การขนส่งกับการจัดการโลจิสติกส์ Transport and Logistics Management
การจัดการโลจิสติกส์ ( Logistics Management ) หมายถึง กระบวนการจัดการ การเคลื่อนย้าย และจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าจากผู้ขายคนแรก(ต้นน้ำ)ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย (ปลายน้ำ)
องค์ประกอบของการจัดการ Logistics ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 1. การพัฒนา กลยุทธ์ด้าน Logistics 2. การจัดการ วัตถุดิบขาเข้า 3. การจัดการ คลังสินค้า 4. การขนส่ง สินค้าขาออก
องค์ประกอบและกิจกรรมของการจัดการโลจิสติกส์ Goods and Services Information Suppliers Finance ขนส่ง จัดซื้อ บริหารสินค้าคงคลัง กระจาย ข้อมูลและการเงิน
ขอบเขตของการจัดการโลจิสติกส์ ( Logistics Management Dimension) ระดับกลยุทธ์ ( Strategic Level) ระดับยุทธวิธี ( Tactical Level) ระดับปฎิบัติการ ( Operation Level)
ระดับกลยุทธ์ ( Strategic Level) กำหนดนโยบายขององค์กร - นโยบายการตลาด - นโยบายการผลิต - นโยบายสินค้าคงคลัง วัดผลงานด้านประสิทธิผลของการดำเนินงาน
ระดับยุทธวิธี ( Tactical Level) การวางแผนตามโครงสร้างที่กำหนดในแผนกลยุทธ์ - ผู้บริหารระดับกลางขององค์กร โดยการวัดผลของงานที่ดำเนินการจะวัดด้วยประสิทธิผล (Effectiveness) ว่าสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์กรหรือไม่
ระดับปฎิบัติการ ( Operation Level) เป็นการนำซัพพลายเชนมาใช้ในระดับปฏิบัติการของแต่ละฝ่ายในองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธวิธี โดยจะมีการวัดผลงานด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งจะแบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ การจัดการวัสดุ และ การจัดการการกระจายสินค้า
การขนส่งและกลยุทธ์โลจิสติกส์ Transport and Logistics Strategy - การขนส่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญของกระบวนการโลจิสติกส์ โดยมีตัวแปรที่สำคัญคือน้ำมันเชื้อเพลิง - การขนส่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงปฎิบัติการ ต้องกำหนดโครงสร้างให้มีประสิทธิผล “ถูกต้อง ทั้ง จำนวน เวลา สถานที่ มีคุณภาพและต้นทุนต่ำสุด โดยต้องคำนึงถึงสถานการณ์นั้นๆด้วย”
การกำหนดกลยุทธ์การขนส่ง Determining Transport Strategy การกำหนดยุทธศาสตร์ของการขนส่งทำเพื่อรักษาระดับการให้บริการ/ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม โดยต้องพิจารณาถึง - ประเมินภายในองค์กร โดยพิจารณาถึงการดำเนินขององค์กรในปัจจุบัน ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง - เป้าหมายขององค์กร คือการมองทิศทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กรในอนาคตโดยการใช้ ปัจจัยหลายๆปัจจัยพิจารณา
การกำหนดกลยุทธ์การขนส่ง Determining Transport Strategy - วิธีการทำให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เป็นทางเลือกหลายๆแนวทางที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสมเกิดความสมดุลระหว่างต้นทุน และระดับการให้บริการซึ่งจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ และกลยุทธ์ขององค์กร
ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการขนส่ง Strategic Important in transport ประหยัดค่าก่อสร้างคลังสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้าของกิจการ
โครงสร้างหลักสูตรการจัดการขนส่ง Transport Management Course Content 1. ระดับปฎิบัติการ Operational Level 2. ผู้ควบคุมงานขนส่ง Transport Supervisor 3. การจัดการเชิงกลยุทธ์การขนส่ง Transport Strategic Management
บทบาทหน้าที่ของการขนส่ง Roles of Transport การดำเนินงานในระดับปฎิบัติการที่ดี - จัดการการดำเนินงานต่อวันอย่างมีประสิทธิภาพ - ควบคุมงาน และลดต้นทุนให้ต่ำสุด - ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสูงสุด - สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า - ดำเนินงานภายใต้กฎหมาย - มั่นใจในความปลอดภัยในการบรรทุกสินค้า - ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
ปัญหาของการขนส่ง ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมากเป็นภาระของประเทศ เกิดปัญหาการจราจร เกิดปัญหามลพิษ การแข่งขันกันทางการขนส่ง การสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ
2.ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งมีอะไรบ้างอธิบายพอสังเขป คำถามท้ายบท 1. ให้อธิบายเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงปฎิบัติการของงานขนส่งมาโดยละเอียด 2.ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งมีอะไรบ้างอธิบายพอสังเขป