งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยี 3G อาจารย์ยืนยง กันทะเนตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยี 3G อาจารย์ยืนยง กันทะเนตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคโนโลยี 3G อาจารย์ยืนยง กันทะเนตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2 บทนำ เมื่อบริบทของสังคมเปลี่ยนไปมนุษย์ขยายความเจริญไปสู่อาณาเขตที่กว้างขวางขึ้น เครือข่ายของการสื่อสารถูกแพร่ขยายไปอย่างไร้ขอบเขต ทั่วโลกสามารถสื่อสารกันได้อย่างไม่จากัดแม้อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลกันระหว่างผู้รับสาร และผู้ส่งสาร วิวัฒนาการด้านการสื่อสารได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่เทคโนโลยียุค 1G 2G และ 3G ในปัจจุบันและกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G ในอนาคตทิศทางการสื่อสารไปในทิศทางที่ดีขึ้นเพื่อเชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดน

3 เทคโนโลยี 3G คืออะไร 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบ เสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้ บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

4 เทคโนโลยี 3G คืออะไร 3G หรือ ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G เองนั้นมี ช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่ง ข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์ โทรศัพท์ต่างประเทศ รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร ดาวน์โหลดเพลง ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ

5 3G น่าสนใจอย่างไร จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่าง รวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถ ให้บริการระบบเสียง และ แอปพลิเคชันรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่อง เล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็น แบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น

6 3G น่าสนใจอย่างไร 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่ เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็ค ข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่า ใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าว บันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”

7 คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการ เสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบ ทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของ อุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

8 จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม(Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็น เทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง หรือ 2G ซึ่งประสบ ความสำเร็จอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ปี พ.ศ เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มี มาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานอยู่ทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐานกล่าวคือ มาตรฐาน GSM (Global Systems Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่ง ทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็น มาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นลำดับที่สอง

9 จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G

10 จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
การตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำ ให้มาตรฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กลับผู้ประกอบการทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการ ประมูลสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจาก จะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้าง ผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User or ARPU) ของผู้ใช้ เครือข่าย อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคายิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ปี พ.ศ เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการถดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่องพร้อมกับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฎการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service)

11 จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สาย รูปแบบใหม่ๆขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติม เพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการ วางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความ ต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อมๆกับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ๆขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูล แบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging) รวมถึงบริการท่องโลก อินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วๆไป อุปกรณ์ไร้ สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone) เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิด ประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ๆจึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้

12 จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้เครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้ สายในประเทศญี่ปุ่น และได้เป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา

13 การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบ ใหม่ๆ ในรูปแบบ Non-voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบหรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่ มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบริการเหล่านี้ได้เป็นช่องทางสำคัญที่จะ เพิ่มมูลค่าให้กับบริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่

14 การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ในประเทศไทยเองเริ่มตั้งแต่ พ.ศ เป็นต้นมา บรรดาผู้ ให้บริการเครือข่ายก็สามารถสร้างรายได้เสริมทดแทนการเสื่อมถอยของค่า ARPU ภายใน เครือข่ายของตนเองโดยในเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายขึ้นของบริษัท ฮัท เมื่อ พ.ศ.2546 เป็นต้นมา สภาพการแข็งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการสร้าง บริการ Non-Voice รูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การท่อง อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้แต่กระทั่งการเปิดให้บริการทีวีบนมือถือ (TV on Mobile)

15 การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ซึ่งความหลากหลายของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละรายทำให้กระแสความสนใจของผู้ใช้บริการมี มากขึ้น อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของ ตนเองให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อมกับการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตนซึ่ง แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อยๆสวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่ม ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ ซึ่งถือเป็น กลุ่มใหญ่ของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความนิยมในบริการ ประเภท SMS และ MMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของการดาวน์โหลดรูปภาพ(Logo/Animation) และเสียงเรียก เข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างมากต่อการเพิ่มค่าของ ARPU

16 ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารงานได้อย่างคล่องตัว - เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่ในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า - มีการ ทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ต้องจัดสรรวงจรให้แก่ผู้งานตายตัว - ไม่ สามารถจัดการการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้เมื่อการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูล

17 ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
รูปแบบ Non-voice ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นการต่อยอดบนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้บริการเครือข่าย ต้องพะวงกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากฐานไปยังเครื่องลูกข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-voice ได้อย่างเต็มรูปแบบเนื่องจากจะ ทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรแบบ Voice มากจนเกินไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ผู้บริการ เครือข่ายรายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วสูงสุดได้เพราะจะเป็นการทำให้ไม่ มีวงจรเหลือสำหรับการสื่อสารแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นคือความเชื่องช้าในการสื่อสาร ข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G แต่ในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูง แบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกให้บริการสำหรับ ใช้เพื่อการ เล่นเกมส์และส่ง SMS หรือ MMS

18 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
1. มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) มาตรฐานทีออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP (3G Partnership Project) มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันทีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราความเร็วถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า

19 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย - Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)

20 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
- Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน - Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น - Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื่อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)

21 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
2. มาตรฐาน CDMA X เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป

22 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandiago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum TechniqueSpread Spectrum ไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียวกันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน CDMA มีวิธีการแบ่งแต่ละสัญญาณด้วยรหัส (Code Division) ผู้ใช้โทรศัพท์ CDMA จะได้รับ Code ที่แตกต่างกัน โดย Code ที่ผู้ใช้แต่ละคนได้รับจะไม่ซ้ำกัน เพราะ วิศวกรออกแบบให้มีถึง 4.4 ล้านล้าน (Trillion Code) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ CDMA (PN Long Code) ขณะเดียวกันสถานีฐานก็มีCode แยกต่างหาก เพื่อแยกว่ารับสัญญาณจากสถานีฐานไหน (PN Short Code) หลังจากที่เครื่อง

23 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
CDMA ทำการเข้ารหัสระบบจึงจะส่งสัญญาณออกอากาศ ระบบ CDMA ใช้ความถี่ 1.25 MHz (1,250 Hz) ซึ่งเมื่อเทียบกับ 30 KHz (Amps) และ 200 KHz (GSM) CDMA ใช้ช่องความถี่กว้างกว่าระบบที่กล่าวมามาก CDMA ให้ความถี่เดียวกับผู้ใช้ทุกคน และสามารถนำความถี่เดิมไปใช้อีก (Universal Frequency Reuse) ซึ่งช่วยลดปัญหาการวางแผนความถี่ (Frequency Planning) CDMA ใช้วิธี Spreading signal คือการแปลงสัญญาณเสียงเป็น Digital และ ขยาย (Spread) ด้วย Code แบบ 0 และ 1 ข้อมูล (Voice หรือ Data) จะถูกขยายด้วย Code จำนวน Bit จะเพิ่มขึ้นก่อนส่งออกอากาศ จึงต้องใช้ช่องสัญญาณที่กว้าง ข้อดีของการ Spreading คือ สัญญาณจะขยายมากขึ้นถึง 21 dB จึงไม่จำเป็นต้องใช้กำลังส่งสูง CDMA มีการควบคุมกำลังส่ง ที่ช่วยให้การส่งสัญญาณเป็นไปอย่างเหมาะสม เช่น หาก MS อยู่ใกล้กับ BTS จะใช้กำลังส่งน้อย ผู้ใช้จึงสนทนาได้นานขึ้นโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของโทรศัพท์ TDMA และ CDMA ถือได้ว่าเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที 2 (2G)

24 ข้อดีของระบบ CDMA 1. ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งาน ที่มากกว่า (Capacity) CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของ การสื่อสารไร้สาย ในเรื่องความจุของช่องสัญญาณ เนื่องจากระบบ CDMA จะลดข้อมูลในการส่ง สัญญาณลงเมื่อไม่มีการพูด ดังที่กล่าวถึงในเรื่อง Voice activity เมื่อไม่มีข้อมูลที่จะส่งหรือมีน้อย กำลังส่งจะลดลง สัญญาณรบกวนในระบบมีน้อยและความยืดหยุ่น ของรูปแบบการส่งข้อมูล (Radio Configuration) ทำให้ CDMA รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า และ บริหารทรัพยากรได้เหมาะสมกว่าระบบอื่นๆ

