งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ
งานเขียนทางวิชาการต่างกับงานเขียนอื่นๆ เช่น นวนิยายอย่างไร? ต่างกันตรงที่ การเขียนนิยาย การนำเสนอเรื่องจะไม่เปิดเผย อย่างชัดเจน ว่าใครทำอะไร ในขณะที่การเขียนงานเชิงวิชาการ ต้องกระชับและชัดเจน ว่าใครทำอะไร Academic Writing 1/60

2 Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ

3 Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ
เราอยากอ่านงานแบบไหน งานเขียนประเภทไหน การอ่านกับการเขียน สัมพันธ์กัน (ในยุคของการสื่อสารในโลกดิจิตอล) การอ่านเป็นฐานให้แก่การเขียน เราเขียนให้ใครอ่าน การนำเสนอความคิดให้เป็นระบบ Academic Writing 1/60

4 ระดมสมอง Brain Storming
คือการจัดระบบความคิด ค้นคว้าเรื่องที่สนใจ เขียนทุกอย่างที่คิด ลงในกระดาษ แต่ละเรื่องที่ผุดขึ้นมา จัดประเภทของความคิดนั้นๆ Academic Writing 1/60

5 ระดมสมอง Brain Storming
กำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะทำ Topic คำพิพากษา การตีความ แนวคิดโต้แย้ง ตัวอย่าง ข้อเท็จจริง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิด สาเหตุ//ผล actors Academic Writing 1/60

6 Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ
ต้องการจะบอกอะไร ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อเสนอในงานเขียน – ตรรกะ โครงร่างในการเขียน บทนำ เนื้อหา ข้อสรุป รูปแบบการนำเสนอ Academic Writing 1/60

7 ตรรกะในการเขียน 1 อุปนัย Deduction การสรุปผลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
ตย. สิ่งมีชีวิตต้องหายใจเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้น สุนัขจึงต้องหายใจ ตย. เกษตรกรที่มีที่ดินมาก ย่อมได้รับผลผลิตทางการเกษตรมาก ก.มีที่ดินมาก ดังนั้น ก.จึงได้รับผลผลิตทางการเกษตรมาก ปัญหาของวิธีอุปมาน การมีปัจจัยผลกระทบอื่นๆ เช่น การชลประทาน การระบาดของศัตรูพืช Academic Writing 1/60

8 ตรรกะในการเขียน 2 นิรนัย Induction การสรุปผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ อาศัยจากการสังเกต empirical data ตย. สุนัขหายใจ เพื่อรับอ๊อกซิเจนในการดำรงชีวิตอยู่ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงจำเป็นต้องหายใจเพื่อการมีชีวิตอยู่ ปัญหาของวิธีอนุมาน มีข้อจำกัดในการควบคุมปัจจัยที่เข้ามามีผลกระทบต่อข้อสมมุติฐาน เช่น ก.เป็นเกษตรกร ปลูกลำใย ในจำนวนที่ดินที่มากขึ้น ทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น จำนวนที่ดิน การบำรุงดิน การให้ปุ๋ย อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิต Academic Writing 1/60

9 ตัวอย่างการใช้ตรรกะ ทางกฎหมาย
แนวคิดทางอาชญาวิทยา สาเหตุของผู้กระทำความผิด เช่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก สื่อต่างๆในสังคมที่สะท้อนความรุนแรง นำมาซึ่งปัญหาการกระทำความผิดของเด็ก Academic Writing 1/60

10 การใช้ตรรกะในทางกม. เหตุ- ผู้กระทำความผิดทางอาญาต้องได้รับโทษ
การฆ่าคนเป็นความผิดทางอาญา ผล – การฆ่าคนต้องได้รับโทษ Academic Writing 1/60

