งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การภาษีอากรระหว่างประเทศและการกำหนดราคาโอน INTERNATIONAL TAXATION AND TRANSFER PRICING รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 International Taxation
ระบบและอัตราภาษีของแต่ละประเทศต่างกัน ภาษีอากรระหว่างประเทศเป็นประเด็นผู้บริหารของธุรกิจระหว่างประเทศ จะต้องมีการคำนึงถึงและตัดสินใจมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อ การตัดสินใจลงทุน การตลาดในแง่ขายสินค้า การเงินในการเคลื่อนย้ายกระแสเงินสด การกำหนดราคาโอนระหว่างประเทศ(การเสียภาษีต่ำสุดและการประเมินผล)

3 ตัวอย่างอัตราภาษีของประเทศต่างๆ
Source :

4 ความสำคัญของภาษีอากรระหว่างประเทศ
ระบบภาษีอากรระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ละประเทศมีการออกเป็นกฎหมายมีข้อตกลงและการเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการไหลแรงงานและเงินทุนจากประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า ซึ่งเป็นกลยุทธ์การแข่งขันระหว่างประเทศ บริษัท MNC จึงต้องตัดสินใจออกแบบสินค้าในประเทศหนึ่ง แล้วนำไปผลิตในอีกประเทศหนึ่งก่อนจะนำไปจำหน่ายทั่วโลก จึงต้องมีการวางแผนภาษี (Tax Planning) ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคาโอนระหว่างประเทศด้วย

5 สาเหตุการวางแผนภาษีของ MNC
ระบบภาษีของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน แม้มีแนวคิดที่จะสร้างระบบภาษีที่เป็นสากล(Global Taxation System) แก้ไขโดยมีการจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศ(International Double Taxation) เพื่อลดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างประเทศ แต่ยังมีข้อบกพร่องที่ไม่สามารถขจัดความซ้ำซ้อนหมดไป เช่น การขจัดภาษีซ้อนโดยการเครดิตภาษี พบว่าบางประเทศจำกัดจำนวนเงินในการเครดิตภาษี เป็นต้น จากข้อจำกัดและข้อบกพร่องบางประการ สนับสนุนให้ MNC มีการวางแผนภาษีอากร เพื่อการถ่ายโอนเงินกำไรระหว่างในกิจการ และเสียภาษีน้อยที่สุด

6 ลักษณะการวางแผนภาษีของบริษัทMNC
การวางแผนภาษีสำหรับบริษัทMNC หมายถึง การที่บริษัทMNC หาทางที่จะขจัดภาษีซ้อนที่ไม่จำเป็น เนื่องจากระบบภาษีแต่ละประเทศต่างกัน ลักษณะการวางแผนภาษี MNC อาจทำทำได้หลายวิธี ได้แก่ การหาช่องว่างจากอนุสัญญาภาษีซ้อน ระหว่างประเทศคู่สัญญา การวางแผนจะแตกต่างกันไปแต่ละกรณี เรียกว่า Treasty Shopping การกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) เพื่อถ่ายเทกำไรภายในกลุ่มบริษัท โดยปราศจากภาระภาษี หรือมีภาระภาษีต่ำสุด การใช้ดินแดนที่เสนอสิทธิพิเศษทางภาษี (Tax Havens) ให้เป็นประโยชน์

7 Multinational Enterprises-Tax
โอนเงินได้ ไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า โอนรายจ่าย ไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีสูงกว่า ตั้งราคาโอนต่ำกว่าราคาตลาด อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย(Tax loopholes)

8 ราคาโอนและการตั้งราคาโอน
ราคาโอน (Transfer Pricing) หมายถึงราคาที่ตั้งขึ้นสำหรับดำเนินธุรกิจต่างๆ ภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน(Related Business Entities) เช่น การซื้อขายสินค้า การให้บริการ การกำหนดราคาโอนที่สูงต่ำกว่าจริง ทำได้ง่ายภายในธุรกิจเดียวกัน ลักษณะการกำหนดราคาโอน ราคาซื้อขายโดยสุจริต (Arm’s Length Prices) เป็นราคาที่กำหนดตามกลไกตลาดที่มีการแข่งขันตามผู้ซื้อผู้ขาย ราคาต้นทุนบวกกำไร (Cost Plus Price) เป็นราคากำหนดจากต้นทุน ราคากำหนดจากการจัดการ (Manipulated Transfer Pricing) เพื่อการวางแผนภาษี

