RICE RAGGED STUNT VIRUS (โรคจู๋ของข้าว) จัดทำโดย 1. นางสาวจารุณี หนูมาก 4440023 2. นางสาวจุรีรัตน์ แสงนิล 4440038 3. นางสาวชนิภา นาเมือง 4440045 4. นางสาวชิดชนก พูนสวัสดิ์ 4440050 5. นางสาวณัฐวดี สมบัติเทพสุทธิ์ 4440062 6. นางสาวเพ็ญพัค เสาวภาคย์ 4440132 7. นางสาวอัญชุมา อักษรสิทธิ์ 4440226 8. นายฮาเซ็ม ดือเล๊าะ 4440237
Rice Ragged Stunt Virus หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Rice infectious gall virus จัดอยู่ใน Family Reoviridae Genus Oryzavirus Species Rice ragged stunt virus Acronym RRSV เป็นสาเหตุของโรค Rice Ragged Stunt Virus ( โรคจู๋ของข้าว ) พบไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกในข้าว จากประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
สัณฐานวิทยา ( Morphology ) ของ RRSV - Virions ไม่มีผนังหุ้ม - Genome เป็น double stranded RNA - Nucleocapsids มีรูปร่างแบบ isometric - ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 nm - เห็นเป็นเหลี่ยม capsomere เห็นไม่ชัด
แบบจำลองของ RRSV http://www.3.res.bbsrc.ac.uk/
CYTOPATHOLOGY การเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชในระดับเซลล์ เชื้อจะเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์ท่ออาหารที่มีลักษณะเป็นติ่งนูนอย่างเห็นได้ชัด อนุภาคของไวรัสจะไปรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณเซลล์ที่ติดเชื้อทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงไป เช่น เซลล์จะขยายใหญ่ขึ้น
ลักษณะอาการของโรค Rice Ragged Stunt ข้าวต้นเตี้ย (สั้นจู๋) ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะแคบและสั้น ใบใหม่จะแตกช้ากว่าปกติ และเมื่อเจริญออกมา ปลายใบ จะบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก ขอบใบแหว่งวิ่น และเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ออกรวงล่าช้า และให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะอาการโรคใบหงิก ( จู๋ ) http://www.plantpro.doae.th/
การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสไม่ติดต่อทางเมล็ด มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ( Nilaparvata lugens ) เป็นพาหะ เมื่อแมลงรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ตัว ไวรัส จะฟักตัวในแมลงนานประมาณ 8 วัน หลังจากนั้นเชื้อจะถูกถ่ายทอดสู่ต้นข้าว ผ่านการดูดกินของแมลงพาหะ ต้นข้าวที่ได้รับเชื้อก็จะเริ่มแสดงอาการโรคจู๋ หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือน เกิดกับข้าวทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นข้าวอายุ 15-45 วันที่ติดเชื้อจะแสดงอาการรุนแรงมาก ถ้ามีอายุเกิน 60 วัน แม้จะได้รับเชื้อจะแสดงอาการไม่ค่อยรุนแรงนัก
http://www.knowledgebank.irri.org/
พื้นที่ระบาดของโรคจู๋ของข้าว
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ข้าวเป็นโรคจู๋จะออกรวงล่าช้า และให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่อย่างที่ชาวนาเรียกว่าไม่มีเนื้อ เมล็ดที่สมบูรณ์มักจะด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำ เติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้ มักจะพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคจู๋ อาจทำให้ผลผลิตเสียหาย ถึง 100 %
การป้องกันและกำจัด 1. กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส สาเหตุโรค 1. กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส สาเหตุโรค - ทำลายแหล่งพืชอาศัยของเชื้อ - ดูแลกำจัดวัชพืชในนาสม่ำเสมอ 2. ป้องกันข้าวติดเชื้อโดยใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อแมลงพาหะ ใน แหล่งที่เคยมีประวัติการระบาดโรคจู๋มาก่อน เช่น กข 9, กข 23 ,กข 25
การป้องกันและกำจัด (ต่อ) 3. หลังจากปฏิบัติตาม ขั้นตอนข้อ 1 และ 2 แล้ว ควรเอาใจใส่ตรวจตรา อย่าให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนำเชื้อเข้าสู่แปลงนาได้ วิธีการนี้จำเป็นต้อง ใช้สารเคมีเข้าช่วย เริ่มใช้ตั้งแต่ระยะกล้าโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึมประเภทคาร์โบฟูราน หรือสารประเภทเดียวกันหว่านในแปลงกล้าอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ก่อนหว่านกล้าหรือหลังข้าวงอกแล้ว 3-4 วันก็ได้ เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ
การป้องกันและกำจัด (ต่อ)
www.knowledgebank.irri.org www.eto.ku.ac.th www.uq.edu.au อ้างอิง www.knowledgebank.irri.org www.eto.ku.ac.th www.uq.edu.au http://plantpro.doae.go.th http://image.fs.uidaho.edu www.3.res.bbsrc.ac.uk/