สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สารบัญ 11 แผนที่ 11-12 เรื่อง หน้า สภาพอากาศ 13 ที่ตั้งและอณาเขต 14 15 16-17 18 19 แผนที่ สภาพอากาศ ที่ตั้งและอณาเขต วัฒนธรรม ระบบการศึกษา การใช่เทคโนโลยี การเก็บภาษี เพลงชาติ ตราแผ่นดินลยี เรื่อง หน้า สารบัญ ธงชาติ สัตว์ประจำชาติ ชุดประจำชาติ ดอกไม้ประจำชาติ อาหารประจำชาติ ตราแผ่นดิน เชื้อชาติ ศาสนา เศษรฐกิจ การเมืองการปกครอง คำขวัญ 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ฒนธรรม
ธงชาติ สัตว์จำชาติ
ชุดประจำชาติ ดอกไม้ประจำชาติ
อาหารประจำชาติ
ตราแผ่นดิน
เชื้อชาติ ศาสนา ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นพวกไทขาว ไทดำ และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขา ได้แก่ ม้ง เย้า และข่า จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553[6] ประเทศลาวมีผู้นับถือศาสนา 7.2 ล้านคน โดยแบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพุทธ 66% ศาสนาผี 30.7% ศาสนาคริสต์ 1.5% และศาสนาอื่น ๆ 1.8%
เศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 ประเทศลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
การเมืองการปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ บุนยัง วอละจิด (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายทองลุน สีสุลิด
คำขวัญ ("สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร") ສັນຕິພາບ ເອກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດຖະນະຖາວອນ ("สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร")
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขต ภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 8,500 - 9,000 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับ แขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว แผนที่ สภาพอากาศ
ที่ตั้งและอาณาเขตประเทศลาว ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน (423 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร) ทิศใต้ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร) ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
วัฒนธรรม ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ ลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า “ประชาชนบรรดาเผ่า” สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้ 1.ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ 2.ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 3.ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนา ประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือ ผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนา คริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วน มากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อ สายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อย โดยเป็นกลุ่มจีนฮ่อ ที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสาย เอเชียใต้ และจาม ในเวียงจันทน์ วัฒนธรรม
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศที่อยู่ในวงล้อมของ 5 ประเทศ คือ เวียดนามกัมพูชาไทย พม่าและจีน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลพื้นที่ประเทศทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาและที่ราบสูงใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์(Vientiane) ปกครองในระบบสังคมนิยม การจัดการศึกษาของลาวเริ่มด้วยการศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลในประเทศลาวจะมีทั้งโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชนเปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปีใช้เวลาเรียน 3 ปีแบ่งเป็นชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อจบชั้นอนุบาลแล้วจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป นับตั้งแต่ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเมื่อปีค.ศ.1975 (พ.ศ.2528) เป็นต้นมา ลาวได้ใช้ระบบการศึกษาเป็นแบบ 11 ปีคือระบบ 5 :3 :3 ดังนี้ • ระดับก่อนประถมศึกษา ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี(อายุตั้งแต่ 4-6 ปี) เด็กสามารถเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 1-3 ปี ในระดับที่เรียกว่า Creche หลังจากนั้นเมื่ออายุระหว่าง 4-6 ปี จะเข้าเรียนในระดับอนุบาล • ระดับประถมศึกษา ใช้เวลาในการศึกษา 5 ปี(อายุตั้งแต่ 7-11 ปี) เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปีการศึกษาในระดับนี้คือเป็นการศึกษาภาคบังคับเด็กทุกคนต้องจบการศึกษาในระดับนี้แต่ในทางปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับจะมีผลดีแต่เฉพาะเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น เนื่องจากลาวมีพื้นที่ประเทศกว้างขวางและประชากรกระจายกันอยู่ • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี (อายุตั้งแต่ 12-14 ปี) และในอนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี (อายุตั้งแต่ 15-17 ปี) การศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ 5 -3 -3 นี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ระบบการศึกษา
การใช้เทคโนโลยี
สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ผ่านการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ทำให้ในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่รัฐกว่า 2,000 คนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการทำงานได้ นอกจากนี้หน่วยงานรัฐบางแห่งยังพยายามส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้การใช้ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงมากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ธนาคารแห่งชาติลาวที่มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 350 คนแต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 300 เครื่องหรือคิดเป็นร้อยละ 85 หรือกระทรวงการต่างประเทศที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 600 เครื่องสำหรับเจ้าหน้าที่จำนวน 800 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 75 อย่างไรก็ตามบางหน่วยงานเช่น กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกว่า 500 คนแต่กลับมีคอมพิวเตอร์เพียง 60 เครื่องหรือคิดเป็นร้อยละ 12 เท่านั้น หรือกระทรวงข้อมูลและวัฒนธรรมที่มีคอมพิวเตอร์จำนวน 155 เครื่องต่อเจ้าหน้าที่ 500 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 31ในภาคธุรกิจ มีบริษัทเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น (หรือ 3,910 แห่งจากทั้งหมด 126,913 แห่ง) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของตัวเอง อย่างไรก็ตามระดับการใช้คอมพิวเตอร์ก็จะแตกต่างกันไปตามคอมพิวเตอร์ประมาณ 3 – 5 ห้อง (มีคอมพิวเตอร์จำนวน 30 เครื่องต่อห้อง) โรงเรียนประถมศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสัดส่วนน้อยที่สุด โดยมากจะเป็นการจัดไว้เพื่อรองรับการใช้งานของครูและผู้บริหารมากกว่าจากวิสาหกิจกว่า 126,913 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีเพียงร้อยละ 0.7 (หรือ 872 ราย) เท่านั้นที่ใช้สื่อสารสนเทศเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามจำนวนวิสาหกิจที่ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตก็เพิ่มสูงขึ้นกว่า 4 เท่าตัวนับจากปี 2000 ที่มีกลุ่มธุรกิจใช้บริการระบบอินเตอร์เน็ตในเวลานั้นเพียง 103 รายเป็น 513 รายในปี 2005 และในปี 2006 ก็มีบริษัทที่จดทะเบียนแจ้งความจำนงใช้อินเตอร์เน็ตอีกจำนวน 196 ราย คาดว่าจำนวนวิสาหกิจที่ใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อสารสนเทศจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิน 1,000 รายในปี 2008 บริษัทส่วนใหญ่ที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีทุนจด ทะเบียนน้อยกว่า 10,000 ดอลล่าร์ ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการซ่อมและค้าปลีกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีเพียงร้อยละ 8.4 (หรือ 74 บริษัท) หรือ ISPs รั้งอันดับสองของกลุ่มวิสาหกิจที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุดหรือประมาณ 200,000 ดอลล่าร์ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนทั้ง สิ้น 1,597,276 คู่สาย หรือประมาณร้อยละ 26 ต่อประชากรทั้งหมด ความหนาแน่นของการใช้เครื่องมือสื่อสารดังกล่าวถือว่าสูงกว่าที่รัฐตั้งเป้า หมายไว้ที่ร้อยละ 15 ต่อประชากรทั้งหมด โดยจำนวนผู้ใช้สายระบบเครือข่ายให้บริการโทรศัพท์สาธารณะกว่า 145,857 รายนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากในปี 2006 มากนัก ตรงข้ามกับจำนวนผู้ใช้ระบบ GSM ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 หรือจาก 776,236 รายในปี 2006 เป็น 1,401,419 รายในปี 2007 ส่วนผู้ใช้บริการระบบเครือข่ายการสื่อสารครบวงจรก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อย ละ 28 จาก 14,152 รายในปี 2006 เป็น 50,000 รายในปี 2007 จำนวนผู้ใช้บริการโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้มาจากการนำเข้า โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาถูกจากประเทศจีน รวมทั้งอัตราการแข่งขันที่สูงในธุรกิจโทรคมนาคมด้วยมีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 1,283 ราย ผ่านระบบ ADSL จำนวน 2,820 ราย ผ่านระบบดาวเทียม IPSTAR จำนวน 198 รายและอีก 33 รายทำสัญญาเช่าสายส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ วิสาหกิจโทรคมนาคมแห่งชาติลาว ยังให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้ระบบ GPRS ในกลุ่มลูกค้ากว่า 20,000 รายด้วย ขณะที่ TIGO ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบ EDGE สำหรับลูกค้าประมาณ 50,000 ราย ส่วนบริษัทแพลนเน็ตให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายสำหรับลูกค้าถาวร 2,000 คนในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ในนครหลวงเวียงจันทน์มีร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตกว่า 400 ร้านและอีกประมาณ 600 ร้านทั่วประเทศ โดยร้านอินเตอร์เน็ตส่วนมากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการจำนวนประมาณ 10 – 20 เครื่อง รูปแบบการให้บริการส่วนใหญ่จะเน้นกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่นิยมเล่นเกมส์ออ นไลน์และโปรแกรมสนทนา นอกจากนี้สถานที่ต่าง ๆ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และบริษัทนำเที่ยวก็อาจจะมีบริการอินเตอร์เน็ตสำหรับลูกค้าด้วยจากการสำรวจข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อปี 2007 ในหน่วยงานของรัฐ 25 แห่งในนครหลวงเวียงจันทน์พบว่า สัดส่วนระหว่างเจ้าหน้าที่และคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 2 คนต่อ 1 เครื่อง โดยกระทรวงทั้ง 16 แห่งของลาวมีการจัดตั้งระบบ LAN ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 1,832 เครื่อง ทั้งนี้กระทรวงต่าง ๆ
สปป.ลาว มีการจัดเก็บภาษีอากรที่ต้องค านวณและเรียกเก็บเป็นสกุลเงินกีบเท่านั้น โดยสปป.ลาว ลงนามในอนุสัญญาเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (The Avoid of Double Taxation) กับประเทศไทย เริ่มใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2531 ท าให้รายได้ต่างๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจชาวไทยได้รับจากการท าธุรกิจใน สปป.ลาว ไม่มี ปัญหาเรื่องภาษีซ้อน การเก็บภาษี
เพลงประจำชาติลาว
ขอบคุณที่รับชมนะครับ ผู้จัดทำโดย: เด็กชาย วรเดช แก้ววงค์ ชั้นม.2/2 เลขที่ 13 ครูผู้สอน: นางสายฝน ส่องศรี Face book: woradet keawwong