การวิจัยเชิงคุณภาพ ผศ.ดร.ฟุ้งศรี ภักดีสุวรรณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผศ.ดร.ฟุ้งศรี ภักดีสุวรรณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บรรยาย 1 กันยายน 2558 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวใจสำคัญ เชื่อในหลักการปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology approach) ใช้หลักการค้นหาความรู้ที่เป็นความจริงจากแหล่งรากเง้า ของข้อมูล (Grounded Theory Approach) เน้นทำความเข้าใจและรู้จริง รู้ลึก ละเอียดแบบเป็นองค์ รวมทุกมิติ ทุกส่วนของประเด็นเรื่องที่ทำการศึกษา (Holistic)
หัวใจสำคัญ ข้อมูลต้องมีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้องตาม ปรากฏการณ์ ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก สัญลักษณ์ที่พบ เห็น เนื้อหาที่บรรยาย ฯลฯ ที่ต้องผ่านการตรวจสอบสามเส้า แล้ว (Triangular Check) เน้นหลักการรังสรรค์วิทยา (Constructionism) ในการ วิเคราะห์ เพื่อตีความหมายปรากฏการณ์ สัญลักษณ์ พฤติกรรม เนื้อหาข้อมูล ฯลฯ ขึ้นมาเป็นข้อค้นพบแล้วอภิปรายผล
แนวคิดทั่วไป การทำวิจัยเชิงคุณภาพคือการหาความรู้เพื่อทำความ เข้าใจโลกของผู้ถูกศึกษาในมุมมองทัศนของเขา มุ่งทำความเข้าใจประเด็นที่ศึกษาในแนวลึกมากกว่าใน แนวกว้าง ฐานคิด “กระบวนทัศน์แบบธรรมชาตินิยม”
แนวคิดทั่วไป มองว่า— ความจริง/ข้อมูล ซึ่งนักวิจัยไปทำการ รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่างนั้นมีลักษณะเป็น subjective ความจริงประเภทนี้ขึ้นกับมุมมองหรือ ทฤษฎีของผู้ทำการรวบรวมความจริงนั้น ดังนั้น ความ จริงในการวิจัยจึงมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้รวบรวม ความจริงและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา
สองแบบของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ แบบดั้งเดิม :ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ นักวิจัยเป็นผู้ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observer) ใช้ วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธี เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสนทนาเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม โดยมากนักวิจัยติดต่ออยู่กับกลุ่มคนหรือพื้นที่ศึกษานานต่อเนื่องเป็น เวลานาน (มักเรียกการทำวิจับแบบนี้ว่า การวิจัยเชิงชาติพันธุ วรรณนา หรือ การวิจัยเชิงมานุษยวิทยา)
แบบประยุกต์ เน้นการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ เชิงลึก (indepth interview)หรือการ สนทนากลุ่ม(focus group discussion) นักวิจัยไม่เข้าไปสังเกตการณ์ในกลุ่มคนหรือชุมชน ที่ศึกษาเป็นเวลานานๆ (การวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำกันทุกวันนี้ส่วนมากเป็น แบบประยุกต์)
การวิจัยเชิงคุณภาพ: แบ่งตามลักษณะการดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยใช้เวลาเฝ้าสังเกตและมีส่วนร่วม อยู่กับกลุ่มเป้าหมายเป็นเวลานาน เชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic / anthropological research) 2. การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยใช้เวลาน้อยกับกลุ่มเป้าหมาย แต่คงลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพไว้เกือบทุก ประการ การวิจัยที่ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Research) การวิจัยที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth interview research)
รูปแบบการทำวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา หรืเชิงมานุษยวิทยา (Ethnographic/ Anthropological research) การวิจัยที่เน้นประวัติชีวิตบุคคล (Biographical research) การวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological research) การวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded theory research) การวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเฉพาะกรณี (Case study research)
