บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
บทที่ 6 การจัดการองค์การ.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ กรมชลประทาน กรมชลประทานมุ่งจัดการ ความรู้ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ข้อที่เกณฑ์การประเมินการดำเนินงาน ข้อ 1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
การประเมินผลโครงการ คป สอ. เกาะช้าง ปี การดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะกรรมการ ประธาน คปสอ. เกาะช้าง ประธาน คณะกรรมการ ผอ. รพ. เกาะช้างรองประธาน เลขานุการผู้รับผิดชอบงาน.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ชุมชนปลอดภัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
หน่วยที่1 แนวคิดการจัดการและองค์การ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
โดย อาจารย์เสาวณีย์ พุ่มท้วม
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
องค์การและการจัดการ Organization and Management
วิชา พฤติกรรมผู้บริโภค
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สรุปบทเรียน และแนวทางการนำไปใช้
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
Supply Chain Management
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
แบบฟอร์มที่ 2ลักษณะสำคัญขององค์การ
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ

ความหมายของทฤษฎีองค์การ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ ได้ให้ความหมายว่า ทฤษฎี หมายถึง การจัดกลุ่มอย่างมีระบบของความคิดและหลักเกณฑ์ที่ขึ้นแก่กัน ซึ่งกำหนดโครงสร้างการทำงาน หรือนำความรู้มารวมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่สำคัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เวกค์ ได้ให้ความหมายว่า ทฤษฎี หมายถึง ระบบของฐานคติหลักการที่ได้รับการยอมรับและกฎเกณฑ์ของกระบวนการที่ใช้ในการวิเคราะห์ พยากรณ์ หรือ อธิบายธรรมชาติของพฤติกรรมของปรากฎการณ์ที่ได้รับการสนใจศึกษา สรุป ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่อยู่ในความสนใจศึกษา ทฤษฎีองค์การ หมายถึง ข้อสรุปหรือแนวติดที่เป้นที่ยอมรับโดยทั่วไปในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับโครงสร้าง กระบวนวิธีการปฎิบัติงาน อำนาจหน้าที่ตลอดจนพฤติกรรมระหว่างบุคคล และกลุ่มต่างๆในองค์การอย่างเป็นระบบรวมถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆในองค์การ

ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎีองค์การ เป็นการศึกษาพฤติกรรมขององค์การในลักษณะภาพรวม ครอบคลุมถึงการออกแบบโครงสร้างองค์การ หรือระบบภายในองค์การ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์การกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์การหนึ่งกับองค์การอื่น

ประโยชน์ของการศึกษาทฤษฎีองค์การ ความเข้าใจและการวินิจฉัยปรากฎการณ์ขององค์การ ทฤษฎีองค์การ การออกแบบโครงสร้างและระบบขององค์การ การประยุกต์เทคนิค การจัดการ สมาชิกมีสุขภาพดี การเปลี่ยนแปลงองค์การ การตอบสนองต่อความต้องการของสังคม การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจพฤติกรรรมมนุษย์มากขึ้น

ประเภทของทฤษฎีองค์การ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ 1. กลุ่มนักปฎิบัตินิยม ( practitioner) 2. กลุ่มนักวิชาการนิยม ( scientism)

(Organization Theory) แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ สามารถสรุปความคิดของทฤษฎีขององค์การออกเป็น 4 รูปแบบ คือ 1. ทฤษฎีองค์การตามวิธีการสมัยดั้งเดิมหรือแบบคลาสสิค ( Classical Theory ) 2. ทฤษฎีองค์การตามวิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์ ( behavioral science Theory ) 3. ทฤษฎีองค์การตามวิธีการสมัยใหม่ (Modern Theory ) 4. ทฤษฎีองค์การหลังยุคสมัยปัจจุบัน (post- Modern Theory ) 18

แนวคิดทางการจัดการ Classical Approach : แนวคิดทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม เน้นโครงสร้าง กฎ ระเบียบ มีหลักสำคัญว่า องค์การทุกองค์การต้องกำหนดกระบวนการบริหารขึ้นมาอย่างมีเหตุผล และทุกคนต้องทำตามกระบวนการนั้นทุกคน  Scientific Management : การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ โดย Frederick W Taylor เสนอเทคนิค Time and Motion Study นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์และแก้ปัญหา เริ่มจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน ใช้การทดลองเป็นเกณฑ์หามาตรการการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เชื่อว่าเงินตัวเดียวล่อใจให้คนทำงาน ละเลยการจูงใจ อารมณ์ และความต้องการทางสังคม เพื่อให้เกิด One best way ในการทำงาน เกิดผลดี เพิ่มผลผลิต และ ประสิทธิภาพ ปัญหา - ไม่สนใจปัจจัยด้านสังคมและจิตวิทยา - งานซ้ำซาก จำเจ ทำให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่าย - สหภาพแรงงานมีการต่อต้าน - ไม่สนใจสภาพแวดล้อมภายนอก

