งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ
การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ วปอ.43) หลักสูตร วปอ วันอังคารที่ 5 มกราคม 2553 เวลา น. ณ ห้องเรียนรวมวปอ.

2 ประเด็นที่ 1 การศึกษาคืออะไรกันแน่ มีกี่ประเภท กี่ระดับ
มีปัจจัยเกี่ยวข้อง ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง 2

3 การศึกษาการศึกษาคืออะไร
“การศึกษาคือชีวิตและความเจริญงอกงาม" (John Dewey) “การศึกษาคือ การฝึกอบรมด้านจริยธรรมและการเสริมสร้างสติปัญญาให้แก่มนุษย์ “ (Aristotle) - "การศึกษาที่ไร้ความคิดก็เป็นการเสียแรงเปล่า“(ขงจื้อ) “กระบวนการช่วยคนวางรากฐานพัฒนาการของชีวิต ศักยภาพที่จะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง” (สภาการศึกษา) - สรุป การศึกษา เป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ 3

4 ประเภทของการศึกษา 3วิธีจัด:การศึกษาในระบบ,การศึกษานอกระบบ, และการศึกษาตามอัธยาศัย 3วิธีให้บริการ:การศึกษาภาคบังคับ, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, และ การอุดมศึกษา 4

5 เป้าหมายปลายทางการศึกษาเพื่อชีวิตและตลอดชีวิต
การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษา ในระบบ การศึกษา นอกระบบ การศึกษา ตามอัธยาศัย ผลทำให้เกิดการเรียนรู้ เพิ่มพูนสมรรถนะ 5

6 กระบวนการจัดการศึกษา
1. ผู้เรียน 2. หลักสูตรและเนื้อหาวิชา 3. อาจารย์ผู้สอน 4.สื่ออุปกรณ์เอกสารการเรียน การสอน 5.การประเมินผลการสอน 6

7 ธรรมชาติของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน
ภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน สื่อสารผู้อื่น สังคม สร้างเจตคติ ฝึกทักษะกลุ่ม ศิลปะ ดนตรี ลงมือทำ อารมณ์สุนทรียะ คิดสร้างสรรค์ กีฬา ลงมือฝึกให้ร่างกายเคลื่อนไหว ในสถานการณ์แข่งขัน วิทยาศาสตร์ คิดเป็นกระบวนการ ทดลอง ค้นหาความจริง ฝึกอาชีพ ลงมือฝึก รับผิดชอบ สร้างเอกลักษณ์วิชาชีพ ปรัชญา/ศาสนา รู้เข้ม สร้างศรัทธา ให้เข้าใจชีวิตและตนเอง เทคโนโลยี ซื้อมาใช้ เลียนแบบ ดัดแปลง สร้างเอง คณิตศาสตร์ ทำแบบฝึกหัด ตีโจทย์ให้แตก หาเหตุผล 7

8 กฎหมายการศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง80 ฉบับ
รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 มาตรา ๔๙ สิทธิการศึกษา12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สิทธิของผู้ยากไร้ ผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต กฎหมายที่เกี่ยวข้อง80 ฉบับ 8

9 จำนวนสถานศึกษาครู/อาจารย์นักเรียน/นักศึกษาในปี 2551 ภาพรวมทั้งประเทศ
นักเรียน นักศึกษา ภาพรวมทั้ง ประเทศ 39,574 721,255 16,589,517 กระทรวง ศึกษาธิการ  37,407   661,229 15,486,650 9

10 จำนวนสถานศึกษาครู/อาจารย์นักเรียน นักศึกษาในปี 2551 แยกตามสังกัดเฉพาะศธ.
กศน. 1,040 17,792 2,251,371 สช. 3,915 125,701 2,417,002 สพฐ. 31,821 417,889 8,025,702 สกอ. 226 71,927 2,110,417 สอศ. 404 27,825 681,434 10

11 งบรายจ่ายศธ.ปี2552จำนวน 330,069 ล้านบาท
งบรายจ่ายศธ.ปี2552จำนวน 330,069 ล้านบาท โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณจำนวน (ล้านบาท) 1. สำนักงานปลัดกระทรวง ,806 2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ,167 4. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ,644 5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ,869 6. หน่วยงานในกำกับฯ/องค์การมหาชน ,421          ปี2553งบศธ.345,665 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน20.3ของงบทั้งประเทศ  เพิ่มจากปี2552 อีก54,835 ล้านบาท (1.4%)  11

12 ขอบข่ายงานจัดการศึกษา
1.ครอบคลุมคนจำนวนมาก นักเรียนนักศึกษา 16 ล้านคน ผู้ปกครอง 32 ล้านคน รวม48ล้านคน 4ใน5ของประชากร 2.หลายระดับ อนุบาลถึงปริญญาเอก แต่ละระดับมีวิธีจัดเฉพาะ 3.หลายหน่วยงาน โครงสร้างขนาดใหญ่สถานศึกษาทุกประเภท 40,000แห่งทั้งส่วนกลางและทุกตำบล บุคลากร 720,000 คน 4.เห็นผลผลิตช้าและเป็นนามธรรมโดยใช้งบประมาณสูง 5.กระบวนการซับซ้อน มีตั้งแต่ตัวป้อน การผลิต ผลผลิต และปัญหาหลายส่วน ไม่รู้จะเน้น ป้องกัน แก้ไข เยียวยา จะทำอะไรก่อนหลัง 6.จุดอ่อนที่สุด ของการศึกษาไทยอยู่ที่ 2จุด 1) คิดและทำไม่เป็น และ 2) ไม่เรียนรู้ตลอดชีวิต 12

