ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Antinematodal Drugs (ยากำจัดพยาธิตัวกลม) 1. Piperazine
Advertisements

POISON สารใดๆก็ตามที่อยู่ในรูปของแข็ง หรือ ของเหลว หรือ แก๊ส เมื่อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว ไปขัดขวาง / ยับยั้ง การทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยมีผลไป.
การพิจารณาเลือกชนิด วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค นพ.พรศักดิ์ อยู่เจริญ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
GMO SAFETY ASSESSMENT Sumol Pavittranon , Ph. D.
Vilasinee Hirunpanich B. Pharm(Hon), MSc in Pharm (Pharmacology)
การเตรียมผู้ป่วย ก่อนรับการรักษาด้วยรังสี
Evaluation of pesticides interaction Herbicide-herbicide interaction
การเฝ้าระวัง การสอบสวน และผลกระทบ เนื่องจากสารเคมีอันตราย
การดูแลผู้ป่วยได้รับสารพิษเบื้องต้น
การประเมินความเสี่ยงใน ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
TOXICOLOGY - สัตว์ทดลอง (experiment) ๏ acute ๏ sub-acute (sub-chronic)
มุ่งสู่ฝันและความเป็นหนึ่ง
Nested loop and its applications.
การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับหัตถการทางออร์โธปิดิกส์
ธนกร ศิริสมุทร เภสัชสนเทศ กลุ่มการบริบาลเภสัชกรรม ฝ่ายเภสัชกรรม
Environmental Monitoring for Pesticide Exposure
Diabetes mellitus By kraisorn inphiban.
หน่วยงาน ( ชื่อหน่วยงาน......) ประเมินผลการดำเนินงานประจำปี 2556.
Facilitator: Pawin Puapornpong
สมาชิก น.ส. กานต์ธีรา ปัญจะเภรี รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 21 น.ส. มินลดา เหมยา รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 22 น.ส. กรกฎ อุดมอาภาพิมล รหัสนักศึกษา
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
หลักการตลาด บทที่ 14 การโฆษณา.
อาจารย์ ทรงศักดิ์ สุริโยธิน
Septic shock เป็นภาวะช็อกที่เกิดจาก systemic inflammatory response ของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการติดเชื้อรุนแรง.
การประเมินการใช้ยา ( Drug Use Evaluation,DUE )
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
จัดทำข้อมูลวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแพ้ยา
สรุปโรคที่พบการให้รหัสผิดพลาดบ่อย
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษในห้องฉุกเฉิน
แนวทางการพิจารณาจัดประเภท ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
กลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 8 พฤศจิกายน 2559
การพัฒนางานผู้ป่วยนอก
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ยาและ ผลของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
เอมอร ราษฎร์จำเริญสุข
อ. ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
วัชพืชถั่วเขียว และการป้องกันกำจัด
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547แก้ไขเพิ่มเติมถึง.
ความรู้เกี่ยวกับ กองทุนประกันสังคม 1.
การกระจายของโรคในชุมชน
การมีส่วนร่วมในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร
Time management.
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) จังหวัดเพชรบุรี ปี 2558
“การรักษาภาวะฉุกเฉินจากโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย”
การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
สถิติกับดัชนีการวัด... ในงานระบาดวิทยา
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
การจัดการโรคไตเรื้อรัง CKD management
1.การส่งข้อมูล 12&21และรายงาน 43+7 แฟ้มมาตรฐาน ผ่านสสจ.ชลบุรี
Chemical constituents, toxicity and bioactivity
พญ. พิชญานันท์ คู่วัจนกุล กุมารแพทย์ สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
ครูปฏิการ นาครอด.
Rational Drug Use (RDU)
ประชุมเครือข่าย COPD จังหวัดเชียงใหม่
ณ ห้องประชุมกองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร
บ้านเรียนดี สรรสร้างสื่อดี
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
บทที่ 7 พฤติกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
หน่วยการเรียนที่ 5 เทคนิคและวิธีการในการพัฒนาตน
รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care
Blood transfusion reaction
Unit2หลักการตัดต่อและลำดับภาพ
แนวคิดการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความเป็นพิษ อันตราย และการปฐมพยาบาล รศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการฝึกอบรม หลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร

พาดหัวข่าว

ผลชันสูตรยืนยันพบ"ยาฆ่าแมลง"ในอาหารกลางวันเด็กอินเดีย วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16:20:04 น. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374139154&grpid=&catid=06&subcatid=0600 ผลการชันสูตรศพเด็กนักเรียน 22 คน ซึ่งเสียชีวิตหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐพิหารของ อินเดีย ยืนยันว่าทั้งหมดเสียชีวิตจากยาฆ่าแมลง ที่อาจปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำมันพืช

ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค. คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย อนาถชีวิตเกษตรกรสูดพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง นอนใหลตาย “อนาถ…ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใบยาสูบ เมื่อยล้า นอนพักเอาแรงกลับนอนใหลตาย น้ำลายฟูมปาก แพทย์ระบุเกิดจากสารพิษสะสมในร่างกาย ……... ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กม.พบศพนายเขียว บุญค้ำ อายุ 45 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนส่วนพ่วงรถไถนาเดินตาม สภาพสวมกางเกงวอร์มขายาวสีเขียว เสื้อยีนแขนยาว นอนหงาย น้ำลายฟูมปาก มีเลือดไหลซึม ตัวแข็งทื่อ ใกล้กันมีขวดยาฆ่าแมลงและถังฉีดพ่นวางอยู่ เบื้องต้นแพทย์คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 6ชั่วโมง ….... สอบสวนนางหนูจันทร์ บุญค้ำ ภรรยาผู้ตาย ทราบว่า…..หลังจากพ่นยาฆ่าแมลงแล้วสามีได้ไปนอนพักบนตัวพ่วงรถไถ กระทั่งรุ่งเช้าไม่เห็นสามีนำใบยามาตาก จึงออกไปดู พบว่าเสียชีวิตแล้ว…..แพทย์ชันสูตรจาก รพ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากสภาพศพที่มีน้ำลายฟูมปาก เลือดไหล ตามลำตัวเป็นป้านแดง สอบประวัติพบประวัติการใช้สารเคมีพ่นยาฆ่าแมลงโดยไม่สวมหน้ากากป้องกัน..…” คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค.

รายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

…..“เด็ก ๆจะได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงการเกิดความพิการ เกิดความผิดปกติในการเรียนรู้และความผิดปกติในเรื่องพฤติกรรม เด็กที่อยู่ในบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นประจำพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าเด็กปกติ 6.5 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ได้รับความเสี่ยงนี้เช่นกัน”  …..“จากการศึกษาพบว่านกซึ่งอพยพเข้ามาตามฤดู มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นในบริเวณที่มียาฆ่าแมลงตกค้างและบางบริเวณที่มียาฆ่าแมลงเล็กน้อย นกป่าเหล่านี้ก็มีอาการเจ็บป่วยเหมือนที่พบในมนุษย์”  …”ผู้ที่ชอบกินผักอาจได้รับอันตรายจากพิษตกค้างได้…มีคนกินก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้า เพียงจานเดียวก็เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ น้ำลายฟูมปาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลเกือบเป็นอันตรายถึงชีวิต”

สรุป พิษจากยาฆ่าแมลง..ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร(ผู้ใช้)เท่านั้น… สมาชิกในครอบครัวเกษตรกร…ผู้ขาย....ผู้บริโภค… สัตว์เลี้ยง…สัตว์ป่า…สิ่งมีชีวิตอื่นๆในสิ่งแวดล้อม… ล้วนป่วย…ล้วนได้รับผลกระทบ…โดยถ้วนหน้า!!!

