ปศธ.พบดรีมทีม ร่วมสานฝันพัฒนา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี2551 โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 18 กันยายน 2550 เวลา 10.30-12.00 น. ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ
ความคาดหวังในการประชุมวันนี้ 1. ให้กรอบแนวคิดให้เข้าใจสถานการณ์และจุดยืนของกิจการ สป.ศธ.เพื่อนำไปจัดแผน/งบประมาณ/การบริหารจัดการปี2551 2. ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุและผลสำเร็จของหน่วยงาน โดยการระดมสมองเชิงบริหารและวิชาการ 3. จุดประกายให้เสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงสร้างสรรค์ที่น่าจะนำไปพัฒนางานได้จริงไม่เพ้อฝัน 4. เปิดประเด็นให้มีการค้นคว้าวิเคราะห์และเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมภายหลังเพื่อนำไปสู่การพัฒนางานในรายสำนักได้จริงในอนาคต
สาระสำคัญ 1. เข้าใจบทบาทภารกิจของสป.และสำนัก 2. วิเคราะห์ผลงานความสำเร็จในปี2550ที่ผ่านมา 3. ข้อแนะนำการบริหารจัดการในภาพรวม 4. ตัวอย่างข้อแนะนำบางสำนัก 5. รับฟังข้อเสนอ ร่วมกันสานฝันให้เป็นจริง
วิสัยทัศน์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2551 เป็นองค์กรหลักด้านการอำนวยการและการบริหารนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งสู่การจัดการศึกษาและสร้างเยาวชนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน 7
2.พันธกิจ สป.ศธ. ปี2551 : 1. เสนอแนะข้อมูลพื้นฐานสำหรับรมว.ศธ.ใช้กำหนดเป็นนโยบายและนำนโยบายไปจัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการรวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวง 2. เป็นหน่วยงานประสานภายในระหว่างองค์กรหลักโดยการอำนวยการเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการและงานบริการของศธ. 3. เป็นภาพลักษณ์ขององค์กรในภาพรวมของศธ.นำผลงาน/โครงการไปประชาสัมพันธ์สู่นร/นศ/ครู/บุคลากรทางการศึกษา /ผู้ปกครองและสาธารณะ 8
2.พันธกิจ สป.ศธ. ปี2551 : 4. เป็นหน่วยประสานงานการบริหารจัดการแบบบูรณาการข้ามกระทรวงและการร่วมทำงานในคณะกรรมการระดับชาติทั้งที่ระบุในกฎหมาย หรือเป็นงานตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งงานระหว่างประเทศด้านการศึกษา 5. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน การศึกษานอกโรงเรียน การพัฒนางานบริหารบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษา และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งพัฒนากิจการและกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา 9
3. ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับกระบวนทัศน์และบทบาทของ สป.ศธ.เป็นผู้ประสาน ผู้สนับสนุนส่งเสริม และผู้ตรวจติดตามประเมินผล 1.1 พัฒนาหน่วยงานและทีมงานให้เป็นที่ยอมรับและตามความคาดหวังที่ทุกคนอยากได้จาก สป.ศธ : -เป็นแหล่งข้อมูลกลาง -ช่วยขับเคลื่อนพลังเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา -เชื่อมโยงนโยบายรมว.ศธ.สู่ปฏิบัติได้จริง -ประกาศข่าวรายงานประชาสัมพันธ์ของผลงานศธ.สู่ประชาชน
1.2 พัฒนาการทำงานของปศธ.ให้เป็นที่ยอมรับตามความคาดหวัง ยุทธศาสตร์ที่1 การปรับกระบวนทัศน์และบทบาทของ สป.ศธ.เป็นผู้ประสาน ผู้สนับสนุนส่งเสริม และผู้ตรวจติดตามประเมินผล 1.2 พัฒนาการทำงานของปศธ.ให้เป็นที่ยอมรับตามความคาดหวัง - เป็นผู้ช่วยสนองงานนโยบายของรมว.ศธ.สู่ปฏิบัติ - รอบรู้งาน หน่วยงานและบุคคลในศธ. - มือประสานสิบทิศ - มองคาดการณ์และหาทางรับมือไว้ล่วงหน้า - เป็นนักโฆษณาประชาสัมพันธ์นักเขียนนักอ่านเพื่อการสื่อสารวงกว้าง - นักบริหารที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการให้เร็ว/ครอบคลุม/ถูกต้อง - เป็นที่พึ่งด้านข้อมูลการต่างประเทศและการจัดการข้ามกระทรวงของหน่วยงานในสังกัด สป.ศธ.และองค์กรหลัก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน บริบทที่ 2.1 งานสนับสนุนผลงานของรมว.ศธ. 1) ช่วยประชาสัมพันธ์ผลงานรมว.ศธ.ผ่านสื่อมวลชนสม่ำเสมอ 2) ช่วยสร้างเสริมภาพลักษณ์ของรมว.ศธ.ให้ดีเด่น 3) ช่วยนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและรายงานผลงานต่อคณะรัฐมนตรี 4) รายงานเหตุด่วนเหตุร้าย เข้าช่วยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน บริบทที่2.2 ระบบการประสานงานงานบริหารทั่วไป 1) เชิญหน่วยงานมาประชุมและจัดทำรายงานสรุป 2 ) ไปเข้าร่วมประชุมหน่วยงานอื่นแล้วนำข้อมูลมาใช้ 3) จัดทำและเผยแพร่ข้อมูล - ข้อมูลพื้นฐานสาระหลักของเนื้องานตามพันธกิจ - บัญชีรายชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์/ - อีเมล์/เว็บไซต์ ผู้เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน บริบทที่ 2.3 การจัดการงานส่งเสริมสนับสนุน 1) เสนอ/ขอรับนโยบายจากรมว.ศธ. - การร่างนโยบายของรมว.ศธ.สู่การปฏิบัติ - จัดพิมพ์ตัวนโยบายแจก - การทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง 2) การกำหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัด 3) การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดสรรปัจจัยทรัพยากร 4) แนวทางกำกับให้นโยบายสู่การปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่2 พัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างขีด ความสามารถในการปฏิบัติงาน บริบทที่ 2.4 การกำกับติดตาม 1) ติดตามข้อมูลเพื่อรวบรวมและประเมินสถานการณ์ล่าสุดของประเทศ 2) ติดตามสถานการณ์ในเขตพื้นที่ค้นหาจุดดีจุดล้มเหลว 3) สำรวจจำนวนตามดัชนีความสำเร็จที่กำหนดไว้ 4) ออกไปตรวจสอบจุดเสี่ยง/ มีหน่วยรับเบาะแส 5) จัดทำรายงาน/แฟ้มประวัติบุคคล/ สถานศึกษา แล้วเผยแพร่ 6) สังเคราะห์แล้วนำเสนอระดับนโยบายให้เป็นแนวปฏิบัติและแก้ไข
ยุทธศาสตร์ที่3สร้างองค์ความรู้ใหม่และขยายผล 1) ต้องสร้างสป.ศธ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดย เริ่มจากสร้าง วัฒนธรรมองค์กร - มีจิตวิญญาณ-ผูกพันต่อคุณภาพ - มีสำนึกต่อลูกค้าและสังคม 2) บำรุงปรุงแต่งองค์กรแบบสิ่งมีชีวิต - เน้นการมีส่วนร่วม- ทำงานเป็นทีม - สนใจความต้องการของบุคลากร 3) ผลักดันองค์กรสป.ศธ.ให้เกิดวินัย - มีวินัยตนเอง กระตือรือร้น- รับฟังผู้อื่น - สร้างฝันร่วมกัน - เรียนรู้ร่วมกัน - คิดเป็นระบบภาพรวม 4) ขับเคลื่อนองค์กรสป.ศธ. ให้เรียนรู้ต่อเนื่อง- เรียนรู้โดยการปฏิบัติ - มีมาตรฐานเปรียบเทียบ - ยินดีให้ผู้อื่นฝึกสอน - ฝึกเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้อื่น -มีแฟ้มงานเพื่อพัฒนา 3.2.สร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ที่สร้างเอง หรือนำผลงานที่ดีที่สุดของหน่วยอื่นมาใช้
