การทดสอบที (t) หัวข้อที่จะศึกษามีดังนี้ เอกสารหน้า 1-2 การทดสอบที (t) หัวข้อที่จะศึกษามีดังนี้ การทดสอบสถิติทีแบบ ตัวอย่างอิสระ การทดสอบสถิติทีแบบ ตัวอย่างคู่อันดับ หรือ ตัวอย่างสัมพันธ์
การสรุปผลการทดสอบ จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เอกสารหน้า 2-3 การสรุปผลการทดสอบ จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS การทดสอบสถิติทีแบบ ตัวอย่างอิสระ มีตารางที่สำคัญ 2 ตารางคือ ตาราง Group Statistics และ ตาราง Independent Samples Test ดังนี้ ทำได้ 2 วิธีคือ 1. จากค่าพี (P: Probability) หรือความน่าจะเป็น (ในโปรแกรม SPSS อาจเขียน Asymp. Sig. หรือ Sig. แทน ค่าพี) 2. จากการเปิดตาราง ในที่นี้เลือกใช้วิธีที่ 1 โดย ถ้า P Alpha แล้ว สรุปว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม แตกต่างกัน ถ้า P >Alpha แล้ว สรุปว่าสรุปว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน
ตัวแปร X ชนิดที่ 4 ก็อ่านได้แบบเดียวกัน ชนิด หรือกลุ่ม เอกสารหน้า 3-4 ตัวแปร ตาราง การแปลความ จำนวน ตัวแปร X ชนิดที่ 2 มีจำนวน 6 หน่วย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 64.8333 โดยมีความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.1866 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.1587 ตัวแปร X ชนิดที่ 4 ก็อ่านได้แบบเดียวกัน
การทดสอบสถิติทีแบบ ตัวอย่างคู่อันดับ หรือ ตัวอย่างสัมพันธ์ เอกสารหน้า 4 ตาราง การทดสอบสถิติทีแบบ ตัวอย่างคู่อันดับ หรือ ตัวอย่างสัมพันธ์ มีตารางที่สำคัญ 2 ตารางคือ ตาราง Paired Samples Statistics และ ตาราง Paired Samples Test ดังนี้ 1 2 3 การแปลความ ให้พิจารณาค่า Sig. ใน 1 ถ้า Sig. มากกว่า Alpha แล้วให้สรุปในช่อง 2 ไม่เช่นนั้นให้สรุปในช่อง 3 (สมมุติว่า Alpha เท่ากับ 0.05) ในที่นี้พบว่าค่า Sig. ใน 1 คือ 0.473 ซึ่งมากกว่า 0.05 จึงสรุปผลจาก 2 จาก 2 ค่า Sig. คือ 0.645 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.05 จึงสรุปว่าอายุใช้งานโดยเฉลี่ยของตัวแปร X ในแบบที่ 2 และแบบที่ 4 ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
เอกสารหน้า 5 ตาราง การแปลความ จาก ตาราง Paired Samples Statistics ตัวแปรตัวแรกคือ BEFORE ค่าเฉลี่ยคือ 54.1 ขนาดตัวอย่างคือ 10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 2.8067 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ยคือ 0.8876 สำหรับตัวแปร AFTER (หลังการอบรม) ก็ปรากฏค่าต่างๆ ในบรรทัดถัดไป และในกรณีตัวอย่างคู่อันดับเช่นนี้ขนาดตัวอย่างจะต้องเท่ากันเสมอ
ข้อควรจำ ความน่าจะเป็นแบบหนึ่งหาง เท่ากับ เอกสารหน้า 6 ตาราง ข้อควรจำ ความน่าจะเป็นแบบหนึ่งหาง เท่ากับ ครึ่งหนึ่งของความน่าจะเป็นแบบสองหาง นั่นคือ ดังนั้น ในที่นี้ความน่าจะเป็นแบบหนึ่งหางเท่ากับ 0/2 = 0 การแปลความ ให้พิจารณาค่า Sig. ถ้า Sig. มากกว่า Alpha แล้วให้สรุปว่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ไม่เช่นนั้นให้สรุปว่าเฉลี่ยแตกต่างกัน (สมมุติว่า Alpha เท่ากับ0.01 ) จากตารางพบว่า Sig. (2-tailed) มีค่าเท่ากับ 0 ซึ่งน้อยกว่า 0.01 ดังนั้นจึงสรุปว่าค่าเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการอบรมที่ระดับนัยสำคัญ 0.01