C L O U D Mahidol Wittayanusorn School By M 5 / 1 0
เมฆคืออะไร เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ ภาพเมฆ Cumulus ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E:Cumulus_clouds_in_fair_weather.jpeg
เมฆเกิดจากอะไร ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้
ตัวอย่างเกี่ยวกับเมฆ เมฆบริเวณสีขาว จะหนาแน่นน้อยกว่าบริเวณที่มีสีดำ ที่มา : http://epod.usra.edu/archive/images/cumulonimbus_052301_sjr.jpg
การแบ่งประเภทของเมฆ
การแบ่งประเภท -1.แบ่งตามรูปร่างของเมฆ -2.แบ่งตามความสูง ตัวอย่างการแบ่งประเภท ที่มา : http://eo.ucar.edu/webweather/images/cloudchart.gif
การแบ่งตามรูปร่าง เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง, โดยจะมีชื่อเรียกว่า สเตรตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ ------นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ --สเตรตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น --คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม --เซอร์รัส (cirrus) หมายถึง ลักษณะเป็นลอนผม --นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน ตัวอย่างเมฆ stratus ที่มา : http://mal.sbo.hampton.k12.va.us/mangus/mangus_images/stratus.JPG
การแบ่งตามความสูง เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802 ภาพของ Luke Howard ผู้เสนอวิธีแบ่งกลุ่มเมฆ ที่มา: http://www.keesfloor.nl/wolken/howard.jpg
การแบ่งตามความสูง 1.เมฆระดับสูง (กลุ่มA) 2.เมฆระดับกลาง (กลุ่มB) 3.เมฆระดับต่ำ (กลุ่มC) 4.เมฆแนวตั้ง (กลุ่มD)
เมฆระดับสูง ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส เมฆในกลุ่มนี้จะมีชื่อนำหน้าด้วย เซอร์- (cirr-) -เซอร์รัส (cirrus - Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz -เซอร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus - Cc) -เซอร์โรสเตรตัส (cirrostratus - Cs) -คิวมูโลนิมบัส และ ไพเลียส (Cumulonimbus with pileus) -คอนเทรล (Contrail)
ตัวอย่างเมฆ cirrus M W I T FLV Media Encoding Source : Google Video
เมฆระดับกลาง ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด ชื่อของเมฆในชั้นนี้จะนำหน้าด้วย อัลโต- (alto-) -อัลโตคิวมูลัส (altocumulus - Ac): Altocumulus, Altocumulus undulatus, Altocumulus mackerel sky, Altocumulus castellanus, Altocumulus lenticularis -อัลโตสเตรตัส (altostratus - As): Altostratus, Altostratus undulatus
ตัวอย่างเมฆ altocumulus M W I T FLV Media Encoding Source : Google Video
เมฆระดับต่ำ ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงสตราตัส (stratus) เมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอก -สเตรตัส (Stratus - St) -คิวมูลัส (Cumulus - Cu): Cumulus humilis, Cumulus mediocris -สเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc) -นิมโบสเตรตัส (Nimbostratus - Ns)
ตัวอย่างเมฆ stratocumulus M W I T FLV Media Encoding Source : Google Video
ตัวอย่างเมฆ nimbostratus M W I T FLV Media Encoding Source : Google Video
เมฆแนวตั้ง เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน -คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus - Cb): Cumulonimbus, Cumulonimbus incus, Cumulonimbus calvus, Cumulonimbus with mammatus -ไพโรคิวมูลัส (Pyrocumulus) -คิวมูลัส คอนเจสตัส(Cumulus congestus)
ตัวอย่างเมฆ cumulonimbus M W I T FLV Media Encoding Source : Google Video
สีของเมฆ สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ: --เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด --เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ --เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด
ตัวอย่างสีของเมฆ
ตัวอย่างสีของเมฆ
จบแล้วคร้าบ