13 ทำไมการศึกษา คือปัจจัยกำลังอำนาจ แห่งชาติ
ประเด็นที่ 2 ทำไมการศึกษา คือปัจจัยกำลังอำนาจ แห่งชาติ 13

14 การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ เพราะ
การศึกษาเป็นเครื่องมือของการพัฒนาคุณภาพคน รู้พออ่านออกเขียนได้ รู้พอทำมาหากินได้ รู้เอาตัวรอดทันผู้คนในสังคม ต้องจัดการความรู้ในองค์กร สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ รู้ดีมากแข่งขันได้ในเวทีโลก 14

15 การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ เพราะ(2)เป็นเครื่องมือสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจความรู้ (Post Knowledge Based Society) 1. เอาตัวรอด อยู่อย่างยั่งยืน 2. ข้อมูลแบ่งปันอย่างเป็นธรรม เป็นธรรมในทุกเรื่อง 3. ลงทุนให้ครอบครองตลาด ตอบแทนคืนกำไรสู่สังคม 4. เข้าใจและรับผิดชอบ ห่วงและแบ่งปัน 5. ให้มากเข้าไว้ ให้จิตใจดีงาม 6. หลักใกล้ชิดอุดช่องว่าง หลักเปิดกว้าง 7.ลงทุนภาคเอกชน ร่วมกันสะสมร่วมทุน 8.สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา สังคมอุดมปัญญา 9. แลกเปลี่ยน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยน 15

16 1. ไทยต้องอิงเศรษฐกิจโลกจึงต้องทันโลก โดยลด
7 สิ่งที่เร่งประเทศไทยให้ต้องเป็นสังคมฐานเศรษฐกิจความรู้ : เพราะต้องแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก 1. ไทยต้องอิงเศรษฐกิจโลกจึงต้องทันโลก โดยลด หนี้สิน และสร้างการลงทุนเพื่ออนาคต 2. เร่งพัฒนาขีดความสามารถแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยี /บุคคล /การบริหารจัดการ และโครงสร้างพื้นฐาน 3. ไทยถูกกลุ่มศักยภาพสูงกว่ากด และถูกดันโดยกลุ่มต้น ทุนต่ำ 16

17 7 สิ่งท้าทายประเทศไทย ( ต่อ)
4. ไทยผูกพันกับอาเซียนมากที่สุด แต่กลุ่มนี้ไม่มี อำนาจต่อรอง 5. สังคมไทยบริโภคและวัตถุนิยม เป็นผู้ซื้อมากกว่า เป็นผู้ผลิตและผู้พัฒนา 6. ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ในมือชาวต่างชาติ เงินไหลออก 7. สถานการณ์การเมืองไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ 17

18 การศึกษาปัจจัยอำนาจ เพราะ (3) เป็นการลงทุนสร้างกำลังคนให้ตรงความต้องการของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1. ต้องการกำลังคนในสายอาชีวศึกษา 2. ต้องการการผลิตสายวิชาชีพที่มีทักษะทำงานได้ มากกว่าความรู้ในห้อง 3. ต้องการคนรอบรู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 4. ต้องการคนที่รักวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี สุนทรียะไทย 5. ต้องการมาตรฐานการศึกษาทัดเทียมทั้งในเมืองและชนบท 6. ต้องการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสนับสนุน 18

19 การศึกษาปัจจัยอำนาจ เพราะ (4)เป็นการสร้างประชาธิปไตยและสันติภาพ
นักเรียนนักศึกษาอายุ18ปีขึ้นไป ครู ผู้ปกครอง มีสิทธิในการเลือกตั้งผู้แทน ความสุขมวลรวมของประชาชนมาจากสังคมคุณภาพชีวิตดีมีสัมมาชีพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากการศึกษาที่ดี การศึกษาสอนสิทธิหน้าที่และการเป็นพลเมืองดี 19

20 ประเด็นที่ 3 เคยมีปรากฏการณ์ในความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษามาแล้วอย่างไร 20

21 ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา : สิ่งที่ได้เกิดแล้ว
(1) ได้ปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 2 ครั้งใหญ่ สมัยแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และสมัยที่สองในปี 2542 (2) สิ่งเปลี่ยนไปที่เห็นชัดคือโครงสร้างและระบบบริหารราชการใหม่ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เมื่อประเทศไทยได้ปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี2546 (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก้าวหน้ามากในภาคเอกชน และกลายเป็นตัวเร่งภาครัฐ ให้ต้องปรับตัวตาม โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ 21

22 ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา:สิ่งที่ได้เกิดแล้ว
(4) มีการนำเครื่องมือและแนวคิดใหม่ของการจัดการธุรกิจ มาใช้พัฒนาการจัดการศึกษา และ ทรัพยากรมนุษย์ เช่น Road Map Strategic Planning, Balanced Score Card, Best Practices, Bench Marking, Key Performance Indicators, Corporate Social Response, หลักเศรษฐกิจพอเพียง 22

23 ความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา:สิ่งที่ได้เกิดแล้ว
(5) ยังคงต้องอิงกฎหมาย หลายฉบับ ซึ่งกลับเป็น ตัวสร้างประเด็นปัญหา เช่น มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ขอแยกมัธยมออกจากประถมในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (6) การเรียนรู้ด้วยตนเองที่หวังจะได้จากปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน/ความสนใจฝึกอาชีพ ยังไม่เห็นผลจริงจัง 23

24 เมื่อประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษาของไทยแล้ว
ประเด็นที่ 4 เมื่อประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษาของไทยแล้ว ผลเป็นอย่างไร 24