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 1. การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งอธิบายความจริง/สถานการณ์ อย่างลึกซึ้งในกระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้จากความจริง ด้วยการตั้งคำถาม (inquiry) กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลที่ได้ จะได้มาโดยผ่าน คำพูด วิวาทะ และการกระทำ ซึ่งสะท้อน ความคิด โลกทัศน์ ความเชื่อของผู้คนในบริบทนั้น ความหมายที่ได้มาจากการตีความและการอธิบายจากความ เข้าใจของนักวิจัย
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 2. การออกแบบการวิจัยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มองไม่เห็น (emergent design) การวิจัยคุณภาพไม่ให้ความสำคัญกับสถิติ มากนัก นักวิจัยเชิงคุณภาพสามารถเลือกเจาะศึกษาเรื่องราวที่เป็น ความสนใจเฉพาะ เช่น ชีวิตคนในมุมมืดไม่อาจรู้จำนวนที่แท้จริงได้ ดังนั้นการเลือกวิธีการเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการ snow ball โดยการ ค้นหาผู้ให้ข้อมูลคนแรก และให้แนะนำผู้ให้ข้อมูลรายต่อไป ซึ่งการ รับรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายจะผุดขึ้นเรื่อยๆ (emerge)
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 3. การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลอย่างเจาะจง (purposive sampling) เนื่องจากการวิจัย เชิงคุณภาพเป็นการทำความเข้าใจในสถานการณ์ หรือบริบทที่เฉพาะเจาะจง การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ ข้อมูลอย่างเจาะจง
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 4. การเก็บข้อมูลในสนามงานอย่างเป็นธรรมชาติ การวิจัยเชิง คุณภาพให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจจาก ความคิด โลกทัศน์และความเชื่อหรือประสบการณ์ของคนในสังคม การเก็บข้อมูลในภาคสนามจึงเน้นความเป็นธรรมชาติ การแสวงหา ความรู้เกิดขึ้นท่ามกลางสภาพจริงที่นักวิจัยสนใจ ขณะเดียวกัน ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพจะสะท้อนมุมมองและพื้นฐานความ เชื่อทางปรัชญาของนักวิจัยด้วยเช่นกัน
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 5. มนุษย์เป็นเครื่องมือในการศึกษา การวิจัยเชิง คุณภาพให้ความสนใจในบทบาทของนักวิจัยและ ทีมวิจัย โดยให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบใน การเก็บข้อมูลระหว่างคนเก็บและผู้ให้ข้อมูล
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 6. การเก็บข้อมูลด้วยวิธีคุณภาพ ข้อมูลจากการตั้งคำถามในการวิจัยที่ ได้มาจากคำพูดและการกระทำของคน ต้องการวีการที่ยอมให้นักวิจัยจับต้อง ได้ในเชิงภาษาและพฤติกรรม หนทางที่เหมาะสมที่นำไปสู่การเข้าถึงข้อมูล คือ การสังเกตคน กลุ่มคนและสภาพการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การ สัมภาษณ์กลุ่ม การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสังเกตและการ สัมภาษณ์ จะเก็บในรูปของการจดบันทึกในภาคสนาม และการบันทึกเทป หรือวีดีโอ ซึ่งนำไปถอดเทป คัดลอก เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป นอกจากนั้นมีภาพถ่าย พิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเล่า คำผญา
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 7. การวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงก่อนและระหว่างเก็บข้อมูลในภาคสนาม มี 2 ช่วง คือ 7.1 การย่อยข้อมูลก่อนปฏิบัติการเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นการศึกษา ข้อมูลเบื้องต้นก่อนการทำวิจัยซึ่งมักได้มาจากการตรวจเอกสารเพื่อการ ออกแบบการวิจัย 7.2 การย่อยข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อนักวิจัยได้ข้อมูล ย่อยหรือข้อมูลที่เป็นชิ้นส่วนเล็กๆของชุดข้อมูล การย่อยข้อมูลในช่วงนี้ช่วย สร้างโอกาสในการค้นหาจุดเด่นจากสภาพการณ์ภายใต้กระบวนการศึกษาที่ พึ่งเกิดขึ้น