99% ถูกแมลง 4% ใช้สาร 100% ทำให้แมลงตาย 1% ล้มเหลว (ไม่ถูกจุดสำคัญ) 3% พืช/ผักไม่ปลอดภัย ถูกแมลง 4% 99% ตกค้างบนพืช/ผัก ตกค้างบนใบพืช 41% (ไม่โดนแมลง) อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์ มนุษย์รับสัมผัสโดยตรง พลาดเป้าหมาย 15%0 ระเหยไป 10% เข้าห่วงโซ่อาหารอื่นๆ ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปลิวทิ้ง 30% เหลือ 70% ใช้สาร 100% 8

อัตราการป่วยจากการประกอบอาชีพที่รายงานเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข. พ. ศ อัตราการป่วยจากการประกอบอาชีพที่รายงานเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2540 2542 2544 2546 รวมทุกสาเหตุ 3542 4618 3011 2629 สารสาเหตุ สารปราบศัตรูพืช 3297 4169 2653 2342 >90% ตะกั่ว 115 151 104 33 โลหะหนัก 44 115 29 24 ปิโตรเลียม 21 85 102 67 ก๊าซ+ไอระเหย 28 60 45 33 ฝุ่นในปอด 37 38 78 130 (ที่มา:สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พศ.2540-2546)

ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย มูลนิธิชีววิถี ค้นเมื่อ 3 พค ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย มูลนิธิชีววิถี ค้นเมื่อ 3 พค. 2555 จาก http://www.biothai.net/node/8691

สารเคมีทางการเกษตรก่อพิษได้หลากหลายแบบ

แบบที่ 1 แบ่งตามระยะเวลาที่แสดงอาการให้ปรากฏ 1. การเกิดพิษแบบเฉียบพลัน (Acute poisoning/toxicity) ได้รับสารแล้วแสดงอาการภายใน 24 ชั่วโมง 2. การเกิดพิษแบบเรื้อรัง (Chronic poisoning/toxicity) ได้รับทีละน้อยหลายครั้งติดต่อกันเป็นเวลานาน และเกิดการสะสม จนแสดงอาการ

แบบที่ 2 แบ่งตามตำแหน่งที่แสดงอันตรายจากสารพิษ 1. การเกิดพิษทางระบบของร่างกาย (Systemic poisoning/toxicity) มีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดจากตำแหน่งหนึ่ง แล้วไปแสดงอาการที่ส่วนอื่นๆได้ 2. การเกิดพิษเฉพาะที่ (Local poisoning/Local toxicity) ไม่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด จึงแสดงพิษที่ตำแหน่งได้รับสาร เช่น ฤทธิ์กัด คัน ระคายเคือง ฯ

แบบที่ 3 แบ่งตามกลวิธาน (mechanism) การเกิดพิษ 1.ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคนนั้นตอบ- สนองว่องไวเกินไปต่อสาร (เฉพาะบุคคล) 2.ภาวะพันธุกรรมผิดปกติ (Idiosyncratic reaction) เกิดจากพันธุกรรมที่แตกต่างจากผู้อื่นของคนนั้น 3.การได้รับสารเกินขนาด (Overdosage หรือ Toxicologic reaction) เกิดกับทุกคนที่ได้รับสารพิษเกินขนาดที่ร่างกายทนได้

ช่องทางการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดของสารพิษ (1) ทางปาก (2) ทางจมูก (3) ทางผิวหนัง (4) อื่น ๆ เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือด ถูกหนามตำ ฯ

การดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็ก เส้นเลือด ฝอยดำ เส้นเลือดฝอยแดง การดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็ก 16

