การแก้ไขกฎหมายสหกรณ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
การจัดสรรตำแหน่งและการ คัดเลือก เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้า รับราชการ.
โดย... กอง บริหารงาน บุคคล วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ. ศ ณ ห้อง ประชุมสภาชั้น 4 อาคารทีปวิชญ์
นักทรัพยากรบุคคล ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการ กรม สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สระบุรี ( กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการ จัดการสหกรณ์ ) ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม โครงการตามนโยบายรัฐบาล.
ณ 31 พฤษภาคม
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
ธนาคารออมสิน.
สหกรณ์ ปี 2560 สหกรณ์ 4,629 สหกรณ์ (65%) ต้อง  สมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีส่วนร่วม ในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์  สหกรณ์มีเสถียรภาพทางการเงินในระดับ มั่นคงมาตรฐานขึ้นไป.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติธนาคาร ที่ดิน พ. ศ..... โดย นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
แนวทางการจัดตั้งและพัฒนา สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
การดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
แนวทางปฏิบัติ กรมป่าไม้
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กลุ่มเกษตรกร.
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
แนวทางปฏิบัติการรายงานข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตที่ตรวจพบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ นายอัษฎาวุธ.
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
การปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบัน
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
4.2.3แผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ 30 เมษายน 2560

การเสนอขอแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ 1. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 3. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. แนวทางกำกับดูแลกิจการทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

1. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปการเสนอขอแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ 1. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สถานะ - ในการประชุม สนช. ครั้งที่ 13/2560 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 60 ครม. ขอรับหลักการไปพิจารณาภายใน 30 วัน ก่อนนำเสนอให้ สนช. ลงมติรับหลักการ - เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ครม. มีมติรับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และมีความเห็นสมควรชะลอไว้พิจารณาพร้อมร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ อื่นๆ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สาระสำคัญ กำหนดนิยามสหกรณ์ ตาม ICA แก้ไของค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และการประชุมของ คพช. เปลี่ยนให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ การสั่งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริง การฟ้องคดีแทนสหกรณ์ คุณสมบัติสมาชิกสมทบ – ให้เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมและนิติบุคคล ให้กรรมการสหกรณ์ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระหรือตามที่ คพช. กำหนด ให้ คพช. กำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบกิจการ ให้สหกรณ์ต่างประเภทที่มีกิจการร่วมกัน จัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ได้

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1. กำหนดนิยามสหกรณ์ ตาม ICA เดิม มาตรา 4 “สหกรณ์” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมดำเนินกิจการเพื่อ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ แก้ไข มาตรา 4 “สหกรณ์” หมายความว่า องค์การอิสระของบุคคล ซึ่งมุ่งหมาย ร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยการดำเนินกิจการที่เป็นเจ้าของ ร่วมกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ข้อสังเกตที่ประชุม การแก้ไขนิยามมีความไม่ชัดเจนและไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ของสหกรณ์ตามมาตรา 33 อีกทั้งนิยามเดิมสอดคล้องกับหลักการสหกรณ์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2. องค์ประกอบของ คพช. เดิม มาตรา 9 กำหนดให้ คพช. ประกอบด้วย รมว. กษ. เป็นประธานกรรมการ ปลัดฯ กษ. เป็นรองประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ 8 หน่วยงาน เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ประธานฯ ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศประเภทละหนึ่งคน ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ - ให้ คพช. ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งคัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ด้าน การบริหารสหกรณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไข - เพิ่มเติมองค์ประกอบ คพช. จากหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเปลี่ยนจาก “ประธาน คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย” เป็น “ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ” - การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3. อำนาจหน้าที่ของ คพช. เดิม มาตรา 10 คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ในการเสนอความเห็นต่อ คณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายและแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการของสหกรณ์ รวมทั้ง การร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีส่วนในการพัฒนาการสหกรณ์ แก้ไข เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ เสนอความเห็นในการออกกฎกระทรวงและประกาศตามกฎหมาย กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและแนวทางปฏิบัติในการกำกับ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล รวมถึงออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือข้อกำหนดตามอำนาจและหน้าที่ที่บัญญัติ ไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ข้อสังเกตที่ประชุม คพช. ควรมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการสหกรณ์ การ เพิ่มอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบสหกรณ์ นอกจากจะเป็นการซ้ำซ้อนกับนายทะเบียน สหกรณ์แล้ว ใน คพช. ยังมีกรรมการโดยตำแหน่งที่มาจากสันนิบาตสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ เกิดการขัดกันซึ่งผลประโยชน์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 4. การประชุมของ คพช. เดิม มาตรา 13 การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ต้องมี กรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็น องค์ประชุม แก้ไข มาตรา 13 ให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ มีการประชุมกัน ตามภารกิจ แต่ต้องมีการประชุมกันทุกๆ สามเดือนเป็นอย่างน้อย การประชุม คณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ คพช. ความเห็นที่ประชุม เห็นชอบในหลักการ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5. การแต่งตั้งและการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ คพช. เดิม มาตรา 14 ตพช. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมายได้ แก้ไข มาตรา 14 คพช. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการ พัฒนาบุคลากรการสหกรณ์ คณะติดตาม กำกับการเงิน การบัญชี หรือคณะอื่น ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน และให้คุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการดำเนินงาน อื่นเป็นไปตามที่ คพช. ประกาศกำหนด ข้อสังเกตที่ประชุม ตามกลไกปัจจุบันสามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้อยู่แล้ว หากจะมีการเพิ่มเติมควรแยกคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกจาก คพช. เพื่อ ความสะดวกและคล่องตัว

