งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อมูลพื้นฐานและบทบาทของประเทศสมาชิกอาเซียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อมูลพื้นฐานและบทบาทของประเทศสมาชิกอาเซียน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อมูลพื้นฐานและบทบาทของประเทศสมาชิกอาเซียน

2 1. ชื่อและเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน
ชื่ออย่างเป็นทางการ เมืองหลวง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย: Republic of Indonesia จาการ์ตา: Jakarta สาธารณรัฐฟิลิปปินส์: Republic of the Philippines มะนิลา: Manila สาธารณรัฐสิงคโปร์: Republic of Singapore สิงคโปร์ :Singapore) สหพันธรัฐมาเลเซีย: Federation of Malaysia กัวลาลัมเปอร์: Kuala Lumpur ราชอาณาจักรไทย: Kingdom of Thailand กรุงเทพมหานคร: Bangkok เนการา บรูไนดารุสซาลาม: Negara Brunei Darussalam บันดาร์เสรีเบกาวาน: Bandar Seri Begawan) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม: Socialist Republic of Vietnam ฮานอย: Hanoi สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: The Lao People's Democratic Republic เวียงจันทน์: Vientiane สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์: Republic of the Union of Myanmar เนปีดอว์: Naypyidaw ราชอาณาจักรกัมพูชา: Kingdom of Cambodia พนมเปญ: Phnom Penh

3 2. ตราแผ่นดิน 2.1 ตราแผ่นดินประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน หาง 8 ขน โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ช่องซ้ายบนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง" ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชนช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึงลัทธิชาตินิยม

4 ช่องซ้ายล่างบรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคมช่องขวาล่างบรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาว โล่ขนาดเล็กที่อยู่กลางนั้นมีสีดาบรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้าเบื้องล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่า ความว่า "Bhinneka Tunggallka" แปลได้ว่า"เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย" ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปอนติอานัก (SultanHamid II of Pontianak) ตราแผ่นดินนี้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

5 2.2 ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กา วิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติ ฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือ ลูซอน วิซายา และ มินดา เนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่ง แสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483

6 2.3 ตราแผ่นดินมาเลเซีย ตราแผ่นดินของมาเลเซีย
(Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้า ส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดิน ของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ เครื่อง ยอดประกอบด้วยรูปจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉกซึ่งเรียกว่า "ดาราสหพันธ์" ("Bintang Persekutuan") รูปจันทร์เสี้ยวยังหมายถึงศาสนาอิสลาม เดิมรูปดาว 14 แฉกนั้นใช้เป็นสัญลักษณ์แทนรัฐที่รวมเป็น ประเทศมาเลเซียเมื่อแรกก่อตั้ง 14 รัฐ ซึ่งมีสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อสิงคโปร์แยกตัวจากสหพันธรัฐ รูปดาว 14 แฉกนี้ก็มิได้มีการแก้ไข รูปโล่ในตราอาร์มนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นเอกภาพของรัฐ ต่างๆ ภายใต้สหพันธรัฐของชาวมาเลย์

7 ภายในโล่แบ่งพื้นที่อย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 แบ่งโดยละเอียดจะนับได้สิบส่วน ดังนี้ ส่วนบนสุดหรือส่วนหัวของโล่ บรรจุภาพกริช 5 เล่มบนพื้นสีแดง หมายถึงอดีตรัฐ มลายูที่อยู่นอกสหพันธรัฐมาลายา 5 รัฐ ได้แก่ รัฐยะโฮร์ รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ส่วนกลางโล่ประกอบด้วย ทางซ้ายสุดเป็นรูปต้นปาล์มปีนังอยู่เหนือแพรประดับสีฟูาและสีขาว หมายถึง รัฐปีนัง ตรงกลางเป็นแถวช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 แถว คือ สีของธงชาติ ได้แก่ สีแดง สีดำ สีขาว และสีเหลือง เรียงจากซ้ายไปขวา สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้ประกอบในธงประจ ารัฐสมาชิกในสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ รัฐเนกรีเซมบิลัน (แดง-ดำ-เหลือง). รัฐปาหัง (ด า-ขาว), รัฐเประ (ขาว-เหลือง) และรัฐสลังงอร์ (แดง-เหลือง) ทางขวาสุด เป็นรูปต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นสัญลักษณ์ของรัฐมะละกา ส่วนล่างหรือท้องโล่ แบ่งเป็นสามช่อง ทางซ้ายสุดเป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาบาห์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ ส่วนตรงกลางเป็นรูปดอกชบาซึ่งเป็นดอกไม้ประจ าชาติ ทางขวาสุดเป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาราวัก ส่วนรูปเสือโคร่งท่ายืนผงาดที่ประคองสองข้างของตราเป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมเดิมของชาวมลายู หมายถึง กำลังและความกล้า ส่วนคำขวัญประจำดวงตราอยู่ในตำแหน่งล่างสุดของโล่ มีแพรแถบ และข้อความ "Bersekutu Bertambah Mutu" มีความหมายว่า "ความเป็นเอกภาพคือพลัง ข้อความนี้เป็นภาษามลายูเขียนด้วยอักษรโรมันและอักษรยาวี ข้อความที่เป็นอักษรโรมันนี้ได้ถูกนำมาแทนที่ข้อความเดิมซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ("Unity is Strength") ภายหลังจากการประกาศเอกราช

8 2.4 ตราแผ่นดินประเทศสิงคโปร์ ตราประจำชาติสิงคโปร์เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2502 เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ พร้อมกันกับธงชาติ พร้อมด้วยเพลงชาติสิงคโปร์ ณ ห้องสาบานตน ประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์ ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ซิตี้ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโตและ เสือถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ใช้บน ธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และ สิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติ ด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า ข้างใต้มีคำขวัญ "Majulah singapura" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"

9 2.5 ตราแผ่นดินไทย คือ ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของ
พระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของ พระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลัง พ.ศ เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453

10 2. 6 ตราแผ่นดินประเทศของบรูไน معطف
2.6 ตราแผ่นดินประเทศของบรูไน معطف . من الأسلح بروناي ) )ใช้เครื่องหมายอย่าง เดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยวภายในวงเดือนซึ่งหงาย ขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์ เสมอ" เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม بروناي دار السلام ) )แปลว่า นครแห่งสันติ สัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายดังนี้ ราชธวัช และพระกลด หมายถึง สมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไนดารุสซาลาม (ของทั้งสองสิ่งนี้ นับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติบรูไน) ปีกนก 4 ขน หมายถึง การพิทักษ์ความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญ และสันติสุขของชาติ มือสองข้างที่ชูขึ้น หมายถึง หน้าที่ของรัฐบาลที่จะยกระดับความมั่งคั่ง สันติสุข และความวัฒนาถาวรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถึง ศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ

11 2.7 ตราแผ่นดินประเทศเวียดนาม มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสี เหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าวหมายถึงความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์[1] มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออกและตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519

12 2.9 ตราแผ่นดินประเทศลาว แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า เครื่องหมายชาติ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์ อักษร สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ລະຘະລັ ດ ບະຊາທິ ບະໄຕ ບະຊາຊົ ຘລາວ) สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร (ສັ ຘຕິ ພານ ເອກກະລາດ ບະຊາທິ ບະໄຕ ເອກະພານ ວັ ດທະຘາຖາວອຘ) ระหว่างกลางของสองปลายรวง ข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ปุาไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก

13 2.10 ตราแผ่นดินประเทศเมียนม่าร์ ลักษณะของดวงตราประกอบด้วยรูปสิงห์แบบศิลปะ พม่า จำนวน 2 ตน อยู่ในท่านั่งรักษาการณ์ หันหลังให้ซึ่งกันและกัน ที่กลางตรานั้นมีภาพของแผนที่ ประเทศพม่ารองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่ ล้อมรอบด้วยลวดลายบุปผาชาติตามแบบศิลปะพม่า ที่บนสุด ของดวงตราเป็นรูปดาวห้าแฉกดวงหนึ่ง รูปเหล่านี้รองรับด้วยม้วนแพรแถบจารึกนามเต็มของประเทศ ด้วยใจความว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์