25 1.ใช้ดัชนีIMD จัดอันดับความสามารถการแข่งขัน ของประเทศไทยใน ปี 2547-2552
ปัจจัยหลัก 1.สมรรถนะเศรษฐกิจ 2.ประสิทธิภาพภาครัฐ 3.ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ 4.โครงสร้างพื้นฐาน อันดับโดยรวม จำนวนประเทศ สมรรถนะการศึกษา *สมรรถนะการศึกษา รวมอยู่ในปัจจัยที่4.โครงสร้างพื้นฐาน พบว่าปรับตัวล่าช้าและยังอยู่กลุ่มครึ่งหลังและรั้งท้าย 25

26 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ไทยลำดับ 21
2. วัดจากคะแนน"คณิต-วิทย์" TIMSS ปีล่าสุด 2550พบเด็กไทยเรียนหนักมากเป็นที่2ของโลก แต่อ่อน"คณิต-วิทย์" ได้ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ (มติชน 10 ธ.ค.51) ผลวิจัย Trends in International Mathematics and Science Study 2007, TIMSS ) โดยสมาคมการประเมินผลนานาชาติ (The International Association for Evaluation of Educational Achievement) ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ม.2 ในช่วงปี จำนวน 59ประเทศ และประเมินทุก 4 ปี คณิตศาสตร์ไทยอยู่ในลำดับ 29 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ไทยลำดับ 21 26

27 3.World Bank วัดจากลักษณะการกระจายงบประมาณพบไทยไปทุ่มงบอุดมศึกษามากกว่ามัธยม
ประเทศส่วนใหญ่จะจัดสรรงบการศึกษาขั้นพื้นฐานมากกว่าระดับอื่นๆ รูปปิรามิด (ประเทศส่วนใหญ่, circa 1960) ฐานแคบลง เอเชียตะวันออก 1980s) รูปเพชร เอเชียตะวันออก ปัจจุบัน ปิรามิดหัวกลับ (สหรัฐอเมริกา) งบอุดมศึกษามากกว่ามัธยม(ไทย) อุดมศึกษา มัธยม ประถม ที่มา: World bank 2003 27

28 **จุดอ่อนที่สุดของประเทศไทยคือด้านการศึกษา
4. ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินประเทศไทย ในปี2549 พบว่า: การศึกษาคือจุดอ่อนของประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ) สรุปงานสัมมนาประจำปี 2549 ของธปท.ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการก้าวสู่เศรษฐกิจเอเชียยุคใหม่ ” (จากข้อมูลร่วมกับธนาคารโลก) **จุดอ่อนที่สุดของประเทศไทยคือด้านการศึกษา ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย 28

29 5.ศ.วิจิตร ศรีสะอ้าน ในฐานะประธานคณะปฏิรูปฯ สรุปผลสำเร็จ10ปีปฏิรูปการศึกษาไทย ปี2542 ถึง2550
1.มีหลักประกันด้านเจตจำนงของรัฐให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน บรรจุในรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 2.ทุกพรรคการเมืองมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้เกิดความหวังปัจจัยเกื้อกูล 3.ประชาชนมีส่วนร่วมเรียกร้องให้จัดมีประสิทธิภาพเช่นการสอบ O-Net ให้ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ 4.ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและครูออกมาขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นวาระแห่งชาติ 5.ปัจจัยการบริหาร ได้รับงบอันดับ 1 ของประเทศติดต่อมาทุกปี 29

30 5.รมว.ศธ.วิจิตรสรุปผลสำเร็จ 10ปีของการปฏิรูปการศึกษา ปี2550 (ต่อ)
6. ความก้าวหน้าของการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนมากที่สุดคือ มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก ใช้อ้างอิง ตอบสนองต่อสภาพปัญหาทางการศึกษา และเป็นเครื่องมือกำหนดนโยบาย เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้และการกระจายอำนาจ ซึ่งยึดสถานศึกษาเป็นฐาน และไม่ต้องการให้ สมศ. มองข้ามสถานศึกษา เพราะผลของสถานศึกษาเกิดที่สถานศึกษา ศธ.และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนเล็กลง 30

31 6.งานวิจัยสภาการศึกษา ชี้สภาวะการศึกษาไทยล่าสุด ปี มีปัญหาทั้ง”คุณภาพ-ปริมาณ” (มติชน 1 กันยายน 2551) มอบวิทยากร เชียงกุล วิจัย เรื่อง "สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอภาค และคุณภาพของการศึกษาไทย" สรุปภาพรวมการศึกษาไทย ยังมีปัญหาทั้งปริมาณ และคุณภาพ 1. พบว่าประชากรในวัยเรียน 3-17 ปี มีโอกาสได้รับการศึกษาเป็นสัดส่วนต่อประชากรสูงขึ้นจาก 85.31% ในปีการศึกษา 2549 เป็น 88.77% ในปี 2551 31

32 6. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551 (วิทยากร เชียงกูล)
2. จำนวนประชากรวัย 3-17 ปี ที่หายไปไม่ได้เรียนในปี 2551 สูงถึง 11.23%หรือ 1.6 ล้านคน ของประชากรวัยเดียวกัน ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดการศึกษาภาคบังคับ9 ปี แสดงว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียน และออกกลางคัน ไม่ได้เรียนต่อในช่วงชั้นต่างๆ มาก ข้อมูลออกกลางคันปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า มีนักเรียนออกกลางคันในทุกระดับชั้นรวม 1.19 แสนคน หรือ 1.4% 32