การดูดซึมผ่านผนังถุงลมฝอย ของปอด

การดูดซึมผ่านผิวหนัง 1 2 3 รูเหงื่อ รูขน รูไขมัน เพิ่มการดูดซึมเมื่อ -ผิวหนังชุ่มชื้น -มีบาดแผล -มีรอยถลอก ฯ การดูดซึมผ่านผิวหนัง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพิษ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสารที่ทำให้เกิดพิษ สารแต่ละชนิดมีพิษมากน้อยไม่เท่ากัน ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1.1 ตัวสารหลัก เช่น ยาฆ่าหญ้า 2,4,5-ที 1.2 ตัวปนเปื้อนของสารหลัก เช่น ไดออกซิน 1.3 สารเติมแต่งหรือส่วนประกอบอื่นๆของผลิตภัณฑ์ เช่น สารทำละลาย น้ำมันก้าด สี กลิ่น ฯ

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ได้รับสารพิษเข้าร่างกายมากน้อยไม่เท่ากัน 2.1 ปริมาณสารพิษที่ได้รับ (dose) 2.2 วิถีทางที่ได้รับ (route) เช่น ทางปาก จมูก ผิวหนัง 2.3 ความนานของระยะเวลาที่ได้รับสัมผัส (duration) และความถี่ (frequency) ของการรับ 2.4 ช่วงเวลาที่ได้รับ (time) เช่น เช้า บ่าย ค่ำ ก่อน/หลังอาหาร

3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคนที่รับสัมผัสสารพิษ 3.1 พันธุกรรม (gene) 3.2 สภาวะในขณะนั้นของผู้รับสัมผัสสารพิษ เช่น วัย ความเจ็บป่วย ฯ 4.สภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทของอากาศ ฯ

ถ้าได้รับสารพร้อมกันมากกว่า 1 ชนิด จะเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาร (Interactions) ทำให้มีโอกาสเกิดผลต่างๆ เช่น สารแย่งกันดูดซึม สารแย่งกันออกฤทธิ์ที่เซลล์/อวัยวะเป้าหมาย สารแย่งกันในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารภายในร่างกาย สารแย่งกันขับถ่าย ฯ ผลลัพธ์ที่ได้ พิษเพิ่มขึ้นแบบผลบวกของพิษแต่ละตัว เช่น 2 + 3 = 5 พิษเพิ่มขึ้นแบบเกินกว่าผลบวกของพิษแต่ละตัว เช่น 2 + 3 = 20 พิษลดลงจากการหักล้างพิษกันเอง เช่น 4 + 6 = 3 หรือ (+4) + (-4) = 0 หรือ 4 + 0 = 1  ใช้เป็นยาแก้พิษ

คำถาม ??

ตัวอย่าง สารพิษทางการเกษตร=สารปราบศัตรูพืช 1.ยาฆ่าแมลง -ออกาโนคลอรีน เช่น ดีดีที ดิลดริน อัลดริน เอ็นโดซัลแฟนฯ -ออกาโนฟอสเฟต เช่น พาราไทออน มาลาไทออน ฯ -ออกาโนคาร์บาเมต เช่น คาบาริล ฯ -ไพรีทรอยด์ เช่น ไซเปอร์เมธิน ฯ 2.ยาฆ่าหญ้า -พาราควอท เช่น กรัมมอกโซน ฯ -ไกลโฟเสท เช่น ราวนด์อัพ ฯ 3.ยาเบื่อหนู -วาร์ฟาริน เช่น ราคูมิน ฯ -ซิงค์ฟอสไฟด์ ฯ 4.ยาฆ่าเชื้อรา ฯลฯ

อาการพิษจากพาราควอท ไดควอท ทำปฏิกิริยากับ O2 เกิดอนุมูลอิสระมากมาย ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะผิวหนัง ตับ ไต ปอด ระบบทางเดินหายใจ ไอ เจ็บคอ เลือดกำเดาไหล หยุดการหายใจฯ ระบบทางเดินอาหาร ตับวาย ไตวาย ฯ ระบบผิวหนัง ผิวแห้ง แตก ผื่นแดง พุพอง แผลมีหนอง เล็บซีด เล็บหลุด เล็บหักง่าย ฯ ตา เยื่อบุตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาบอด ฯ ผลิตภัณฑ์มีการเติมสี กลิ่น สารกระตุ้นอาเจียนด้วย เพื่อลดการรับอันตราย