14 2.10 ตราแผ่นดินของกัมพูชา เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้าอัญเชิญ พระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น โดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบ แสดงข้อความว่า "พระเจ้ากรุงกัมพูชา" ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูลรัศมีที่เปล่งออกมาจากพระมหามงกุฎ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเขมร ฉัตร 5 ชั้นทั้งสองคัน หมายถึง พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระราชินี พระแสงขรรค์ หมายถึง พระราชอำนาจและความยุติธรรม ราชสิงห์และคชสีห์ หมายถึง ปวงชนชาวกัมพูชาผู้ค้ำจุนราชบัลลัง

15 ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์
3. ธงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ/ธงชาติ คำอธิบาย ธงชาติอินโดนีเซีย ธงชาติแบ่งเป็น 2 ส่วนตามแนวนอนครึ่งบนสีแดงครึ่งล่างสีขาว แดง หมายถึง ความกล้าหาญและอิสรภาพ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และยุติธรรม ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ สามเหลี่ยมสีขาว หมายถึง การเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพแทนความ เสมอภาคและภราดรภาพ สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และ ความยุติธรรม สีแดง หมายถึง ความรักชาติและความมีคุณค่า รูป ดวงอาทิตย์แปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัด อันได้แก่ บาตังกาส บูลาคัน คาวิเต ลากูนา, มะนิลา นูเอวา เอคิยา ปัมปังกา และตาร์ลัค ดาวสามดวง หมายถึง เกาะ 3 เกาะ คือ ลูซอน มินดาเนา และวิสายัน ในกรณีประกาศภาวะสงคราม สีแดงกับสีน้ำเงินจะสลับกัน

16 ประเทศ/ธงชาติ คำอธิบาย
ธงชาติประเทศมาเลเซีย แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของ รัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์ เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองใน พระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้ เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคี ธงชาติประเทศสิงคโปร์ สีแดง หมายถึง ภารดรภาพและความเสมอภาคของชาวสิงคโปร์ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และความงามที่คงอยู่ตลอดไป รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการ คือ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค ธงชาติไทย ธงไตรรงค์ 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

17 ธงชาติประเทศเวียดนาม
ประเทศ/ธงชาติ คำอธิบาย ธงชาติประเทศบรูไน ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ ซึ่งเป็นธงประจำพระองค์ของสุลต่าน แห่งบรูไน ดารุสซาลาม สีขาวและสีด า หมายถึงมุขมนตรีของประเทศ กลางธงมีภาพตราแผ่นดิน ธงชาติประเทศเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วนตรงกลางมีรูปดาว 5 แฉก เข้าใจกันทั่วไปว่า หมายถึง ชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของ ชาวเวียดนาม ดาวสีเหลืองทอง หมายถึง ชาวเวียดนามภายหลัง การรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ ความหมายในธงคือ สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ ดาวสีเหลืองทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ธงชาติประเทศลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะ เป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง แถบ ด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดงและกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กันสีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติลาว พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของชาติและเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่น เหนือลำน้ำโขง

18 ธงชาติประเทศเมียนม่าร์
ประเทศ/ธงชาติ คำอธิบาย ธงชาติประเทศเมียนม่าร์ ธงแบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง กลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของเมียนม่าร์ สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ ธงชาติประเทศกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดอยู่บริเวณกึ่งกลาง สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์ สีแดง หมายถึง ชาติ ปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ

19 4. วันที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน วันเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน
ประเทศ วันเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน 1. อินโดนีเซีย วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 2. ฟิลิปปินส์ 3. สิงคโปร์ 4. มาเลเซีย 5. ไทย 6. บรูไน วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 7.เวียดนาม วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 8. ลาว วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 9. เมียนม่าร์ 10. กัมพูชา วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542

20 5. พื้นที่ของประเทศสมาชิกอาเซียน
ลำดับที่ ประเทศสมาชิกอาเซียน พื้นที่ 1 อินโดนีเซีย 1,919,440 ตารางกิโลเมตร 2 เมียนม่าร์ 678,500 ตารางกิโลเมตร 3 ไทย 513,115 ตารางกิโลเมตร 4 เวียดนาม 331,033 ตารางกิโลเมตร 5 มาเลเซีย 329,750 ตารางกิโลเมตร 6 ฟิลิปปินส์ 298,170 ตารางกิโลเมตร 7 ลาว 236,800 ตารางกิโลเมตร 8 กัมพูชา 181,035 ตารางกิโลเมตร 9 บรูไน 5,770 ตารางกิโลเมตร 10 สิงคโปร์ 699.4 ตารางกิโลเมตร

21

22 6. จำนวนประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียน
ตัวเลขจำนวนประชากรในปี พ.ศ พ.ศ และ พ.ศ เป็นตัวเลขประชากรทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีปริมาณที่แตกต่างกัน โดยข้อมูลได้เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อย ที่สุดในซึ่งในปี พ.ศ พบว่า ประชากรมากที่สุด คือ อินโดนีเซียมีประมาณ 251 ล้านคน รองลงมา อันดับที่ 2 คือ ฟิลิปปินส์มีประชากรประมาณ 105 ล้านคน อันดับที่ 3 คือ เวียดนามมีประชากร ประมาณ 92 ล้าน อันดับที่ 4 คือ ไทยมีประชากรประมาณ 67 ล้านคน อันดับที่ 5 คือ เมียนม่าร์มี ประชากรประมาณเกือบ 56 ล้านคน อันดับที่ 6 คือ มาเลเซียมีประชากรประมาณ 29 ล้านคน อันดับที่ 7 คือ กัมพูชามีประชากรประมาณ 15 ล้านคน อันดับที่ 8 คือ ลาวมีประชากรประมาณเกือบ 7 ล้าน คน อันดับที่ 9 คือ สิงคโปร์ประชากรประมาณ 5 ล้านคน ตามลำดับ และประเทศที่มีจำนวนประชากร น้อยที่สุดในอาเซียน คือ บรูไนดารุสลามซึ่งมีประชากรประมาณ 4 ล้านคน รวมแล้วประชากร อาเซียนมีประมาณเกือบ 630 ล้านคน จากการเปิดประชาคมร่วมของอาเซียนจึงน่าจะทำให้ประชากรทุกประเทศเดินทางเข้าออกได้สะดวกขึ้น ซึ่งอาจจะมีพลเมืองอาเซียนเข้ามาอยู่ร่วมกันมากขึ้น เช่น การเข้ามาค้าขาย การเข้ามาศึกษา การเข้ามาท่องเที่ยว เป็นต้น

23

24 7. ศาสนาและภาษาของของประเทศสมาชิกอาเซียน
ศาสนาประจำชาติ ภาษาราชการ 1.อินโดนีเซีย อิสลาม ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) 2. ฟิลิปปินส์ คริสต์ ภาษาตากาล็อก (Tagalog) และ ภาษาอังกฤษ (English) 3. เมียนม่าร์ พุทธ ภาษาเมียนม่าร์ (Burmese) 4. สิงคโปร์ ไม่มีศาสนาประจำชาติ ภาษาอังกฤษ (English) 5. มาเลเซีย ภาษาบาฮาซา มาลายู (Bahasa Malayu) 6. ไทย 7. กัมพูชา ภาษาเขมร (Khmer) 8.เวียดนาม ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) 9. ลาว ภาษาลาว (Lao) 10. บรูไน

25 8. สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ของประเทศสมาชิกอาเซียน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในข้อมูลนี้มีการเปลี่ยนแปลงตามวัน เวลา และสถานที่แลกเงิน ซึ่งโดย ปกติในแต่ละธนาคารจะไม่แตกต่างกันมากนัก การแลกเงินนั้นสามารถแลกได้ที่สนามบินของแต่ละ ประเทศ หรือตามสถานที่ที่มีสัญลักษณ์ว่า “MONEY EXCHANGE” หรือมองหาป่าย “CURRENCY EXCHANGE ” พลเมืองอาเซียนควรสอบถามข้อมูลก่อนการเดินทางเสมอ ค้นหาและเทียบเคียงอัตรา ของแต่ละธนาคารหรือสถานที่แลกเงิน และที่ สำคัญตอนซื้อกับตอนขายคืนนั้นราคาจะไม่เท่ากัน อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศสมาชิกจะแตกต่างกัน3 เช่น ตอนแลกซื้อเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในอัตรา บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ แต่ตอนขายคืน อาจได้ประมาณ บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือเงินสกุลริงกิต ตอนซื้อ บาท/ 1 ริงกิต แต่ตอนขาย อาจได้ประมาณ 8 บาท/ 1 ริงกิต ซึ่ง เป็นควรต้องประมาณการค่าใช้จ่ายก่อนทำการแลกเงินเสมอ