11 ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ตะลึงพบทารก 2,002 ศพ ทำแท้งสยองส่งท้ายปี เป็นข่าวใหญ่ในรอบปี กับการพบศพทารก 2,002 ศพ ที่ถูกซุกไว้ในโกดังเก็บศพ ภายในวัดไผ่เงินโชตนาราม ย่านบางคอแหลม กทม. เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มจากการที่ตำรวจไปพบศพทารก(จากการ)ทำแท้ง ถูกซ่อนไว้ในโกดังเก็บศพวัดไผ่เงินฯ โดยช่องเก็บศพช่องแรกพบเพียง 348 ศพ ต่อมามีการขยายผลไปช่องเก็บศพใกล้ๆ กัน จึงเจออีกเป็นพันศพ งานนี้สัปเหร่อวัดไผ่เงินฯ คนหมกศพ ยอมรับสารภาพว่า นำศพทารกเหล่านี้ทยอยเก็บไว้หลายปีแล้ว รับมาจากคลินิกทำแท้งเถื่อนหลายแห่ง ในย่านบางคอแหลม และย่านใกล้เคียง ที่ไม่เผาทำลายเพราะเมรุเกิดชำรุดพังเสียหาย Academic Writing 1/60

12 ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน นักศึกษาจะให้ความเห็นต่อข่าวที่เกิดขึ้น ว่าปัญหาคืออะไร? ชาวบ้านแจ้งว่าพบซากศพทารพจำนวนมากที่โกดังเก็บศพ ณ วัดแห่งหนึ่ง ปัญหาคืออะไร? ปัญหาคือ มีการส่งกลิ่นเน่าเหม็นกระจายไปทั่ว!!! ปัญหาคือการที่มีการทำแท้งเถื่อน สะท้อนถึงความเน่าแฟะของสังคมไทย... เกี่ยวกับปัญหากฎหมาย/การใช้กฎหมายอย่างไร? ทำไมจึงเกิดการทำแท้งเถื่อน กฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งของไทย กำหนดว่าอย่างไร ปัญหาของกฎหมายทำแท้งของไทยคืออะไร? Academic Writing 1/60

13 การเขียนงานวิชาการทางกฎหมาย
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ เกิดเหตุการณ์อะไร ข้อมูลที่มีอยู่ งานเขียนเชิงพรรณา งานเอกสาร ค้นหาข้อมูลในปัจจุบันที่เกิดขึ้น งานเขียนเชิงวิเคราะห์ การเก็บข้อมูล แล้ววิเคราะห์ตีความ ต้องมีสมมุติฐาน แล้วพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ งานเขียนจากการศึกษาเชิงทดลอง การตั้งปัจจัยและตัวแปร แล้วนำไปทดลองว่าจริงหรือไม่ ตย.การทดสอบมาตรการทางกม. เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การค้าประเวณี การเสพยาเสพติด (กลุ่มตัวอย่าง ต้องมีการควบคุมปัจจัยผลกระทบ) Academic Writing 1/60

14 การเขียนงานวิชาการทางกฎหมาย
การวางโครงร่าง และวางแผนในการสำรวจและการหาเอกสารทางกฎหมาย กำหนดกรอบคำถาม ชื่อเรื่อง กำหนดขอบเขตการเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ ค้นคว้าทบทวนวรรณกรรม Source of authority – ลำดับของเอกสารอ้างอิง (กฎหมาย คำอธิบาย การใช้) เป้าหมายของเอกสารอ้างอิง – ข้อมูลข้อเท็จจริง เอกสารโน้มน้าว/จูงใจ/ครอบงำ ประเภทของเอกสารอ้างอิง – กฎหมาย คำพิพากษา หนังสือ บทความ ระบบการอ้างอิง citation & reference Footnote / in-note / end-note Editing and proof reading Academic Writing 1/60