อาการพิษจากไกลโฟเสท (glyphosate) ยับยั้งการสร้างกรดอะมิโน อาการพิษเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไอแห้งๆ แน่นหน้าอก ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาเจียนปนเลือด ปัสสาวะออกน้อย ไตวายและปอดบวมคั่งน้ำ การสัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดผื่นคัน แสบตา เคืองตาและ เจ็บแสบในลำคอ และอาจมีอาการพิษเรื้อรังจากการสัมผัสทางผิวหนัง โดยเป็นผื่นคัน ผิวหนังไหม้ ตาดำอักเสบ น้ำตาไหลมาก บางรายมีเลือดกำเดาไหล เช่น ราวด์อัพ, ทัชดาวน์, สปาร์ค ฯ

อาการพิษจากออกาโนคลอรีน เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาททั้งมนุษย์และแมลง ตกค้างอยู่นานในสิ่งแวดล้อม พิษต่อระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ตัวสั่น ตากระตุก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยน กล้ามเนื้อบิดตัว เกร็ง กดศูนย์ควบคุมการหายใจ และตายได้ ฯ 27

อาการพิษจากสารพิษออกาโนฟอสเฟต ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โครีนเอสเทอเรสของระบบประสาทอัตโนมัติทั้งของคนและแมลง โดยยับยั้งแบบไม่ปล่อยคืน ระบบประสาทส่วนกลาง เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เดินโซเซ มือสั่น ชัก หมดสติ ช็อค ฯ ระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตะคริว หนังตากระตุก ทำงานไม่ประสานกันฯ ระบบประสาทอัตโนมัติ น้ำลายออกมาก เหงื่อออกมาก น้ำตาไหล หายใจลำบาก ตาพร่า ท้องร่วง ปวดเกร็งกระเพาะอาหาร ฯ

อาการพิษจากคาร์บาเมต ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โครีนเอสเทอเรสของระบบประสาทอัตโนมัติทั้งของคนและแมลง โดยยับยั้งแบบปล่อยคืนได้ อาการคล้ายออกาโนฟอสเฟต ระบบทางเดินหายใจ คอแห้ง เจ็บคอ แสบจมูก ไอ ฯ ระบบผิวหนัง คัน ตุ่มขาวบนผิวหนัง ผิวหนังตกสะเก็ด ผื่นแดง ฯ ตา เคืองตา ตาแดง ฯ

เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทแมลงมากกว่ามนุษย์ อาการพิษจากไพรีทรอยด์ เป็นพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทแมลงมากกว่ามนุษย์ ระบบทั่วไป ชา คอแห้ง เจ็บคอ แสบจมูก หายใจถี่ คัน ฯ หากได้รับเข้าร่างกายปริมาณมาก อาเจียน ท้องร่วง เดินโซเซ หนังตากระตุก หงุดหงิด น้ำลายไหลผิดปกติ เกร็ง ชัก หมดสติ ช็อค ฯ