ยุทธศาสตร์ที่ 4เพิ่มศักยภาพของระบบการให้บริการ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแกนหลักขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการให้บริการ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ปรับปรุงศูนย์บริการประชาชน สายด่วนการศึกษาเพื่อให้คำปรึกษา รับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนและเร่งปรับระบบสื่อสารภายในองค์กรในการสื่อสารทั่วถึง ถูกต้องและรวดเร็ว 3) ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานบริการด้านการศึกษาในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพการบริหารความสัมพันธ์ต่างประเทศ ด้านการศึกษา 1) ยกบทบาทของการศึกษาของประเทศไทยให้โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก - เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับอาเซียนหรือภูมิภาค - เพิ่มบทบาทของไทยในกรอบสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ องค์การระดับภูมิภาค และเครือข่ายระหว่างประเทศ - เพิ่มบทบาทของไทยในฐานะผู้นำทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและการศึกษาเพื่อปวงชน - สนับสนุนให้คนไทยเข้าร่วมในเวทียูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศต่างๆเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพการบริหารความสัมพันธ์ต่างประเทศ ด้านการศึกษา 2) ให้ประเทศไทยมีส่วนร่วมสำคัญในการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการศึกษาสำคัญของโลกและภูมิภาค -ดำเนินกลยุทธ์ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มบทบาทในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาการศึกษากับนานาประเทศ - สร้างความเชื่อมั่นและความไว้เนื้อเชื่อใจในระดับผู้นำ โดยดำเนินการตามพันธะกรณีที่ได้ผูกพันไว้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจริงจัง เร่งด่วน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจ - การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบSEAMEO
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพการบริหารความสัมพันธ์ต่างประเทศ ด้านการศึกษา 3) เสริมสร้างความมั่นใจของต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย - เร่งรัดการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนการศึกษาของต่างประเทศที่มาลงทุนในไทย - พัฒนาเครือข่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา - ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์การประชุมระหว่างประเทศและเป็นศูนย์การดำเนินงานองค์การระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพการบริหารความสัมพันธ์ต่างประเทศ ด้านการศึกษา 4) เป็นหน่วยส่งเสริมการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้โดยนำมาจากต่างประเทศ -การแปลเอกสารหลักของหน่วยงานอื่นมาใช้เป็นBench Mark -การขอe_learningของหน่วยต่างประเทศที่ยินดีให้ไทยใช้งานมาให้บริการ -เป็นหน่วยแนะนำBest Practice องค์กร/สถานศึกษา/ หลักสูตร และองค์ความรู้ใหม่ๆสำหรับผู้สนใจไปดูงานต่างประเทศ หรือไม่มีโอกาสไป -จัดทำTrainingหลักสูตรพิเศษที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศและจัดทำเป็นคลังข้อมูล
10 ผลงานดีเด่นของสป.ศธ.ปีงบประมาณ2550 1. ร่วมงานคณะกรรมการติดตามและประสานงานตามการสั่งการของนรม. ด้านการศึกษา ซึ่งนรม.ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาการศึกษาภาคใต้ และการสร้างคุณธรรมนำความรู้สู่เยาวชนและครู 2. ประสานการจัดทำแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซียทางด้านการศึกษา โดยได้ยกร่างข้อตกลงและมีการลงนามแล้ว 3.ประสานจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 4 ปีพ.ศ. 2551-2554 ชื่อแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข หรือในภาษามลายูว่า Pendidikan Demi Keameanan Dan Kevahagiaan
10 ผลงานดีเด่นของสป.ศธ.ปีงบประมาณ2550 4. ทำงานร่วมกับสพฐ.โครงการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 5.ร่วมกันจัดงานมหกรรมนักอ่านจัดงาน 5 วัน ระหว่างวันที่ 13 - 17 มิถุนายน 2550 เมืองทองธานี ผู้เข้าชมประมาณ 300,000 คน 6. ประสานโครงการ ศธ. เฉลิมพระเกียรติมหามงคล 80 พรรษาฯ จำนวน 18 โครงการ ในส่วนสป. มี 6 โครงการ ได้แก่ กศน. 3 โครงการ สำนักการลูกเสือฯ 2 โครงการ และ สำนักนิติการ 1 โครงการ
10 ผลงานดีเด่นของสป.ศธ.ปีงบประมาณ2550 7.โครงการคุณธรรมนำความรู้ เชิดชูเศรษฐกิจพอเพียงและ จัดกิจกรรมค่ายฤดูร้อน ได้ขยายผลในสถานศึกษาเอกชน 700 แห่ง ผู้เข้าร่วมโครงการค่ายจำนวน 1.2ล้านคน 8.พิจารณาร่วมกับกมธฯร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ... และได้ปรับปรุงการวางระบบเงินอุดหนุนใหม่ให้ส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพและเป็นธรรม โดยเฉพาะสถานศึกษาเอกชนประเภท ตาดีกา ปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9. สป.ได้รางวัลควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (Thailand Tobacco Control Award 2007) ประเภทองค์กรดีเด่นด้านการควบคุมยาสูบ จากรมว.สธ.เนื่องในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ปีพ.ศ.2550
10 ผลงานดีเด่นของสป.ศธ.ปีงบประมาณ2550 10. ก.ค.ศ. (1) แก้ไขพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯพ.ศ.2547 โดยปรับองค์ประกอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯให้มีสัดส่วนของผู้แทนข้าราชการครูให้เหมาะสม /ให้เพิ่มอำนาจแก่ก.ค.ศ.ในการแก้ไขมติอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯที่ไม่เป็นธรรม /และกรณีข้าราชการครูไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บริหารหรือ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาให้อุทธรณ์และร้องทุกข์ไปที่ ก.ค.ศ.ได้ (2) การพัฒนาข้าราชการครูฯที่เชื่อมโยงกับการประเมินโดยจัดทำมาตรฐานสมรรถนะเฉพาะ 16 กลุ่มสาระ และอบรมผู้ผ่านการประเมินวิทยฐานะชำนาญพิเศษ(สูงขึ้น) ตามหลักสูตรอบรมข้าราชการครู(เชิงประจักษ์)