15 สาเหตุและความสำคัญของปัญหา
นำเสนอประเด็นที่ต้องการบอกเล่าให้ผู้อ่านได้ทราบ เรื่องที่เราเขียน น่าสนใจ/ สำคัญอย่างไร ในตอนท้าย ผู้เขียนได้สรุป เรื่องราวที่เขียน และส่งต่อเรื่องที่น่าคิด น่าทำ น่าเขียนต่อไปอย่างไร (ข้อสังเกต – เราไม่อาจเขียนทุกเรื่องได้ ดังนั้นจึงต้องจำกัดขอบเขตให้ชัดเจน ว่าเรื่องที่เราเขียนนั้น มีขอบเขตของความคิดอย่างไร มีการวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นที่เราเสนออย่างไร และต้องจบให้ลง แล้วส่งต่อไปยังผู้เขียนในประเด็นในอนาคตต่อไป) Academic Writing 1/60

16 ขั้นตอนการเขียน ชื่อเรื่อง – จะเขียนเรื่องอะไร ตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา เกิดอะไรขึ้น สำคัญอย่างไร เป็นงานศึกษาทางกฎหมายอย่างไร และเราจะเสนออะไร ประเด็นที่จะนำเสนอ – เราต้องการจะบอกอะไร What is your statement? ประกอบข้อถกเถียง/ข้อความ เพื่อสนับสนุนข้อเสนอของเรา กรอบคิด หรือพื้นฐานความคิด ที่เราเชื่อ แล้วทำให้เราคิดข้อเสนอนี้ขึ้น งานเขียนชิ้นนี้ของเรา มีวิธีการหาความรู้ ความจริงอย่างไร? การเขียนที่ไม่ใช่การเขียนไดอารี ต้องมีที่มาทั้งสิ้น เพราะเราไม่ได้ “มโน” ดังนั้น ต้องมีการการทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมเรื่องนั้น เสนอแนวคิด วิเคราะห์ ในประเด็นงานวิจัยของเราว่าอย่างไร (จัดกลุ่มความคิด) วางโครงร่างแต่ละเรื่องราว ลำดับประเด็นการนำเสนอให้ชัดเจน และเดินตามนั้น การอ้างอิง งานเขียนทางวิชาการที่ดีต้องมีการค้นคว้า และอ้างอิง แต่ละบท บทความสั้นๆ ประมาณ 25 – 30 หน้า Academic Writing 1/60

17 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนทางวิชาการ
เรากำลังเขียนงานวิชาการแบบไหน? งานเขียนทางวิชาการ มีหลายประเภท เช่น บทความ รายงาน งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือตำรา (ความสั้น/ยาว, กระชับ/ลุ่มลึกและซับซ้อน) การเรียงลำดับความคิดในการเขียน การเขียนประกอบไปด้วยประโยคและย่อหน้าต่างๆ เรียงร้อยเข้าด้วยกัน การเขียนแต่ละประโยค แต่ละย่อหน้าจึงมีความสำคัญที่ผู้เขียนได้คิดและสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ภาษาต้องชัดเจน เข้าใจได้ง่าย ประโยคต้องชัดเจน ใคร ทำอะไร เลือกคำที่เหมาะสม การเลือกคำ การเรียงลำดับของคำ อย่าใช้คำฟุ้มเฟือย หากคำไหน ประโยคไหน ที่ตัดออกแล้ว ยังเข้าใจได้ – ให้ตัดออกไปเลย ความเชื่อมโยงของคำและแนวคิด แต่ละประโยค เรียงร้อยกันอย่างไร แต่ละย่อหน้าเรียงต่อกันอย่างไร ใช้หลักการในการเรียงลำดับอย่างไร Academic Writing 1/60

18 ย่อหน้า ควรประกอบไปด้วย ประโยค (ใคร ทำอะไร) องค์ประกอบของย่อหน้า
1 บทนำ topic statement 2 สนับสนุน (2-3 ประเด็น) 3 สรุป Academic Writing 1/60