พื้นฐานทางปรัชญาที่เชื่อมโยงสู่การออกแบบการวิจัย 8. การรายงานผลการศึกษาด้วยวิธี การศึกษารายกรณี (case study)
ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก มุ่งทำความเข้าใจทางลึก มากกว่าในทางกว้าง รายละเอียด บริบทของสิ่งที่ศึกษา องค์รวม พลวัตของสิ่งที่ศึกษา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลได้หลายแบบหลากหลาย มีการออกแบบที่ยืดหยุ่นได้ วิเคราะห์โดยอาศัยการตีความ
จุดยืนทางกระบวนทัศน์ของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ความจริง (reality) ทางสังคมและทางพฤติกรรม เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ใช่ สิ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียว แต่อาจมีได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับบริบท และเงื่อนไขทาง สังคมวัฒนธรรม และไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุวิสัย (objective) การเข้าถึงความจริงจึงอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีเข้าถึงความจริงที่ดีที่สุด คือ ผู้หาความจริง (นักวิจัย) กับผู้เป็นแหล่งของ ความจริง (กลุ่มตัวอย่างการวิจัย) ควรมีความสัมพันธ์แบบไว้วางใจต่อกันก่อน (ความสัมพันธ์ที่ดีมีส่วนสำคัญในความสำเร็จของการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ)
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการวางแผนทำการวิจัย โดยนำประเด็นสำคัญเหล่านี้มาพิจารณา สิ่งที่นักวิจัยอยากรู้ (หัวข้อและคำถามการวิจัย) สิ่งที่ต้องการบรรลุถึง (จุดมุ่งหมาย) และสิ่งที่จะต้องทำ (วัตถุประสงค์) ในการวิจัย แนวคิดที่จะใช้เป็นกรอบในการวิจัย (กรอบแนวคิด) แหล่งที่จะหาข้อมูลเพื่อตอบ และเครื่องมือที่จะใช้ในการรวบรวม ข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามการวิจัย (วิธีการวิจัย) แนวทางตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิจัย
ความเชื่อมโยงเชิงปฏิสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในการออกแบบ ความเชื่อมโยงเชิงปฏิสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในการออกแบบ Conceptual Framework Purposes/ Objectives Validity Methods Research Questions Source: From Maxwell, 1996: P.5
คำถามการวิจัย เชิงพรรณนา (descriptive) – เพื่อตอบคำถาม ประเภท “ใคร” “อะไร” “ที่ไหน” ฯลฯ เชิงวิเคราะห์ หรือเชิงอธิบาย ( explanatory, analytical) – มุ่งหาคำอธิบายด้วยการวิเคราะห์ ไม่ต้องมาก (1-3 คำถามก็มากพอแล้ว สำหรับการ วิจัยเรื่องหนึ่งๆ)
กรอบแนวคิด บอกให้ทราบว่า นักวิจัยจะทำความเข้าใจโจทย์การวิจัยที่ตั้งขึ้น นั้นจากมุมมองใด ทำหน้าที่เป็นเพียงแนวทาง มากกว่าที่จะเป็นกรอบที่ตายตัว กรอบแนวคิดที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม และการคิด กลั่นกรองอย่างรอบคอบ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง จะบอกใบ้ ถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการได้ นักวิจัยจะเลือกทำการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีกรอบแนวคิด หรือไม่มีก็ได้ มีทั้งข้อดี และข้อจำกัด
การเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง 2 ประเภท ตัวอย่างที่เคร่งครัดในเรื่องการเป็นตัวแทน (representatively oriented) ตัวอย่างที่เลือกโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับทฤษฎีเป็นหลัก (theoretically oriented) การวิจัยเชิงคุณภาพให้ความสนใจตัวอย่างที่คำนึงถึงความเหมาะสมกับทฤษฎี มากกว่า เลือกตัวอย่าง “แบบเจาะจง” (purposive) คำนึงเรื่องความหลากหลายของ ประชากรเป็นหลัก Information-rich cases คือลักษณะของตัวอย่างในอุดมคติของเชิงคุณภาพ
วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview - IDI) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion - FGD) การรวบรวมข้อมูลเอกสาร (documentary search)
การสังเกตในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเฝ้าดูและการพรรณนาปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมที่ศึกษาอย่างเป็นระบบใน ขณะที่สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามธรรมชาติ ศึกษาปรากฏการณ์ตามที่มันเกิดขึ้นและเป็นไป ไม่มีการดัดแปลง บทบาทของนักวิจัย ไม่มีส่วนร่วม ในปรากฏการณ์ที่ศึกษา (คนนอก) มีส่วนร่วม (เสมือนว่าเป็นคนใน) ดู ฟัง ซักถาม บันทึก ควรใช้ควบคู่กับวิธีอื่น เช่นการสัมภาษณ์ ทักษะที่จำเป็นของนักวิจัย ทักษะในการสังเกต ทักษะในการจดบันทึกอย่างเป็นวัตถุวิสัย (objective)
การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง vs การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือแบบกึ่ง โครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือแบบกึ่งโครงสร้าง คำถามปลายเปิด ยืดหยุ่น การสัมภาษณ์ดำเนินไปเสมือนเป็นการสนทนาในชีวิตประจำวัน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับ ผู้ให้สัมภาษณ์ (key informant, information-rich cases) ทักษะการสัมภาษณ์ของนักวิจัย และการ “ทำการบ้านอย่างดี” ก่อนการสัมภาษณ์ แนวคำถาม (interview guidelines)
คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์เชิงคุณภาพที่ดี มีความรู้ลึกและกว้างในเรื่องที่สัมภาษณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบและมีโครงสร้างที่เหมาะสม ถามคำถามชัดเจน เข้าใจง่าย สุภาพ จับประเด็นเก่ง เปิดกว้าง สำหรับคำตอบทุกรูปแบบ คุมสถานการณ์ในการสัมภาษณ์เก่ง เป็นนักฟังที่ดี ฟังอย่างวิพากษ์ จำเก่ง ตีความเก่ง
การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาเพื่ออภิปรายกันในประเด็นการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นการเฉพาะ สมาชิกกลุ่มจะต้องมีทั้งลักษณะที่คล้ายกัน และลักษณะที่แตกต่าง ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มคือกุญแจสำคัญสู่ข้อมูลที่ดี ผู้ดำเนินการสนทนา ต้องมีทั้งความรู้ในเรื่องที่สนทนา มีทักษะในการจัดการ พลวัตกลุ่ม และทักษะในการดำเนินการสนทนากลุ่ม มีแนวคำถามที่ผ่านการคิกกลั่นกรอง และทดสอบมาแล้ว บรรยากาศการสนทนา
ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มที่ดี มีความรู้ในเรื่องที่ทำการเก็บข้อมูล เข้าใจแนวคำถามและเจตนารมณ์ของคำถามอย่างดี มีบุคลิกที่อบอุ่น น่าคุยด้วย ใจเย็น ไม่วอกแวก เป็นผู้ฟังที่ดี จับประเด็นสิ่งที่ฟังได้เร็ว และแม่นยำ มีความสามารถในการคุมเกมส์การสนทนา
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กระบวนการทำให้ข้อมูล “พูด” ออกมา อย่างมีความหมาย และสมเหตุสมผลที่สุด
การวิเคราะห์เกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการวิจัย เก็บข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล แสดงข้อมูล หาข้อสรุป / ตรวจสอบความถูกต้อง ระหว่างเก็บข้อมูล หลังเก็บข้อมูล กิจกรรมการวิจัย ที่มา: ปรับปรุงจาก Miles and Huberman, 1994: 10 กระบวน การวิเคราะห์
สิ่งที่ต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ องค์ประกอบสำคัญ แสดงข้อมูล สรุป / ตีความ จัดระเบียบข้อมูล
จัดระเบียบข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล จัดระเบียบเนื้อหา จัดระเบียบกายภาพ ถอดเทป บรรณาธิกรณ์ ให้รหัสข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล
ให้รหัสข้อมูล ให้รหัสข้อมูล ทำ อ่านข้อมูล ให้ขึ้นใจ กำหนด ประเด็นหลัก มองหาข้อความ ที่มีความหมาย สอดคล้องกับ กำหนดรหัส สำหรับ แต่ละ ความหมาย ทำ codebook ให้รหัสข้อมูล
แสดงข้อมูล แสดงข้อมูล จัดกลุ่มข้อมูล ที่ให้รหัสแล้ว ตามประเด็นหลัก และประเด็นย่อย ทำตาราง เปรียบเทียบ ข้อมูล/ ความหมาย จากแต่ละกลุ่ม มองหา Concepts ที่จะตอบคำถาม การวิจัย เชื่อมโยง ที่สัมพันธ์กัน ให้มีความหมาย บรรยายผลที่ได้ อย่างละเอียด แสดงข้อมูล