33 6. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-51(วิทยากร เชียงกูล)
3. จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีในปี มีประมาณ 2.4 ล้านคน ปริญญาโท 1.8 แสนคน และปริญญาเอก 16,305 คน จบปริญญาตรี ปีละ 2.7 แสนคน ว่างงานปีละ 1 แสนคน จุดนี้ทำให้ผู้เรียนระดับต่ำกว่าปริญญาตรีในปี2550ลดลง เพราะสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ขยายการเรียนระดับปริญญาตรี และสูงกว่ามากขึ้น เนื่องจากนิยมเรียนให้ได้ปริญญา 33

34 6.ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551 (วิทยากร เชียงกูล)
4. การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จากการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศ อันดับของไทยมีแนวโน้มต่ำลงมาตลอด(IMD) ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดคือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการศึกษา และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ จากการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องมาตรฐานครู ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า สถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.2 หรืออยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง 34

35 6. ชี้สภาวะการศึกษาไทยปี 2550-2551(วิทยากร เชียงกูล)
ข้อเสนอแนะการพัฒนาการศึกษาไทย 1. ต้องจัดการศึกษาให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ให้เรียนรู้ใหม่ปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์ จำนวนประชากรไทยจะเพิ่มในอนาคต โครงสร้างอายุจะเปลี่ยนไป คือ มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี เป็นสัดส่วนสูงขึ้น สัดส่วนคนวัยทำงาน และวัยเด็กลดลง เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมโลกมีปัญหามากขึ้น ต้องจัดการศึกษา แบบเน้นคุณภาพ เข้าใจปัญหา และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น 35

36 6.ข้อเสนอแนะสภาวะการศึกษาไทยปี 2550-51 (วิทยากร เชียงกูล)
2. ควรลดขนาดโครงสร้างการบริหารการศึกษา 3. ลดบทบาทของการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่ที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และส่วนกลาง 4. กระจายอำนาจ ให้มีการบริหารแบบใช้ปัญญารวมหมู่ 5. ปฏิรูปการจัดสรร และการใช้งบประมาณให้เป็นธรรม 36

37 6.ข้อเสนอแนะสภาวะการศึกษาไทยปี2550-2551 (วิทยากร เชียงกูล)
6. ปฏิรูปด้านคุณภาพประสิทธิภาพ และคุณธรรม ของครูอาจารย์ 7. เปลี่ยนแปลงวิธีวัดผลสอบแข่งขัน และการคัดเลือกคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยรัฐ 8. ปฏิวัติการศึกษา โดยสร้างความเสมอภาค โดยเฉพาะต้องทุ่มงบฯพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ใช่ทุ่มงบฯ กับโครงการเมกะโปรเจ็คต์ 37

38 2. เด็กยังเล็กไม่สามารถดูแลตัวเองได้
7. สวนดุสิตโพลล์ สำรวจปัญหาอุปสรรค ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (8 กันยายน 2551) ระดับชั้นอนุบาล 1.สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ 2. เด็กยังเล็กไม่สามารถดูแลตัวเองได้ 3. ครูมีน้อยไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ 4. ศักยภาพของครูผู้สอนและการเตรียมพร้อมใน การสอนของครู 5. การเรียนรู้พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน 38

39 7. สวนดุสิตโพลล์ สำรวจปัญหาอุปสรรคของการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (8 กันยายน 2551)
ระดับชั้นประถมศึกษา 1.ศักยภาพของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน และขาดความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2. เด็กขาดความกระตือรือร้น ไม่ให้ความสำคัญในการเรียน ปัญหาเรื่องเด็กขาดทักษะ คิดไม่เป็น และไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. ครูไม่มีเวลาดูแลเด็กได้เต็มที่ และภาระงานมีมาก 4. วุฒิการศึกษาและความรู้ความสามารถของครูผู้สอนไม่ตรงกับวิชาที่สอน 39

40 7. สวนดุสิตโพลล์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา (8กันยายน2551)
1.เด็กไม่ตั้งใจเรียน ขาดความสนใจ และสมาธิในการเรียนมีน้อย 2.หลักสูตรการเรียนการสอนไม่เหมาะสม กับวัยของเด็ก 3.สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ 4. สภาพสังคม และสื่อต่างๆ ที่มอมเมาเยาวชนจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง 5. เด็กสนใจกิจกรรมมากเกินไปจนไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน 40

41 7. สวนดุสิตโพล เรื่องเร่งด่วนที่ควรแก้ไข (8 กันยายน 2551)
อันดับ1 ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก 2. ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ 3. ควรมีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอเหมาะสมกับวิชาที่เรียน 4. สร้างพื้นฐานคุณธรรม เริ่มต้นจากครอบครัว ปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้มากขึ้น 41

42 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สกอ.ควบคุมคุณภาพไม่ได้
8. เวทีอภิปราย“อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย” จัดโดยที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย(คมชัดลึก8 กย.51) 1. จำนวนสถาบันอุดมศึกษาไทยมีมากถึง260 สถาบัน ทำให้แย่งนักศึกษาเข้าเรียน ส่งผลต่อคุณภาพลดลง 2. ตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพอุดมศึกษาไทยคือ ไม่ติดอันดับ1ใน 500ของโลก (ปี2552 จุฬาติดลำดับ138) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สกอ.ควบคุมคุณภาพไม่ได้ แต่ละมหาวิทยาลัยมีพ.ร.บ.ของตนเอง กระบวนการได้มาซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย เป็นระบบของอาจารย์เลือกคณบดี คณบดีเลือกอธิการบดี และอธิการบดีเลือกสภามหาวิทยาลัย จึงอนุมัติได้ง่าย 42

