สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2545 ส่วนควบคุมเงินเดือนและค่าจ้าง กองการเงินและบัญชี
สิทธิการลาลูกจ้างชั่วคราว 1. การลาป่วย 2. การลาคลอดบุตร 3. การลากิจส่วนตัว 4. การลาพักผ่อน 5. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 6. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการ เตรียมพล 7. การลาฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
สิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลาประเภทต่างๆ การลาป่วย - ลาป่วยปกติ ปฏิบัติงานปีแรก ต้องมีระยะเวลาการจ้าง (คำสั่งจ้าง) ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (นับแต่วันเริ่มจ้างถึงวันสิ้นปีงบประมาณ) จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา แต่ทั้งนี้ปีหนึ่งไม่เกิน 8 วันทำการ กรณีที่คำสั่งจ้างไม่ถึง 6 เดือน มีสิทธิลางานได้แต่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลา
สิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา (ลาป่วย) ลาป่วยเพราะได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติงาน ในหน้าที่ ลาหยุดรักษาตัวในปีที่จะจ้างต่อเนื่องให้หัวหน้า หน่วยบริการเสนอคณะกรรมการพิจารณา หากจำเป็นต้องลา ป่วยเกินกว่าที่กำหนดในการลาป่วยปกติให้ คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการเสนอรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาอนุญาต โดยให้รับค่าจ้าง ระหว่างลาแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน
การลาคลอดบุตร ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนที่จ้างไว้ปฏิบัติงาน ต่อเนื่อง จึงจะมีสิทธิลาได้โดยได้รับค่าจ้างระหว่างลา จากส่วนราชการปีหนึ่งไม่เกิน 45 วัน ส่วนที่ลาเกินอีก 45 วัน ให้ได้รับ จากสำนักงานประกันสังคม เงื่อนไข หากเป็นการจ้างปีแรกมีระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ครบ 7 เดือน ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตร (ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน / รายชั่วโมง ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าจ้างระหว่างลา)
การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ การลากิจพักผ่อน มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลาพักผ่อนจำนวน 10 วัน ทำการ แต่ในปีแรกต้องปฏิบัติงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ลาโดยไม่มีสิทธิรับค่าจ้างระหว่างลา การลากิจส่วนตัว ลาโดยไม่มีสิทธิรับค่าจ้างระหว่างลา
การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่าง ลา ดังนี้ - ลาไปรับการตรวจคัดเลือก เพื่อรับราชการทหาร ให้อยู่ ในดุลพินิจของหัวหน้า หน่วย โดยผู้ลาต้องแสดงจำนวน วันที่ต้องเดินทางไป/กลับ และวันที่ต้องอยู่เพื่อตรวจ เลือกเข้ารับราชการทหาร เท่าที่จำเป็นเพื่อ ประกอบการพิจารณา - การลาเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ให้ได้รับ ค่าจ้างระหว่างลาปีละไม่เกิน 2 เดือน - การลาเพื่อเข้ารับการระดมพลหรือเข้ารับ การทดลองความพรั่งพร้อม ให้ได้รับ ค่าจ้างระหว่างลาปีละไม่เกิน 30 วัน (ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและรายชั่วโมง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำ สัปดาห์)
การลาไปศึกษาฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย - ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิลาศึกษา - การลาฝึกอบรมต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยบริการให้ไปฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ให้มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าลงทะเบียน การสั่งให้ลูกจ้างชั่วคราวเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรระยะยาวให้หน่วยบริการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ทางราชการได้รับ ลาฝึกอบรมที่มีระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการพิจารณาแล้วเสนอขออนุมัติปลัดกระทรวงเป็นรายๆ ไป
เงินช่วยพิเศษกรณีถึงแก่กรรม ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณประเภทเงินบำรุง มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ เป็นจำนวน 3 เท่า ของค่าจ้างในเดือนที่ถึงแก่กรรม ลูกจ้างชั่วคราวรายวันให้ถือเสมือนว่าได้มาปฏิบัติงานเต็มเดือน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สวัสดิการฯพ.ศ. 2545 และได้รับสิทธิตาม พรบ.ประกันสังคม รายละไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ใน ราชอาณาจักร) ตามพระราชกฤษฎีการค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาต ให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ราชการจะต้องเทียบตำแหน่งกับระดับชั้นของข้าราชการ และลูกจ้างประจำ เพื่อใช้สิทธิดังกล่าว ดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ต่อ) 1. การเทียบตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวให้เทียบตามการแบ่งหมวดตำแหน่งของลูกจ้างประจำที่กระทรวงการคลังกำหนดกับระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน ดังนี้ (ก) ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งใน หมวดแรงงานและหมวดกึ่งฝีมือ หรือ ตำแหน่งที่ใช้วุฒิ ปวช. ให้เทียบเท่าข้าราชการประเภท ทั่วไประดับปฏิบัติงาน (ระดับ 1) (ข) ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในกลุ่มตำแหน่งที่ กำหนดไว้ในหมวดฝีมือและหมวดฝีมือ พิเศษระดับต้น หรือตำแหน่งที่ใช้วุฒิ ปวท. หรือ ปวส. ให้เทียบเท่าข้าราชการประเภท ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (ระดับ 2) (ค) ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ในหมวด ฝีมือพิเศษระดับกลาง ฝีมือพิเศษระดับสูง และฝีมือพิเศษเฉพาะหรือตำแหน่งที่วุฒิไม่ต่ำกว่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ให้เทียบเท่า ข้าราชการประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
2. การเทียบตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวที่มีชื่อและลักษณะงาน เหมือนข้าราชการ 2. การเทียบตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวที่มีชื่อและลักษณะงาน เหมือนข้าราชการ ให้เทียบกับหมวดลูกจ้างประจำโดยตรง ดังนี้ (ก) ตำแหน่งที่กระทรวงการคลังกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูง 15,260 บาทให้เทียบเท่ากับ หมวดฝีมือ และตำแหน่งที่กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูง 18,190 บาท ให้เทียบเท่ากับ หมวดฝีมือพิเศษระดับต้น (ข) ตำแหน่งที่กระทรวงการคลังกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูง 22,220 บาทให้เทียบเท่ากับ หมวดฝีมือพิเศษระดับกลางและตำแหน่งที่กำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นสูง 33,540 บาท ให้ เทียบเท่ากับหมวดฝีมือพิเศษระดับสูง
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานใน หน่วยบริการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข การจ่ายค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวง สาธารณสุขพ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2552 หากเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้อยู่ปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการปกติ หรืออยู่ปฏิบัติงานในวันหยุดสุด สัปดาห์ หรือในวันหยุดพิเศษ
เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายประกันสังคม กำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของส่วนราชการต้อง เข้าระบบประกันสังคม โดยนายจ้าง (ส่วนราชการ) จะต้องหักค่าจ้างจากลูกจ้างนำส่งเป็นเงินสมทบ ในส่วน ของผู้ประกันตนและนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบในส่วนของ นายจ้างเข้ากองทุนประกันสังคมให้กับลูกจ้างด้วยตาม อัตราที่กฎหมายกำหนด เงินกองทุนประกันสังคมดังกล่าวมีไว้เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีต่าง ๆโดยเมื่อลูกจ้างผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ดังต่อไปนี้
เงินผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายประกันสังคม(ต่อ) 1. ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอัน มิใช่เนื่องจากการทำงาน 2. ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร 3. ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการ ทำงาน 4. ประโยชน์ทดแทนในกรณีถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 5. ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร 6. ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ 7. ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน
สวัสดีคะ