นอกจากนั้น ยังมีพิษที่ไม่แสดงผลทันที แต่จะปรากฏภายหลัง เช่น หลังรักษาหายแล้ว 1- 4 วัน กลับมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนปลาย คือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ต้นแขน ต้นขา ที่คอ ที่สำคัญ คือ กล้ามเนื้อช่วยการหายใจอ่อนแรง อาจถึงกล้ามเนื้ออัมพาต ทำให้หยุดการหายใจ และตายได้ ช่วงนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเท่านั้น (จะใช้อะโทรปีนรักษาไม่ได้ผล อะโทรปีนรักษาได้เฉพาะช่วงอาการเฉียบพลันเท่านั้น) ดังนั้น แม้รักษาอาการเฉียบพลันหายแล้ว ทั้งผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ยังจะต้องคอยเฝ้าระวังต่อไปอีก 2 สัปดาห์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ ถ้าได้รับเข้าทางปาก ทำให้ อาเจียนให้ได้โดยเร็วที่สุด เช่น โดยการล้วงคอ(ถึงโคนลิ้น) หรือให้กินยากระตุ้นอาเจียน (ipecac syrup) หลังจากนั้น ให้กินตัวดูดซับสาร คือ กินผงถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ชนิดผง (ผงถ่าน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ผสมน้ำพอเหลวๆ( 4 – 8 เท่า) เพื่อดูดซับสารพิษ หรืออย่างน้อยกินไข่ขาวดิบ นม เพื่อเคลือบทางเดินอาหารและเจือจางสาร แล้วรีบไปพบแพทย์ **ห้ามกระตุ้นอาเจียน**กรณีทำท่าจะหมดสติ/ชัก (สมองถูกกดการทำงาน) เช่น ผู้ได้รับสารพิษหมดสติ ชัก ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (reflex) ตอบสนองไม่ดีหรือใกล้จะหลับหรือชักภายใน 30 นาทีหลังจากนี้) หรือ กินสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น พาราควอท ถ้าเป็นยาฆ่าหญ้าพาราควอท ให้ควักดินท้องร่องหรือน้ำโคลนเหลวให้กินทันทีหรือเอาดินเหนียวละลายน้ำให้กิน-ไม่ต้องกระตุ้นอาเจียน

กินถ่านกัมมันต์แล้วต้องกินยาถ่ายออก ถ่านกัมมันต์ หรือ ถ่านปลุกฤทธิ์ ขนาดรูพรุน เป็นนาโนเมตร ปลุกด้วย ความร้อนและไอน้ำ (กายภาพ) หรือ ปลุกด้วยสารเคมี (เคมี) กินถ่านกัมมันต์แล้วต้องกินยาถ่ายออก ถ่านกัมมันต์ หรือ ถ่านปลุกฤทธิ์ ถ่านกะลามะพร้าวจากกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง (ซ้าย) ลักษณะผิวถ่านก่อนกระตุ้น (ขวา) หลังกระตุ้น

ถ้าได้รับเข้าทางหายใจ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ(ต่อ) ถ้าได้รับเข้าทางหายใจ -เอาตัวออกพ้นไปทันทีจากบริเวณที่มีสาร แขวนลอยอยู่ในอากาศ -ปลดขยายเสื้อกางเกงให้หายใจสะดวกขึ้น -ล้วงสิ่งอุดตัน เช่น ฟันปลอมออกจากปาก *ถ้าหายใจไม่สะดวกให้ช่วยผายปอด (ระวังอันตรายเกิดกับผู้ช่วยเหลือ) ฯ

ถ้าได้รับทางผิวหนัง-นัยน์ตา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษ(ต่อ) ถ้าได้รับทางผิวหนัง-นัยน์ตา ถอดเสื้อผ้าที่สารหกรดออกทันที ณ ตำแหน่งที่สารหกรด แล้วอาบน้ำถูสบู่ทันที ล้างตา ด้วยน้ำให้สะอาดโดยปล่อยน้ำสะอาดไหลผ่านมากๆนานๆ กรอกตาไปมา ไปหาหมอ-ให้ถือกระป๋องใส่ยาฆ่าแมลงที่มีป้ายชื่อสารไปให้หมอดูด้วย (กระป๋องที่มีชื่อสารจริงๆ)

การป้องกันการเกิดพิษ ป้องกันการเข้าทางปาก ล้างมือด้วยสบู่ทันทีหลังทำงาน ไม่กินอาหารหรือสูบบุหรี่ระหว่างทำงาน ไม่วางจาน ช้อน แก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร หรืออาหารใดๆไว้ภายในบริเวณที่ทำงาน

