กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (Smart Farmer) ประจำปีงบประมาณ 2561 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ โครงการพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ด้านการประมง ประจำปี 2560
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรมีศักยภาพ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด ในการประกอบอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ การประมง 2. เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ แนวทางพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ และองค์ความรู้ที่ได้ จากสื่อที่กรมประมงจัดทำและให้คำแนะนำ
วัตถุประสงค์ 3. เพื่อส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบด้านการประมง ในการประกอบอาชีพ ฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ เกษตรกรและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากแหล่งเรียนรู้ 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพของข้าราชการของกรมประมงให้เป็น Smart Officer เพื่อนคู่คิดของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เป้าหมาย/สถานที่ดำเนินการ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15,000 ราย พื้นที่ดำเนินการ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
ตัวชี้วัดโครงการ เชิงปริมาณ เกษตรกรได้รับการพัฒนาเข้าสู่ Smart Farmer จำนวน 15,000 ราย เชิงคุณภาพ เกษตรกรสามารถพัฒนาสู่ระดับ Existing Smart Farmer ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ผลการดำเนินงาน เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15,000 ราย เกษตรกรได้รับการพัฒนาเป็น Existing Smart Farmer จำนวน 14,396 ราย คิดเป็น 95.97 % ของเกษตรกรที่ เข้าร่วมโครงการ ถอดองค์ความรู้จาก Smart Farmer ต้นแบบ จำนวน 250 ราย
พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง การดำเนินงานโครงการ พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer ) ปี 2561
หลักการและเหตุผล เป็นนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนา เกษตรกรไทยให้เป็น Smart Farmer เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
หลักการและเหตุผล ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมี ความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำจืด มีองค์ความรู้ที่ได้จาก Smart Farmer ต้นแบบ มีการ นำเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาใน ท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด 2. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาให้เป็นเกษตรกร ต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรต้นแบบด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำจืด
ระยะเวลาในการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 15,000 ราย พื้นที่ 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาในการดำเนินการ ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561
งบประมาณ 21,909,700 บาท
ตัวชี้วัด 1. เกษตรกรได้รับการพัฒนาด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 15,000 ราย และผ่านการประเมินเป็น Existing Smart Farmer ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2. ได้องค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจากเกษตรกร Smart Farmer ต้นแบบ จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ราย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด หน่วยงานสนับสนุน สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 42 ศูนย์
กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชาสัมพันธ์โครงการฯ (สร้างการรับรู้) กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการฯ (สร้างการรับรู้) ขั้นตอนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้แก่เกษตรกรที่สนใจ โดยวิธีการต่างๆ เช่น แผ่นพับ วิทยุท้องถิ่น เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หรือป้ายประชาสัมพันธ์
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะเวลา ตุลาคม-พฤศจิกายน 2560
คัดเลือกเกษตรกร/เตรียมความพร้อม เกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม กิจกรรมที่ 2 คัดเลือกเกษตรกร/เตรียมความพร้อม เกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ขั้นตอนการดำเนินงาน คัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เกษตรกรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกร (ทบ.1) 2. เกษตรกรไม่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer ของกรมประมง
คัดเลือกเกษตรกร/เตรียมความพร้อม เกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม กิจกรรมที่ 2 (ต่อ) คัดเลือกเกษตรกร/เตรียมความพร้อม เกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ขั้นตอนการดำเนินงาน เตรียมความพร้อมเกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม 1. ติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานจัดฝึกอบรมและ เกษตรกรในเรื่อง วัน เวลา สถานที่จัดฝึกอบรม 2. นำเกษตรกรไปยังสถานที่จัดฝึกอบรม
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะเวลา พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560
เสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาเกษตรสู่ Smart Farmer กิจกรรมที่ 3 เสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาเกษตรสู่ Smart Farmer ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ครั้งที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลสภาพพื้นที่ ศักยภาพเกษตรกร และจัดการ ฝึกอบรมแก่เกษตรกร
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 42 ศูนย์ ระยะเวลา ธันวาคม 2560
เสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาเกษตรสู่ Smart Farmer กิจกรรมที่ 3 (ต่อ) เสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาเกษตรสู่ Smart Farmer ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.2 ฝึกอบรม/ให้ความรู้ เพื่อพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ครั้งที่ 2 จัดการอบรม/ให้ความรู้ แก่เกษตรกรที่ไม่ผ่านการประเมินความรู้/คุณสมบัติและคัดกรอง (เกษตรกรกลุ่ม Developing Smart Farmer)
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 42 ศูนย์ ระยะเวลา มีนาคม-เมษายน 2561
การประเมินความรู้และคุณสมบัติ Smart Farmer กิจกรรมที่ 4 การประเมินความรู้และคุณสมบัติ Smart Farmer ขั้นตอนการดำเนินงาน ประเมินความรู้/คุณสมบัติ และคัดกรองเกษตรกร ครั้งที่ 1-2 ประเมินผลตามแบบประเมิน Smart Farmer ด้านการประมง บันทึกข้อมูล ลงในระบบฐานข้อมูล Smart Farmer ผ่าน http//:www.thaismartfarmer.net (อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงเครือข่าย)
การประเมินความรู้และคุณสมบัติ Smart Farmer กิจกรรมที่ 4 (ต่อ) การประเมินความรู้และคุณสมบัติ Smart Farmer ขั้นตอนการดำเนินงาน จากผลการประเมินฯ จะสามารถแบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่ม Developing Smart Farmer 2. กลุ่ม Existing Smart Farmer รายงานผลการประเมินฯ มายังกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะเวลา ประเมินฯ ครั้งที่ 1 : มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 ประเมินฯ ครั้งที่ 2 : มีนาคม-เมษายน 2561
กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผล ขั้นตอนการดำเนินงาน 5.1 ถอดองค์ความรู้เกษตรกร Smart Farmer ต้นแบบ คัดเลือกเกษตรที่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer จังหวัดละ 3 ราย ถอดองค์ความรู้ตามแบบฟอร์มองค์ประกอบพื้นฐานของ การนำเสนอบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ
กิจกรรมที่ 5 (ต่อ) ติดตามและประเมินผล ขั้นตอนการดำเนินงาน บันทึกการถอดองค์ความรู้ลงในระบบฐานข้อมูล http//:www.thaismartfarmer.net (อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงเครือข่าย) จัดทำเอกสารการถอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกร และผู้สนใจ พร้อมส่งเอกสารเผยแพร่มายังกองวิจัยและพัฒนา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะเวลา มีนาคม-สิงหาคม 2561
กิจกรรมที่ 5 (ต่อ) ติดตามและประเมินผล ขั้นตอนการดำเนินงาน 5.2 ติดตามและประเมินผล (ส่วนภูมิภาค) หน่วยงานรับผิดชอบติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล การปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำเดือน ตามแบบ กปม.1 ส่งรายงาน กปม.1 มายังกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในวันที่ 11 และ 26 ของทุกเดือน
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา สำนักงานประมงจังหวัด 76 จังหวัด สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 42 ศูนย์ ระยะเวลา พฤศจิกายน 2560-กันยายน 2561
กิจกรรมที่ 6 บริหารโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน 6.1 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ระยะเวลาดำเนินงาน ตุลาคม 2560
กิจกรรมที่ 6 (ต่อ) บริหารโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน 6.2 ติดตามและประเมินผล (ส่วนกลาง) จัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน รวบรวม และสรุปผลรายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำเดือน ของ หน่วยงานสนับสนุนงานโครงการฯ เพื่อรายงานกรมประมง ทุกวันที่ 13 และ 28 ของทุกเดือน
กิจกรรมที่ 6 (ต่อ) บริหารโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรกร ปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ปี 2561 จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินโครงการฯ ทั้งส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค
กิจกรรมที่ 6 (ต่อ) บริหารโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานปัญหา อุปสรรค เพื่อจัดทำรายงานประจำปี และนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการฯ ในปีต่อไป เสนอกรมประมงจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือก Smart Farme ต้นแบบดีเด่นของโครงการฯ เพื่อเข้ารับรางวัลในงานสถาปนา กรมประมง ปี 2561
หน่วยงานรับผิดชอบ ระยะเวลา กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ตุลาคม 2560-กันยายน 2561
ช่องทางการติดต่อและประสานงานโครงการ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เบอร์โทรติดต่อ 0 2579 6439 และ 0 2562 0600-15 ต่อ 14433 เบอร์โทรสาร 0 2579 6439 E-mail : inland.smartfarmer@gmail.com ผู้ประสานงานโครงการ 1. นายนิติกร ผิวผ่อง หัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2. นางสาวสิรินภา จันทรัตน์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