25 ข้อดีของระบบ CDMA 2. การส่งผ่านสัญญาณที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off) การส่งผ่านสัญญาณ (Handoff) ของเครือข่าย CDMAในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่าง สถานีฐานเครื่องลูกข่ายจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับหลายสถานีฐานพร้อมกัน (Soft handoff) เพื่อให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะเลือกส่งผ่านสัญญาณไปที่สถานีฐานที่มี สัญญาณชัดเจนที่สุด ต่างจากระบบอื่นที่เชื่อมต่อสัญญาณได้เพียงครั้งละหนึ่งสถานีฐาน (Hard Handoff) การมี Soft Handoff สามารถลดจำนวนครั้งและความถี่ของปัญหาสายหลุด ลดสัญญาณรบกวน ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารอย่างราบรื่น และต่อเนื่อง

26 ข้อดีของระบบ CDMA 3. ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver) ความคมชัดและคุณภาพของเสียง ในการติดต่อสื่อสารที่เหนือกว่าระบบอื่น ด้วยเทคโนโลยี 2G ที่รวมสัญญาณจากทุกทิศทาง (Multi-path Advantage) เพื่อให้ได้สัญญาณที่เข้มและหนาแน่น ตามปกติสัญญาณวิทยุจะมีการสะท้อนกับวัตถุรอบข้าง เช่น ภูเขา, ตึก, สิ่งก่อสร้าง, พื้นน้ำ ซึ่งสัญญาณตรงและสัญญาณสะท้อนมักจะรบกวนกัน แต่ระบบ CDMA มีชุดรับสัญญาณถึง 3 ชุด (Rake Receiver) ในการรับสัญญาณแต่ละครั้ง โดยเครื่องจะเลือกประมวลสัญญาณที่ชัดเจน ที่สุดซึ่งเทคนิคการประมวลสัญญาณเสียงของระบบ CDMA จะทำให้ได้เสียงที่มีคุณเสียงที่มีคุณภาพ เพื่อการสนทนาที่ชัดเจน และ ลดเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด

27 ข้อดีของระบบ CDMA 4 ลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่ (Power Control) ด้วยเทคโนโลยีการประมวลสัญญาณเสียงและการตรวจสอบสัญญาณ ระหว่างเครื่องลูกข่าย และ สถานีฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมกำลังส่ง (Power control) เมื่อเครื่องลูกค่ายอยู่ใกล้สถานีฐานหรือสัญญาณมีความชัดเจนมาก กำลังส่งจะลดลงโดยการใช้กำลังส่งที่เหมาะสม กับการใช้งาน ทำให้การรบกวนของสัญญาณลดลง และ การส่งสัญญาณแบบยืดหยุ่น ผู้ใช้จึงสามารถสนทนาได้นานขึ้น โดยสิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังยืดอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่

28 ข้อดีของระบบ CDMA 5 ความปลอดภัยของสัญญาณออกอากาศ ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทุกการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลจะปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เนื่องจากการส่งสัญญาณของระบบ CDMA ที่ใช้รหัส (codes) หลายชุด เช่น PN Long Code, PN Short Code, Walsh code ซึ่ง PN Long Code มีหน่วยของรหัสมากถึง 4.4 ล้านล้านหลัก รหัสเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการแบ่งแยกผู้ใช้งานในระบบ CDMA แล้วยังจะช่วยป้องกัน การลอกเลียนแบบ และลดความผิดพลาดในการสื่อสารของระบบ CDMA อีกด้วย

29 ถาม-ตอบ ?

30 แบบฝึกหัด เทคโนโลยี 3G คืออะไร อธิบายมาให้พอสังเขป
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) ที่มีการนิยมใช้งานอยู่ทั่วโลกอยู่กี่มาตรฐาน อะไรบ้าง อธิบายความหมายของ Non-Voice พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยี 3G อาจารย์ยืนยง กันทะเนตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google