10 ผลงานดีเด่นของสป.ศธ.ปีงบประมาณ2550 10.ก.ค.ศ. (3) ดำเนินการคัดเลือกผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ เตรียมขึ้นบัญชีไว้ 30 อัตรา (4) ออกกฎ ก.ค.ศ. ประกาศใช้แล้ว5กฎ อยู่ระหว่างยกร่าง4กฎ อยู่ในขั้นกฤษฎีกา8กฎ อยู่ระหว่างเสนออ.ก.ค.ศ 1กฎ ยังไม่ได้ดำเนินการ 3 กฎ /ระเบียบก.ค.ศ. ที่ประกาศใช้แล้ว6ระเบียบ อยู่ระหว่างดำเนินการ4ระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศใช้แล้ว 25 หลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างดำเนินการ 21 หลักเกณฑ์ ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 10 หลักเกณฑ์
ผลงานเด่นของรายสำนักของสป. ศธ ผลงานเด่นของรายสำนักของสป.ศธ. ครึ่งหลัง (เมษายน-กันยายน) ของปีงบประมาณ 2550 1.สำนักอำนวยการ (1) วิเคราะห์การเตรียมการรองรับการดำเนินการเกษียณก่อนกำหนด (Early Retire)ในรูปแบบใหม่ตามนโยบายรัฐบาลในปีงบประมาณ 2551 (2) ดำเนินงานพัฒนาข้าราชการสป.โดยเน้นให้เรียนรู้ 10 ทักษะ (3) เร่งงานประชาสัมพันธ์องค์กรทั้งสป.และศธ. โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวงในการเป็นหน่วยประสานการจัดการศึกษา การพัฒนาด้วยงานวิจัยและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
2. สำนักนิติการ ผลงานเด่นปี2550 (1)ประสานงานกับคณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของศธ.เร่งรัด การบังคับใช้กฎหมายสำคัญที่ยังค้างอยู่ได้แก่ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ร.บ.สถานศึกษาเอกชน และพ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย และการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูฯ พ.ศ. 2546 (2) ให้เร่งรัดสะสางคดีหรืองานสอบสวนทางวินัยและอุทธรณ์ที่ค้างอยู่ 7 คดี เพื่อเตรียมการล้างมลทินในวโรกาสเฉลิม80 พรรษาฯ (3) ช่วยสะสางงานสอบสวนและคดีที่ค้างยืดเยื้อและเป็นผลกระทบต่อการบริหารงานของสกสค. โดยเฉพาะในส่วนขององค์การค้าของ สกสค.
3.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ผลงานเด่นปี2550 (1) ประสานงานการจัดทำแผนใช้งบประมาณ รวมทั้งการของบกลางของปี 2550 ของศธ. และสป. และจัดเตรียมแผนงบประมาณ ปี 2551 (2) สนับสนุนการนำนโยบายของรมว.ศธ.ไปประสานแผนงานโครงการและงบประมาณโดยมีหน่วยงานเจ้าภาพผู้รับผิดชอบความสำเร็จของงานนำไปดำเนินงาน รวมทั้งการรายงานความก้าวหน้าของผลงานตามนโยบาย และรายงานผลงานความสำเร็จต่อคณะรัฐมนตรีอย่างสม่ำเสมอ (3) ประสานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะ 4 ปี พ.ศ. 2551-2554
4.สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ ผลงานเด่นปี2550 (1) การดำเนินงานด้านความร่วมมือต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกยูเนสโก และซีมีโอ (2) จัดทำแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซียทางด้านการศึกษา โดยได้มีการลงนามในข้อตกลง ระหว่างรมว.ศธ. ของไทย กับมาเลเซีย (3) การดำเนินงานโครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 และ 2
5. สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดผลงานเด่นปี2550 (1) แก้ไขพ.ร.บ.ลูกเสือ พ.ศ.2507 ซึ่งอยู่ระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (2) จัดส่งคณะลูกเสือไทย 120 คน ไปเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 21 ที่ประเทศอังกฤษในโอกาสครบรอบ 100 ปี การลูกเสือโลก ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม - 10 สิงหาคม 2550 (3) การจัดงานชุมนุมลูกเสือคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ และการชุมนุมยุวกาชาดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี 2550
6.สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผลผลงานเด่นปี2550 (1)รมว.ศธ.มอบให้วางระบบพิเศษตรวจนโยบายการรับนักเรียนเพื่อป้องกันการฝากเด็กและเก็บเงินกินเปล่าในการรับสมัคร เข้าเรียนโรงเรียนยอดนิยม ในปีการศึกษา 2550 และพบความพอใจ (2) สนับสนุนงานของผู้ตรวจราชการและคณะกรรมการตรวจติดตามที่มีรมว.ศธ. เป็นประธานโดยจัดทำระบบตรวจสอบ 6 ระบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพ (3) ได้รับมอบนโยบายจากรมว.ศธ. วางระบบพิเศษและดำเนินงานตรวจนโยบายส่งเสริมการเลือกตั้ง เพื่อเริ่มดำเนินการตั้งแต่ตุลาคมถึงธันวาคม 2550 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งสส.ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 โดยจะเน้นการวางตนเป็นกลางของข้าราชการ การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งและการป้องกันการซื้อสิทธ์ขายเสียง
7. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ผลงานเด่นปี2550 (1) จัดเตรียมสู่การเป็นองค์การมหาชน (2) ทำงานร่วมกับ สพฐ.ในโครงการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยพัฒนาผอ.สพท./ผอ.สถานศึกษา/ครูผู้สอนและกลุ่มศึกษานิเทศก์ (3)พัฒนาครูในระบบ Online ภายใต้หลักสูตรตามสมรรถนะ (4) เป็นหน่วยงานนำร่องพัฒนาองค์กรตามแบบ PMQA (Public Sector Management Quality Award) และได้ส่งเข้าชิงรางวัล TQA (Thailand Quality Award)ผ่านเกณฑ์ประเมินรอบ2 ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐเพียงหน่วยงานเดียว (5) เป็นหน่วยงานที่กระทรวงการต่างประเทศขอใช้เป็นหน่วยให้บริการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรให้กับผู้บริหารจากต่างประเทศ
8.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผลงานเด่นปี2550 (1) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและ การพัฒนาศูนย์รวมสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ให้มีศักยภาพ เพิ่มความเร็วในการเข้าถึงInternet ในระดับสถานศึกษา ติดตามให้ความช่วยเหลือทางวิชาการตามมาตรการการใช้ ICTเพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอน (2) ทดลองใช้โปรแกรม Team Work Solution ผ่าน www.chankasem.net เพื่อใช้งานบริหารฐานข้อมูลร่วมกันในส่วนของผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปจำนวน2,000คนของกระทรวงศึกษาธิการโดย สำนักงานปลัดช่วยติดตามประเมินผลการทดสอบใช้งาน
9. สำนักพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาและกิจการพิเศษผลงานเด่นปี2550 (1) สป.ได้รางวัลควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2550 ประเภทองค์กรดีเด่นด้านการควบคุมยาสูบ ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 (2) ปรับระบบการทำงานของสารวัตรนักเรียนแบบเดิมมาเป็นการจัดระบบศูนย์เสมารักษ์เพื่อใช้เป็นหน่วยส่งเสริมคุณธรรมเชิงรุกและแก้ปัญหาความรุนแรง โดยรับเรื่องร้องทุกข์ ตรวจเยี่ยมพื้นที่เสี่ยง และจัดระบบส่งต่อเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (3) ประสานการดำเนินงานนโยบายรัฐบาลเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (4) ประสานการดำเนินงานการจัดกิจกรรมค่ายฤดูร้อน มีนาคม - พฤษภาคม 2550 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวมศธ. 1.2 ล้านคน
10. กพร.สป. ผลงานเด่นปี2550 (1) การประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2550 (2) การประเมินผลผลิตของงานขององค์กร (3) การปรับกระบวนทัศน์วัฒนธรรมขององค์กร 4) ประเมินผลการบริหารตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประสิทธิภาพโครงสร้างส่วนราชการ ((5) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) (6) พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM)
11.สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ผลงานเด่นปี2550 (1) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรมว.ศธ.งานพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ใหญ่ การเทียบระดับการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน การส่งเสริมภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา ETV บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาการเรียนการสอนแบบทวิภาษา (2) เร่งดำเนินการตาม Roadmap กศน. ยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน(อายุ15 – 39 ปี) ขยายรูปแบบ2 ตำบลต่ออำเภอ เร่งระบบจัดสรรงบประมาณในรูปคูปองส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัดละ 1 ตำบล ขยายจุดการประเมินเทียบระดับการศึกษาในทุกจังหวัด และส่งเสริมภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 80% และ กศน. ดำเนินการ 20%
12.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผลงานเด่นปี2550 (1) ติดตามการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน (2) วางระบบเงินอุดหนุนใหม่เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพและเป็นธรรม (3) กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
13. ก.ค.ศ. ผลงานเด่นปี2550 (1) แก้ไขพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯพ.ศ.2547 (2) การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรฯที่เชื่อมโยงกับการประเมินโดยจัดทำมาตรฐานสมรรถนะเฉพาะ 16 กลุ่มสาระ (3) ดำเนินการคัดเลือกผอ.สพท.3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ เตรียมขึ้นบัญชีไว้ 30 อัตรา (4)เร่งรัดออกกฎระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล (5) จัดทำชุดเสริมสร้างค่านิยมเรื่องความประหยัด และการมีวินัยทางการเงิน (6) พัฒนาให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานทางวินัยให้แก่ผู้บริหารการศึกษา และผู้แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
การเข้าใจวิสัยทัศน์และภารกิจของสป.และเชื่อมโยงสู่สำนักของตนเอง 1.เข้าใจบทบาทสป.เป็นผู้ประสาน ส่งเสริมสนับสนุน วางมาตรฐาน กำกับติดตาม และรายงานความสำเร็จ 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการ และการบริการให้เอื้อประโยชน์ หรือจัดโควต้าให้กับบุคลากรในสังกัดสป. หรือกลุ่มลูกค้าของสำนักในสป.ด้วย 3. ใช้ธรรมาภิบาลให้ความยุติธรรมเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติในการมอบงาน 4. จัดประชุมทีมงานและวางระบบสื่อสารภายในสำนักให้รับทราบความก้าวหน้างานที่กำลังดำเนินการ
แนวทางบริหารงบประมาณปี 2551 1.สนองนโยบายรัฐบาลและรมว.ศธ.ให้เร่งงานออกในไตรมาสแรก 2.จัดทำแผนงานและจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องแผนชาติ กระทรวงและนโยบายพิเศษ 3.รายงานความสำเร็จ และทุกสำนักมีระบบรายงานความก้าวหน้า เน้นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก 4.จัดแผนใช้งบประมาณ กระจายและเหมาะกับแต่ละไตรมาส มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานตามแผน 5.สำนักมีเจ้าภาพผู้อำนวยการโครงการและทีม โดยแบ่งงานให้เหมาะกับคนอย่างยุติธรรม/ไม่เลือกปฏิบัติ โครงการหลักผอ.ควรรับผิดชอบ
ประสบการณ์วิชาชีพบริหารพื้นฐานที่นักบริหารต้องมี 1. องค์ประกอบของความสำเร็จในการทำงาน การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนในการทำงาน หลักและวิธีการประสานงาน 4. กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจ 5. การประชุมและการทำงานเป็นทีม 6. ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน พฤติกรรมการเมืองในองค์การ มนุษย์สัมพันธ์และการจูงใจ 9. การสื่อความหมายและการ เขียนหนังสือราชการ 10. สุขภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพ 11.การดำรงชีวิตและจริยธรรมในการทำงาน 12.การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิต 13.กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นคณะ 14. การพัฒนาภาวะผู้นำ
นโยบายพัฒนาข้าราชการสป.โดยเน้นให้เรียนรู้ 10 ทักษะ 1) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 2) การจัดซื้อจัดจ้าง บริหารการเงินให้ถูกกฎระเบียบ 3) งานบริหารบุคคลที่ครบวงจร ตั้งแต่ สรรหา บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ความดีความชอบ และการพัฒนา 4) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารและจัดการศึกษา 5) ทักษะในการนำเสนอ ขายแนวคิด การประชุม 6) ทักษะการบริหารในรูปคณะกรรมการ 7) การเขียนรายงาน การสรุปวิเคราะห์ การเสนอโครงการขนาดใหญ่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี 8) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงาน การตลาดและการให้บริการแก่ลูกค้า 9) การสร้างความเข้มแข็งการของบริหารจัดการในรูปเครือข่าย และ 10) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ระบบควบคุมคุณภาพและความเสี่ยง
นโยบายการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการศึกษา 1.นำICTมาใช้ในการบริหารและจัดการฐานข้อมูลของสำนักเพื่อให้งานรวดเร็ว และทำให้งานง่ายขึ้น 2. พัฒนาทีมงานให้ใช้งาน ICTได้ทุกคน โดยเฉพาะนำไปใช้เสนองาน และประกอบการประชุม 3.ใช้รายงานผลงานผ่านInternetให้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง และสร้างเว็บสำนักเป็นการกระจายองค์ความรู้
การทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ หลักการของการทำงานแบบเครือข่าย: ทุกฝ่ายมีเกียรติ/สิทธิ/โอกาสเท่าเทียมกัน/เป็นการทำงานแนวราบ ไม่มีการสั่งการจากฝ่ายใด/เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยผ่านการทำงานร่วมกัน รูปแบบการรวมตัวของเครือข่าย 1.รวมกลุ่มสนใจ 2. รวมกลุ่มหน่วยงาน 3. รวมกลุ่มทางอินเตอร์เน็ตไม่เห็นตัวกัน
ระดับของความร่วมมือ(. Source: Health Canada 1996 in Torjman, S. (1998) ระดับของความร่วมมือ( *Source: Health Canada 1996 in Torjman, S. (1998). Partnerships: the good, the bad and the uncertain. Caledon Institute of Social Policy. ISBN 894159-08-X) ต่ำ เครือข่าย (Networking) มีการแลกข้อมูลตามอัธยาศัย เป็นแหล่งข้อมูล ใช้เวลาและความไว้ใจกันในความร่วมมือน้อย ประสานงาน (Coordination) มีการแลกข้อมูลจัดกิจกรรมตามเป้าหมายร่วมกัน มีกิจกรรมที่ต้องประสานตกลงกัน มีข้อจำกัดในการทำงานและบริการไม่ซ้ำซ้อน ความร่วมมือ (Cooperation) แลกข้อมูล ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ต้องใช้เวลาและมีความไว้วางใจกันมาก สูง ทำงานร่วมกัน(Collaboration) ทำทุกอย่างตามทุกข้อ แต่มีการสร้างศักยภาพผู้ทำงานสองฝ่ายเพื่อให้บรรลุป้าหมาย มีระบบบริหารที่ต้อพึ่งพากันเพื่อให้งานสำเร็จ มีการใช้ทรัพยากรและมีเงื่อนไขผูกพันเท่ากันทั้งสองฝ่าย
ข้อเสนอแนะการบริหารรูปแบบคณะกรรมการบทบาทคณะกรรมการ 1.การทำงานของคณะกรรมการทำให้มีผลงานสูงได้ หากได้รับการปรับปรุงในเรื่องโครงสร้าง ขนาด องค์ประกอบ และวิธีทำงาน 2. กรรมการส่วนหนึ่งไม่เข้าใจว่าตนถูกคาดหวังอะไรในการประชุม มีกรรมการไม่กี่คนที่มีความพร้อม เข้าใจบทบาทของการเป็นกรรมการ 3. คณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดทิศทาง และสอดส่องดูแล ส่วนการจัดการเป็นหน้าที่ของผู้จัดการ/เลขานุการที่ได้รับมอบ ไม่ควรสับสนบทบาท(ผู้จัดการมีหน้าที่วางแผน จัดการ การนำ การควบคุมงาน) 4.คณะกรรมการส่วนมากไม่สามารถตอบว่าอะไรคือเหตุผลสำคัญและความจำเป็นในการดำรงอยู่ของกิจการ บุคลากรอาจทำงานเหนื่อยและต่อสู้เพื่อความอยู่รอด โดยไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงขององค์กรนี้เพื่ออะไร
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กำหนดจำนวน วาระการดำรงตำแหน่งชัดเจน กำหนดภารกิจของประธาน กรรมการ เลขานุการให้ชัดเจน ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญของการดำเนินงาน มีการจัดทำจรรยาบรรณของกรรมการ สิ่งที่อาจเป็นข้อขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ มีระบบรายงาน ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มีผู้ตรวจสอบ กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงของคณะกรรมการ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการบริหารรูปแบบคณะกรรมการ 1.การเป็นกรรมการไม่ถือเป็นภาระหนัก และมักถือว่าเป็นการให้รางวัล หรือเป็นเครื่องหมายของฐานะและเกียรติยศ มากกว่าจะเป็นงานที่ท้าทายและต้องรับผิดชอบ 2.ทุกครั้งที่องค์กรประสพปัญหา มักมีคำถาทมว่า คณะกรรมการอยู่ที่ไหน เมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ 3.การแต่งตั้งกรรมการในลักษณะยุ่งยากซับซ้อน ทำให้กำหนดทิศทางและกระบวนการควบคุมองค์กรมี่ความยุ่งยากตามมา 4.กรรมการใช้เวลาน้อยในการสอดส่องดูแลการทำงานภายในกิจการ แต่กลับใช้เวลามากขึ้นสร้างภาพหรือสัมพันธ์ภายนอก
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการวางแผนการเลือกคณะกรรมการ 1.ในขณะองค์กรกำลังยุ่งยาก ควรเลือกกรรมการ ประเภทบุคลิกใหม่เข้ามา 2.เลือกผู้ที่มีความคิดกว้าง ยืดหยุ่น รับผิดชอบโดยดูที่ผลงาน 3.เลือกกรรมการที่มีประสบการณ์หลากหลาย ต่างมุมมอง ต่างอาชีพ เพื่อช่วยการตัดสินใจ 4.มีกระบวนการแต่งตั้งคัดเลือกกรรมการอย่างเป็นทางการ เปิดเผยโปร่งใสตรวจสอบได้
แนวทางทำงานในรูปคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพ 1.ประชุมเป็นประจำ 2.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน 3.กำหนดหน้าที่และระยะเวลาทำงานของคณะกรรมการ 4.มีสิ่งตอบแทนหรือจูงใจให้คณะกรรมการเช่นโล่ เงินค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ 5.ฝ่ายเลขานุการที่ทำงานได้รวดเร็ว ติดตามและให้บริการด้านข้อมูลและงานสำนักงาน 6.คณะกรรมการควรมีส่วนร่วมในการติดตามให้กำลังใจ ถามถึงการดำเนินงาน/ผลงาน ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานและแสดงความชื่นชมกับผลสำเร็จ มากกว่าดีแต่วิจารณ์
การประชุมของคณะกรรมการ ควรแจ้งล่วงหน้าให้ชัดเจน ส่งเอกสารล่วงหน้า จำนวนครั้งของการประชุมให้เหมาะกับภารกิจ ทำรายงานทุกครั้ง ประธานและกรรมการร่วมกันพิจารณาเลือกเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม ประธานจัดสรรเวลาให้พอกับการเสนอและอภิปราย เชิญผู้เกี่ยวข้องกับปัญหามาชี้แจงให้ละเอียดเพิ่มขึ้น คณะกรรมการเข้าถึงข้อมูลในขอบเขตที่ตกลงกัน ควรมีการประเมินผลงานของคณะกรรมการ ควรส่งเสริมให้มีการสัมมนาพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในระบบงาน
ประเด็นการใช้ประโยชน์จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ทำความเข้าใจและเข้าถึงสารัตถะที่แท้จริง หากจำเป็นต้องออกกฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับที่เป็นส่วนเกี่ยวเนื่องด้วย ให้เร่งยกร่าง 2. ได้มีการเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างกว้างขวาง 3.มีการจัดทำโครงสร้าง งบประมาณ แผนงาน โครงการและกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนหรือกฎหมาย 4.มีการบังคับใช้กฎหมายจริงจังหรือไม่ ใครคือผู้มีอำนาจ และมีการกำกับติดตาม รายงานประเมินความก้าวหน้าหรือไม่ 5.เมื่อผ่านไประยะหนึ่งจะมีการแก้ไขกฎหมายในจุดอ่อนหรือไม่
