตในอนาคต ข้อมูลจากธนาคารโลก (The World Bank) แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (The International Monetary Fund: IMF) แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินการคลังของประเทศในกลุ่มอาเซียน
สังคม: ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความหลากหลายทางสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม หลายประเทศประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์และภาษา ในเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ประเทศในกลุ่มอาเซียนถือเป็นสนามวิจัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองในบางประเทศในอาเซียน แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้กลายเป็นยุทธศาสตร์เชิงท่องเที่ยวของหลายประเทศในอาเซียนเช่นกัน
การเกษตร: เกษตรกรรมเป็นภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าสำคัญระดับโลก ในขณะที่ไทยและเวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับที่หนึ่งและสองของโลก อินโดนิเซียและมาเลเซียเป็นผู้ส่งออกยางพาราและปาล์มน้ำมันระดับโลกเช่นกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทางการเกษตรและฐานะของเกษตรกรในประเทศกลุ่มอาเซียนกลับตามหลังประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ข้อมูลนโยบายการเกษตรและการช่วยเหลือการเกษตรโดยมหาวิทยาลัยอัลเดอร์เลด (the University of Adelaide) ช่วยทำให้เราเห็นภาพเชิงเปรียบเทียบของพัฒนาการและแนวโน้มนโยบายการเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน
ส่วนอีกหนึ่งสาขาที่ยังพิจารณาคุณสมบัติร่วมกันและไทยยังไม่ ได้ ลงนามร่วม คือ กลุ่มวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว
เกมการศึกษาชื่อประเทศกลุ่มอาเซียน
THE END
Thank you Good…..Bye