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 6. เปลี่ยนตัวนายทะเบียนสหกรณ์ เดิม มาตรา 15 ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ และสามารถแต่งตั้ง ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าเป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติหรือตามที่ นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย แก้ไข มาตรา 15 ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ และให้แต่งตั้ง ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์ได้ไม่เกินสองคน ความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การกำหนดให้มีรองนายทะเบียนสหกรณ์สองคน อาจทำให้เกิดความล่าช้า และไม่มีความคล่องตัว เนื่องจากนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจ หน้าที่หลักในการรับจดทะเบียน ส่งเสริม และกำกับดูแลสหกรณ์ด้วย

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 7. อำนาจหน้าที่นายทะเบียนสหกรณ์ เดิม มาตรา 16 กำหนดอำนาจหน้าที่นายทะเบียนสหกรณ์ไว้ตาม (1) – (9) แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 16 (8/1) มีคำสั่งให้สหกรณ์จัดทำแผนฟื้นฟูสหกรณ์ (8/2) สั่งให้บุคคลใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการของสหกรณ์ ความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตาม (8/1) ยังไม่มีความชัดเจนว่า แผนฟื้นฟูควรดำเนินการในรูปแบบใด และควรสอดรับกับการฟื้นฟูกิจการตามที่ บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ทั้งนี้ หากเป็นแผนการแก้ไขปัญหา นายทะเบียน สหกรณ์มีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง ตามมาตรา 22 (1) อยู่แล้ว

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 8. อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการสั่งให้ชี้แจงข้อเท็จจริง เดิม มาตรา 17 นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการ สหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบ กิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือเชิญสมาชิกสหกรณ์เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงาน การประชุมของสหกรณ์ได้ แก้ไข เพิ่มคำว่า “หรือบุคคลใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสหกรณ์” ความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นชอบในหลักการ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 9. อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการฟ้องร้องบุคคลภายนอก เดิม มาตรา 21 ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ทำให้ สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้ และให้พนักงาน อัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์ แก้ไข เพิ่มคำว่า “หรือบุคคลใดๆ” เป็นการเพิ่มให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจใน การฟ้องร้องบุคคลภายนอกที่ทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย ความเห็นที่ประชุม เห็นชอบในหลักการ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 10. การออกคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง เดิม มาตรา 22 กรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการ หรืองดเว้น กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตน จนทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ของ สหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือ กิจกรรมหรือฐานะการเงิน ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการ (1) แก้ไขข้อบกพร่อง (2) ระงับการปฏิบัติบางส่วน (3) หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว หรือ (4) พ้นจากตำแหน่ง แก้ไข กรณีสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว ม. 22 (3) ให้นายทะเบียน สหกรณ์แต่งตั้งผู้แทนสหกรณ์เข้าดำเนินการแทนคณะกรรมการดำเนินการ ความเห็นที่ประชุม เห็นชอบในหลักการ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 11. คุณสมบัติของสมาชิกสมทบ เดิม มาตรา 41 ให้นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่ สามารถรับสมาชิกสมทบได้ โดยต้องเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะด้วย แก้ไข ให้ คพช. ประกาศกำหนดประเภทของสหกรณ์และคุณสมบัติของบุคคล ที่สามารถรับสมาชิกสมทบ โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 33 (1) และ (2) ข้อสังเกตที่ประชุม การกำหนดให้เป็นสมาชิกสมทบได้ทั้งบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล อาจเป็นการเปิดโอกาสให้นิติบุคคลเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในระบบ สหกรณ์ จึงไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 12. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ เดิม มาตรา 50 วรรค 3 กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจ ได้รับเลือกตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน แก้ไข มาตรา 50 วรรค 3 กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจ ได้รับเลือกตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน หรือตามที่ คพช. กำหนด ข้อสังเกตที่ประชุม การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ ควรกำหนดไว้ชัดเจนในกฎหมาย และการให้เป็นอำนาจ คพช. อาจมีขอบเขตกว้างเกินไป ซึ่งปัจจุบันการกำหนดให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดอำนาจ และให้สมาชิกมีโอกาสทำหน้าที่กรรมการ ดำเนินการสหกรณ์โดยทั่วกัน