แนวทางการปฏิบัติงานสำนักงานผู้ตรวจราชการ 1.ผู้ตรวจราชการ ต้องมีเครื่องมือในการตรวจติดตามที่ดี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว นำไปใช้ประโยชน์ในการติดตามแก้ไขปัญหาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริง 2.หน่วยงานผู้รับการตรวจ ใช้ข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงขีดความสามารถในการ ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว 3.ผลของการตรวจราชการ แสดงถึงสภาพปัญหาอุปสรรค จุดอ่อน/จุดแข็ง ในมิติต่างๆในภาพรวม ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของงานและนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ข้อเสนอแนะการตรวจราชการที่เข้มแข็ง ปี2551 จะตรวจเรื่องอะไร จะใช้ระบบตรวจอย่างไร จะจัดระบบอย่างไรในการทำงานทีมระหว่างผู้ตรวจราชการ ผู้ช่วยผู้ตรวจ สำนักผู้ตรวจส่วนกลางและเขตตรวจ ผู้รับการตรวจ คณะกรรมการตรวจติดตามประเมินผลของศธ. ผตร.สปน. ใช้ฐานข้อมูลอะไรในการทำงาน จะจัดทำรายงานและวิธีรายงานแบบไหน จะนำรายงานไปใช้ประโยชน์จริงได้ไหม ดัชนีวัดความสำเร็จ เช่นใช้ตัวชี้ของกพร.หรือตัวชี้วัดใด
ข้อเสนอแนะสำหรับสนพ.และสกก. ประสานหน่วยงานกระทรวงเจ้าภาพ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้ศธ. จัดกิจกรรมให้ท้าทายเด็กและเป็นไปตามปฏิทินและ เหตุการณ์ จัดทำFocus Groupเมื่อเกิดเหตุร้อน สร้างเครือข่ายมาร่วมกันทำงาน โดยเราสนับสนุนงบประมาณ หรือวิชาการ
การแก้ปัญหาเด็ก จากการทำงาน แบบเดิม ที่ล้มเหลว มุ่งไปที่ตัวเด็ก แต่ไม่แก้ไขสิ่งรอบตัวเด็ก พ่อแม่ไม่ว่างโยนให้โรงเรียน โรงเรียนดูแลไม่ทั่วถึง โทษพ่อแม่ไม่สั่งสอนต่างฝ่ายต่างโทษกัน มุมมองของ ปัญหาเด็ก แบบเดิม ส่วนราชการก็ออกนโยบาย ออกกฎระเบียบขาดการติดตาม แต่ไม่สามารถประสานได้ จึงซ้ำซ้อน ขาดเอกภาพ สื่อนำเสนอข่าวโดยไม่ระวังความเหมาะสมกับวัย สื่อจัดไว้เพื่อผู้ใหญ่แต่เด็กเข้าถึงได้ การแก้ปัญหาเด็ก จากการทำงาน แบบเดิม ที่ล้มเหลว 1. ปัญหาเด็กซับซ้อนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทำงานในระบบ ล่าช้าไม่ทันการ 2. การแก้ปัญหาในรูปคณะกรรมการ หากฝ่ายเลขานุการ ไม่นำสู่การปฏิบัติผลงานไม่เกิด 3. การทำงานต่างหน่วยต่างทำ ไม่สามารถ บังคับใช้กฎหมาย
การมองตัว ปัญหาเด็ก แบบใหม่ แนวทางใหม่ แก้ปัญหาเด็ก 1. สังคมเป็นอย่างไร เยาวชนเป็นอย่างนั้น จะมาโทษ เด็กฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาสังคมต้องช่วยตรวจสอบ การมองตัว ปัญหาเด็ก แบบใหม่ 2. พ่อแม่ต้องให้เวลาดูแลลูกเป็นต้นแบบให้ลูกในทางที่ดี 3. ครูต้องสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้เด็กค้นหาคำตอบได้ 4. ผู้ใหญ่ต้องเคารพสิทธิเด็ก แนะให้เด็กรู้จัก สิทธิเสรีภาพโดยมีหน้าที่ 1. มีเจ้าภาพ รับผิดชอบชัดเจน ซึ่งต้องใช้ยุทธศาสตร์ มีองค์ความรู้ และมีการอำนวยการ แนวทางใหม่ แก้ปัญหาเด็ก 2. สังคม เข้ามามีส่วนร่วม เรียกร้อง หน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามาจัดการ 3. หน่วยงานรับเป็นภาระไปแก้ไข และเคลื่อนไหว ไปในทิศทางเดียวกัน
อุปสรรคของการดึงเยาวชนมาร่วมกิจกรรม ผู้ปกครองไม่เข้าใจ คิดว่ากิจกรรมเสียเวลา ควรมุ่งวิชาการ เด็กเองมีปัญหาชีวิต ครอบครัวแตกแยก วิตก กังวล ขาดโอกาส เพราะยากจน ขาดการสื่อสารโลกภายนอก หรือป่วย กิจกรรมไม่น่าสนใจ กระบวนการยุ่งยาก ขาดข้อมูล ข้อจำกัดด้านเวลา งบประมาณ วิทยากร 8
งานวิจัยต่างประเทศ เสนอแนะการแก้ปัญหาสังคมในส่วนของเยาวชน 1.ต้องกำหนดคุณธรรมที่เหมาะสมกับวัย ได้แก่ วัยอนุบาล ฝึกให้รู้จักถูก ผิด ชั่ว ดี และควบคุมอารมณ์ได้ วัยประถม ฝึกให้ประหยัด มีวินัย และใฝ่เรียนรู้ ส่วนวัยรุ่นมัธยม สอนให้รู้จักอัตลักษณ์ทางเพศ และอัตลักษณ์ทางสังคม 2.ต้องสอนคุณธรรมหลัก ที่เป็นพื้นฐานของคุณธรรมตัวอื่นได้แก่ ความรับผิดชอบ ความเป็นพลเมืองดี ความน่าเชื่อถือไว้ใจได้ ความซื่อสัตย์ การเคารพสิทธิผู้อื่น ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความขยันอดทนและเอาใจเขาใส่ใจเรา เมตตาเพื่อนมนุษย์ 3.ต้องใช้การเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์ ให้เด็กรู้จักคิด ลงมือทำ เกิดความรู้สึกที่ดี เน้นปรัชญาการสอนเชิงบวก "เมื่อรู้สึกต่อตนเองในทางที่ดีจะทำให้กระทำในทางสร้างสรรค์ และหาทางเลือกที่ดีเสมอไม่ว่าจะทำอะไร"
สหรัฐอเมริกาใช้ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม ตัวชี้วัดตัวที่ 1 ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัดตัวที่ 2 จัดการเรียนการสอนคุณธรรมให้ครอบคลุมทั้งการคิด พฤติกรรมที่ลงมือกระทำ และเกิดเป็นความรู้สึก ตัวชี้วัดตัวที่ 3 ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก ตัวชี้วัดตัวที่ 4 สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนที่อบอุ่น
ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม ตัวชี้วัดตัวที่ 5 สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่นักเรียน ตัวชี้วัดตัวที่ 6 การสอนทุกวิชาให้สอนอย่างมีความหมาย สอดแทรกคุณธรรม และให้เกียรตินักเรียน ตัวชี้วัดตัวที่ 7 กระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวชี้วัดตัวที่ 8 กระตุ้นครูทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม ตัวชี้วัดตัวที่ 9 สร้างกิจกรรมนักเรียนในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม ตัวชี้วัดตัวที่ 10 ขอความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนการทำดีของลูก ตัวชี้วัดตัวที่ 11 การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนให้ประเมินจากพฤติกรรมของเด็กนักเรียน
การขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2550 1.ปรับระบบบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาให้คล่องตัว และขอให้มีกลุ่มงานการศึกษาเอกชนในทุกเขตพื้นที่การศึกษาและให้โควต้าร้อยละ5 เข้าร่วมรับการอบรม ผล : สพฐ.เห็นชอบในหลักการแล้ว 2.ให้ครอบครัวครูเอกชนได้เข้าร่วมโครงการ หลักประกันสุขภาพ ได้ประชุมสอบถามความพึงพอใจของการใช้บริการ 6
การขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2550 3.การพัฒนาครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน -ครม.อนุมัติเงินอุดหนุนปรับเพิ่มเงินเดือนครูตามวุฒิการศึกษาทั้งปีงบประมาณ2550และ2551 ได้รับอนุมัติปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัวใหม่ตลอด3ปีตั้งแต่ปี2550ถึง2552 4.ติดตามการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน -ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกมธ. คาดประกาศใช้ปลายปี2550แน่นอน 7
การขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2550 5.ตั้งคณะทำงานเตรียมยกร่างระเบียบและกฎกระทรวงที่มีอยู่ทั้งหมด -ยกเลิกฉบับที่ล้าสมัยรวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบ -คาดว่าจะร่างกฎหมายประกอบ พ.ร.บ.การศึกษาเอกชนฉบับใหม่ได้ ในปลายปี2550นี้ 6.ให้ประสานกระทรวงการคลังแก้ไขปรับลดการประเมินค่ารายปีสำหรับโรงเรียนเอกชนซึ่งต้องจ่ายภาษีโรงเรือนในอัตราที่สูงเท่ากับธุรกิจ ในขณะที่โรงเรียนรัฐไม่ต้องจ่าย 10
การขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2550 7.จัดทำระบบและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับโรงเรียนเอกชนที่เก็บค่าเล่าเรียนลอยตัวโดยไม่รับเงินอุดหนุน จำนวน 30 โรงเรียน และรวมโรงเรียนนานาชาติ -ให้โรงเรียนเข้มแข็ง คล่องตัว และมีคุณภาพสูง -สนับสนุน โรงเรียนที่มีคุณภาพสูงให้ลอยตัวได้อีก 8.สช.ตั้งคณะเตรียมความพร้อมของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อรองรับ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา จะประกาศใช้ในปี2550 12
การขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2550 9.ครม.อนุมัติงบ2551งบอุดหนุนโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของ สถาบันปอเนาะ ตาดีกาและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 10.ได้ตกลงกับครม.สำหรับการจัดระบบช่วยเหลือโรงเรียนและนักเรียนที่ประสบอุทกภัย เพื่อของบฯสนับสนุนเงินทุนการศึกษา -ผลครม.ได้จัดสรรให้แล้วในการช่วยนักเรียนที่ประสบอุทกภัย ปี2550 14
นโยบายการขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนในปี2551 1. รับข้อเสนอ10ข้อของสมาคมฯปี2550มาสานต่อให้สำเร็จ 2. ควรจัดประชุมผู้บริหารสมาคมทุกประเภทเพื่อสร้างเครือข่ายแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างน้อยปีละ1ครั้ง 3. ให้วางระบบและของบกลางพัฒนาครูสอนศาสนาอิสลามและดำเนินงานร่วมสพฐและศอบต.แก้ปัญหาการศึกษาภาคใต้ 4.ให้ประสานสคบศ.พัฒนาผู้บริหารและครูตามโครงการกระจายอำนาจสู่สพท.และสถานศึกษา 5.ให้จัดทำคู่มือและประชุมทำความเข้าใจเขตพื้นที่และผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนรองรับพรบ.สช.ฉบับใหม่
โจทย์ท้าทายกศน.: ภาวะของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสายตาคนทั่วไป 1.สังคมส่วนใหญ่มองการศึกษานอกระบบเป็นทางเลือกสุดท้าย ไม่นิยมเรียน ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยลดลง 2.สังคมมองผลผลิตของการศึกษานอกระบบยังไม่มีคุณภาพ 3.กลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบเป็นผู้ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจ และย้ายถิ่นสูง ไม่สามารถเข้ารับบริการ ร่วมกิจกรรมได้ต่อเนื่อง
โจทย์ท้าทายงานกศน. ภาวะวิกฤตของการศึกษานอกระบบในสังคมไทย 4.ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน/ผู้จัดบริการ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ไม่เท่ากัน 5. กระแสโลกาภิวัตน์และวัตถุนิยม ทำให้ข้อมูลไหลบ่าเข้าถึงประชาชนได้เร็วและหลากหลาย ทำให้ศีลธรรมเสื่อม การจัดการเรียนรู้ให้เป็นคนดีทำได้ยากขึ้น 6. คนทั่วไปไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
โจทย์ท้าทายงานกศน. 7. การบริหารจัดการในระดับสำนักที่ไม่เป็นนิติบุคคลตามโครงสร้าง ปฏิรูประบบราชการ2546 ทำให้ฐานะหน่วยงานเป็นเพียงสำนักขนาดใหญ่ ตัดสินใจนิติกรรมไม่ได้ ไม่มีอธิบดี/เลขาธิการและรองฯช่วยจัดการ 8. ขาดกฎหมายรองรับการบริหาร ทำให้ขาดความขัดเจนในภารกิจขอบข่ายหน้าที่และอำนาจบังคับ 9. ยังติดยึดแนวคิดจัดการศึกษาเอง ทำให้ไม่ประสานส่งเสริมหน่วยอื่นเข้ามาร่วมทำ ขาดแนวคิดจัดการในรูปเครือข่าย 10. ประเด็นต้องถ่ายโอนภารกิจไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังร้อนแรง ขาดความชัดเจน
โจทย์ท้าทายงานกศน. 11.บุคลากรของกศน.ยังขาดทักษะและประสบการณ์ในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องการพัฒนากำลังคนโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม วิสัยทัศน์ใหม่ของการการศึกษายุคเทคโนโลยีใหม่ 12. ยังขาดการขับเคลื่อนอย่างใช้ยุทธศาสตร์และมีพลัง ให้การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นวาระแห่งชาติ 13.ผู้บริหารและทีมงานกศน.ต้องการการพัฒนาทักษะการบริหารและบริการลูกค้ายุคใหม่อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นมืออาชีพ
โอกาสของกศน. จัดการศึกษาตลอดชีวิต 1. ในอนาคตสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุ กลุ่มลูกค้าใหญ่จะเน้นการศึกษาผู้ใหญ่สูงอายุ ต้องจัดให้ง่าย สะดวก ความรู้รอบด้าน และเน้นคุณภาพชีวิต 2. ยังมีกลุ่มคนไทยในต่างประเทศที่ต้องการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน อ่านออกเขียนได้เป็นภาษาไทย จะนำคนไปจัดในต่างแดน หรือส่งความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต 3. กลุ่มแรงงานวัยทำงาน15ถึง59ปี โดยเฉพาะกลุ่มหนุ่มสาวโรงงาน ยังต้องการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับทักษะและประสบการณ์ให้เหมาะกับงาน ขึ้นอยู่ที่วิธีจัดการความรู้ให้คนเหล่านี้เข้าถึงโดยทำงานไปเรียนไป ได้อย่างไร
ข้อเสนอแนะช่วยกศน. ฝ่าวิกฤต 1. ผู้บริหารกศน ข้อเสนอแนะช่วยกศน.ฝ่าวิกฤต 1. ผู้บริหารกศน. ต้องมีองค์ความรู้ขั้นต่ำ 5 ประการ 1.นโยบายและผลงานบริหารของกศน.ปี2550และ2551 2.จัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารกศน. 3.ทิศทางการศึกษาในโลกยุคใหม่และอนาคต 4.แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาตลอดชีวิต 5. ทักษะการจัดการและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