19 รูปแบบในการเขียน (Topic) ในช่วงเมษายนปีนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวจีน มาเที่ยวเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการเขียน 1 ตัวอย่าง มีนักท่องเที่ยวชาวจีนไปที่ไหน ทำอะไรบ้าง เช่น ท่าเพ มช. ปางช้าง รูปแบบการเขียน 2 การวิเคราะห์ ทำไมคนจีนมาเชียงใหม่ รูปแบบการเขียน 3 การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบที่ละประเด็น A 1 / B 1 เช่น การเปรียบเทียบจีน/ ญี่ปุ่น ในประเด็นที่พัก A 2 / B2 การใช้จ่าย ซื้อของ การเปรียบเทียบทีละกลุ่ม A1 A2 จีน ในเรื่องที่พัก ในเรื่องการใช้จ่ายซื้อของ B1 B2 ญี่ปุ่น Academic Writing 1/60

20 รูปแบบการเขียน 4 ความหมาย นักท่องเที่ยวจีน เป็นอย่างไร
รูปแบบการเขียน 5 เหตุ อะไรเป็นเหตุให้เราพูดถึงนักท่องเที่ยวจีน รูปแบบการเขียน 6 ผล ผลกระทบจากนักเที่ยวจีน ด้านดี ด้านเสีย /ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย ระยะสั้น ยาว ท้องถิ่น ระดับชาติ นานาชาติ รูปแบบการเขียน 7 การเทียบเคียง การรุกรานอธิปไตย นกอพยพ จีนมาไทย เทียบไทยไปญี่ปุ่น สรุป ว่า นักท่องเที่ยวจีน เป็นอย่างไร คนเชียงใหม่ได้รับผลอย่างไร Academic Writing 1/60

21 รูปแบบและวิธีการนำเสนอ
1 รวบรวมประเด็นเพื่อนำไปสู่บทสรุป 2 จากสิ่งคุ้นเคย สู่สิ่งที่ไม่คุ้นเคย 3 จากสิ่งทั่วไป สู่สิ่งเฉพาะ 4 จากสิ่งเฉพาะ สู่สิ่งทั่วไป 5 การเล่าเรื่อง Narrative/ Narration 6 เล่าจากเวลา Chronology Academic Writing 1/60

22 การนำเสนอ - วิธีการทำรายงาน
การจัดเรียงลำดับในการนำเสนอ ใช้ภาษาที่ชัดเจน (ใคร ทำอะไร) กระชับ ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลในการนำเสนอ มี Road Map และเดินเรื่องตามนั้น มีเลขหน้า การเรียงหัวข้อ 1. 1.1 1.1.1 Transitional paragraph ความเชื่อมโยง Consistency ระวังเรื่องเวลา – กฎหมายที่แก้ไข Self editing อ่านทวนงานที่ตัวเองเขียน ใช้เครื่องมือของ MS Word จัด format ตั้งแต่แรก มีระบบบันทึกที่มา เก็บข้อมูล folder backup your work > hard copy + to yourself! Academic Writing 1/60

23 Self Editing เราเขียนอธิบายเรียงตามลำดับเหตุการณ์
เรามีการเขียน โดยมีจุดมุ่งหมายไปที่เป้าหมายเดียว (main idea) เรามีการตอบคำถามครบถ้วนว่า ใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เราเขียนในรูปประโยคที่ชัดเจน กระชับ เรามีเกริ่นนำ บอกเล่าเหตุการ การวิเคราะห์ และสรุป (อาจมีการเสนอแนะด้วย) Academic Writing 1/60

24 Romanization of Thai การเขียนชื่อ/คำไทย ในตัวอักษรภาษาอังกฤษ
อย่างเป็นทางการ ใช้แนวของราชบัณฑิตยสถาน ปรากฏตามแนวการประกาศ ในกฎกระทรวง มีหลายแนวทางในการเขียน – ขอให้ใช้แนวใดแนวหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ (consistency) ตัวอย่างของการเขียนแบบราชบัณฑิตย์ เช่น การไม่มีเสียงสั้นและยาว เช่น มะ – Ma กับ มา – Mā ชื่อเฉพาะ ให้ใช้ตามที่เจ้าของชื่อนั้นใช้ เช่น Nidhi Eeoseewong Academic Writing 1/60