ทฤษฎีองค์การเชิงบริหารของอองรี ฟาโยล  Administrative Principle : หลักการจัดการ Henry Fayol เสนอ POCCC และ หลักการบริหาร 14 ข้อ การแบ่งงานกันทำ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดสายบังคับบัญชา เอกภาพในการบังคับบัญชา ต้องมีวินัย ให้มีศูนย์กลางอำนาจ ให้มีเอกภาพในการอำนวยการ หลักการจัดการองค์การ เรียกย่อๆว่า OSCAR วัตถุประสงค์(O=objective) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(S=specialization) การประสานงาน (C=ordination) อำนาจหน้าที่ (A=authority) ความรับผิดชอบ (R=responsibility) 8. ให้มีเสถียรภาพในการปฏิบัติ 9. ถือหลักประโยชน์ส่วนร่วมยิ่งกว่าส่วนตัว 10. ถือความเป็นระเบียบ 11. ถือหลักความเสมอภาค 12. ถือหลักประโยชน์ตอบแทน 13. ให้มีความคิดริเริ่ม 14. ให้มีความสามัคคี

Bureaucracy Theory : ทฤษฎีระบบราชการ โดย Max Weber  ลักษณะ - division of labor แบ่งแยกงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน - hierarchy of authority กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน - rules and procedure จัดให้มีกฎระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร - impersonel บุคคลในองค์การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ เพียงแต่มุ่งสู่เป้าหมายให้ดีที่สุด - merit systemการคัดเลือกบุคคล ขึ้นอยู่กับความสามารถ ต้องมีการแบ่งงานกันทำ ตามความชำนาญ การปฏิบัติถือกฎเกณฑ์ระเบียบโดยเคร่งครัด สายการบังคับบัญชาลดหลั่นชัดเจน

ทฤษฎีองค์การตามวิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์ Human Relation Approach : แนวคิดเชิงมนุษยสัมพันธ์ สนใจบุคคลมากขึ้น โดยมีการนำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ The Hawthorne Study โดย Elton Mayo ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ผลการศึกษา แสงสว่างมีความสัมพันธ์กับผลผลิต กลุ่มมีความสัมพันธ์ต่อผลการปฏิบัติงาน ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลต่องาน คนเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ เน้นความสำคัญของคน มนุษยสัมพันธ์ ขวัญกำลังใจ การมีส่วนร่วม สร้างความพึงพอใจ สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

กลุ่มพฤติกรรมองค์การสมัยปัจจุบัน ทฤษฎีการจัดองค์การตามแนวคิดของ เชสเตอร์ ไอบาร์นาร์ด(Chester I Barnard) การประสานงานมีข้อจำกัดร่วมกันเกิดขึ้ได้จากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพองค์ประกอบทางสังคม ตัวแปรเกี่ยวกับบุคคล การประสานงาน เป็นกระบวนการเหนือข้อจำกัดในการปฎิบัติงาน การประสานงาน สำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับพลังการประสานงาน การประสานงานที่ดีข้นอยู่กับประสิทธิภาพของการประสานงานที่ฝ่ายบริหารต้องใช้การจูงใจให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจและเต็มใจของบุคคลในองค์การ

ทฤษฎีองค์การหมุดเชื่อมโยงของ เรนซิส ไลเคิร์ต(Rensis Likert) การทำงานเป็นกลุ่ม การปฎิบัติงานขึ้นอยู่กับหมุดเชื่อมโยงหมายถึงผู้บังคับบัญชาสูงขึ้นไป หลักการสำคัญของการวางแผนและแก้ปัญหาเป็นเรื่องของกลุ่มให้กลุ่มตัดสินใจสมาชิมีส่วนร่วมด้วย หมุดเชื่อมโยง หมุดเชื่อมโยง

ทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของ คริส อาร์กีริส (Chris Argyris) คนที่ทำงานจนมีความเชี่ยวชาญมีความต้องการพัฒนาตนเองมีความเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อได้มีการพัฒนาจะพฤติกรรมยืดหยุ่นมากขึ้นมีมุมมองที่ยาวขึ้นรวมทั้งตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตน โดยเฉพาะได้มีโอกาสกำหนดเป้าหมายในการทำงานของตนเองช่วยให้เป็นคนที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และเห็นว่า การจัดการกับความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายและเป้าหมายของบุคคลเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายการจัดการโดยการเพิ่มความรับผิดชอบในงาน