ป้องกันการเข้าทางจมูก การป้องกันการเกิดพิษ(ต่อ) ป้องกันการเข้าทางจมูก ใช้ผ้าหนาๆปิดปากและจมูก -กรองฝุ่นได้ แต่กรองก๊าซได้น้อย ใส่หน้ากากซึ่งมีที่กรองสาร-กรองก๊าซ สารระเหย ฝุ่นละเอียดได้ มีการตรวจวัดระดับสารปนเปื้อนในบรรยากาศเป็นระยะๆ ปิดเต็มหน้า ปิดครึ่งหน้า

ป้องกันการเข้าทางผิวหนังและนัยน์ตา การป้องกันการเกิดพิษ (ต่อ) ป้องกันการเข้าทางผิวหนังและนัยน์ตา -ใส่เสื้อกางเกงแขนยาวขายาว ผ้าหนาพอสมควร ในการทำงาน -หลังทำงาน ให้ถอดเสื้อผ้าที่ใส่ทำงาน ล้างมืออาบน้ำด้วยสบู่ทันที -ถ้าสารหกเลอะเสื้อผ้าให้ถอดออกเปลี่ยนทันที -หากสารหกเลอะตัวหรือผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำและสบู่ทันที -ผิวหนังบริเวณที่มีแผลหรือรอยถลอกต้องดูแลปกปิดเป็นพิเศษ -ห้ามสัมผัสสารด้วยมือเปล่า ควรสวมถุงมืออย่างหนา -หากเป็นสารน้ำ ต้องสวมถุงมือยางพิเศษที่กันสารละลายและน้ำได้ -ควรใส่แว่นตาที่ปิดมิดชิดระหว่างทำงาน -อย่าเอามือที่จับถูกสารมาขยี้ตา

เฉลยคำถาม ไม่มีสารใดๆที่ไม่มีพิษ ปริมาณเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด ให้สารนั้นเป็นสารพิษหรือเป็นยารักษาโรค พาราเซลซัส 1493-1541 เฉลยคำถาม

ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค. คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย อนาถชีวิตเกษตรกรสูดพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง นอนใหลตาย “อนาถ…ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใบยาสูบ เมื่อยล้า นอนพักเอาแรงกลับนอนใหลตาย น้ำลายฟูมปาก แพทย์ระบุเกิดจากสารพิษสะสมในร่างกาย ……... ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กม.พบศพนายเขียว บุญค้ำ อายุ 45 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนส่วนพ่วงรถไถนาเดินตาม สภาพสวมกางเกงวอร์มขายาวสีเขียว เสื้อยีนแขนยาว นอนหงายน้ำลายฟูมปากมีเลือดไหลซึม ตัวแข็งทื่อ ใกล้กันมีขวดยาฆ่าแมลงและถังฉีดพ่นวางอยู่ เบื้องต้นแพทย์คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 6ชั่วโมง ….... สอบสวนนางหนูจันทร์ บุญค้ำ ภรรยาผู้ตาย ทราบว่า…..หลังจากพ่นยาฆ่าแมลงแล้วสามีได้ไปนอนพักบนตัวพ่วงรถไถ กระทั่งรุ่งเช้าไม่เห็นสามีนำใบยามาตาก จึงออกไปดู พบว่าเสียชีวิตแล้ว…..แพทย์ชันสูตรจาก รพ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากสภาพศพที่มีน้ำลายฟูมปาก เลือดไหล ตามลำตัวเป็นป้านแดง สอบประวัติพบประวัติการใช้สารเคมีพ่นยาฆ่าแมลงโดยไม่สวมหน้ากากป้องกัน..…” คาดการณ์ความผิดพลาดที่เป็นสาเหตุการตาย ก. ข. ง.ถูกทุกข้อ ค.

คำถาม ??

ขอบคุณและสวัสดีค่ะ kannikar@kku.ac.th