จะฝ่าวิกฤตของกศน.ได้อย่างไร ต้องวางจุดยืนการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ให้กศน.เป็นตัวหลักเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาระดับชาติ วิเคราะห์จากบทบาทภารกิจความสำเร็จของการดำเนินงาน มองทิศทางแนวโน้มการศึกษาของโลกมาปรับแนวของไทย วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนใหม่ ทีมงานกศน.ช่วยกันระดมสมองเพื่อร่วมกันพัฒนาอย่างเป็นระบบ
แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาตลอดชีวิตยุคใหม่ คุณค่าการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย เหมาะกับคนยุคใหม่ ต้องใช้ความรู้มาพัฒนาตนเอง มีทักษะใหม่เกิดขึ้นต้องฝึกจึงจะมีประสิทธิภาพ หากมีความรู้ดีพอทำให้สร้างสรรค์งานใหม่เกิดขึ้น ทำให้ทำงานมีรายได้มากขึ้น ทำให้ประเทศฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาที่เผชิญอยู่ซึ่งต้องใช้สติปัญญาแก้ไข
กระบวนการสอนการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย เน้นให้เรียนรู้มากกว่าสอนให้รู้ ใช้วิธีเรียนรู้หลากหลายและรูปแบบใหม่ๆ จัดให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ตามศักยภาพเหมือนตัดเสื้อเฉพาะตัว ครูช่วยแนะนำและสนับสนุนมากกว่ามาบรรยายป้อนให้ ต้องใช้ศักยภาพของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีให้เข้าถึงองค์ความรู้ ต้องสร้างจุดเด่นของการศึกษาตลอดชีวิตคือ 1) การเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ รู้จากครู มีทางเลือกเรียนหลายทาง เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลายช่อง และ2) เพิ่มคุณภาพและปริมาณของสาระที่เรียน มีวิธีเรียนที่ดีกว่า เนื้อหาทันสมัยกว่า
ยุคใหม่ : การศึกษาในระบบเน้น ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ยุคใหม่ : การศึกษาในระบบเน้น ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน **การศึกษาการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยเน้นการกระจายให้เกิดการเรียนรู้ (KM Access)* การสอน ครู นักเรียน หลักสูตรเดียว รับทราบ รู้เท่าที่สอน มีตารางเรียน ใช้อุปกรณ์การสอน การเรียนรู้ ผู้สนับสนุน ผู้เรียนรู้ หลากหลายหลักสูตร ต้องลงมือทำ รู้เท่าที่อยากค้นหา เมื่อต้องการรู้ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการเรียนรู้
วิสัยทัศน์ใหม่การจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย 1. ต้องจัดให้มีความรู้และทักษะเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การศึกษาขั้นสูงขึ้น: อ่านออกเขียนได้, วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศและทักษะคอมพิวเตอร์ 2. ต้องฝึกทักษะเฉพาะเพื่อการเรียนรู้**** วินัยในการค้นหาเรียนรู้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยความอดทนและทะเยอทะยานใฝ่ฝัน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถทำงานทีมได้ เกิดทักษะในการค้นและสร้างความรู้
ลักษณะรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เรียนในห้องเรียนมีหลักสูตรตายตัว เรียนได้ตลอดชีวิต ครูคือแหล่งข้อมูล. ครูแนะนำแหล่งข้อมูล. นักเรียนต้องอาศัยครูบอก เรียนได้ด้วยลงมือเอง เรียนตามความสามารถของตนเอง เรียนรู้จากกลุ่มและตนเอง ต้องทดสอบเมื่อเรียนครบถ้วน วัดผลเพื่อจูงใจให้ก้าวไปข้างหน้า ผู้เรียนต้องเรียนวิธีเดียวกันทั้งห้อง ผู้เรียนมีวิธีเรียนที่หลากหลาย นักเรียนเรียนดีจะได้คำชมให้ทำดีต่อ ผู้เรียนเข้าถึงโอการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สรุปนโยบายงานเร่งด่วนของกศน.ในปีงบประมาณ 2551 (1) การเร่งพ.ร.บ.การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้เป็นแม่บทในการบริหารจัดการ (2) การสร้างรูปแบบและกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม (3)การสร้างความเข้มแข็งให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมจัด การศึกษาตลอดชีวิต โดย กศน. จะจัดเองร้อยละ20 สนับสนุนเครือข่ายจัดร้อยละ 80 (4) การสร้างระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อให้เกิด คุณภาพของการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
สรุปนโยบายงานเร่งด่วนของ กศน. ในปีงบประมาณ 2551 (5) เร่งประชาสัมพันธ์และให้บริการเทียบโอนผลการเรียน เทียบความรู้และประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษา (6) เร่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้เช่นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชน และจัดทำคลังข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ต (Portal Web) ให้คนเข้ามาเรียน e-learning ทั้งในรูปเรียนฟรี/ เรียนแบบลงทะเบียนได้หน่วยกิต/ เรียนตามอัธยาศัย (7) เน้นพัฒนาบุคลากรของ กศน. ให้รู้จักทำการตลาดและ การบริการลูกค้า
แผนงานใหม่ เริ่มใช้2551: แผนปฏิบัติการจัดการศึกษานอกโรงเรียนระยะ 5 ปีสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2550-2554 ในอนาคตสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุจำนวน 6 โครงการคือ 1.โครงการเรียนรู้ ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ 2.โครงการเสริมสร้างคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับ ผู้สูงอายุ 3.โครงการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ 4.โครงการส่งเสริมเครือข่ายพัฒนางานผู้สูงอายุ 5.โครงการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ 6.โครงการติดตามผลการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับผู้สูงอายุ
ข้อเสนอแนะสำหรับก.ค.ศ. บุคคลที่ค้างอยู่โดยเร็ว (1)เร่งออกกฎระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงาน บุคคลที่ค้างอยู่โดยเร็ว (2) มีการประชุมและพัฒนาอ.ก.ค.ศ.ทุกชุดสม่ำเสมอและทันเหตุการณ์ รวมทั้งมีทีมกลั่นกรองเรื่องก่อนเข้าที่ประชุม ก.ค.ศ.และนำเรื่องที่กรรมการมอบมาจัดการทำต่อโดยเร็ว (3) สร้างเครือข่ายรับฟังข้อร้องทุกข์และหาทางแก้ไขและป้องกันก่อนเกิดการชุมนุมประท้วง (4) จัดทำชุดฝึกอบรม และการเรียนทางไกลที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารงานบุคคลของวิชาชีพครู การดำเนินงานทางวินัยให้แก่ผู้บริหารการศึกษา และรายงานความก้าวหน้าผ่านสื่อและเว็บ (5) เร่งสะสางคดีที่ค้างและมีผู้ติดตามทำฐานข้อมูลเพื่อมิให้เกิดเหตุซ้ำรอยเดิม
นี่ใช่หรือไม่ ลูกค้าของท่าน นี่ใช่หรือไม่ ลูกค้าของท่าน Thank you for your attention. 50