ทฤษฎีสมัยใหม่ Neo Classical organization theory / Modern theory Systematic Management : การจัดการเชิงระบบ แบ่งเป็น ระบบปิดเป็นระบบที่เน้นความสนใจเฉพาะส่วนประกอบภายในองค์การแล้วขยายความสนใจไปถึงระบบภายนอกที่ใหญ่กว่า โดยถือว่า การบริหารองค์การเป็นเพียงระบบย่อยของระบบที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก และระบบเปิดเป็นการรวมประเด็นการศึกษาถึงระบบย่อยขององค์การทุกระบบและสภาพแวดล้อมระบบมาศึกษารวมในลักษณะการพิจารณาปฎิสัมพันธ์ที่มีต่อกันของระบบ เน้นการวิเคราะห์เชิงระบบ คำนึงถึงองค์ประกอบทุกส่วน ตั้งแต่ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของ เบอร์ทัลแลนฟ์ไฟ(Bertalenffy) ได้รับยกย่องว่าเป็นพื้นฐานด้านปรัชญาทางทฤษฎีสมัยปัจจุบัน องค์การเป็นระบบของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ มีความเกี่ยวพันกันหลายด้านและมีหลายระดับ โดยส่วนต่างๆขององค์การมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ระบบเป็นกลุ่มของส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวพันกัน นั่นคือ องค์การ คือ ระบบหนึ่งที่รวมระบบย่อยหลายระบบไว้ด้วยกัน และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในระบบย่อยใดจะกระทบถึงระบบย่อยอื่นๆด้วย

ทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของวีเนอร์ (Weiner) องค์การ เป็นระบบที่ประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ ปัจจัยนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process) ผลผลิต(Output) ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) สิ่งแวดล้อม(Environment)

องค์การ ในฐานะที่เป็นระบบตามแนวคิดของวีเนอร์ สภาพแวดล้อม ระบบ (system) ปัจจัยนำเข้า (input) วัตถุดิบ ทรัพยากร เงินทุน เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ผลผลิต (output) ผลิตภัณฑ์และบริการ ฐานะทางการเงิน ข้อมูลข่าวสารสนเทศ ผลงานของบุคลากร กระบวนการ (Process) กระบวนการผลิตเปลี่ยนวัตถุดิบ เป็นสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ ข้อมูลป้อนกลับ Feedback ข้อมูลจากลูกค้า สภาพแวดล้อม(environment) สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ประเพณี

ทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของ แคทซ์ และ คาห์น(Katz & Kahn) องค์การต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก องค์การเป็นระบบที่มีปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องระบบเปิดของเบอร์ทัลแลนฟ์ไฟ ภายในระบบมีการทำกิจกรรมที่มีลักษณะทำซ้ำเป็นวงจรต่อเนื่อง มีความพยายามในการรักษาระบบไม่ให้เสื่อมสลาย องค์การเป็นระบบเปิดมีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านความชำนาญเฉพาะด้านเพิ่มมากขึ้นตลอดจนความสลับซับซ้อนและความหลากหลายของหน้าที่มีมากขึ้น มีข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ระบบสามารถแก้ไขปัญหาการทำงานซึ่งแตกต่างกัน ระบบเปิดปัจจัยต่างๆมีความผันแปร ระบบสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้หลายวิธีการ

Contingence Approach : แนวคิดมุ่งเน้นโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างองค์การกับสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าองค์การที่มีส่วนประกอบภายในสอดคล้องกับความต้องการสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุด หรือมีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด

แนวคิดของเบิร์นส์ และ สตอล์เกอร์(Burns & Stalker) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างองค์การกับสิ่งแวดล้อม พบว่า การจัดการขององค์การจะเปลี่ยนแปลงตามอัตราการเปลี่ยนแปลง องค์การใดอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คงที่และมีกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจในทุกระดับสามารถกำหนดล่วงหน้าได้ และองค์การที่ตั้งใหม่มีสิ่งแวดล้อมไม่แน่นอนไม่มีแผนภูมิโครงสร้างองค์การที่ชัดเจนผู้บริหารประสบกับความท้าทายในการบริหาร ประเภทโครงสร้างองค์การและระบบการจัดการขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท องค์การแบบเครื่องจักร คือรูปแบบองค์การที่มีลักษณะตายตัว จะเป็นองค์การที่นิ่ง มีลำดับชั้น กฎระเบียบ โครงสร้างการตัดสินใจมาจากเบื้องบนมาสู่เบื้องล่าง องค์การที่มีรูปแบบสิ่งมีชีวิต จะไม่อยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบ่อย ให้โอกาสคนในองค์การมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มการทำงานในองค์การมากขึ้น