9 การกำหนดราคาโอนเพื่อการวางแผนภาษี
เป็นการกำหนดราคาโอน โดยการตั้งราคาโอน(Abusive Transfer Pricing) เพื่อสร้างความได้เปรียบในระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน อาจกำหนดเป็น การตั้งราคา ค่าตอบแทน ดอกเบี้ย หรือธุรกรรมต่างๆ เพื่อถ่ายโอนกำไรจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศ การตั้งราคาโอน อาจมีวิธีการดังนี้ ตั้งราคาสูง เพื่อโอนกำไรไปยังประเทศผู้ขาย โดยผู้ซื้อเกิดผลขาดทุน ในกรณีที่อัตราภาษีประเทศผู้ขายต่ำกว่าประเทศผู้ซื้อ ตั้งราคาต่ำ เพื่อโอนกำไรไปยังประเทศผู้ซื้อ โดยผู้ขายเกิดผลขาดทุน ในกรณีที่อัตราภาษีประเทศผู้ขายสูงกว่าประเทศผู้ซื้อ

10 ตัวอย่าง บริษัท A ตั้งในประเทศ X เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า มีวัตถุดิบ 2 ส่วน ได้แก่ ชิ้นส่วน 001 จากในประเทศX และชิ้นส่วน 101 สั่งซื้อจากบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทในเครือในประเทศ Y กำไรที่เสียภาษีบริษัท A = รายได้ – (ราคาชิ้นส่วน001 + ราคาชิ้นส่วน101+ ต้นทุนผลิตอื่นในประเทศ X) กำไรขึ้นกับราคาชิ้นส่วน 101 ถ้าประเทศ X มีอัตราภาษีสูงกว่าประเทศ Y จูงใจให้มีการตกลงตั้งราคาชิ้นส่วน 101 สูง เพื่อบริษัทA จะเสียภาษีต่ำ ถ้าประเทศ X มีอัตราภาษีต่ำกว่าประเทศ Y จูงใจให้มีการตกลงตั้งราคาชิ้นส่วน 101 ต่ำเพื่อบริษัท B จะเสียภาษีต่ำ

11 ตัวอย่างการกำหนดราคาโอนสำหรับการวางแผนภาษี

12 ตัวอย่างการกำหนดราคาโอนสำหรับการวางแผนภาษี
a กำหนดราคาขายสูงขึ้น เพราะอัตราภาษีต่ำกว่า ทำให้ภาษีโดยรวม เสียลดลง 595,000 – 420,000 =175,000 บาท และกำไรสูงขึ้นโดยรวมจำนวนเดียวกัน

13 การวางแผนภาษีและตั้งราคาโอนโดยการตั้งตัวกลาง
บริษัท 0 เป็นผู้ผลิต ขายให้บริษัท P เป็นบริษัทลูกในท้องถิ่น เพื่อการเสียภาษีเงินได้ต่ำสุด จึงได้ตั้งบริษัทตัวกลาง(Intermediate Company) เพื่อทำหน้าที่ซื้อขายระหว่างกัน โดยทำหน้าที่เป็นผู้ขาย โดยไปตั้งในประเทศที่อัตราภาษีต่ำ วิธีการ บริษัท P ผู้ขายสินค้า บริษัท 0 ผู้ผลิต บริษัทตัวกลาง กำไร ขาย ขาย อัตราภาษีสูง ตั้งราคาขายต่ำ อัตราภาษีต่ำ ตั้งราคาขายสูง โอนกำไรไปบริษัทตัวกลาง

14 ภาษี หัก ณ ที่จ่ายของเงินได้แตกต่างกัน
การจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายในแต่ละประเทศของเงินได้เงินได้แตกต่างกัน ส่งผลในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เงินปันผล กำไรทางธุรกิจ ค่าสิทธิดอกเบี้ยและ เงินได้ที่ได้รับยกเว้น