43 8. เวที “อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย” (ต่อ)
3. อาชีวศึกษาจะเปิดสอนระดับปริญญาตรีอีกกว่า 480 แห่ง 4. น่าห่วงถึงวิกฤติอุดมศึกษาไทย ดูจากโฆษณาว่า “จ่ายครบ จบแน่” รวมถึงการเปิดศูนย์การศึกษามากมาย 5. การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)รอบ 3 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดลำดับสถาบันไหนคุณภาพดี เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดสรรงบประมาณ 43

44 8. เวที“อุดมศึกษา : ทางรอดแห่งวิกฤติของสังคมไทย”
6. แต่ละคณะจัดการเรียนการสอนแต่สิ่งที่เคยสอนในอดีต ไม่คำนึงถึงการปรับเปลี่ยนเข้าสู่สภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน 7. รอยต่อระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษาไม่เชื่อมโยงกัน ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต 8. ต้องสร้างนักศึกษาให้มีภูมิต้านทานความคิด เวลานี้นักศึกษาถูกชี้นำไปในทางที่ไม่รู้จักคิดอย่างมีเหตุและผล 44

45 -โรงเรียนถูกถ่ายโอนจากโครงสร้างรูปแบบกรมแบบเดิม ไปสังกัดเขตพื้นที่
9.อาการป่วย10อย่างที่ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย (โดย ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการสกอ. มติชน13พ.ย.2551) 1.คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ : ต้องปฏิรูปการเรียนรู้ -สมศ.หรือผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ (NT) ต่างพบนักเรียนไทยส่วนใหญ่มีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน 2.ปัญหาของการปฏิรูปโครงสร้าง -มีปลัดกระทรวงถึง 5 คน -โรงเรียนถูกถ่ายโอนจากโครงสร้างรูปแบบกรมแบบเดิม ไปสังกัดเขตพื้นที่ 45

46 9. อาการป่วย10อย่างที่ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย (โดย ภาวิช ทองโรจน์ มติชน13พ.ย.2551)
3.ปัญหาของครู -วิชาชีพครู ตกต่ำ ผลิตครูมากถึงปีละ12,000 คน ในขณะที่อัตราบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3,000-4,000 คน - ขาดแคลนครูในสาขา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา -ครูเป็นหนี้ เพราะโครงสร้างเงินเดือนในระบบราชการที่โบราณ 4.ขาดแคลนบัณฑิต แต่บัณฑิตที่มีอยู่ก็ยังตกงาน - ขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม 46

47 9. อาการป่วย10อย่างที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์ มติชน13พ.ย.2551)
5.ปัญหาของอาชีวศึกษา - ความนิยมที่ตกต่ำ ปัญหาด้านคุณภาพ วัฒนธรรมแปลกที่ไม่พบในที่ใดในโลก คือ ยกพวกตีกัน - กำลังจะมี "สถาบันอาชีวศึกษา" ในสถานภาพของอุดมศึกษาเต็มรูปแบบเกิดขึ้นอีก ทั้งที่ประเทศไทยมีอุปทานด้านอุดมศึกษามากกว่าอุปสงค์ 47

48 9. อาการป่วย10อย่างที่ทำให้ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์ มติชน13พ.ย.2551)
6.วิทยาลัยชุมชน - เดิมจะผนวกอาชีวศึกษาชั้นต้นให้เป็นส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้อาชีวะชั้นสูงรวมเป็นส่วนของอุดมศึกษา คือไม่ต้องมีแท่งอาชีวะ จึงคิดสร้างวิทยาลัยชุมชน - แต่แล้วอาชีวศึกษายังคงอยู่ จัดโครงสร้างเป็นองค์กรหลัก แยกออกจากการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชนที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว รวม 20 แห่ง - ความไม่ชัดเจนของสถานภาพ และพันธกิจที่มีบางส่วนซ้ำซ้อนกับอาชีวศึกษา ยังมีความคาดหวังของชุมชนที่คิดว่ามีอุดมศึกษาอยู่ในพื้นที่ และอาจมีโอกาสพัฒนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยในที่สุด 48

49 9. อาการป่วย10อย่างที่ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์ มติชน13พ.ย.2551)
7.ปริญญาเฟ้อ "ไร้ทิศทาง ซ้ำซ้อน ขาดคุณภาพ ขาดประสิทธิภาพ" -20ปีที่ผ่านมา คนไทยเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาต่ำเพียง 14% ของจำนวนประชากรวัยอุดมศึกษา ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษา255 แห่ง โอกาสเข้าสู่อุดมศึกษาจึงเปลี่ยนไป เป็นใกล้ 50% 8.การขาดวิจัยและพัฒนา ขาดนวัตกรรม และปัญหาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม“ -ปี 2548 อาจารย์50,000 คน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพียง 2,000 ฉบับ ในจำนวนนี้ 90% เกิดมาจากมหาวิทยาลัยเพียง 8 แห่ง เฉลี่ยตีพิมพ์เพียงคนละ 0.12 บทความ ถ้าเปรียบเทียบประเทศอื่น อาจารย์จะตีพิมพ์คนละไม่ต่ำกว่า 2 ฉบับต่อปี มากกว่าที่ดีที่สุดของไทย ถึง 20 เท่า 49

50 9. อาการป่วย10อย่างที่ต้องผ่าตัดใหญ่การศึกษาไทย(โดย ภาวิช ทองโรจน์ มติชน13พ.ย.2551)
9.การปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา -ข้อจำกัดของการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม และไม่เป็นธรรม -มหาวิทยาลัยที่ได้งบประมาณน้อยที่สุดได้50 ล้านบาท ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่ได้มากที่สุด ได้เกิน 5,000 ล้านบาท -ความต่างกันมากระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ และของเอกชน 10.เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา -สารสนเทศที่ใช้ในการศึกษา ไทยใช้คอมพิวเตอร์เพียง43เครื่องต่อประชากร 1,000 คน ญี่ปุ่นใช้ 477 เครื่อง เกาหลีใต้ 324 เครื่อง ไต้หวัน 314 เครื่อง และมาเลเซีย 137 เครื่อง -ขาดแคลนแหล่งเรียนรู้โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบอีเลิร์นนิ่ง (e-learning) 50