แนวคิดของลอเรนซ์ และ ลอร์ช(Lawrence & Lorsch) ศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อโครงสร้างองค์การ ปฎิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก จะมีแนวทางการรับมือกับ สภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชำนาญ เทคนิคเป้าหมาย และองค์ประกอบอื่นๆเกี่ยวกับงาน เรียกว่า ลักษณะที่มีความแตกต่างในโครงสร้างพฤติกรรมและความสนใจของหน่วยงานย่อยในฐานะสมาชิกขององค์การองค์การที่เผชิญกับสภาพแวดล้อมที่มีระดับความไม่แน่นอนสูง จะมีการสร้างความแตกต่างหลากหลายมากกว่าองค์การที่เผชิญกับความไม่แน่นอนมากนัก เรียกว่า ลักษณะของการประสานงานและความร่วมมือร่วมใจระหว่างหน่วยงานในองค์การว่า การบูรณาการ หรือ หลักการร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากองค์การใดสามารถสร้างสมดุลระหว่างหลักการทั้งสองได้ ถือว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด

แนวคิดของมินซ์เบิร์ก (Mintzberg) ศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างองค์การ มี 5 ส่วน ฝ่ายกลยุทธ์(strategic apex ) คือ ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมดขององค์การ ฝ่ายปฎิบัติการ(operation core ) คือ ผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง ฝ่ายผู้บริหารระดับกลาง (middle line) คือ กลุ่มบุคคลที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารสูงกับส่วนปฎิบัติการหลัก ฝ่ายวิชาการ (techno structure) คือ นักวิเคราะห์ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานเทคนิคการทำงานขององค์การ วางแผนและควบคุมการทำงาน ฝ่ายสนันสนุน(support staff) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุนทางอ้อมในการบริการต่างๆแก่องค์การ

ทฤษฎีองค์การหลังยุคสมัยใหม่ แนวคิดของเบอร์กิสต์( Bergquist) แนวคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่หยุดนิ่ง แต่จะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะองค์ความรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปแบบ ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โลกจะเป็นแบบไร้พรมแดนด้วยเครือข่ายของการสื่อสาร ทำให้มนุษย์รู้จักและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขณะเดียวกันก็แบ่งแยกเป็นส่วนๆในทางสังคม การแตกแยกเป็นส่วนๆจะไม่คงเส้นคงวา แต่จะปะปนไปหมดทำให้เป็นยุคสมัยแห่งความวุ่นวายและความขัดแย้ง ได้เสนอกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง 5 วิธี คือ การหลีกเลี่ยง การประนีประนอม การแข่งขัน การยอมจำนน และความร่วมมือ

แนวคิดของแฮมเมอร์ และ แซมพี (Hammer & Champy) ได้เขียนหนังสือชื่อ การรื้อปรับระบบ(re-engineering) หมายถึง ลักษณะของการหันกลับมาคิดทบทวนถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานและมีการปรับเปลี่ยนกันอย่างถอนรากถอนโคนเกี่ยวกับกระบวนการของธุรกิจเพื่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น เช่น ลดต้นทุน

ผลของการรื้อปรับระบบก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานจากเดิมที่ต่างคนต่างทำไปตามบทบาทและดูแลรับผิดชอบที่มีอยู่มาเป็นการทำงานเป็นทีม เรียกว่า ทีมกระบวนการเพื่อร่วมปรับปรุง หรือนำเทคนิคใหม่ๆเข้ามาในองค์การ ลักษณะงานจะมีการเปลี่ยนรูปไปจากเดิม คือ จากงานง่ายๆหรืองานพื้นๆ เป็นงานที่มีหลายมิติ มีการเรียนรู้ศึกษหาความรู้เพิ่มเติม บทบาทของพนักงานเปลี่ยนแปลงไป จากเป็นผู้รับการควบคุมดูแลมาเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น โดยผู้บริหารเปลี่ยนบทบาทจากผู้กำกับควบคุมมาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง บทบาทของผู้บริหารเปลี่ยนไปจากเดิมทำตัวเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการโน้มน้าวและชักจูงให้พนักงานเกิดความเชื่อถือ พร้อมปฎิบัติตามที่ผู้นำมอบหมายงานให้