15 การวางแผนภาษีโดยการจัดหาแหล่งทุน
บางประเทศไม่มีการการกำหนดการตั้งทุนต่ำ (Thin Capitalisation) ซึ่งเป็นอัตราส่วนทุนของหนี้และทุน จึงมีการวางแผนโครงสร้างทุนตามลักษณะการหักภาษี ณ ที่จ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่าย(Withholding Tax) ของแต่ละประเทศมีอัตราภาษีต่างกัน ในด้านจัดหาแหล่งเงินทุน ซึ่งให้ผลตอบแทนต่างกัน หากจัดหาทุนจากการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น มีการจ่ายเงินปันผล หากจัดหาทุนจากเงินกู้ มีการจ่ายดอกเบี้ย เช่น ประเทศอังกฤษวางแผนผลิตสินค้าในประเทศออสเตรีย อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินปันผลในออสเตรียเท่ากับ 22% และดอกเบี้ย 0% กรณีนี้บริษัทใหญ่อาจเลือกใช้โครงสร้างเงินทุนจากเงินทุนบางส่วน และให้กู้บางส่วน เพื่อส่งเงินคืนมากกว่าการลงทุนเอง

16

17 ดินแดนที่เสนอสิทธิพิเศษทางภาษี
ดินแดนที่เสนอสิทธิพิเศษทางภาษี (Tax Havens) เป็นประเทศหรือดินแดนซึ่งไม่มีการจัดเก็บภาษีหรืออัตราภาษีต่ำมาก จึงเหมาะสำหรับการหลบหลีกภาษี มีลักษณะดังนี้ ไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ เช่น หมู่เกาะเคย์แมน บาฮาบัส บรินติส เวอร์จิน อาจจัดเก็บภายในปกติ แต่กำไรหรือรายได้ระหว่างประเทศเก็บในอัตราต่ำ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มีการปกปิดข้อมูลทางธุรกิจและการเงินของกิจการต่างประเทศ เช่น ลักเซมเบริ์ก ไม่มีการควบคุมการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เหตุผลเพื่อเป็นการดึงดูดธุรกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ การกำหนดรายชื่อประเทศเหล่านี้ขึ้นกับแต่ละประเทศ

18 Tax Holiday เป็นช่วงเวลาที่มีการลดหย่อนภาษี เพื่อให้เกิดการจูงใจให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ เช่นหลายประเทศในเอเชีย ในประเทศไทยจะยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีสำหรับกิจการต่างชาติที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ประเทศฟิลิปปินส์ ยกเว้นภาษีเงินได้ 3-8 ปี มาเลเซียยกเว้นภาษี 10 ปี บริษัท MNC จะเลือกตัดสินใจลงทุนในประเทศที่มีช่วงการลดหย่อนภาษีนานและอัตราภาษีต่ำ

19 แบบฝึกหัด ข้อ 1. บริษัท A. เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน ตั้งในประเทศ ก. เพื่อส่งออกไปประกอบยัง บริษัท B. ในประเทศ ข. หากบริษัท A. ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่ในประเทศ ก. และอัตราภาษีของประเทศ ก. ได้รับสิทธิพิเศษ และอัตราภาษีเงินได้ต่ำกว่าอัตราภาษีในประเทศ ข. ในกรณีเช่นนี้ บริษัท A. ควรวางแผนภาษีเพื่อกำหนดราคาโอนอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

20 แบบฝึกหัด ข้อ 2. บริษัท X ต้องการลงทุนในประเทศ O และประเทศ L จากการศึกษาพบว่า อัตราภาษีของ 2 ประเทศเป็นดังนี้ ให้พิจารณาว่าบริษัท X ควรจะวางแผนภาษีระหว่างประเทศอย่างไร ในการลงทุนในประเทศ O และประเทศ L ให้ยกตัวอย่างประกอบด้วย อัตราภาษี ประเทศ O ประเทศ L ภาษีเงินได้ 35% 20% ภาษีหัก ณ ที่จ่ายดอกเบี้ยจ่าย 10% 15% ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินปันผลจ่าย 12%


ดาวน์โหลด ppt รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google