51 10.วาระเร่งด่วนของประเทศไทย10เรื่อง (ที่มา: ชัยพร ชยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สสว. ตุลาคม 2552 )
1. เศรษฐกิจภายในประเทศ กำลังถดถอยลง 2. การลงทุนต่างประเทศ ถูกคู่แข่งขันแย่งไป 3. นโยบายของรัฐและสถาบันการเงิน ขาดความน่าชื่อถือ 4. ความสงบสุขและมั่นคงทางสังคม ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น 5. ประสิทธิภาพในการผลิต ขาดการช่วยเหลือ 6. ระบบการเงินของประเทศ กำลังเข้าสู่วิกฤต 7. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศ ตกต่ำเป็นที่สุด 8. การพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ ขาดการเอาใจใส่ 9. ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทวีความรุนแรง *10.ระบบการศึกษาของประเทศ ปัญหาเรื้อรัง 51

52 สรุป10 ผลประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษา พบว่าประเมินวิธีไหน ก็ยังหวังพึ่งไม่ได้
(1) ไทยต้องแข่งขันระหว่างประเทศ แต่ศักยภาพ ยังต่ำหลายด้าน (การศึกษากลายเป็นตัวฉุด) (2) มีการจัดทำตัวชี้วัดปัจจัยความสำเร็จหลายสูตร ไทยต่ำเกือบทุกตัว (จะใช้ตัวชี้ใดเป็นตัวหลัก?) (3) ปัจจัยไทยอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการศึกษา (ที่มีจุดอ่อน) บัณฑิตวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีร้อยละ30 ขณะที่สายสังคม ร้อยละ70 แต่จบมาแล้วตกงาน เพราะผลิตไม่ตรงตลาด และคิดไม่เป็นทำไม่เป็น 52

53 ประเด็นที่ 5 มีข้อเสนอแนะ ข้อเรียกร้องอะไรบ้าง
จากใครบ้าง เพื่อช่วยจัดการศึกษาให้ดีขึ้น 53

54 ข้อเสนอของ กพร.ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2548-2551
1. การจัดการศึกษาต้องใช้หลักการเพิ่มปริมาณคนเข้าสู่การศึกษาและการเพิ่มคุณภาพการศึกษา 2. หาทางให้นักเรียนได้เรียนต่อ โดยตั้งกองทุนกู้ยืมรูปแบบใหม่ Income Contingency Loan (ICL) 3. ตัวชี้วัดของศธ.ควรเน้น 4 ตัว คือ - ลดอัตราการไม่ศึกษาต่อ/ - เพิ่มจำนวน นักศึกษาที่จบแล้วมีงานทำ / -การเพิ่มคุณภาพการศึกษา / - ผลิตตามความต้องการของตลาด 54

55 ข้อเสนอของ กพร.ต่อกระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ)
4. ต้องทำงานเชิงรุก ทำระบบการศึกษาให้ทันสมัย และปรับทัศนคติเดิมจากการทำงานโดยยึดกฎหมายเป็นตัวนำ มาเป็นเน้นผลสำเร็จของการให้การศึกษาอย่างแท้จริง 5. ควรสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนที่มีความสามารถเข้าเรียนในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับตนเอง มิใช่ตัดสินใจจากเงินเดือนรายได้ ค่าตอบแทน หรือค่านิยมของสังคมเป็นสำคัญ 6. ควรช่วยเหลือให้นักเรียน ที่ต้องการศึกษาต่อได้มี โอกาสในการศึกษาต่อให้มากขึ้น 55

56 ปัญหาศธ. : อะไรคือ ALL FOR EDUCATION
ข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชน เพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)ปี2550 1)รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง 2)จัดให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาพื้นฐาน โรงเรียนชนบทจัดภาคบังคับครบ9ปี และจัดสวัสดิการให้แก่เด็กยากจนและพิการอย่างทั่วถึง 3)ประกันคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมให้ชุมชนกลุ่มวัฒนธรรม มีสิทธิจัดการศึกษาพื้นฐานในชุมชนเองได้ ยืดหยุ่นสัดส่วนหลักสูตรกลางกับท้องถิ่น 4)การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาและจัดการให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนได้ ปัญหาศธ. : อะไรคือ ALL FOR EDUCATION 56

57 ประเด็นที่ 6 ข้อเสนอใหม่ มาแรง โปรดปฏิรูปรอบใหม่
จะแก้ไขอะไร และแก้ตรงไหน จะทำอะไรก่อน 57

58 สรุปปัญหา 10 ปี ปฏิรูปการศึกษา: เปลี่ยนแปลงมาก แต่ยังไม่เกิดผลดีจริง สาเหตุใด
1. ขาดความต่อเนื่องและไม่เห็นภาพรวม เปลี่ยนนโยบายไปตามกระแสการเมือง ทำให้รออัศวินมาเนรมิตสูตรสำเร็จโดยเร็ว 2.ความเข้มแข็งรู้รักสามัคคีระหว่าง5ทีมองค์กรหลักในหน่วยงานขนาดใหญ่มาก ใครคือหัวหน้าชุดตัวจริง 3.มีต้นแบบแล้ว แต่ยังไม่ถอดแบบขยายผล 4. หลายเป้าหมาย ไม่จัดอันดับ หลายความฝัน ทั้งฝันสลาย 5.ทำงานหนัก แต่คนทั่วไปไม่รับรู้ด้วย ขาดการดึงเข้ามามีส่วนร่วม 6.กฎหมายและโครงสร้างไม่นิ่ง (เสียที) 58

