ด.ญ.ไพลิน จงจำรัสพันธ์ ม.2/3 เครื่องดนตรีไทย จัดทำโดย ด.ญ.ไพลิน จงจำรัสพันธ์ ม.2/3 พ.ศ. 2548
ขิมไม้สักทอง ขิมไม้สัก ต้องดูให้ดี ขิมไม้สักขี้ควายจะไม่ขึ้นลายทองเหมือน ไม้สักทอง ตัวขิมจะบางกว่าขิมไม้สักทอง สังเกตได้ด้วยตาเปล่า และจะไม่มีลิ้นชัก เสียงที่ตีออกมา เสียงจะออกลักษณะแปร่งๆ ไม่คมชัดเท่าไหร่ ยิ่งหากยังไม่มีการตั้งเสียง หรือ ตั้งเสียงไม่ดี แล้ว เสียงที่ออกมาจะไม่ไพเราะ
ระนาดเอก ลักษณะ ผืนระนาด ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พยุง ถ้าทำจากไม่ไผ่ก็ทำจากไม้ไผ่บง การเหลาผืนระนาดต้องวัดขนาดให้พอเหมาะไล่เสียงเรียงกันไป 21 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 39 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงใหญ่ ลักษณะ มีส่วนประกอบที่เป็นลูกฆ้อง ร้านฆ้อง และไม้ตีฆ้อง ลูกฆ้องทำจากโลหะผสม มี 16ลูก เรียงลำดับตั้งแต่เสียงต่ำไปหาสูง ลูกต้นวัดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 เซนติเมตร ลูกยอดวัดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร ลูกฆ้องแต่ละใบจะเจาะรูที่ขอบฉัตร ด้านละ 2 รู ลักษณะ
ระนาดทุ้ม ลักษณะ ทำจากไม้และไม้ไผ่ มีส่วนประกอบที่เป็นผืนระนาด ทำจากไม้ไผ่บงและไม้ไผ่ตง ส่วนรางระนาด นิยมใช้ไม้มะหาด ไม้พยุง และไม้ชิงชัน เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีจะให้เสียงที่ดัง ไม้ที่ทำผืนระนาดต้องเหลาให้ได้ขนาดกันทั้งผืนเจาะรูที่ลูกระนาดร้อยเชือกให้เรียงกันเป็นผืน ลูกระนาดทุ้มมี 17 หรือ 18 ลูก
ฆ้องมอญ ลักษณะ เป็นฆ้องที่ตั้งโค้งขึ้นทั้งสองข้าง รองรับด้วยเท้า วงฆ้องส่วนที่โค้งแกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจก ส่วนมากมักเป็นแกะเป็นรูปกินนรี เรียกกันว่า “หน้าพระ” ส่วนตอนกลางโค้งนั้นแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจก มีส่วนประกอบที่เป็นลูกฆ้อง 15 ลูก ร้านฆ้อง และไม้ตี ลูกฆ้องมีลักษณะเช่นเดียวกับฆ้องวงของไทย
วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคลเช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพ
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งและใช้หนัง ลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำ ด้วยไม้จริง
ซอด้วง เป็นซอสองสาย มีคันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำปากกระบอกของซอด้วงแต่ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
ซอสามสาย ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์(หน้า30)ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆน่าเกลียดมากมีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน
เครื่องดนตรีไทย เป็นเครื่องดนตรีของคนไทย พวกเราควรที่จะรักษาไว้ให้เป็นมรดกของคนไทยรุ่นต่อไป