26 ประเทศ สกุลเงิน อัตราขายถัวเฉลี่ย 1. อินโดนีเซีย รูเปียห์ (Indonesian Rupiah: IDR) บาท/ 1,000 รูเปียห์ 2. ฟิลิปปินส์ เปโซ (Philippine Peso: PHP) บาท/ 1 เปโซ 3. สิงคโปร์ ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar: SGD) บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ 4. มาเลเซีย ริงกิต (Malaysian Ringgit: MYR) บาท/ 1 ริงกิต 5. ไทย บาท (Thai Baht: THB) 6. บรูไน ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar: BND) บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน 7. เวียดนาม ด่อง (Vietnamese Dong: VND) บาท/ 1 ด่อง 8. ลาว กีบ (Laotian Kip: LAK) บาท/ 1 กีบ 9. เมียนม่าร์ จ๊าด (Myanmar Kyat: MMK) บาท/ 1 จ๊าด 10. กัมพูชา เรียล (Cambodian Riel : KHR) บาท/ 1 เรียล

27 9. เขตเวลาของประเทศสมาชิกอาเซียน
1. อินโดนีเซีย แบ่งเป็น 3 เขต เวลา 1) GMT+7 เท่ากับประเทศไทย คือ เกาะสุมาตรา (Sumatra) ชวา (Java) และกาลิมันตันตะวันตก (West Kalimantan) 2) GMT+8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง คือ กาลิมันตันตะวันออก (East Kalimantan) สุลาเวสี ( Sulawesi) และบาหลี (Bali) 3) GMT+9 เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง คือ เขตตะวันออก มาลูกู (Maluku) และ อิเรี่ยน จาย่า (Irian Jaya) 2. ฟิลิปปินส์ GMT+8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 3. สิงคโปร์ 4. มาเลเซีย 5. ไทย GMT+7 เร็วกว่ามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง 6. บรูไน 7. เวียดนาม GMT+7 เท่ากับประเทศไทย 8. ลาว 9. เมียนม่าร์ GMT+6:30 ช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที 10. กัมพูชา

28 10. ระบอบการปกครองของประเทศอาเซียน
ส่วนใหญ่เป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ นั้นมีข้อแตกต่างกัน ดังเช่น ไทย กัมพูขา และมาเลเซีย มีกษัตริย์เป็นประมุขของชาติ และมี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามวาระ และอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีประธานาธิบดี ทำหน้าที่ทั้งประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ส่วนสิงคโปร์มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล เป็นต้น ในอาเซียนยังมีอีก 2 ประเทศที่ปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ คือ เวียดนามและลาว ซึ่งมีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลเช่นเดียวกันแต่ในลาวมักเรียกประธานาธิบดีว่า “ประธานประเทศ” และมีอยู่เพียง ประเทศเดียวที่ยังปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ บรูไน ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีจุดเด่นมาก ในเรื่องระบอบการปกครองเพราะมีกษัตริย์เป็นทั้งประมุขและหัวหน้ารัฐบาล

29 สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ประเทศ ระบอบการปกครอง ฝ่ายประมุข ฝ่ายบริหาร 1. อินโดนีเซีย ประชาธิปไตย ประธานาธิบดี 2. ฟิลิปปินส์ 3. เมียนม่าร์ 4. สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี 5. มาเลเซีย กษัตริย์ 6. ไทย 7. กัมพูชา 8.เวียดนาม สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 9. ลาว 10. บรูไน สมบูรณาญาสิทธิราชย์

30 11. สัตว์ประจำชาติประเทศอาเซียน
1. ไทย “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติไทย ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากคน ไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งบนธงชาติไทยก็เคยมีรูปช้างปรากฏอยู่ บนผืนธงสีแดง กระทั่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบประกาศ ให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ช้างไทย 2. เมียนม่าร์ “เสือ” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนม่าร์ ลักษณะของเสือ สามารถบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศเมียนม่าร์ 3. ประเทศอินโดนีเซีย “มังกรโคโมโด” เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็น สัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า (มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) มังกรโคโมโดถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธุ์ สามารถพบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโด (Komodo Island) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ เนื่องจาก เป็นเกาะภูเขาไฟกลางทะเล

31 ประเทศ สัตว์ประจำชาติ 4. ฟิลิปปินส์ “กระบือ” เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว สำหรับในประเทศฟิลิปปินส์เลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงงานในไร่นา หรือใช้สำหรับการชัก ลากซุงออกจากป่า โดยลักษณะนิสัยพฤติกรรมของกระบือนั้น เมื่อว่างเว้นจากการถูกใช้งานมักจะชอบ นอนแช่น้ำหรือแช่ปลักโคลนเพื่อเป็นการผ่อนคลายความร้อนของร่างกาย 5. บรูไน “เสือโคร่ง” เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน เสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Panthera tigris” ในวงศ์ “Felidae” จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย 6. มาเลเซีย “เสือมลายู” เป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย เสือมลายูมีถิ่นฐานอยู่ ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยจะเห็นสัญลักษณ์ของเสือมลายูได้จากบนตราแผ่นดิน ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแสดงถึงพละกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็น ชื่อเล่นของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย

32 ประเทศ สัตว์ประจำชาติ 7. กัมพูชา “กูปรี” หรือ “โคไพร” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา โดย เจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชา กูปรีเป็นสัตว์จำพวก กระทิงและวัวป่า มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งอาจมากถึง 20 ตัว กูปรีจัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ พบเห็นได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบได้ทางเหนือของประเทศกัมพูชา ทางใต้ของลาว ทางตะวันตก ของเวียดนาม และทางตะวันออกของไทย ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว 8. ลาว “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศลาว ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มี ความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตลาวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเมืองล้านช้าง แต่ปัจจุบันประชากรช้างในลาวอยู่ในภาวะวิกฤต รัฐบาลลาวจึงได้ฟื้นฟูและอนุรักษ์ช้างลาวไว้ โดยการจัดงานบุญ ช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี 9. เวียดนาม ประเทศเวียดนาม “กระบือ” หรือควาย เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม สามารถพบเห็นได้ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม

33 ประเทศ สัตว์ประจำชาติ 10. สิงคโปร์ “สิงโต” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองแห่งสิงโต ตามตำนาน เล่าขานเจ้าผู้ครองนครแห่งปาเล็มบัง ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย ได้ออกเดินทางแสวงหา ดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่าง ลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ ตอบว่ามันคือสิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเกาะแห่งนั้นเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ปัจจุบันบนตราแผ่นดิน สิงคโปร์ มีสิงโตปรากฏอยู่เคียงคู่กับเสือโคร่ง โดยสิงโตด้านขวานั้นแทนประเทศสิงคโปร์ ส่วนเสือโคร่ง ด้านซ้ายนั้นแทนประเทศมาเลเซียแสดงถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของเกาะสิงคโปร์กับมาเลเซีย

34 12. ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
ประทศ ดอกไม้ 1. ไทย “ดอกราชพฤกษ์” (Ratchaphruek) หรือดอกคูณ มีสีเหลืองสวยสง่า งาม เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และสีเหลืองยังเป็นสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ ที่แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในการทำความดี รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคน ในชาติอีกด้วย 2. เมียนม่าร์ “ดอกประดู่” (Paduak) พม่าเรียกว่าบะเด้าปาน เป็นดอกไม้ที่พบ เห็นได้ทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นสีเหลืองทอง เป็นดอกไม้แห่งเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่พม่า ในช่วงเทศกาลนี้ชาวพม่าจะเอาดอกประดู่มาเสียบผม ติดหน้ารถ ประดับบ้าน ฯลฯ นอกจากนี้แล้วดอก ประดู่ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแรงทนทาน และยังเป็นดอกไม้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา 3. สิงคโปร์ “กล้วยไม้แวนด้า” (Vanda Miss Joaquim) ตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ “Miss Agnes Joaquim” เป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีลักษณะสีม่วง สด เติบโตเร็ว และทนกับสิ่งแวดล้อม เปรียบเหมือนชาวสิงคโปร์ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ก็ สามารถเติบโตได้ในทุกที่