59 การบริหารการศึกษาตามนโยบายฝ่ายการเมือง
10ปีที่ผ่านมากับ12รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัญจะ เกสรทอง : พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542เริ่มบังคับใช้ 2544 สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล:โรงเรียนสีขาว, การศึกษาคนพิการ 2544 ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย :วิทยาลัยชุมชน 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : ระยะสั้น ไม่ปรากฏชัด 2544 นายสุวิทย์ คุณกิตติ : ระยะสั้น ไม่ปรากฏชัด 59

60 การบริหารการศึกษาตามนโยบายฝ่ายการเมือง
2545 ปองพล อดิเรกสาร: พ.ร.บ.การศึกษาฉบับแก้ไขพ.ศ.2545 2546-ต้น2548 อดิศัย โพธารามิก : โครงสร้างยุบ14กรม เหลือ5องค์กรหลัก,ปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สงครามยาเสพย์ติด 2548จาตุรนต์ ฉายแสง :1อำเภอ1ทุน, ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน, คุณภาพกลุ่มวิชาภาษา ปลาย2549 วิจิตร ศรีสะอ้าน :เพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คุณธรรม,เศรษฐกิจพอเพียง,ปัญหาภาคใต้ 60

61 การบริหารการศึกษาตามนโยบายฝ่ายการเมือง
2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ์ : เพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ศรีเมือง เจริญศิริ : ถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ปลาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 1) เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ 2) นโยบาย 3D: Democracyประชาธิปไตย, Decencyคุณธรรมจริยธรรม, Drugsยาเสพย์ติด และ 3. การศึกษาตลอดชีวิต:โครงการETV: Tutor Channel 61

62 เริ่มปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ในปี 2552
การศึกษามีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แต่ยังไม่ดีเพียงพอ ไม่ถูกใจผู้รับบริการ ผู้บริหารและครูทุกคนต้องได้รับการพัฒนาทักษะใหม่ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี ทุกฝ่ายเรียกร้องคุณภาพดี แต่ขอฟรีไม่อยากจ่าย (ประชานิยม?) ต้องปรับวิธีการการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา และการถ่ายโอนการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเร่งแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่ 12,000 โรง กระแสการปฏิรูปรอบใหม่ กำลังเริ่มเกิดขึ้นในปี2552 หลังพ.ร.บ.การศึกษา2542 ได้ ใช้มาครบ 10 ปี 62

63 ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เสนอ5ประเด็นปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ในปี 2552
1) เร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนให้สูงขึ้น 2) เร่งผลิตและพัฒนาครูให้เป็นครูดีและเก่ง มีจิตวิญญาณความเป็นครู แก้ปัญหาการขาดแคลนครู ๓) เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) เร่งสร้างโอกาสให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) เร่งผลิต/พัฒนากำลังคนให้ตรงความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะกำลังคนระดับกลางด้านช่างฝีมือ และกำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาขาดแคลน 63

64 สัมภาษณ์ สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการสกอ. ผู้กำกับคุณภาพมหา'ลัยไทย (4 พ. ย
สัมภาษณ์ สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการสกอ.ผู้กำกับคุณภาพมหา'ลัยไทย (4 พ.ย สยามรัฐ) 1.ปริมาณนักศึกษามากจริง ป.ตรีมากกว่า2ล้านคน กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)ในปี2552รัฐอัดฉีด11,000ล้านบาท 2.ต้องปรับกลไกดูแลคุณภาพ “จะตรวจสอบหลักสูตรรอบ2” ดูว่าปริญญาตรีของไทยเทียบมาตรฐานได้กับต่างประเทศหรือไม่ จะเน้นคุณภาพบัณฑิต -โดยสร้างTQFขึ้นมาใหม่(กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาแห่งชาติ) วางกรอบ 5 ด้านสำหรับหลักสูตรใหม่ในปี 2553ได้แก่(1)คุณธรรมจริยธรรม (2)ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ (3)ทักษะทางปัญญา (4)ทักษะทางสังคม และ (5)ทักษะด้านเทคโนโลยี -ส่วนหลักสูตรเก่าต้องปรับให้เป็นไปตามกรอบภายในปี 2555 64

65 สัมภาษณ์ สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการสกอ.
3. กระตุ้นด้วยการจัดกลุ่มมหา’ ลัย4 กลุ่ม ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยวิจัย (2) มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง (3) มหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนระดับปริญญาตรี และ (4)วิทยาลัยชุมชน ในมกราคม2553นี้ จะให้สภามหาวิทยาลัยทุกแห่ง เป็นผู้อนุมัติว่ามหาวิทยาลัยของตนเองจะอยู่กลุ่มใด 4.สร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดม ศึกษา 5.จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายใน2015 65

66 ข้อเสนอนักวิชาการ (รศ.สมพงษ์ จิตระดับ17พฤศจิกายน2552)
ข้อเสนอนักวิชาการ (รศ.สมพงษ์ จิตระดับ17พฤศจิกายน2552) 1.นโยบายรัฐบาลที่เน้นปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเน้นโครงสร้างและการบริหาร ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และพัฒนาครูเพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ผิดพลาดซ้ำรอยเดิมที่คือเน้นปฏิรูปโครงสร้าง ไม่เน้นปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน แลคุณภาพผู้จบการศึกษาลดลง ขณะที่คุณวุฒิ และผลประโยชน์ของครูและผู้บริหารดีขึ้น ชอบแก้ปัญหาด้วยการตั้งองค์กรมหาชน 66