25 การใช้ภาษา การใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ ภาษาทางวิชาการ
ความสม่ำเสมอของภาษา การศึกษา – การเรียน สุรา – เหล้า ควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเปรย และนัยยะเชิงนามธรรม เช่น ความดี ควรหลีกเลี่ยง clichés, jargon, subjective, passive voice Clichés โง่เป็นควาย, โง่ จน เจ็บ Jargon ประชาธิปไตยครึ่งใบ ยกเว้น ข้อความที่ยกมาจากการอ้างอิง เราจะเปลี่ยนแปลงภาษาที่เรายกมาจากผู้อื่นไม่ได้ ทางออกให้ยกมาและใส่เครื่องหมายคำพูดไว้ Academic Writing 1/60

26 เทคนิคของการเขียน paraphrase
อ่านเอกสารนั้นให้เข้าใจ แล้ว เขียนเป็นภาษาของเราเอง เปลี่ยนคำ นาม กริยา กรรม สลับลำดับของคำ และเหตุการณ์ การเล่าเรื่อง การเพิ่มคำ การเปลี่ยนจากการกระทำ active มาเป็นการถูกกระทำ passive (ข้อสังเกต ควรหลีกเลี่ยง passive voice) Academic Writing 1/60

27 Elaboration and substantiation การขยายความและการสนับสนุนด้วยข้อมูล
ความแตกต่างระหว่างข้ออ้าง (claim) กับ ประเด็น (point) ตัวอย่าง claim ระบบการจัดการที่ดินอยู่บนพื้นฐานของระบบพาณิชย์นิยม ตัวอย่าง point ระบบกรรมสิทธิ์ การจดทะเบียน การโอนที่ดิน การสนับสนุนด้วยงานศึกษาที่มีอยู่แล้ว การสนับสนุนด้วยแนวคิด/ทฤษฎีที่ยอมรับกันแล้ว การสนับสนุนด้วย ‘สามัญสำนึก’ การสนับสนุนด้วยการอิงเปรียบเทียบ Academic Writing 1/60

28 Concepts ‘fact’ กับ ‘opinion’ Value-laden fact Ideology
กลุ่มผลประโยชน์ในสื่อสารมวลชน Reader’s response Author's intention Representation Academic Writing 1/60

29 อุปมาอุปไมยการเขียน เหมือนกับการเดินทาง Point of departure
Point of arrival การเขียนกับองค์ความรู้ เรามีอะไรอยู่ในกระเป๋าอยู่แล้ว เราจะหาอะไรต่อไป Academic Writing 1/60

30 Argumentation การดำเนินไป (Progression) หรือ Line of development
Structure ทั้งในระดับย่อหน้า และระดับส่วน จนไปถึงทั้งบท Organizing principle based on concepts แนวการจัดข้อมูลที่ ‘ยุ่งเหยิง’ ให้เป็น ‘ระเบียบ’ ด้วยความช่วยเหลือของทฤษฎีแนวคิด Academic Writing 1/60

31 มิติ 2 ด้าน: ‘ด้านตั้ง’กับ ‘ด้านนอน’
โครงสร้าง (Structure) คือ การเชื่อมขององค์ประกอบ (Integration of components) การดำเนินไป (Progression) คือ Line of development Structure and progression การดำเนินไปควบคู่กัน Academic Writing 1/60

32 แบบฝึกหัด - การประเมินการเขียนงานวิชาการ
ให้นักศึกษาเขียนเรียงความมา 1 เรื่อง การเขียนให้มีลำดับการนำเสนอข้อเท็จจริง การอธิบายหลักกฎหมายและตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ยกมา และการวิเคราะห์/ความเห็นของนักศึกษาประกอบด้วย ส่งใน cmu online ไม่เกิน 700 คำ โดย attach file Microsoft Word จะเปิดระบบในวันพรุ่งนี้และให้ส่งภายใน ศุกร์ที่ 20 เมษ. (ส่งได้ตั้งแต่วันเปิดระบบเป็นต้นไป) จบ ☃ Academic Writing 1/60


ดาวน์โหลด ppt Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google