35 ประทศ ดอกไม้ 4. บรูไน “ดอกส้านชวา” (Dillenia) หรือดอก “ชิมเปอร์” (Simpor) เป็น ดอกไม้กลางแจ้ง เป็นไม้ปลูกได้ยาก มีกลีบดอกใหญ่สีเหลืองสด หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมี ลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล จะพบดอกชิมเปอร์ ได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมือง 5. กัมพูชา “ดอกลำดวน” (Rumdul) เป็นดอกไม้สีขาวหรือเหลืองนวล กลีบดอกมีลักษณะหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็น ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความ หมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนถึงสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้องคือปลูกไว้ใน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ 6. อินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย “ดอกกล้วยไม้ราตรี” (Moon Orchid) เป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่ บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อของดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง เดือน โดยปกติจะบานปี ละ ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายใน พื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

36 ประทศ ดอกไม้ 7. มาเลเซีย “ดอกชบา” หรือ “พู่ระหง” (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นทั่วไป ใช้ว่า บุหงา รายอ มีลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก เป็นดอกไม้แห่งความ สูงส่งและสง่างาม ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและ ความอดทนในชาติ 8. ฟิลิปปินส์ “ดอกพุดแก้ว” (Sampaguita Jasmine) เป็นดอกไม้สีขาว กลีบดอกเป็นรูปดาว จะส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อม ถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งของชาวฟิลิปปินส์ 9. เวียดนาม “ดอกบัว” (Lotus) เป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พรรณไม้แห่งความ สง่างาม อีกทั้งยังเป็นดอกไม้แห่งความอดทนและเป็นปึกแผ่น 10. ลาว “จำปาลาว” หรือ “ดอกลีลาวดี” (Champa) เป็นดอกไม้ที่มีสีสัน หลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อน ต่างๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในพิธี สำคัญต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นพวงมาลัยต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญ

37 13. ข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจของบรูไน ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมหลัก น้ำมัน อาหาร (สินค้าเกษตรและประมง) และเสื้อผ้า สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร ข้าวและผลไม้ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน

38 ข้อมูลทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ ถ่านหิน สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมหลัก ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้ เสื้อผ้า สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ เสื้อผ้า สิ่งทอ ยางพารา ข้าว ปลา ยาสูบ และรองเท้า ตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ข้อมูลทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ อุตสาหกรรมหลัก อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันปาล์ม น้ำมัน สำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย สินค้านำเข้าที่สำคัญ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำมัน สำเร็จรูป อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

39 ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์
ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมหลัก การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคม และโทรคมนาคม การเงินและการ ธนาคาร และการบริการอื่นๆ สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า ตลาดส่งออกที่สำคัญ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และไทย สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาดนำเข้าที่สำคัญ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน ข้อมูลทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ สินแร่โลหะ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดงและทองคำ อุตสาหกรรมหลัก เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยานพาหนะ ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง ไต้หวัน สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เหล็กและยานพาหนะ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน

40 ข้อมูลทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ แร่ฟอสเฟต น้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง ถ่านหิน แร่บ๊อกไซต์ ไม้ซุง อุตสาหกรรมหลัก อาหารแปรรูป สิ่งทอ ผลิตเครื่องจักร เหมืองแร่ ถลุงเหล็ก ปูนซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี ยางรถยนต์ กระดาษ สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม โทรศัพท์มือถือ น้ำมันดิบ รองเท้า เครื่องหนัง คอมพิวเตอร์ และอาหารทะเล ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมัน ปุ๋ย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ข้อมูลทางเศรษฐกิจของลาว ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ ไม้ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า ยิปซั่ม บุก ทองคำ อัญมณี ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่าน หิน อุตสาหกรรมหลัก เหมืองแร่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ ไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเกษตร ก่อสร้าง เครื่องนุ่มห่ม ท่องเที่ยว สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ไม้และผลิตภัณฑ์ กาแฟ ไฟฟ้า กระป๋อง ทองแดง ทองคำ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ไทย จีน เวียดนาม สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานยนต์ เชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

41 ข้อมูลทางเศรษฐกิจของเมียนม่าร์
ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ อุตสาหกรรมหลัก เกษตร สิ่งทอ และสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ เมล็ดพืช และถั่ว ตลาดส่งออกที่สำคัญ จีน ไทย อินเดีย สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป ตลาดนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ จีน ไทย ข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทย ข้อมูลเศรษฐกิจ รายละเอียด ทรัพยากรสำคัญ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ข้าว อุตสาหกรรมหลัก สินค้าอุตสาหกรรม การบริการ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เชื้อเพลิง อัญมณีและเครื่องประดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญ กลุ่มประเทศอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

42 บทบาทการเป็นประธานอาเซียนของประเทศสมาชิก
1. ประเทศบรูไน เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 3 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ในปี 2544 ครั้งที่ 22 ในปี 2556 และครั้งที่ 23 ในปี 2556 2. ประเทศกัมพูชา เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 3 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้ง ที่ 8 ในปี 2545 ครั้งที่ 20 ในปี 2555 และครั้งที่ 21 ในปี 2555 3. ประเทศอินโดนีเซีย เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 4 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 ครั้งที่ 9 ในปี 2546 ครั้งที่ 18 ในปี 2554 และ ครั้งที่ 19 ในปี 2554 4. ประเทศลาว เคยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนมาแล้ว 1 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 16 ในปี 2547 5. ประเทศมาเลเซีย เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 2 ในปี 2520 และครั้งที่ 11 ในปี 2548 6. ประเทศเมียนม่าร์ เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 24 ในปี 2557 และครั้งที่ 25 ในปีเดียวกัน

43 7. ประเทศฟิลิปปินส์ เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ในปี 2530 และครั้งที่ 12 ในปี 2550 8. ประเทศสิงคโปร์ เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ในปี 2535 และครั้งที่ 13 ในปี 2550 9. ประเทศไทย เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 3 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ในปี 2538 ครั้งที่ 14 ในปี 2552 และครั้งที่ 15 ในปี 2552 10. ประเทศเวียดนาม เคยเป็นประธานอาเซียนมาแล้ว 3 ครั้ง คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 ในปี 2541 ครั้งที่ 16 ในปี 2553 และครั้งที่ 17 ในปี 2553

44 ประเทศเจ้าภาพ/ประธานอาเซียน
การจัดประชุมสุดยอดอาเซียนตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอาเซียนจนถึงปี พ.ศ. 2557 ที่ ประเทศเจ้าภาพ/ประธานอาเซียน สถานที่จัดประชุม วันที่จัดประชุม 1. อินโดนีเซีย เกาะบาหลี 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 2. มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 4-5 สิงหาคม 2520 3. ฟิลิปปินส์ มะลิลา 14-15 ธันวาคม 2530 4. สิงคโปร์ 27-29 มกราคม 2535 5. ไทย กรุงเทพมหานคร 14-15 ธันวาคม 2538 6. เวียดนาม ฮานอย 15-16 ธันวาคม 2541 7. บรูไน บันดาร์เสรีเบกาวัน 5-6 พฤศจิกายน 2544 8. กัมพูชา พนมเปญ 4-5 พฤศจิกายน 2545 9. 10. ลาว เวียงจันทร์ 29-30 พฤศจิกายน 2547 11. 12-14 ธันวาคม 2548 12. เกาะเซบู 11-14 มกราคม 2550 13. 18-22 พฤศจิกายน 2550