67 ข้อเสนอนักวิชาการ (17พฤศจิกายน2552)
2. วิธีคิดแบบตะวันตกและใช้งบสูง แต่80%เป็นเงินเดือน แต่งบลงทุน/พัฒนา/ทรัพยากรไปสู่โรงเรียน ครู กับพื้นที่ต่ำมาก 3.การปฏิรูปการเรียนรู้ จืดชืด ขาดการพัฒนาจริงจัง ควรให้โรงเรียนมีอิสระในการคิด หาอัตลักษณ์ของชุมชน และอิงกับหลักสูตรแกนกลางกับหลักสูตรท้องถิ่นมากขึ้น เชื่อมโยงการเรียนรู้ในห้องเรียนกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมากขึ้น เด็กมีพื้นที่กิจกรรมมากขึ้น 67

68 ข้อเสนอนักวิชาการ (17พฤศจิกายน2552)
4. ระบบหลักสูตร เด็กเรียนเนื้อหาหนักมาก แต่ล้าหลัง ไม่สอนให้เข้าใจโลกการเรียนรู้กับโลกข้างนอก ทั้งเด็กสำลักเสรีภาพ โดยไม่ได้ฝึกความรับผิดชอบ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 5. มีกลุ่มอิทธิพลครอบงำแนวคิดการปฏิรูปการศึกษา ทำให้วนเวียนตกร่อง 68

69 สรุป5ประเด็น: การศึกษาคือปัจจัยอำนาจ
ประเด็นที่1: การศึกษาคือปัจจัยอำนาจใช้พัฒนาประเทศและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นที่ 2 ได้มีความพยายามสร้างปัจจัยอำนาจทางการศึกษา ประเด็นที่ 3. แต่ประเมินปัจจัยอำนาจของการศึกษา พบว่ายังหวังพึ่งไม่ได้ ประเด็นที่ 4. มีข้อเสนอข้อเรียกร้องหลายข้อ ให้ปรับปรุงการศึกษา ประเด็นที่ 5. ได้เริ่มปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ในปี 2552 69

70 ประเด็นสำคัญที่สุด คือประเด็นที่ 6
เชิญวปอ.2552 ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจุบันและอนาคตการศึกษาไทย 70

71 นี่ใช่หรือไม่ เด็กไทย ความหวังของชาติ
Thank you for your attention. การศึกษาคือปัจจัยอำนาจของชาติที่หวังพึ่งได้หรือไม่ 71 71

72 รมว.ศธ.จุรินทร์ เน้น๒๕นโยบาย ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓ (29/12/2009)
การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ๒) นโยบาย ๕ ฟรี (เรียนฟรี๑๕ปี-ติวฟรี-นมโรงเรียนฟรี-อาหารกลางวันฟรี-ผู้พิการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี) ๓) การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ให้เด็กคิดวิเคราะห์แทนท่องจำ ๔) โรงเรียนดี๓ระดับ-ระดับสากล๕๐๐-อำเภอ๒,๕๐๐-ตำบล๗,๐๐๐โรง ๕) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ๖) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จะสร้างเรือนนอน 72

73 รมว.ศธ. จุรินทร์ เน้น ๒๕ นโยบาย ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
รมว.ศธ. จุรินทร์ เน้น ๒๕ นโยบาย ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓ ๗) โรงเรียนขนาดเล็ก ให้เพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว ๘) ห้องสมุด ๓ ดี คือ หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี ๙) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์อัจฉริยะทวิภาคี โดยสพฐจับมือสกอ. ๑๐) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ๑๑) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา (TQF) ๑๒) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQ) ๑๓) การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา เปิดสอนปริญญาตรี19แห่ง 73

74 รมว.ศธ.จุรินทร์ เน้น๒๕นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
๑๔) V-Net คือข้อสอบของอาชีวศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ๑๕) UniNet หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ๑๖) Education Hub ในอาเซียน ๑๗) การอบรมพัฒนาครูทั้งระบบ ๕๒๐,๐๐๐ คน ๑๘) จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ คนใน๕ ปี ๑๙) การปรับระบบการพัฒนาบุคลากรและระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของ ศธ. ๒๐) การส่งเสริมการอ่าน 74

75 รมว.ศธ.จุรินทร์ เน้น๒๕นโยบาย ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
รมว.ศธ.จุรินทร์ เน้น๒๕นโยบาย ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓ ๒๑) ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็น กศน.ตำบล ๒๒) ห้องสมุด ๓ ดีสัญจร ๒๓) การปรับสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน ๒๔) ระบบงานบริหารบุคคลขององค์กรกลางคือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ) จะทำงานเชิงรุก ๒๕) การพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ 75

76 ขอเชิญวปอ.2552ร่วมถกแถลง ท่านพอใจผลงานจัดการศึกษาในประเด็นใดบ้าง
จุดน่าห่วงที่สุดของการศึกษาไทยอยู่ที่จุดไหน หากท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร ถ้าคุณภาพการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ เราจะเริ่มต้นแก้ไขกันที่ตรงไหน และอย่างไร ? ในฐานะผู้ปกครอง ท่านเคยจ่ายค่าแสดงความจงรักภักดี (แปะเจี๊ยะ)หรือให้ลูกกวดวิชาหรือไม่ ตกลงท่านจะส่งลูกหลานไปเรียนประเทศไหน จะช่วยเสนอแนะอย่างไร ท่านใช่หรือไม่ที่ต้องหางานให้ลูกหลานที่จบมหาวิทยาลัย มีงานทำ 76


ดาวน์โหลด ppt การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google