กรณีศึกษาการกระจายรายได้ของประเทศไทย
Thailand’s Poverty Declined Rapidly over the Past 40-50 Years Poverty Trend Thailand’s Poverty Declined Rapidly over the Past 40-50 Years
แม้ว่าการกระจายรายได้ระหว่างชั้นรายได้ดีขึ้น แต่ยังเป็นประเทศที่มีปัญหาความไม่เท่าเทียมที่สูงอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
กรณีศึกษาการกระจายรายได้ของประเทศไทย ไม่มีการศึกษาสาเหตุของปัญหาการกระจายรายได้ของประเทศไทยอย่างชัดเจน การศึกษาส่วนใหญ่มุ่งผลที่เกิดต่อการกระจายรายได้เป็นหลัก แต่การศึกษาต่างๆ เช่น เอื้อง มีสุข (2521) เมธี (2523) ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าสาเหตุของความแตกต่างของการกระจายรายได้มีสาเหตุมาจาก ระดับการศึกษา เรียนยิ่งสูงมีโอกาสหลุดจากความยากจนมากขึ้น โดยเฉพาะในชนบท* ลักษณะอาชีพ เกษตร รับจ้าง ฯลฯ ขนาดครอบครัว โครงสร้างอายุบุคคลในครอบครัว (แหว่งกลาง) อายุหัวหน้าครอบครัว (น้อย) อ้างจาก อัมมาร สยามวาลา และสมชัยจิตสุชน แนวทางการแก้ไขความยากจน: เสรีนิยม ประชานิยม หรือรัฐสวัสดิการ สัมมนาวิชาการTDRI 2550
แนวทางการแก้ไขความยากจน เสรีนิยม หรือ ประชานิยม หรือ รัฐสวัสดิการ
แนวทางเสรีนิยม รัฐบาลในอดีต (2501-2540) ใช้แนวทางเสรีนิยมในการดำเนินการ รัฐบาลถอนตัวจากระบบเศรษฐกิจ ให้เอกชนเป็นผู้นำมีบทบาทแทน รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ใช้งบประมาณด้านโครงสร้างสังคม “การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ”
ผลการดำเนินงานตามแนวทางเสรีนิยม เพิ่มรายได้ประชาชน ทำให้ความยากจนลดน้อยลงในช่วงแรก การเพิ่มขึ้นของรายได้ลดน้อยลงในช่วงหลัง ปัญหาการกระจายรายได้เป็นเรื่องที่ไม่ได้แก้ไขเพราะ เน้นการเพิ่มรายได้เป็นหลัก และไม่แยกแยะนโยบายเพื่อคนจนออกจากนโยบายรัฐอื่นๆ (targeting) ปัญหาคนจนเรื้อรัง เข้าไม่ถึงบริการรัฐ ถูกกีดกันจากสังคม และเศรษฐกิจ ตัวอย่าง คนพิการ เพศ เชื้อชาติ ฯลฯ เข้าไม่ถึงแหล่งทุน ไม่มีการศึกษา ไม่มีทรัพย์สิน (ที่ทำกิน)
แนวทางของประชานิยม ไม่มีกรอบหลักการทางทฤษฎีที่อธิบายได้ชัดเจนถึงที่มาที่ไป เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นโดยอิสระในหลาย ๆ ประเทศในเวลาที่แตกต่างกัน เช่น รัสเซีย สหรัฐ และลาตินอเมริกา เช่นอาร์เจนตินา มุ่งเอื้อประโยชน์คนจนที่เป็นฐานรากของสังคม โดยลิดรอนสิทธิและอำนาจของ “ชนชั้นนำ” มักตามมาด้วยปัญหาเงินเฟ้อของประเทศ ดู: รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ทักษิโณมิคส์ (2550)
แนวทางของประชานิยมในประเทศไทย เริ่มในปี 2518-2519 โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เงินผัน สวัสดิการพยาบาล รถเมล์ฟรี ประกันราคาพืชผลเกษตร ปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ
แนวทางของประชานิยมในประเทศไทยยุคใหม่ มีสภาพเศรษฐกิจ-สังคมรองรับที่เกิดจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจก่อนหน้า เน้นการใช้จ่ายของรัฐบาลทั้งที่มาจาก รายจ่ายในและนอกงบประมาณ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจใหญ่ๆที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียม ตัวอย่างภาษีที่ดิน-ทรัพย์สินใหม่ หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มคนจนและกลุ่มทุน
แนวทางของรัฐสวัสดิการในประเทศไทย สังคมแบบเดิมที่เป็นกลไกครอบครัวสามารถช่วยเหลือดูแลกันเองได้ สภาพสังคมโดยรวมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การอพยพเข้าเมืองใหญ่ ความเป็นปัจเจกมีมากขึ้น รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดแนวทางของรัฐสวัสดิการไว้ด้วย ส่วนว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ม. 44 การประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพการทำงานและหลักการประกันในการดำรงชีพ สิทธิและเสรีภาพการศึกษาการประกันการศึกษา 12 ปี ม. 49 สิทธิการรับบริการสาธารณสุข การสาธารณสุข ม. 51 ดูแลเด็ก คนชรา คนพิการ ม. 52-55 คนไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การดำรงชีพ
ความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจไทย ความผันผวนของรายได้คนไทยจากสาเหตุต่างๆ ภัยธรรมชาติ การย้ายถิ่น นโยบายรัฐไม่ชัดเจน ความชราภาพ ฯลฯ
การจัดการความเสี่ยง ควรมีทั้งที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้า (ex ante) และหลังเกิดความเสี่ยง (ex post) ดำเนินการทั้งระดับบุคคล ท้องถิ่นหรือชุมชน และระดับประเทศหรือรัฐบาล
แนวโน้มความเป็นรัฐสวัสดิการของประเทศไทย ต้นทุนสูง แต่ประเทศไทยใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมค่อนข้างต่ำประมาณ ร้อยละ 2 - 3 ของ GDP เท่านั้นในปี 2551/52 ขณะที่กลุ่มประเทศ พัฒนา OECD มีสูงถึงร้อยละ 6-32 ของ GDP
เงื่อนไขการเป็นรัฐสวัสดิการ ทางเลือก แนวทางการประกันสังคม โดยการร่วมจ่าย (บางส่วน) ของผู้ที่ได้รับประโยชน์ ปัญหา: ใช้ได้กับคนบางกลุ่มที่มีรายได้มากพอที่จะร่วมจ่าย แนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลและให้ความคุ้มครองแบบถ้วนหน้า ปัญหา: การหาเงินภาษีหรือรายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่าย เพราะทุกๆ คนมีสิทธิ (Entitle) ที่จะได้รับประโยชน์
เงื่อนไขการเป็นรัฐสวัสดิการ ทางเลือก: การทำการเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) เฉพาะคนจนที่อยู่ในสภาพเปราะบาง เช่น การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ อาหารกลางวันให้แก่เด็กเล็ก เป็นต้น ปัญหา: การหากลุ่มคนจนหรือด้อยโอกาสดังกล่าวทำได้ยาก และอาจก่อปัญหาการทุจริตในการปฏิบัติได้ง่าย และมีต้นทุนสูงในการจัดการ