45 ประเทศเจ้าภาพ/ประธานอาเซียน
ที่ ประเทศเจ้าภาพ/ประธานอาเซียน สถานที่จัดประชุม วันที่จัดประชุม 14. ไทย ชะอำ หัวหิน 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 15. 23-25 ตุลาคม 2552 16. เวียดนาม ฮานอย 8-9 เมษายน 2553 17. 28-30 ตุลาคม 2553 18. อินโดนีเซีย จาการ์ตา 7-8 พฤษภาคม 2554 19. 17-19 พฤศจิกายน 2554 20. กัมพูชา พนมเปญ 3-4 เมษายน 2555 21. 18-19 พฤศจิกายน 2555 22. บรูไน บันดาร์เสรีเบกาวัน 22-23 เมษายน 2556 23. 9-10 ตุลาคม 2556 24. เมียนม่าร์ กรุงเนปิดอว์ 10-11 พฤษภาคม 2557 25. 9-11 พฤศจิกายน 2557

46 สรุปสาระสำคัญการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
1. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 1 ผู้นำอาเซียนได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริม สันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้แสดงเจตนารมณ์ในการที่จะพัฒนา ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคทั้งนี้ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน “ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน” (Declaration of ASEAN Concord) มีวัตถุประสงค์ในการที่จะ เสริมสร้างพลานุภาพแห่งชาติอย่างเร่งด่วนด้วยการเพิ่มพูนความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เอกสารฉบับที่สองที่มีการลงนามกันคือ “สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) มี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมืออย่างถาวรระหว่างประชาชนในประเทศ สมาชิก เอกสารฉบับที่สาม คือ “ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน” เพื่อเป็นองค์กร กลางรับผิดชอบและประสานภารกิจต่างๆ ของอาเซียน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

47 2. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 2 การประชุมนี้เป็นการประชุมเนื่องในโอกาสก่อตั้ง อาเซียนครบรอบ 10 ปี ซึ่งผู้นำอาเซียนได้ยืนยันให้ใช้ “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (ปฏิญญาอาเซียน) ซึ่งได้ ประกาศไว้ตอนก่อตั้งอาเซียนและ “ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน” เป็นแนวทางในการส่งเสริม ความสัมพันธ์และความร่วมมือของอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำคัญในการร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาซึ่งถือเป็นพื้นฐานอันสำคัญที่จะนำไปสู่ ความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคและได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและปรับปรุงความสัมพันธ์กับ ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในพื้นฐานของ “สนธิสัญญามิตรภาพและความ ร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” รวมทั้งให้เร่งส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับ ประเทศต่าง ๆนอกภูมิภาค ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และประชาคม เศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community) และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆที่อยู่ภายในพื้นฐานการมีผลประโยชน์ร่วมกัน

48 3. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 3 มีความมุ่งหวังที่จะให้จัดตั้งเขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear-Weapon-Free-Zone-SEANWFZ) และเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (ZOPFAN – Zone of Peace, Freedom and Neutrality) ที่ประชุมได้ออก “ปฏิญญามะนิลาปี 2530” (Manila Declaration 1987) เพื่อยืนยันถึง ความสำคัญของการรวมตัวของอาเซียน ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมรวมทั้งให้ ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชนอาเซียน และส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนโดยประกาศให้ปี 2535 ซึ่งเป็นปีครบรอบการก่อตั้งอาเซียน 25 ปี เป็นปีการท่องเที่ยวอาเซียน (Visit ASEAN Year) ในส่วนของความสัมพันธ์กับประเทศระหว่าง อาเซียนและนอกอาเซียนผู้นำอาเซียนเห็นพ้องให้ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกหรือองค์กรต่างๆ และได้ปรับแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) เพื่อให้ประเทศที่อยู่ภายนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าร่วม เป็นภาคีสนธิสัญญาได้ การแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนที่จะขยาย ความร่วมมือออกไปให้กว้างขวาง และสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนที่จะขยายความร่วมมือออกไปให้กว้างขวาง และสะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพ และความสำคัญของอาเซียนในวงการเมือง ระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

49 4. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 4 ในการประชุมครั้งนี้ได้ออก
“ปฏิญญาสิงคโปร์” (Singapore Declaration) โดยสาระระบุถึงการที่อาเซียนจะให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศในการปฏิบัติตามความตกลงเพื่อสันติภาพ และให้ใช้เวทีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ASEAN Post Ministerial Conferences-PMC) ในการ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงกับประเทศนอกอาเซียน นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอให้อาเซียนพิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) อย่างจริงจัง เพื่อใช้เป็นแนวทางหลักในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้า และแปรสภาพให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากภายนอก พร้อมกับการเป็นตลาดร่วมในระดับหนึ่งที่กว้างขวางกว่าเดิม ทั้งนี้มีการจัดทกรอบความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation)

50 5. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 5 ประชุมได้ออกแถลงการณ์ “ปฏิญญาสุดยอด กรุงเทพ” (Bangkok Summit Declaration) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะให้อาเซียนเสริมสร้างความ แข็งแรงในเรื่องอัตลักษณ์และความรู้สึกของความเป็นชุมชนอาเซียนร่วมกันยกระดับความร่วมมือเพื่อ นำไปสู่การจัดสรรผลประโยชน์ที่ลงตัวภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างทั่วถึงกันร่วมมือกันทางด้าน เศรษฐกิจ โดยการสร้างกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในพื้นที่ใหม่ๆส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ภูมิภาคและระดับโลกเพื่อให้เกิดสันติภาพ ความมั่นคงและความรุ่งเรืองในเอเชียแปซิฟิคและชุมชนโลก ได้มีการลงนาม “สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Weapon-Free-Zone) เรียกร้องให้ประเทศผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ให้ ความร่วมมือโดยการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวที่ประชุมได้แก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนและข้อตกลงว่าด้วยอัตราศุลกากรพิเศษที่เท่ากันเพื่อ เร่งรัดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เร็วขึ้นจากเดิมที่เคยตกลงไว้ 15 ปี เป็น 10 ปี รวมทั้งที่ประชุม ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ASEAN Framework Agreement on Intellectual Property Cooperation) เพื่อเป็นกรอบในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ความริเริ่มที่สำคัญอีก ประการหนึ่งคือ ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการประชุมสุดยอดเป็นประจำทุก 3 ปี และให้มีการประชุมระดับผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Summit) เป็นประจำทุกเดือนธันวาคมของทุกปี (ยกเว้นในปีที่มีการประชุมสุดยอดอยู่แล้ว)

51 6. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ประชุมได้ “ปฏิญญาฮานอย” (Ha Noi Declaration) เพื่อประกาศเรื่องการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่สิบของอาเซียน และยืนยัน เจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนและใกล้ชิดในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่ประชุมได้ประกาศการ จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้ง เห็นพ้องให้ลดปัญหาความยากจนให้มีการพัฒนาชนบทซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับนโยบายในการ ฟื้นฟูและพัฒนาของประเทศสมาชิก อาเซียนได้ให้การรับรอง “แผนปฏิบัติการฮานอย” (Ha Noi Plan of Action) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการ 6 ปี ครอบคลุมปี ) เพื่อเป็นแนวทางในการทำให้อาเซียน บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ (ASEAN Vision 2020) ที่ได้ประกาศไว้ในระหว่างการประชุมสุด ยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องในโอกาสครบรอบวันก่อตั้งอาเซียนครบ 30 ปี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีการประกาศ วิสัยทัศน์อาเซียนแล้ว ยังมีความเห็นพ้องต่อข้อตกลงความเข้าใจเรื่องการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษา การฝึกอบรม สุขภาพและด้านวัฒนธรรม โดยมีการจัดให้ เยาวชนและนักเรียนอาเซียนได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

52 7. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 7 ที่ประชุมได้ออก “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการ ดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้าย” (ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) เพื่อประณามเหตุการณ์การก่อการร้ายที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เห็นพ้องให้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการฮานอย (Mid-Term Review of the Ha Noi Plan of Action) รวมทั้งเห็นพ้องให้แสวงหาแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจนอกจากการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีและเขตการลงทุนแล้วยังส่งเสริมให้เปิดตลาดเสรีทั้งด้านการค้าและการลงทุน และ สนับสนุนให้จัดตั้ง “แผนงานเพื่อการรวมตัวอาเซียน” (Roadmap for Integration of ASEAN – RIA) เพื่อกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาในการดำเนินการให้ชัดเจนรวมทั้งให้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council – ABAC) และให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนภาคธุรกิจ (ASEAN Business Summit) เพื่อส่งเสริมนักธุรกิจให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาเซียน

53 8. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 8 ที่ประชุมย้ำเรื่องการมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ใน 4 ด้าน คือ การร่วมมือในโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion Program) การส่งเสริมการท่องเที่ยวปลายทางเดียวอาเซียน (Single Tourism Destination) การส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามที่อาเซียนได้ให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตที่ประชุมได้ลงนามความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement) เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ได้ย้ำเรื่องการให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) เป็นเป้าหมายสูงสุดในการรวมตัวอาเซียน

54 9. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ผู้นำอาเซียนได้ประกาศ “ปฏิญญาอาเซียนว่า ด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) หรือ “ความร่วมมือบาหลี ฉบับที่ 2” (Bali Concord II) เรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามเสา ซึ่งประกอบด้วยการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2563 โดยมีวัตถุประสงค์ให้อาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทรและมีความ มั่นคง ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมรการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพของ ประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนรวมทั้งส่งเสริมเอกลักษณ์ของอาเซียน นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับรอง “แผนปฏิบัติการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community Plan of Action) เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

55 10. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่ประชุมได้ลงนาม “แผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์” (Vientiane Action Programme: VAP) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี โดยจะใช้แทนแผนปฏิบัติการฮานอย ที่จะเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกสามารถบรรลุ เป้าหมายตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2020 และปฏิญาณว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคงอาเซียน II ว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมในสามเสา ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ประชุมได้รับรองเอกสาร “แผนปฏิบัติ การประชาคมความมั่นคงอาเซียน” (ASEAN Security Community Plan of Action) และ “แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน” (ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) รวมทั้งเห็นพ้องให้จัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อการพัฒนา (ASEAN Development Fund – ADF) เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ และเห็นพ้องให้จัดการประชุมสุดยอด เอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ.2548

56 11. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่ประชุมได้ลงนามใน “ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์
ว่าด้วยการจัดทากฎบัตรอาเซียน” (Kuala Lumpur Declaration on the Establishment of the ASEAN Charter) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทากฎบัตรอาเซียน โดยจัดตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียน (Eminent Persons Group on the ASEAN Charter – EPG) เพื่อจัดทาข้อเสนอเกี่ยวกับทิศทางการรวมตัวของอาเซียนและเนื้อหาสาระของกฎบัตรอาเซียน และได้จัดตั้งคณะทางานระดับสูง (High Level Task Force) เพื่อทำหน้าที่ในการยกร่างกฎบัตรอาเซียน

57 12. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่ประชุมได้ลงนาม “ปฏิญญาเซบูเพื่อมุ่งไปสู่ประชาคมที่มีความเอื้ออาทรและแบ่งปันที่เป็นหนึ่งเดียว” (Cebu Declaration Towards One Caring and Sharing Community) เพื่อย้ำเจตนารมณ์ที่จะให้อาเซียนมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมที่มีความเอื้ออาทรและแบ่งปันทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม รวมทั้งเห็นพ้องให้ส่งเสริมการบรรลุเปาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ที่ได้มีการประกาศในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ที่ประชุมได้ลงนามใน “ปฏิญญาเซบุว่าด้วยการเร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ.2015” (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015) เพื่อเร่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากปี 2553 เป็นปี 2558 และได้ออก “ปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนงานเรื่องกฎบัตรอาเซียน” (Cebu Declaration on the Blueprint of the ASEAN Charter) เพื่อรับรองรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการร่างกฎบัตรอาเซียน และมอบหมายให้คณะทำงานระดับสูงยกร่างกฎบัตรให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ให้ความเห็นชอบ

58 13. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่ประชุมออกแถลงการณ์ “ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน” (Singapore Declaration on the ASEAN Charter) ประกาศรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นความตกลงทางประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาที่อาเซียนก่อตั้งครบ 40 ปี กฎบัตรอาเซียนได้ระบุเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญ เช่น การกำหนดให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนปีละ 2 ครั้ง การให้ทุกประเทศสมาชิกแต่งตั้งผู้แทนถาวรอาเซียนในคณะกรรมการผู้แทนถาวรในกรุงจาการ์ตา และการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ “ปฏิญญาแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Declaration on the ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558

59 14. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ผู้นาอาเซียนได้ลงนามใน “ปฏิญญาชะอา หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสาหรับประชาคมอาเซียน ปี ค.ศ ” (Cha-am Hua Hin Declaration on the Roadmap for an ASEAN Community ( ) ซึ่งครอบคลุมแผนงานการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่มีความสาคัญ อาทิ “แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่สอง ค.ศ ” (2nd Initiative for ASEAN Integration (IAI) Work Plan) ซึ่งเป็นแผนงานเพื่อลดช่องว่างทางการพัฒนา และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรองเพลง “The ASEAN Way” เป็นเพลงประจาอาเซียนอย่างเป็นทางการ

60 15. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 หัวข้อหลักของการประชุม คือ “เชื่อมโยงประชาคมสร้างเสริมประชาชน” หรือ “Enhancing Community Empowering Peoples” โดยเน้นความสำคัญกับการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการรับมือกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งการจัดตั้งบรรษัทร่วมทุนของอาเซียนด้านสินค้าเกษตร การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีตัวแทนจากภาคประชาชน 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียนได้เข้าพบหารืออย่างไม่เป็นทางการผู้นาอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ประกอบด้วยผู้นาอาเซียน 10 ประเทศพร้อมประเทศพันธมิตรอาเซียน คือ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย การเข้าร่วมประชุมครบทั้ง 16 ประเทศสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อไทยภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

61 16. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 16 โดยที่ประชุมเน้นย้ำถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามพันธกรณีของกฎบัตรอาเซียนและแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ซึ่งได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ที่ประชุมยังได้หารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการอานวยความสะดวกด้านการค้าการดาเนินการร่วมกันเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศการจัดการภัยพิบัติและเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ผู้นาได้รับรองแถลงการณ์ผู้นาอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (ASEAN Leaders’ Joint Statement on Climate Change) และแถลงการณ์ผู้นาอาเซียนว่าด้วยการฟื้นฟูการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Leaders’ Statement on Sustained Recovery and Development) อนึ่ง ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ประเทศสมาชิกได้เปิดตัวคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission for the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children ) ด้วย

62 17. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 17 ในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีผู้นำอาเซียนแล้วยังได้ประชุมร่วมกับผู้นาจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ระหว่างผู้นาอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) การประชุมอาเซียน-สหประชาชาติ รวมทั้งการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษ 3 รายการ คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย การประชุมสุดยอดอาเซียน นิวซีแลนด์ โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ประชุมได้รับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนซึ่งเป็นกรอบในการดาเนินการเพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในด้านเส้นทางคมนาคม

63 18. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 18 ที่ประชุมเน้นย้ำความสำคัญที่อาเซียนจะต้องพัฒนาความร่วมมือใน 3 มิติพร้อมกัน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งภายในอาเซียน เพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี พ.ศ โดยจะต้องมีการปรับปรุงการประสานงานระหว่างองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นที่คาบเกี่ยวกับภาคส่วนต่าง ๆ (Cross-cutting issues) 2) การพัฒนาความสัมพันธ์ภายนอกกับประเทศคู่ภาคีต่าง ๆ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบยุทธศาสตร์อาเซียนสำหรับการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS) ครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ ภายหลังการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย นอกจากนี้อาเซียนจะขยายการสร้างความเชื่อโยงไปยังประเทศภูมิภาคด้วย ภายใต้แนวคิด “Connectivity Plus” และ 3) การมีแนวทางการดาเนินการร่วมกันในประเด็นสำคัญระดับโลก (Global Issues) เช่น การบริหารจัดการภัยพิบัติ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงทางทะเล เป็นต้น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาความร่วมมือในทั้ง 3 มิติข้างต้น ผู้นาได้รับรองเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมของผู้นาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่อต้านการค้ามนุษย์