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 13. การกำหนดคุณสมบัติผู้ตรวจสอบกิจการ เดิม มาตรา 53 วรรค 2 ให้นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดจำนวนผู้ตรวจสอบกิจการ แก้ไข มาตรา 53 วรรค 2 ให้ คพช. กำหนด จำนวน คุณสมบัติ วิธีการรับสมัคร และการขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบกิจการ ข้อสังเกตที่ประชุม การกำหนดคุณสมบัติ วิธีการรับสมัคร และการพ้นจากการเป็น ผู้ตรวจสอบกิจการ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของผู้ตรวจสอบกิจการ ควรเป็น อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 14. การรวมกันเป็นชุมนุมสหกรณ์ เดิม มาตรา 101 วรรค 2 ชุมนุมสหกรณ์ใดจะมีฐานะเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับ ภูมิภาคหรือระดับประเทศจะต้องตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ บรรดาสหกรณ์ในภูมิภาคหรือทั่วประเทศที่เป็นสหกรณ์ประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คพช. กำหนด แก้ไข เพิ่มเติมมาตรา 101 วรรค 2 ให้สหกรณ์ต่างประเภทที่ประสงค์จะเชื่อมโยง เครือข่ายประกอบธุรกิจการผลิต การค้า เกษตรกรรม อุตสาหกรรมหรือบริการ อย่างเดียวกัน รวมกันเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้ ข้อสังเกตที่ประชุม การแก้ไขเพิ่มเติมยังไม่มีความชัดเจนและอาจมีขอบเขตที่ กว้างเกินไป

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 15. เปลี่ยนแปลงนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด เดิม มาตรา 121 ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร ประจำจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครให้นายทะเบียนสหกรณ์เป็นนายทะเบียน กลุ่มเกษตรกรกรุงเทพมหานคร แก้ไข ให้สหกรณ์จังหวัด เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดสำหรับ กรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 เป็น นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร ความเห็นที่ประชุม เห็นชอบในหลักการ

2. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปการเสนอขอแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ 2. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สถานะ - เสนอโดยคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย - ครม. มีมติอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 60 - ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่วมกับร่างฯ ที่ กษ. เสนอ และแนวทางปฏิรูประบบการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยนที่กระทรวงการคลังเสนอ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินการของสหกรณ์ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หรือดำเนินการในการรับฝากเงินหรือให้กู้ยืมเงิน และมีสมาชิกที่มิได้อยู่ในหน่วยงานหรือองค์กรเดียวกันหรือมิได้ประกอบอาชีพเดียวกัน ในลักษณะเดียวกับการประกอบธุรกิจเงินทุน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และผู้มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของสหกรณ์ รวมทั้งป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนโดยทั่วไปและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาระสำคัญ 1) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งกลไกการกำกับดูแลสหกรณ์ ซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุน 2) การกำหนดระบบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และแบบรายงาน 3) การร้องทุกข์และการฟ้องคดีแทนสหกรณ์ 4) ประเภทสหกรณ์ ลักษณะ และขอบเขตการดำเนินกิจการของสหกรณ์ 5) ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ 6) ความรับผิดของกรรมการ ผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ 7) การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ 8) บทกำหนดโทษ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งกลไกการกำกับดูแล - กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการของสหกรณ์ซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุนขึ้นโดยเฉพาะ แต่ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงิน ให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว - กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลให้สหกรณ์ประกอบธุรกิจเงินทุนให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา หากพบว่ามีการกระทำไม่ถูกต้องให้มีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือระงับการดำเนินการ หรือกรณีที่การกระทำนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน อาจขอให้นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้กรรมการพ้นจากตำแหน่ง หรือสั่งเลิกสหกรณ์ได้ ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดำเนินการกำกับดูแลในฐานะเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2. การกำหนดระบบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และแบบรายงาน เดิม มาตรา 16 (2) กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีตลอดจนสมุดและแบบรายงานต่างๆ ที่สหกรณ์ต้องยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ รวมทั้งแบบพิมพ์อื่นๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ แก้ไข มาตรา 16 (2) ให้การกำหนดระบบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี ตลอดจนสมุดบัญชี และแบบรายงานต่างๆ ที่สหกรณ์ต้องยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ให้นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดตามคำแนะนำของอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 3. การร้องทุกข์และการฟ้องคดีแทนสหกรณ์ เดิม มาตรา 21 ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นาย ทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี แทนสหกรณ์ได้ และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์ แก้ไข เพิ่มเติมให้สมาชิกมีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้ และให้นายทะเบียนสหกรณ์ดำเนินการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 4. ประเภทสหกรณ์ ลักษณะ และขอบเขตการดำเนินกิจการของสหกรณ์ เดิม มาตรา 33 วรรคสอง ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง แก้ไข มาตรา 33 วรรคสอง ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทและลักษณะของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน และขอบเขตการดำเนินกิจการของสหกรณ์แต่ละประเภท รวมถึงให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งการกรณีที่สหกรณ์ดำเนินการนอกขอบเขตที่จะพึงดำเนินการได้

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 5. ลักษณะต้องห้ามของกรรมการ มาตรา 52 เพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรณีเคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งหรือเคยเป็นกรรมการในสหกรณ์ที่ถูกนายทะเบียนสหกรณ์สั่งเลิกสหกรณ์ 6. ความรับผิดของกรรมการ ผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ เพิ่มมาตรา 52/1 กำหนดความรับผิดของกรรมการ ผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ในความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 7. การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ เพิ่มเติมมาตรา 60 กำหนดเงื่อนไขการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ โดยห้ามสหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจนกว่าจะดำเนินการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามที่นายทะเบียนสหกรณ์หรือผู้สอบบัญชีแจ้งให้ทราบ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 8. บทกำหนดโทษ เพิ่มเติมให้มีบทกำหนดโทษ - กรณีไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท - กรณีจัดสรรกำไรสุทธิฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนด ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และชดใช้คืนสหกรณ์ - กรณีกรรมการดำเนินการสหกรณ์หรือผู้จัดการสหกรณ์กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต จำคุก 1 – 5 ปี และปรับ ไม่เกิน 1 ล้านบาท

3. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปการเสนอขอแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ 3. ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถานะ - ครม. มีมติอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 60 - ยกเว้นการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพระบบสหกรณ์และการแก้ไขวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ให้ร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาความจำเป็นในการจัดตั้ง - อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สาระสำคัญ 1. องค์ประกอบ คพช. - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2. อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ - การออกระเบียบเพื่อกำกับสหกรณ์ การฟ้องคดีแทนสหกรณ์ 3. คุณสมบัติสมาชิกสมทบ - รวมถึงบุคคลธรรมดาที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 4. การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ 5. ความรับผิดของกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์ - กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ 6. คุณสมบัติของกรรมการดำเนินการสหกรณ์และผู้จัดการ 7. คุณสมบัติผู้ตรวจสอบกิจการ 8. การบัญชี – เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ 9. การควบรวมสหกรณ์ - ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 10. บทกำหนดโทษ ตามข้อเสนอของ คณะทำงานด้านการพัฒนา การเกษตรสมัยใหม่

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 9 องค์ประกอบ คพช. เดิม กำหนดให้ คพช. ประกอบด้วย รมว. กษ. เป็นประธานกรรมการ ปลัดฯ กษ. เป็นรองประธาน ผู้แทน จากหน่วยงานรัฐ 8 หน่วยงาน เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนสันนิบาต สหกรณ์แห่งประเทศไทย ประธานฯ ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศประเภทละหนึ่งคน ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่ เกินห้าคนเป็นกรรมการ -ให้ คพช. ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งคัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ด้านการบริหาร สหกรณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไข - เพิ่มเติมองค์ประกอบกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้มาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในด้าน การเงิน การตลาด การเกษตร กฎหมาย และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม - การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความ เห็นชอบของ ครม.