องค์การเสมือนจริง เป็นรูปแบบองค์การสมัยใหม่เกิดขึ้นพร้อมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสิ่งช่วยเชื่อมโยงบุคคล /กลุ่มคน /หน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนทักษะ ทรัพยากร สินค้าและบริการ

องค์การแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและมีความสำคัญที่นำมาใช้เพื่อการบริหารงานในองค์การ ประการสำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจที่ต้องอาศัยข้อมูลในการบริหารงานและการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ องค์การจะอยู่รอดและพัฒนาได้หากผู้บริหารตัดสอใจได้อย่างถูกต้อง ความสำเร็จของการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ ปีเตอร์ เอ็ม เซงกี เสนอหลักการ 5 ประการ คือ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง การท้าทายความคิดความเชื่อที่มีอยู่เดิม การเรียนรู้ของทีมงาน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และการรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ

องค์การคุณภาพ(quality organization) หมายถึง ความเหมาะสมในการใช้งาน รวมคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ใน 4 มิติ คือ มาตรฐาน ผลงาน ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจ สาระสำคัญของการจัดการคุณภาพโดยรวม เกี่ยวข้องกับคุณภาพการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเน้นที่ลูกค้า การเน้นกระบวนการ การปรับปรุงทั้งหมด และเคารพในความเป็นมนุษย์ องค์การจะสามารถดำเนินการให้ได้ผลสำเร็จตามแนวคิดของการจัดการคุณภาพ จำเป็นต้องมีลักษณะการบูรณาการตามแนวคิดองค์การแบบเครื่องจักร

Managerial Human Skill ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ Conceptual Skill ทักษะทางด้านความคิด Managerial Human Skill ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ Technical Skill ทักษะทางด้านเทคนิค Managerial Skill vs Level of Manager Conceptual Skill Human Skill Technical Skill Top Manager Middle Manager First-level Manager

กิจกรรม การจัดการมีความสำคัญอย่างไรสำหรับองค์การ จงอธิบายความหมายของการจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะ ระบบสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการจัดการอย่างไรบ้าง การจัดองค์การโดยทั่วไปแล้ว สามารถจำแนกได้กี่ลักษณะ และแต่ละลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างไร “องค์การ” หมายถึงอะไร ลักษณะขององค์การนอกเหนือจาก 3 ลักษณะใหญ่ๆ จะประกอบด้วยลักษณะอะไรบ้าง การกำหนดเป้าหมายขององค์การมีความสำคัญอย่างไรบ้าง วัตถุประสงค์ขององค์การแบ่งเป็นกี่ประเภท และในแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร องค์การแบบปฐมภูมิ และองค์การแบบทุติยภูมิ มีความแตกต่างกันอย่างไร องค์การแบบมีรูปแบบ และองค์การแบบไม่มีรูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม มีความแตกต่างกับทฤษฎีสมัยปัจจุบันอย่างไร

องค์การคืออะไร (What is organization? ) ก. จำลองกับสนธิ เป็นเพื่อนกัน จำลองมีความสามารถในการทำอาหาร สนธิมีความสามารถในการโฆษณา ทั้ง ๒ คน ตกลงร่วมกันในการจะเปิดร้านอาหารชื่อ “ร้านประเทศไทยของเรา ” โดยให้จำลองเป็นพ่อครัว และสนธิทำเรื่องการตลาด โดยมีการลงทุนร่วมกัน ข. จำลอง สนธิ สมชาย เป็นเพื่อนกันมานาน สมชายทำงานอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล จึงห่างเหินจำลองและสนธิ ทำให้ทั้ง ๒ คน คิดถึง จึงตกลงร่วมกันที่จะไปเยี่ยมสมชาย และจะนอนค้างที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรอให้สมชายว่างมาพบคุยกันให้หายคิดถึง ค. จำลอง สนธิ สุริยะใส เป็นเพื่อนต่างวัย ทั้ง ๓ คนเห็นว่าประเทศไทยทุกวันนี้มีแต่ความวุ่นวาย เต็มไปด้วยความขัดแย้ง จึงตกลงร่วมกันที่จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จัดตั้ง “มูลนิธิเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม” โดยให้จำลองเป็นคนหาสมาชิก สนธิเป็นคนเผยแพร่ข้อมูลชักจูงคน และให้สุริยะใสเป็นโฆษก คอยกระจายข่าวสารของมูลนิธิ” ถามว่า ข้อไหนไม่ใช่ลักษณะของการดำเนินการในรูปขององค์การ อธิบาย

จบบทที่ 2 แล้วจ้า จบการนำเสนอ พบกันใหม่ Next week!