64 19. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 19 นำอาเซียนร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทในขอบเขตที่กว้างกว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น อีกทั้งยังเป็นตอกย้ำความเป็นภูมิภาคนิยมแบบเปิดที่ไม่ปิดกั้นประเทศจากภายนอกอีกด้วย ตกลงสนับสนุนให้พม่าดารงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 หลังจากที่พม่ามีความพยายามในการปฏิรูปภายในประเทศหลายประการ 20. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 20 การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเฉพาะระดับผู้นำอาเซียน ซึ่งมีความสำคัญเพื่อติดตามการดาเนินงานของอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนในสามเสา รวมทั้งได้มีการพบปะระหว่างผู้นาและผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนเยาวชน ซึ่งเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้นามีความเชื่อมโยงกับปะชาชน โดยประเด็นหลักๆในการประชุมครั้งนี้มีสาระสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าต้องเร่งรัดการดาเนินการตามพันธกรณีการสร้างประชาคมอาเซียนในทั้งสามเสาโดยประเด็นหลักซึ่งที่ประชุมให้ความสำคัญได้แก่

65 20.1 เสาการเมืองและความมั่นคง ทุกประเทศสนับสนุนปฏิญญาอาเซียนปลอดยาเสพติด 2558 ซึ่งเป็นเอกสารที่ไทยและกัมพูชาได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เสนอให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของอาเซียน และได้เสนอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านยาเสพติด และที่ประชุมยินดีต่อข้อเสนอของไทยในการจัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานด้านการกากับดูแลนิวเคลียร์ในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกากับดูแลการใช้พลังงานปรมาณูให้มีความปลอดภัย 20.2 เสาเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า การเร่งรัดการดาเนินการไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องที่สำคัญลาดับต้น รวมทั้งควรเร่งรัดการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการสัตยาบันความตกลงทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว รวมทั้งดาเนินการอย่างแข็งขันเรื่องการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (ASEAN++FTA) ให้ได้ตามแผนในปลายปี พ.ศ.2555 ทุกประเทศย้ำถึงความสำคัญของการลดช่องว่างด้านการพัฒนาเพื่อนาไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างแท้จริง และเห็นว่า ควรชักชวนประเทศคู่เจรจาให้มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้ Initiative for ASEAN Integration ให้มากยิ่งขึ้น

66 20.3 เสาสังคมและวัฒนธรรม ประเทศไทยได้ต่อยอดความร่วมมือของอาเซียนด้านการจัดการ
ภัยพิบัติโดยเฉพาะการรับมือกับปัญหาด้านอุทกภัย โดยได้เสนอให้อาเซียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการพยากรณ์อากาศ การเตือนภัยล่วงหน้าแลละการกระจายข้อมูลให้ถึงชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งเสนอให้มีเครือข่ายบริหารจัดการน้าข้ามประเทศเพื่อปูองกันอุทกภัยในภูมิภาค และไทยได้เสนอให้อาเซียนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายลดอัคคีภายในบริเวณลุ่มน้าโขงให้เหลือน้อยกว่า 50,000 จุด ในปี พ.ศ โดยไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเรื่องการตรวจคุณภาพอากาศ 20.4 ความเชื่อมโยง สาหรับเรื่องความเชื่อมโยงนั้นที่ประชุมให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน โดยกล่าวถึงโครงการสำคัญต่างๆ ที่ควรได้รับความสนใจ ได้แก่ เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง การสร้างเครือข่ายทางหลวงอาเซียน และการขนส่งทางทะเล รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและสนับสนุนกองทุนว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนเพื่อเป็นเครื่องมือระดมทุนด้านความเชื่อมโยง ทั้งนี้ ไทยได้ย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ และความเชื่อมโยง ระหว่างประชาชนไปพร้อมกัน และเสนอให้อาเซียนคัดเลือกโครงการนาร่อง (Pilot Projects) จำนวน 2-3 โครงการ ที่น่าจะเป็นที่สนใจของประเทศคู่เจรจาและภาคเอกชน และเร่งดาเนินการโครงการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม

67 20.4 ที่ประชุมแสดงความยินดีต่อการเลือกตั้งซ่อมในเมียนม่าร์ซึ่งเป็นไปด้วยความราบรื่น และแนะว่าอาเซียนควรร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนม่าร์ โดยไทยได้แจ้งความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาในเมียนม่าร์ และการเตรียมเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ ของเมียนม่าร์ 20.5 ผู้นำอาเซียนได้หารือเกี่ยวกับประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศได้แก่ ความมั่นคงทางทะเลสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี และการประชุม G-20 20.6 ในการพบปะระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ผู้นาเห็นควรพบกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสานการทางานระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติในการสร้างประชาคมอาเซียน โดย AIPA ได้แสดงความพร้อมในการสนับสนุนด้านการออกกฎหมายต่างๆ เพื่อสนับสนุนแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 20.7 ในการพบปะกับภาคประชาสังคม ซึ่งมีหัวข้อเรื่อง คือ “Gender and Development” ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอของภาคประชาสังคมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งกลไกคุ้มครองแรงงานสตรีต่างด้าวจากการถูกคุกคาม

68 20.8 ในการพบปะระหว่างผู้นำกับผู้แทนเยาวชน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นผู้แทนเยาวชนได้มีข้อเสนอให้ผู้นาอาเซียนพิจารณา อาทิ การเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและเยาวชนอาเซียนการแต่งตั้ง “ASEAN Youth Ambassador” การส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการของเยาวชน การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเยาวชนผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะโครงการจิตอาสาอาเซียน ซึ่งผู้นำเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุนต่อไป อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ไทยได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ระเบิดที่ อ.หาดใหญ่ และ จ.ยะลา โดยเฉพาะต่อการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บของประชาชนไทยและมาเลเซีย ซึ่งที่ประชุมได้ประณามการกระทาดังกล่าวและกล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้ได้รับผลกระทบ จากการประชุมดังกล่าว ทำให้เห็นถึงความคืบหน้าของอาเซียนที่นับวันก็พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งความร่วมมือกันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอด 45 ปี ทำให้วันนี้อาเซียนเรามีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

69 21. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ภายใต้การกำหนดแนวคิดว่า “ASEAN: One Community, One Destiny” หรือ อาเซียน: หนึ่งประชาคม หนึ่งจุดหมายปลายทาง เริ่มในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ มีนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็น แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธาน การประชุมผู้นาอาเซียนทั้งสิบประเทศเป็นไปด้วยสาระ ความจริงใจ และบังเกิดผล การประชุมสุดยอดยืนยันมุ่งมั่นสร้างประชาคมอาเซียนต่อไปตามเรื่องที่ลาดับความสำคัญไว้ให้บรรลุเป้าประสงค์ในปี พ.ศ เพื่อจะได้สร้างรากฐานแห่งประชาคมอาเซียนให้มั่นคงแข็งแรงและก้าวหน้าต่อไปหลังปี พ.ศ อาเซียนต้องยืนหยัดสามัคคีมีพลังมั่นในบทบาทแกนกลางในโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของภูมิภาค เพื่อความน่าเชื่อถือ สันติภาพ ความมั่นคงยั่งยืนและเจริญถาวรของอาเซียน และให้ผลักดันต่อไปอย่างแข็งขันให้ประชาชนพลเมืองและกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ได้เสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนต่อไปให้เต็มที่ และที่ประชุมสุดยอดอาเซียนแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของ สมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

70 22.2 ด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่า ควรผลักดันการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership - RCEP) ให้เสร็จสิ้นตามเปาหมายในปี 2558 และสนับสนุนการจัดทาเขตการค้าเสรีอาเซียน – ฮ่องกง รวมถึงการให้ความสำคัญกับการติดตามความคืบหน้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการลดภาษีและอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่าประเทศสมาชิก 22.3 ส่วนในด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่ประชุมเห็นควรให้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่มของภาคส่วนต่างๆ ในการสร้างประชาคมและการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในการอยู่ร่วมกัน อันจะนาไปสู่การเป็นประชาคมที่เข้มแข็งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งนี้บรูไนฯ ยังได้เสนอเป้าหมายที่ผลักดันในปี พ.ศ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 23 ได้แก่ การเดินทางระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยไม่ต้องรับการตรวจลงตรา (Visa-Free ASEAN) การจัดช่องตรวจคนเข้าเมืองสาหรับบุคคลสัญชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Lane) และการจัดทาบัตรเดินทางสาหรับนักธุรกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Business Travel Card) ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากที่ประชุม

