การประเมินคุณภาพสารสนเทศ
ลักษณะสารสนเทศที่ดี ความถูกต้องเที่ยงตรง (Accuracy) ตรงตามความต้องการ (Relevancy) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness) ความน่าเชื่อถือได้ (Reliability) ตรวจสอบได้ (Verifiable) ความชัดเจน (Clarity) ความสามารถในการเข้าถึง (Accessbility) ทันต่อเหตุการณ์ (Timely)
หลักการประเมิน : ก่อนนำสารสนเทศมาใช้ บุคคล หน่วยงาน หรือองค์กร ที่รับผิดชอบเป็นที่รู้จัก และให้ข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงมาตลอด แม้จะไม่โดดเด่น ผู้แต่ง มีพื้นฐานการศึกษาตรงกับเนื้อหานั้น ๆ แหล่งอ้างอิง หรือเอกสารอ้างอิง ที่ปรากฏ ในข้อมูล ต้องสนับสนุน และยืนยันความเป็นจริงของข้อมูล แสดงวันที่ ปรับปรุงข้อมูลชัดเจน
การประเมินคุณภาพเว็บ 1. ความทันสมัย 2. เนื้อหาและข้อมูล 3. ความน่าเชื่อถือ 4. การเชื่อมโยงข้อมูล 5. ความเป็นมัลติมีเดีย 6. การให้ข้อมูล 7. การเข้าถึงข้อมูล 8. องค์ประกอบอื่น ๆ
ความทันสมัย (Currency) ความทันสมัยของเว็บไซต์ คือ ข้อมูลเป็นปัจจุบัน เช่น มีข้อมูลใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ ข้อมูลได้รับการแก้ไขปรับปรุงตามระยะเวลาที่เหมาะสม และแสดงวันที่ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด ที่หน้าโฮมเพจ สถิติการเข้าใช้ สถิติปรับปรุงข้อมูล
ประเมินคุณค่า ในด้าน : เนื้อหาและข้อมูล (Content and information) ประเมินคุณค่า ในด้าน : ความถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ ตรงตามชื่อ และสอดคล้องกับหน่วยงานที่ ดำเนินการ หรือ รับผิดชอบชัดเจน เนื้อหามีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ การใช้ภาษาเขียนที่สละสลวย สุภาพ และเป็นทางการ การพิมพ์ การใช้สระ พยัญชนะ ตัวสะกด ต่าง ๆ ถูกต้อง
ความน่าเชื่อถือ (Authority) ความน่าเชื่อถือ พิจารณาจาก ผู้จัดทำเว็บเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือเป็นองค์กรที่ รับผิดชอบด้านนั้นโดยตรง หรือมีส่วนในการสงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งนิยมแสดงไว้ด้านล่างของเว็บไซต์ มีโดเมนเนม (Domain name) ที่เป็นมาตรฐาน - สถาบันศึกษา .edu - หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร .org - หน่วยงานรัฐบาล .gov
การเชื่อมโยงข้อมูล (Navigation) ชื่อเว็บไซต์โยงไปยังองค์กรที่เป็นเจ้าของชัดเจน เมื่อโยงไป ต้องเป็นเว็บไซต์ที่แสดงความสัมพันธ์กับองค์กรนั้น การเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ต้องเข้าใจง่าย และชัดเจน การเชื่อมโยง ควรจะเป็นแนวทางเดียวกันสอดคล้องกันใน ทุก ๆ เว็บเพจ เช่น - การเชื่อมโยงหน้าแรก หรือหน้าโฮมเพจ เป็นปุ่ม หน้าอื่น ๆ ก็ควรเป็นปุ่ม - การเชื่อมโยงในทุก ๆ หน้า สามารถกลับไปยังหน้าแรกได้
ความเป็นมัลติมีเดีย (Multimedia) องค์ประกอบที่สำคัญของความเป็น มัลติมีเดีย คือ เสียง ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว ความรวดเร็ว และเวลาในการนำเสนอเนื้อหาเหมาะสม ความสอดคล้องของมัลติมีเดียกับเนื้อหาภายในเว็บ และ มัลติมีเดียช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ชมเว็บ
การให้ข้อมูล (Treatment) การให้ข้อมูลภายในเว็บ ข้อมูลที่สำคัญ ควรจะเข้าถึงได้ง่าย ไม่สลับซับซ้อน และ วางอยู่หน้าแรกๆ การนำเสนอข้อมูล มีการจัดรูปแบบและหมวดหมู่ของข้อมูล อย่างเป็นระบบ มีลักษณะหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยเรียงกันไป ตามลำดับ ให้ข้อมูลที่เหมาะสม ไม่ลำเอียงจากผู้รับผิดชอบ แม้ว่าแนวคิด หรือเหตุผลทางธุรกิจไม่ตรงกัน
การเข้าถึงข้อมูล (Access) การเข้าถึงข้อมูล สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เว็บไซต์สามารถแสดงผลข้อมูล หรือปรากฏหน้าแรกได้อย่าง รวดเร็ว เมื่อผู้ใช้พิมพ์ที่อยู่ของเว็บ (URL) กด Enter เพราะถ้ารอนานเกินไป ทำให้น่าเบื่อหน่าย และเปลี่ยนไปใช้ เว็บอื่น ควรมี Search Engine ต่างๆ เชื่อมโยงไว้ด้วย เพื่ออำนวย ความสะดวกให้ผู้ค้นหา และมีทางเลือกในการเข้าถึง แหล่งข้อมูลอื่น
องค์ประกอบอื่น ๆ (Miscellaneous) การประเมิน เว็บไซต์ ด้านอื่น ๆ ได้รับรางวัล ยอดนิยม หรือได้รับการโหวตในสาขาใด ๆ ไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ใช้ ในลักษณะถามตอบ การสมัครและจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้เป็นความลับ (รหัสผ่าน) มีข้อมูลที่สามารถพิมพ์ออกได้ เสนอข้อมูลได้ใจความ สั้นกระทัดรัด มีเครื่องมือสืบค้นข้อมูลเป็นของตนเอง
เอกสารอ้างอิง บวร ปภัสราทร. 2547. เวบไหนน่าเชื่อ. กรุงเทพธุรกิจ. 1 มิถุนายน, 14. ปรัชญนันท์ นิลสุข. 2546. การประเมินคุณภาพเว็บข้อมูลสาร สนเทศ. รังสิตสารสนเทศ. 9, ฉ.1 (มกราคม- มิถุนายน): 19-27