วัฒนธรรมด้านศิลปะป้องกันตัว
ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกันแตกต่างกันไปในแต่ละชาติ
มวยไทย ศิลปะการต่อสู้ของไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก ใช้หลักการต่อสู้บนศาสตร์ที่เรียกว่า “ศิลปะการโจมตีทั้งแปด” อันได้แก่ สองมือ สองเท้า สองเข่า และสองศอก ซึ่งออกมาในลีลาท่วงท่าที่แข็งแกร่งและสวยงาม นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงกีฬา และการต่อสู้ป้องกันตัวจริงๆ
มวยหวินชุน (Wing Chun) ศิลปะการต่อสู้ที่มีีถิ่นกำเนิดแถบมณฑลกวางตุ้งของจีนเป็นมวยที่อาศัยโครงสร้างของร่างกายเป็นหลัก ใช้แรงพลังที่เกิดจากภายใน ตั้งแต่การยืน การทรงตัว การผ่อน การรับ ไปจนถึงการรุก เน้นความสัมพันธ์ของร่างกายเพื่อการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและมั่นคง
มวยปล้ำ กีฬาต่อสู้เก่าแก่ที่ใช้เทคนิคหลากหลาย เช่น การปล้ำโดยการเข้าล็อค การทุ่มตัวของฝ่ายคู่ต่อสู้ เป็นต้น โดยมวยปล้ำนั้นถือเป็นกีฬายอดนิยมในตำนานกรีก และแม้ในปัจจุบัน ก็ยังได่้รับความนิยม มีการเปิดสอนทั้งในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
เทควันโด เป็นรูปแบบของศิลปะการต่อสู้ของเกาหลี ซึ่งรวมเทคนิคการป้องกันตนเอง, การต่อสู้, กีฬา และการออกกำลังกายเข้าไว้ด้วยกัน มีจุดเด่นในด้านความเร็ว ความคล่องแคล่วในการเคลี่อนไหว และการเตะสูง โดยกีฬาเทควันโดได้บรรจุเป็นหนึ่งกีฬาการแข่งขันโอลิมปิกอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 2000
Mixed Martial Arts (MMA) ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน ที่นำเอากีฬาและศิลปะการต่อสู้หลายแบบมาประยุกต์เข้าไว้ด้วยกัน เช่น บราซิลเลี่ยน ยิวยิสสู, มวยปล้ำ, มวยไทย, คาราเต้ และเทควันโด เป็นต้น
มวย รูปแบบของศิลปะการต่อสู้ และกีฬาการต่อสู้ที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นการวัดกันระหว่างความแข็งแรงจากลีลาหมัด เตะ รวมถึงความเร็วในการหลบหลีก และความอดทนระหว่างคู่ต่อสู้ โดยมีผู้ตัดสินเป็นผู้ให้คะแนนชี้ขาดในการแข่งขัน
คาราเต้ เป็นรูปแบบของศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับการพัฒนาในเมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น คาราเต้ใช้หมัด เตะ เข่า และศอก และใช้เทคนิคของการสู้ด้วยมือเปล่าเป็นหลัก ในช่วงปี 1960–1970 คาราเต้กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเมื่อมีภาพยนตร์ที่เริ่มนำเสนอเรื่องราวของศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้
กังฟู เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปะการต่อสู้แบบดังเดิมของชาวจีน หรือที่เรียว่า “วูซู” ในภาษาจีนแมนดาริน กังฟูมีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ์และชั้นเชิงในการต่อสู้ เป็นการฝึกเน้นการประสานพลังงานทั้งภายในและภายนอก ในสมัยจีนโบราณมักฝึกไว้เพื่อป้องกันตนเอง ล่าสัตว์ และอบรมด้านการทหาร
คราฟมาก้า ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศอิศราเอล เป็นรุปแบบการฝึกยุทธวิธีที่รวมเทคนิคศิลปะป้องกันตัวต่างๆ ไว้ด้วยกัน เช่น หวิน ชุน, ยิวยิสสู, มวยและมวยปล้ำ โดยนำมาผสมกับรูปแบบการต่อสู้จริงๆ ซึ่งมีทั้งการเข้าปะทะ บิด จับ ล็อค เป็นตัน
บราซิลเลี่ยน ยูยิสสู เป็นรูปแบบของศิลปะการต่อสู้ที่เน้นการต่อสู้บนพื้น รวมถึงการทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงและใช้การกดล็อค ซึ่งยูยิสสูนั้นมีต้นกำเนิดจากวิชาโคโดกัน ยูโดของญี่ปุ่น ที่ได้ถูกนำพัฒนาในประเทศบราซิลเมื่อปี 1914 จนกลายเป็นรูปแบบของยูยิสสู
ความแตกต่างระหว่างไทยกับสากล ใช้อวัยวะ 8 ส่วน ทั้งมือเท้าเข่าศอก ลีลาท่วงท่าที่แข็งแกร่งและสวยงาม ไทย ใช้อวัยวะเป็นบางส่วน เช่น เทควันโด ใช้ขาในการเตะ บางประเภทใช้ศิลปะการป้องกันตัวผสมผสานกันเช่น คราฟมาก้า สากล
ผู้จัดทำ 1. นายวรวิทย์ กุมารทอง ชั้น ม.4/8 เลขที่ 2 1. นายวรวิทย์ กุมารทอง ชั้น ม.4/8 เลขที่ 2 2. นายชาญชัย ณรงค์แสงอรุณ ชั้น ม.4/8 เลขที่ 6 3. นายธนพล วงศ์ประเสริฐ ชั้น ม.4/8 เลขที่ 12 4. นายนันทกร ภูกระบิล ชั้น ม.4/8 เลขที่ 26 5. นายธนภัทร โชคธนะเกษม ชั้น ม.4/8 เลขที่ 29 6. นายบุรินทร์ ชุ่มวิเชียร ชั้น ม.4/8 เลขที่ 30 7. นายภาณุพงศ์ คำแผง ชั้น ม.4/8 เลขที่ 31 8. นายชุติพงษ์ แซ่อ่วง ชั้น ม.4/8 เลขที่ 34 9. นางสาวนิชาพัฒน์ ฐิติศรีรัตน์ ชั้น ม.4/8 เลขที่ 38