ข้อสรุป ข้อสรุป 2 ประเภท ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม – เช่นแบบแผน (patterns), ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (relationship) ข้อสรุปที่เป็นนามธรรม – ในรูปของ มโนทัศน์ (concepts) คำอธิบาย แบบจำลองมโนทัศน์ (conceptual model) หรือ ทฤษฎี ที่จะสามารถนำไปใช้ได้กับประชากรกลุ่มอื่นที่มีลักษณะ คล้ายกัน
แนวทางหาข้อสรุป มองหาสิ่งต่อไปนี้ในข้อค้นพบ แบบแผน (patterns) ของสิ่งที่ได้พบจากข้อมูล (findings) ความน่าจะเป็น (probability, likelihood) ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (กลุ่ม, ประเภท) (relationships) ความเหมือน ความต่าง (similarities & differences) ทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในข้อมูล
ตีความ ถามตัวเองว่า: สิ่งที่ได้พบและได้สรุปมาจากการศึกษานั้น มีความหมาย และสำคัญอย่างไร ทั้งในแง่ทฤษฎี และในแง่ปฏิบัติ ข้อค้นพบจากการวิจัยนั้น มีนัยอย่างไรในเชิงนโยบาย หรือใน แง่ของกิจกรรมที่น่าจะทำ
ข้อได้เปรียบ และข้อจำกัด นักวิจัยสามารถลงลึกได้มากตามที่ต้องการ เพราะเป็นการศึกษาขนาดเล็ก ไม่เหมาะสำหรับการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล และการดำเนินการวิจัย เพราะมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย หากนักวิจัยไม่มีประสบการณ์เพียงพอ อาจมีปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือ (reliability) ของการใช้เครื่องมือ และความถูกต้องตรงประเด็นของผลการศึกษา (validity) สามารถใช้ข้อมูลได้หลากหลายชนิด ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการวิจัยเรื่องเดียวกัน การเลือกตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง ทำให้การนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง (generalization) เป็นไปอย่างจำกัด ใช้วิธีเก็บข้อมูลได้หลายวิธีในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุป ค่อนข้างจะเป็นอัตวิสัย เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกศึกษา ในการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญ กลุ่มตัวอย่างไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำ (research subjects) แต่เป็นผู้มีส่วนร่วม (participants) ในกิจกรรมการวิจัย ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิดทฤษฎี
เมื่อไรควรใช้ เมื่อไรไม่ควรใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เมื่อต้องการค้นหาประเด็นใหม่ๆของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อสิ่งที่ต้องการทราบคือ แนวโน้มของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พฤติกรรม เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ เมื่อต้องการเข้าใจความหมาย หรือกระบวนการของการกระทำหรือปรากฏการณ์ เมื่อต้องการพิสูจน์สมมติฐานหรือทฤษฎี ด้วยวิธีการทางสถิติ เมื่อต้องการหาความรู้ เพื่อสร้างสมมติฐาน หรือสร้างแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในภายหลัง เมื่อสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยที่จะให้นักวิจัยติดต่อหรือมีส่วนร่วมกับประชากรเป้าหมายอย่างใกล้ชิด เมื่อต้องการตรวจสอบหรือหาคำอธิบายสำหรับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อเห็นว่าการวิจัยเชิงปริมาณน่าจะให้คำตอบที่ต้องการได้ดีกว่า เมื่อเรื่องที่ศึกษา สถานการณ์ หรือประชากรเป้าหมายในการศึกษา ไม่เหมาะที่จะให้ทำการวิจัยโดยวิธีการเชิงปริมาณ เพียงเพราะคิดไม่ออกว่าจะใช้วิธีใดดี หรือเพราะคิดว่าวิธีการเชิงคุณภาพน่าจะง่ายกว่า หรือเมื่อยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความเข้าใจในวิธีการนี้ดีพอ (วิธีการเชิงคุณภาพอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด)