บทที่ 14 ระบบสารสนเทศ กับการเปลี่ยนแปลงองค์การ บทที่ 14 ระบบสารสนเทศ กับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศนำมาช่วยงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ 1. การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงาน อัตโนมัติ (Automation) 2. การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) 3. การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR) 4. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ 1. การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation) โดยองค์การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาดของข้อมูล หรือความผิดพลาดจากการคำนวณ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ 2. การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) ระบบช่วยให้มองเห็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่คล่องตัวทำให้องค์การจำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ (Standard Operating Procedures)
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ 3. การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR) เป็นการคิดใหม่(Rethinking) และออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด (Radical Redesign) เป็นการปรับปรุงคุณภาพและการบริการให้ดีขึ้น มีความรวดเร็วในการดำเนินงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว ปรับลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ 4. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts) การเปลี่ยนแปลงที่มีต่อทั้งองค์การไม่จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบางส่วนขององค์การ การเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับลูกค้า สินค้า บริการ หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยไม่ยึดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ เช่น บริษัทผลิตและจำหน่ายยา นำเอาระบบเกี่ยวกับคลังสินค้าที่เรียกว่า "Stockless Inventory" มาให้บริการลูกค้าที่เป็นสมาชิก เช่น โรงพยาบาล ระบบนี้ช่วยให้สมาชิกไม่จำเป็นต้องสั่งยาและเครื่องเวชภัณฑ์มาเก็บสำรองไว้จำนวนมาก สามารถสั่งซื้อผ่านเทอร์มินอลที่บริษัทฯ นำมาติดตั้งไว้ให้และสามารถรับยาที่สั่งซื้อได้ทุกวันทำการ
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ ได้วิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน (Competitive Analysis Model) โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน (Competitive Forces) ดังนี้ 1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่ก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรม (Threat of Entry of New Competitors) 2. อำนาจในการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) 3. การแข่งขันในวงการอุตสาหกรรม (Rivalry Among Excising Competitors) 4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Buyers/Customers) 5. สินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/Services)
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ 1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่ก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรม (Threat of Entry of New Competitors) การเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายใหม่จะส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาด และเพิ่มความรุนแรงในการแข่งขัน บริษัทเดิมในอุตสาหกรรมนั้น พยายามสร้างสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อต่อต้านผู้แข่งขันรายใหม่ทำให้เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ยาก เนื่องจากผู้แข่งขันรายใหม่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ 2. อำนาจในการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) ผู้ขายปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรขององค์การ ทำให้ราคาของปัจจัยในการผลิต และราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ขายปัจจัยการผลิตที่มีอำนาจการต่อรอง ซึ่งการกำหนดราคาขายขึ้นอยู่กับผู้ผลิตสินค้า
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ 3. การแข่งขันในวงการอุตสาหกรรม (Rivalry Among Excising Competitors) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับ และความซับซ้อนของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ได้แก่ จำนวนคู่แข่งขัน อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ต้องหาแนวทางการรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้จึงต้องลงทุนสูงในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ 4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Buyers/Customers) ลูกค้าเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดำรงอยู่ และการเติบโตขององค์การ ลูกค้าหรือผู้ซื้อจะมีอำนาจในการต่อรองหากเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่มีการซื้อปริมาณมากเมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่น
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ 5. สินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/Services) หมายถึง สินค้าหรือบริการใดๆ แตกต่างจากสินค้าหรือบริการที่ต้องการ สามารถนำมาใช้แทนเพื่อสนองต่อความต้องการได้ เช่น การใช้โปรตีนแทนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ พอร์เตอร์ ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้ 1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy) 2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) 3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy) องค์การต้องค้นหาได้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และต้องหากระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจค้าปลีก วอล์มาร์ท (ห้างสรรพสินค้าที่ลดราคาสินค้า) สร้างพันธมิตรทางธุรกิจคู่ค้าโดยนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ในการบริหารคลังสินค้าและระบบจัดซื้อมาใช้ ทำให้สามารถเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำได้
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) การสร้างหรือบริการให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากของคู่แข่งขัน โดยสินค้าหรือบริการ มีลักษณะเฉาะตัวที่คู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย อาจทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้าและบริการนั้น (Brand Loyalty) ลูกค้าสามารถเลือกข้อกำหนด (Specification) สามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ได้จากแคตาล็อกหรืออาจเลือกซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต พอร์เตอร์ ได้เสนอกลยุทธ์
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือมีตลาดเฉพาะด้าน มีคู่แข่งขันน้อยลงแต่มีช่องว่างทางการตลาด (Niche Market) กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้าและบริการ เช่น กระเป๋ายี่ห้อดัง นาฬิกาสวิส
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model) พอร์เตอร์ เน้นกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ที่เพิ่มมูลค่าหรือบริการ โดยคุณค่า (Value) 1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) - การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) การลำเลียงวัตถุดิบหรือทรัพยากรทางธุรกิจเข้าสู่องค์การ เช่น การรับ การเก็บรักษาวัตถุดิบ และการจัดการปัจจัยนำเข้า - การดำเนินงาน หรือการผลิต (Operations) กิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบ หรือทรัพยากรทางธุรกิจให้เป็นสินค้าหรือบริการ - การลำเลียงออก (Outbound Logistics) การลำเลียงส่งสินค้าที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด เกี่ยวข้องกับงานคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการจัดส่ง - การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคา - การบริการ (Services) กิจกรรมการให้บริการลูกค้า เช่นการติดตั้ง การฝึกอบรม การบำรุงรักษา
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model) พอร์เตอร์ เน้นกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ที่เพิ่มมูลค่าหรือบริการ โดยคุณค่า (Value) 1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) - การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) การลำเลียงวัตถุดิบหรือทรัพยากรทางธุรกิจเข้าสู่องค์การ เช่น การรับ การเก็บรักษาวัตถุดิบ และการจัดการปัจจัยนำเข้า - การดำเนินงาน หรือการผลิต (Operations) กิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบ หรือทรัพยากรทางธุรกิจให้เป็นสินค้าหรือบริการ - การลำเลียงออก (Outbound Logistics) การลำเลียงส่งสินค้าที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด เกี่ยวข้องกับงานคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการจัดส่ง - การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคา - การบริการ (Services) กิจกรรมการให้บริการลูกค้า เช่นการติดตั้ง การฝึกอบรม การบำรุงรักษา
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model) 2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) - โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure) กิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การจัดการทั่วไป - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) กิจกรรมด้านการจัดหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา - การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management) เกี่ยวกับงานด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D) การสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และบริการ - การจัดหา (Procurement) เกี่ยวข้องกับการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่อการแข่งขัน 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม รูปแบบของการดำเนินงาน 2. การใช้ไอทีช่วยให้มีการดำเนินงานที่ดีเหนือคู่แข่งขัน ช่วยลดต้นทุนทำให้การดำเนินงานในองค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความแตกต่างให้สินค้าและบริการ การสร้างนวัตกรรมใหม่ 3. การใช้ไอทีในการสร้างธุรกิจใหม่ เช่น การทำธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อและดาวน์โหลด ผ่านอินเตอร์เน็ตได้
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ แผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS) เป็นเครื่องชี้ทิศทางแผนการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง พัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการของหน่วยงาน ให้เจ้าหน้าที่สารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนกอื่น ๆ รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ แผนกลยุทธ์ธุรกิจ จะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องชี้ทิศทางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ทั้งนี้แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศจะเน้นถึงความต้องการสารสนเทศขององค์การและถูกกำหนดให้มีทิศทางที่สอดคล้องแลสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์การ ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจที่กำหนดไว้
ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติ และระบบการวางแผนการผลิต ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติ และระบบการวางแผนการผลิต ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติช่วยให้การจัดเก็บวัตถุดิบในคลังมีจำนวนที่เหมาะสม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารวัสดุคงคลัง สำหรับระบบวางแผนการผลิตถูกนำมาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและใช้เวลาในการผลิตน้อยลง
ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างพันธมิตร ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างพันธมิตร เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน
ระบบฐานข้อมูลลูกค้า การพัฒนาข้อมูลลูกค้าจะช่วยให้วามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ โดยข้อมูลลูกค้าอาจได้มาจากหลายแห่ง
ระบบบริการหลังการขาย ระบบบริการหลังการขาย เป็นระบบสำหรับติดตามปัญหาของลูกค้าในการใช้สินค้าหรือการบริการขององค์การ ข้อมูลต่างๆจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นคำร้องเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือข้อคิดเห็นนั้นจะช่วยให้ฝ่ายการตลาดนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้ขึ้นกว่าเดิม หรืออาจเป็นแนวคิดสำหรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการใหม่ๆได้ การวางแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยการประสานความร่วมมือ ระดมความคิดและรวบรวมข้อมูล สารสนเทศจากผู้บริหารของส่วนงานต่างๆ ในองค์การ เพื่อนำมาจัดทำแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในแผนกลยุทธ์ธุรกิจ