จิตวิญญาณความเป็นครู อุดมการณ์และ จิตวิญญาณความเป็นครู
จิตวิญญาณความเป็นครู " จิตวิญญาณความเป็นครู "...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..." พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส. (28 ตุลาคม 2523). อ้างถึงใน กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมันตรี
วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัย ความเชื่อ อุดมการณ์ หรือจิตวิญญาณของความเป็นครูค่อนข้างสูง เนื่องจากวิชาชีพครูมีค่าตอบแทนต่ำ รายได้น้อยเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น ผู้ที่มาสมัครเรียนและประกอบวิชาชีพครูจึงถือได้ว่าเป็นผู้เสียสละ มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่และอยากจะประกอบอาชีพครู
ความหมายของอุดมการณ์ ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า “อุดมการณ์หมายถึงอุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจมนุษย์ให้พยายามบรรลุถึง นั่นคือ ถ้าใครยึดถืออุดมการณ์ใดแล้วปฏิบัติได้ตามอุดมการณ์นั้นๆ ก็จะทำให้บุคคลนั้นดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์”
กู๊ด (Good) ได้ให้ความหมายของคำว่า อุดมการณ์หมายถึงอุดมคติความเชื่อ หลักเกณฑ์ หรือเป็นผลรวมของอุดมคติ ความเชื่อ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคมได้ยืดถือปฏิบัติ
สรุปความหมายของอุดมการณ์ สรุปความหมายของอุดมการณ์ อุดมการณ์ คือ ระบบความเชื่อ ซึ่งนำมากำหนดไว้เป็นเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ให้บรรลุเป้าหมาย หรือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของตน
ความหมายของอุดมการณ์และความเป็นครู ความหมายของอุดมการณ์และความเป็นครู หมายถึง “ความรู้สึกตัวที่กระตุ้นจิตสำนึกของครูให้กระทำในสิ่งที่ดีงามตามบทบาทหน้าที่และเกียรติแห่งวิชาชีพครู
อุดมการณ์ที่ดีของครู อุดมการณ์ที่ดีของครู การที่ครูจะปฏิบัติหน้าของครูอย่างเต็มศักดิ์ศรีและเต็มความภาคภูมิได้นั้น ครูจำเป็นต้องมีหลักยึดเพื่อนำตนไปสู่สิ่งที่สูงสุดหรือเป็นอุดมคติของอาชีพ นั่นก็คือ การมีอุดมการณ์ครู อุดมการณ์ครู มีหลักการที่จะยึดไว้ประจำใจทุกขณะที่ประกอบภารกิจของครูมีอยู่ 5 ประการ คือเต็มรู้ เต็มใจ เต็มเวลา เต็มคน เต็มพลัง
1.เต็มรู้ คือ มีความรู้บริบูรณ์ อาชีพ ครูเป็นอาชีพที่ต้องถ่ายทอด อธิบายให้ความรู้แก่คน ดังนั้นครูทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่ทำให้ตนเองนั้นบริบูรณ์ หรือเต็มไปด้วยความรู้ ประกอบด้วยความรู้ 3 ประการ คือ 1.1 ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพครู 1.2 ความรู้เรื่องโลก 1.3 ความรู้เรื่องธรรมะ
2.เต็มใจ คือ ความมีใจเป็นครู พุทธศาสนาถือว่า “ใจนั้นแหละเป็นใหญ่ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากใจทั้งนั้น” ดังนั้น คนจะเป็นครูที่มีอุดมการณ์จำเป็นต้องสร้างใจ ให้เป็นใจที่เต็มบริบูรณ์ด้วยการ มีใจเป็นครู การทำใจให้เต็มนั้นมีความหมาย 2 ประการคือ 2.1 รักอาชีพ 2.2 รักศิษย์
3.เต็มเวลา คือ การรับผิดชอบ การทุ่มเทเพื่อการสอน ครูที่มีอุดมการณ์ จะต้องใช้ชีวิตครูอย่างเต็มเวลาทั้ง 3 ส่วน คือ 3.1 งานสอน 3.2 งานครู 3.3 งานนักศึกษา
4. เต็มคน คือ การพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 4.เต็มคน คือ การพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูเป็นผู้ที่คนในสังคมคาดหวังไว้สูง และมีอิทธิพลต่อผู้เรียนมาก ครูจึงจำเป็นที่ต้องมีความบริบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม โดยต้องมีความสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการแสดงออกทั้งในและนอกห้องเรียน มีความคิดที่ถูกต้อง มีการพูดที่ดี มีการดำเนินชีวิตที่ดี หมั่นคิด พิจารณาตนเอง ปรับปรุงตนเองให้มีความบริบูรณ์อยู่เสมอ
5. เต็มพลัง คือ การทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอน 5.เต็มพลัง คือ การทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอน ครู จะต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทุ่มเทไปเพื่อการสอน เพื่อวิชาการ เพื่อศิษย์ ครูต้องอุทิศตนอย่างเต็มที่ ทำงานอย่างไม่คิดออมแรง เพื่อผลงานที่สมบูรณ์นั้นก็คือ การปั้นศิษย์ให้มีความรู้ความประพฤติงดงาม เป็นที่พึงประสงค์ของสังคม
ครูที่มีหลักยึดครบเต็ม 5 ประการดังกล่าว ย่อมเป็นครูที่มีคุณธรรม ที่พร้อมจะเป็นผู้ชี้ทาง แห่งปัญญา ชี้ทางแห่งชีวิต และชี้ทางแห่งสังคม ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูควรสร้าง อุดมการณ์เพื่อความก้าวหน้าของสังคมไทย และการพัฒนาวิชาชีพครู
คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ 1 ความมีระเบียบวินัย 2 ความซื่อสัตย์สุจริต และความยุติธรรม 3 ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ 4 ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ 5 ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล 6 ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 7 ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ 8 ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง 9 ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรของชาติ 10 ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวทีกล้าหาญ และความสามัคคี
หลักสิบประการของความเป็นครูดี 1 มุ่งมั่นวิชาการ 2 รักงานสอน 3 อาทรศิษย์ 4 คิดดี 5 มีคุณธรรม 6 ชี้นำสังคม 7 อบรมจิตใจ 8 ใฝ่ความก้าวหน้า 9 วาจางาม 10 รักความเป็นไทย
ความหมายของจิตวิญญาณของความเป็นครู ความรู้สำนึกในความเป็นครู คือ รู้ถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตลอดเวลาและได้ปฏิบัติหน้าที่ของครู โดยยึดถืออุดมการณ์ของครูเป็นแนวทางอยู่เสมอ
ความหมายของวิญญาณ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้ว่า “วิญญาณหมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่า มีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่” และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความรับรู้เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรู้ทางหูเป็นต้น”
กล่าวโดยสรุป จิตวิญญาณ คือ ความรู้สึกตัวอันเป็นความรู้แจ้งในจิตใจของตนว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของความเป็นมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง คือความเป็นผู้มีจิตใจอันประเสริฐ จิตวิญญาณของครูหมายถึง ความรู้สำนึกในความเป็นครู หมายความว่า รู้ถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตลอดเวลาและได้ปฏิบัติหน้าที่ของครูโดยยึดถืออุดมการณ์ของครูเป็นแนวทางอยู่เสมอ
หากรวมความหมายของคำว่า อุดมการณ์ และวิญญาณความเป็นครู แล้วก็จะได้ความหมายโดยรวมว่า “ความเชื่อ ความรู้สึกตัวที่กระตุ้นจิตสำนึกของครูให้กระทำในสิ่งที่ดีงามตามบทบาทหน้าที่และเกียรติแห่งวิชาชีพครูของตน” ดังนั้นครูที่ดีต้องมีอุดมการณ์และวิญญาณความเป็นครู เช่น กรณีของครูจูหลิง ปงกันมูล เป็นต้น
Spirit คือ วิญญาณ Spiritual คือ เกี่ยวข้องกับวิญญาณจิต Spirituality คือ การมีความสนใจหรือมีจิตใจจอจ่อกับเรื่องราวที่อยู่ทางฝ่ายวิญญาณจิต
คำจำกัดความของคำว่า “ความเป็นจิตวิญญาณ (Spirituality)” • การใกล้ชิดกับบางสิ่ง หรือชีวิตที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา • ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง สามารถแสดงออกซึ่งคุณค่าภายในตัวเรา • สิ่งที่ให้ความหมายและเป้าหมาย • ความลี้ลับที่อยู่เหนือคำจำกัดความ • ประเด็นที่ต้องการสมดุลและองค์รวม
การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู " D-E-V-E-L-O-P " Development: ไม่หยุดยั้งการพัฒนา Endurance: มุ่งเน้นความอดทน Versatile: หลากหลายความสามารถ Energetic: กระตือรือร้นอยู่เสมอ Love: รักงานที่ทํา Organizing: จัดการเป็นเลิศ Positive Thinking: คิดแต่ทางบวก
โมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครู อรอุมา เจริญสุข โมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครู อรอุมา เจริญสุข Active learning ability (ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้) Love and wish well for students (ความรักและปรารถนาดีต่อศิษย์) Constructive team-mate (เป็นผู้ร่วมงาน อย่างสร้างสรรค์) Love and faith on profession (ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ) Devote themselves to organization (การอุทิศตนต่อองค์กร) Intention to develop students (ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน) Intention to develop themselves on profession (ความมุ่งมั่นพัฒนา ตนเองเพื่อวิชาชีพ)
ประโยชน์ของอุดมการณ์และ จิตวิญญาณความเป็นครู 1.ช่วยให้ครูทุกคนมีแนวทางในการทำงานร่วมกัน 2.ช่วยในการยกฐานะอาชีพครุให้สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับเคารพนับถือของสังคมทั่วไป 3.ช่วยพัฒนาวิชาชีพครูให้มีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
4. ช่วยให้ครูมีความสุขและความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ. 5 4.ช่วยให้ครูมีความสุขและความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ 5.ช่วยให้รับบริการคือเด็กๆ และสังคมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ 6.ช่วยให้สังคมและประเทศแห่งชาติบังเกิดความเจริญก้าวหน้า