71 22.4 ความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาค ที่ประชุมเห็นพ้องว่า อาเซียนต้องมีบทบทเชิงรุกในกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่อาเซียนริเริ่มขึ้น และรักษาความเป็นหนึ่งเดียวในการดาเนินความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งพูดเป็นเสียงเดียวกันในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ เพื่อให้อาเซียนมีความน่าเชื่อถือและสามารถรักษาความเป็นแกนกลางในภูมิภาคและเป็นผู้ขับเคลื่อนความสัมพันธ์กับคู่เจรจาให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่ออาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนควรยึดมั่นในหลักของความเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเพื่อให้ความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาคได้รับการยอมรับจากคู่เจรจา 22.5 ประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ทะเลจีนใต้เป็นประเด็นสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค รวมทั้งเป็นบททดสอบที่สำคัญของอาเซียนในการจัดการและร่วมแก้ไขความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจและที่ซับซ้อนนี้เกิดความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น และอาเซียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับจีนมากขึ้นเพื่อให้สามารถเริ่มการเจรจาประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้ ไทยเสนอให้อาเซียนและจีนแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะร่วมกันผลักดันให้คืบหน้าในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ในเดือนตุลาคม 2556 โดยอาจจัดทาแถลงการณ์ร่วมเป็นการเฉพาะหรือสะท้อนอยู่ในเอกสารผลลัพธ์การประชุม

72 22.6 อนาคตของอาเซียน การประชุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ผู้นาได้หารือถึงอนาคตและวิสัยทัศน์ของอาเซียนหลังจากการรวมเป็นประชาคมอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ ซึ่งผู้นาเห็นพ้องว่า จะต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนและต่อยอดจากสิ่งที่ดาเนินการสำเร็จแล้ว โดยให้ความสำคัญกับประเด็นการรักษาอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ และผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจต่อไป รวมไปถึงการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ด้วย สาหรับประเด็นที่ประเทศไทยกล่าวในการประชุมนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้เสนอการกำหนดทิศทางของอาเซียนในอนาคต (ASEAN’s Future Direction) ภายหลังปี พ.ศ.2558 ไว้ว่าต้องแปลความหลากหลายให้เป็นโอกาส รวมถึงให้มีความรับผิดชอบต่อโลกและภูมิภาค ทั้งยังได้ให้ความสำคัญต่อความก้าวหน้าในการดาเนินการของทั้ง 3 เสาหลักของอาเซียน

73 23. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 23 โดยประเด็นหลักของการประชุมก็ยังคงเป็นเรื่องของการติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อร่วมสร้างประชาคมอาเซียนทั้งสามเสา รวมทั้งการได้พบปะกันระหว่างผู้นา เนื่องจากการประชุมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการหารือระหว่างผู้นาอาเซียนด้วยกันเองแล้วยังมีการประชุมระหว่างผู้นาอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก อีกด้วย 23.1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ที่ประชุมได้มีการนาเสนอรายงานทบทวนความคืบหน้าตามแผนการจัดตั้งซึ่งทาขึ้นมาในเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่ประชุมพอใจที่ได้มีความคืบหน้าไปมากในการจัดตั้ง ดังมีประเด็นดังต่อไปนี้ 1) สิทธิมนุษยชน ที่ประชุมสุดยอดพอใจต่อการทางานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน 2) กลไกปูองกันและแก้ไขความขัดแย้ง ที่ประชุมยินดีต่อการจัดทาเอกสาร ASEAN Security Outlook ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งจะช่วยสร้างความโปร่งใสและส่งเสริมการสร้างมาตรการไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน 3) ประเด็นปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ ที่ประชุมสุดยอดยินดีต่อผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ประเทศลาว โดยได้มีความคืบหน้าในการจัดทา ASEAN Convention on Trafficking in Persons

74 23.2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ประชุมยินดีต่อความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นประเด็นการค้า เป็นวาระสำคัญของหารประชุมและไดมีความคืบหน้าไปแล้วเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยในเรื่องการที่จะทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ที่ประชุมเห็นว่าได้มีความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะขณะนี้มุ่งเป้าไปที่การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี และได้มีการเดินหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ความพยายามทาให้ตลาดการเงินมีบูรณาการมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน โดยมีการจัดตั้ง “ASEAN Infrastructure Fund” ซึ่งจะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงทางกายภาพในภูมิภาคด้วย 2) แผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) ที่ประชุมยินดีต่อความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการระดมทุน ซึ่งจะมีการใช้ “ASEAN Infrastructure Fund” โดยมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนและความร่วมมือกับประเทศคู่แจรจาในการเชื่อมประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าด้วยกันจากการมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและรวดเร็ว

75 23.3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดรับทราบรายงานทบทวนความคืบหน้า ระบุว่า ได้มีการดาเนินมาตรการต่างๆ ไปแล้วประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ รายงานดังกล่าวได้เสนอให้มีการพัฒนากลไกของสานักเลขาธิการอาเซียนและการดึงผู้ที่มีส่วนร่วมให้เข้ามาช่วยในการสร้างประชาคม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) การจัดการภัยพิบัติ ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ และในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ได้มีปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติด้วย 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน และได้ข้อเสนอให้มีการจัดตั้ง “ASEAN Sub-Regional Haze Monitoring System” เพื่อจัดการกับปัญหาควันจากไฟป่า ซึ่งมีต้นตอมาจากอินโดนีเซีย 3) ด้านสวัสดิการสังคม ที่ประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้มีการออกปฏิญญา 2 ฉบับ คือ “Declaration on the Elimination of Violence against Women and Children in ASEAN” และ “ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection” โดยเน้นในเรื่องของความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและสิทธิทางสังคมของทุกภาคส่วน

76 24. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 24 ภายใต้หัวข้อ “Moving Forward in Unity to a Peaceful and Prosperous Community” ที่ประชุมได้ทบทวนแผนการมุ่งเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเน้นย้ำประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อกำหนดทิศทางและวิสัยทัศน์อาเซียนในบริบทของประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างสันติภาพให้กับภูมิภาค และเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ ทั้งจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบดั่งเดิมอย่างเช่น ข้อพิพากษ์เรื่องเขตแดน และรูปแบบใหม่ อย่างเช่น ปัญหาหมอกควันและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเกี่ยวกับความคืบหน้าของสถานการณ์ทะเลจีนใต้ และเห็นว่า การปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ควรสอดคล้องกับหลักการกฎหมายทางทะเลที่ได้รับการยอมรับจากสากลขณะเดียวกันก็ร้องขอให้ทุกฝ่ายเร่งสรุปการจัดทาแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ให้เร็วที่สุด ที่ประชุมยังได้รับรองแถลงการณ์เนปิดอว์ เกี่ยวกับการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนภายใน ปี 2558 ที่มีเนื้อหาที่ตระหนักถึงความจาเป็นเร่งด่วนในการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 และตระหนักว่าประชาคมอาเซียนจะประสบความสำเร็จได้

77 25. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 เป็นการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 2557 ซึ่งนอกจากการประชุมระหว่างผู้นาอาเซียนแล้ว จะมีการประชุมระหว่างผู้นาอาเซียนกับจีน ญี่ป่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และเลขาธิการสหประชาชาติ การประชุมสุดยอดประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit)โดยในปีนี้ สหภาพเมียนม่าร์เป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีนายเต็ง เส็ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ เป็นประธานการประชุม การประชุมครั้งนี้ จะเป็นการทบทวนพัฒนาการการสร้างประชาคมอาเซียนและต่อยอดความร่วมมือทั้งสามเสาหลัก เพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ หัวข้อการหารือของการประชุมฯ ได้แก่ 1) ประชาคมอาเซียนปี 2558 และภายหลังปี ) ประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ สาหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีจะย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยที่จะแสดงบทบาทสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องในอาเซียน รวมทั้งผลักดันประเด็นความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญและเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาคในการสร้างประชาคมอาเซียน


ดาวน์โหลด ppt ข้อมูลพื้นฐานและบทบาทของประเทศสมาชิกอาเซียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google