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 16 อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ เดิม (๘) ออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้มีการปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ แก้ไข (๘) ออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้มีการปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ เหตุผล ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจในการออกระเบียบหรือคำสั่ง ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 21 การร้องทุกข์หรือฟ้องคดีกับบุคคลภายนอก เดิม ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ทำให้ สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียน สหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทน สหกรณ์ได้ และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์ แก้ไข เพิ่มคำว่า “หรือบุคคลใดๆ” เป็นการเพิ่มให้นายทะเบียนสหกรณ์มี อำนาจในการฟ้องร้องบุคคลภายนอกที่ทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 22 การสั่งการให้แก้ไขข้อบกพร่อง เดิม กรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติ หน้าที่ของตน จนทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มี ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจกรรมหรือฐานะการเงิน ให้นายทะเบียน สหกรณ์มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการ (1) แก้ไขข้อบกพร่อง (2) ระงับการปฏิบัติบางส่วน (3) หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว หรือ (4) พ้นจากตำแหน่ง แก้ไข 1. วรรคแรก เพิ่มการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบของ สหกรณ์ จนทำให้สหกรณ์เสียหาย 2. กรณีตาม (3) ให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้แทนสหกรณ์เพื่อดำเนินการแทน คณะกรรมการที่หยุดปฏิบัติหน้าที่

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 26 การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เดิม ให้ผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ต่อ คพช. แก้ไข 1. ให้ผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ 2. เพิ่มเติมมาตรา 26/1 – 26/4 กำหนดให้มี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขึ้นใหม่ ทำหน้าที่พิจารณา อุทธรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 27 วัตถุประสงค์กองทุนพัฒนาสหกรณ์ เดิม ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสหกรณ์ขึ้นในกรมส่งเสริมสหกรณ์เรียกโดย ย่อว่า“กพส.” เพื่อเป็นทุนส่งเสริมกิจการของสหกรณ์ แก้ไข ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสหกรณ์ขึ้นในกรมส่งเสริมสหกรณ์เรียก โดยย่อว่า“กพส.” เพื่อเป็นทุนส่งเสริมกิจการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 38 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียน เดิม ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ให้คณะ ผู้จัดตั้งสหกรณ์อุทธรณ์ต่อ คพช. โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อนายทะเบียน สหกรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง แก้ไข ให้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 41 คุณสมบัติสมาชิกสมทบ เดิม ให้นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่ สามารถรับสมาชิกสมทบได้ โดยต้องเป็นบุคคลธรรมดาและ บรรลุนิติภาวะด้วย แก้ไข ให้นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนดประเภทของสหกรณ์ ที่สามารถรับบุคคลธรรมดาเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ โดยไม่อยู่ภายใต้ บังคับมาตรา 33 (2) เหตุผล เพื่อเปิดให้บุคคลธรรมดาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเป็นสมาชิก สมทบในสหกรณ์ได้

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 50 การดำรงตำแหน่งกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เดิม กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจ ได้รับเลือก ตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน แก้ไข ปรับปรุงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ โดยยกเลิกเรื่องการเว้น วรรคการดำรงตำแหน่ง

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 51 การเป็นผู้แทนนิติบุคคล เดิม ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทน สหกรณ์ในกิจการ อันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก แก้ไข เพิ่มเติม - ให้การบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์หรือผู้จัดการ จะต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและคำนึงถึงผลประโยชน์สมาชิกเป็นหลัก - ความรับผิดของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นการเฉพาะ กรณีทำให้สหกรณ์เสียหาย

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 52 ลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการหรือผู้จัดการ เดิม ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่ กรรมการหรือผู้จัดการ เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุก เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจาก ราชการ เป็นต้น แก้ไข เพิ่มเติม การกำหนดคุณสมบัติกรรมการหรือผู้จัดการ ให้เป็นไปตามประกาศที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 53 ผู้ตรวจสอบกิจการ เดิม ให้สหกรณ์มีผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจาก สมาชิกหรือบุคคลภายนอกเพื่อดำเนินการตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ แล้วทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ และให้นายทะเบียนสหกรณ์ กำหนดจำนวนผู้ตรวจสอบกิจการ แก้ไข ให้นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด คุณสมบัติ วิธีการรับสมัคร และ การขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบกิจการ

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 60 การจัดสรรกำไรสุทธิ เดิม การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อย กว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิ และเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ แก้ไข เพิ่มเติมการจัดสรรกำไรสุทธิ เป็นทุนรักษาเสถียรภาพระบบสหกรณ์ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละหนึ่งของกำไรสุทธิ และให้นำส่งกองทุนรักษาเสถียรภาพระบบสหกรณ์ และรายละเอียดการจัดตั้ง ที่มาของเงินทุน องค์ประกอบคณะกรรมการบริหาร

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 66 – 68 มาตรา 71 และ มาตรา 80 เกี่ยวกับงบการเงิน เดิม - มาตรา 66 ให้สหกรณ์จัดทำงบดุล - มาตรา 67 การส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลไปยังนายทะเบียนสหกรณ์ - มาตรา 68 การเก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์และงบดุล - มาตรา 71 (2) กรณีสหกรณ์ไม่ส่งสำเนางบดุลและรายงานประจำปีต่อ นายทะเบียนสหกรณ์เป็นเวลาสามปีติดต่อกัน เป็นเหตุให้ นายทะเบียนสหกรณ์สั่งเลิกได้ - มาตรา 80 ผู้ชำระบัญชีต้องทำงบดุลของสหกรณ์โดยไม่ชักช้า แก้ไข แก้จากคำว่า “งบดุล” เป็น “งบการเงิน” เนื่องจากงบดุลเป็นส่วนหนึ่งของ งบการเงิน

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 69 การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี เดิม ให้นายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบบัญชี ของสหกรณ์ การตรวจบัญชีนั้น ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด แก้ไข แก้คำว่า “มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป” เป็น “มาตรฐานการสอบ บัญชี” และแก้ไขคำว่า “ตรวจสอบบัญชี” เป็น “การสอบบัญชี” เหตุผล เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีและบทบัญญัติในส่วน นี้เป็นเรื่องการสอบบัญชี

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 72 การอุทธรณ์คำสั่งเลิกสหกรณ์ เดิม สหกรณ์ที่ถูกสั่งเลิกตามมาตรา 71 มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คพช. แก้ไข ให้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เหตุผล เพื่อให้สอดคล้องกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่แก้ไขใหม่

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 90 การควบรวมสหกรณ์ เดิม สหกรณ์ตั้งแต่สองสหกรณ์อาจควบเข้ากันเป็นสหกรณ์เดียวได้ โดยมติ แห่งที่ประชุมใหญ่ของแต่ละสหกรณ์ และต้องได้รับความเห็นชอบจากนาย ทะเบียนสหกรณ์ ในการขอความเห็นชอบของนายทะเบียนสหกรณ์ให้ส่งสำเนารายงาน การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ที่ลงมติให้ควบเข้ากันไปด้วย แก้ไข ให้นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดหลักเกณฑ์การควบรวมสหกรณ์ โดย คำนึงถึงขนาด ความเสี่ยง เงินทุน หนี้สิน และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 121 นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด เดิม มาตรา 121 ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร ประจำจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครให้นายทะเบียนสหกรณ์เป็นนายทะเบียน กลุ่มเกษตรกรกรุงเทพมหานคร แก้ไข มาตรา 121 ให้สหกรณ์จังหวัด เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำ จังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร

ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 129 - 133 บทกำหนดโทษ ปรับปรุงแก้ไขบทกำหนดโทษให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดอัตราโทษ ขั้นต่ำ และเพิ่มอัตราโทษ เช่น เดิม มาตรา 133 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แก้ไขข้อบกพร่องตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการ ตามมาตรา 22 (1) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท การแก้ไข ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แก้ไขข้อบกพร่องตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการ ตามมาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประโยชน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายยิ่งขึ้น

สรุปการเสนอขอแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ 4. แนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สถานะ - ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 60 - มอบให้ กษ. พิจารณาดำเนินการ โดยแบ่งเป็นการดำเนินการในระยะเร่งด่วน และระยะยาว - ให้กำหนดแผนการดำเนินงานที่ให้โอกาสสหกรณ์ปรับตัว รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สหกรณ์

ขอบคุณครับ