การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย นางกันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
ความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยมาลาเรีย การควบคุมไข้มาลาเรียได้กำหนดให้ผลการตรวจวินิจฉัยฟิล์มเลือดเป็นสิ่งบ่งชี้การเป็นหรือการยืนยันผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียจึงมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจให้การบำบัดรักษา การแสดงสถานการณ์ไข้มาลาเรียและการควบคุมป้องกันโรค การควบคุมคุณภาพมาตรฐานการตรวจฟิล์มเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ประกอบด้วย การควบคุมมาตรฐานเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
วิธีการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย กล้องจุลทรรศน์ ชุดตรวจอย่างรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test หรือ RDT) วิธีทางชีวโมเลกุล เช่น PCR , LAMP
การตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีการ เตรียมฟิล์มเลือด ชนิดฟิล์มหนาและบาง (Thick and Thin Blood Smear) การตรวจฟิล์มหนาและบาง (Thick and Thin Blood Smear) เป็นวิธีมาตรฐาน
15. กล้องจุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยาย 100 เท่า วัสดุ อุปกรณ์ 1. กระจกสไลด์ ใช้ชนิดมีแถบฝ้า 2. เข็มเจาะเลือด (Blood Lancet) 3. สำลีสะอาด 4. 70% แอลกอฮอล์ 5. ถุงมือยางชนิดไม่มีแป้ง 6. เมทานอล (Analytical Grade) 7. บัฟเฟอร์ pH 7.2 8. สียิมซ่า(Giemsa stain) 9. น้ำสะอาด 10. หลอดหยด 11. ถาดย้อมสี 12. กระบอกตวงขนาด 10 ml 13. นาฬิกาจับเวลา 4. ที่ตากสไลด์ 15. กล้องจุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยาย 100 เท่า
ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดและส่งตรวจ 1. ก่อนเจาะเลือดผู้ป่วย ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ประกอบด้วยเข็มเจาะเลือด สำลี 70%แอลกอฮอล์ กระจกสไลด์สำหรับทำฟิล์มเลือด พร้อมทั้งให้ทำการเขียนสไลด์ระบุ รายละเอียดผู้ป่วย เช่น รหัสผู้ป่วย วันที่เข้ารับการรักษา วันที่ติดตามการรับประทานยา เป็นต้น 2. เจาะเลือดจากปลายนิ้วผู้ป่วย ส่วนใหญ่เลือกนิ้วนางหรือนิ้วกลางมือที่ผู้ป่วยไม่ถนัด ทำความสะอาดนิ้วมือด้วยสำลีชุบชุบแอลกอฮอล์ 70% รอให้แอลกอฮอล์แห้งแล้วจึงเจาะเลือด โดยใช้เข็มเจาะเลือดชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช็ดเลือดหยดแรกทิ้ง หยดเลือดบนกระจกสไลด์ 3 หยด สำหรับทำฟิล์มเลือดหนา (Thick Blood Smear) และ 1 หยด สำหรับทำฟิล์มเลือดบาง (Thin Blood Smear) 3. ไถทำฟิล์มเลือดบาง โดยวางสไลด์ไถเอียงทำมุมประมาณ 45 องศา และใช้สไลด์ไถเกลี่ย เลือดทำฟิล์มหนา โดยการวนเป็นวงกลมในทิศทางเดียวกันไม่ย้อนไปมา ให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดและส่งตรวจ 4. วางสไลด์ไว้ที่อุณหภูมิห้อง รอจนแห้งสนิท 5. เก็บสไลด์ในกล่องเก็บสไลด์ ถ้าไม่มีกล่องเก็บสไลด์ ให้ห่อสไลด์ด้วยทิชชู แล้วใส่ซองพลาสติก 6. นำสไลด์ส่งตรวจที่มาลาเรียคลินิกที่อยู่ใกล้ พร้อมรายละเอียดของเจ้าของเลือด 7. มาลาเรียคลินิก นำสไลด์ไปย้อมสี อ่านผลด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบเชื้อ ต้องแยกชนิดเชื้อ ระยะของเชื้อ และนับจำนวนเชื้อมาลาเรีย
การย้อมสีฟิล์มเลือด ตรึงผนังเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เป็นฟิล์มบางด้วย เมทานอล (Methanol) ก่อนที่จะย้อม โดยจุ่มเฉพาะส่วนที่เป็นฟิล์มบางในเมทานอล นานประมาณ 5 นาที และระวังอย่าให้เมทานอล ถูกส่วนที่เป็นฟิล์มหนา 2. การย้อมสไลด์ด้วยสีจิมซ่าเพื่อการตรวจวินิจฉัยจะใช้สีจิมซ่า 10% ย้อมนาน 10 นาที โดยเทสีลงใน Copplin Jar ประมาณท่วมแผ่นสไลด์ที่จะย้อม หรือถ้าสไลด์มีน้อยสามารถใช้วิธีเทให้ท่วมสไลด์ฟิล์มเลือดในแนวระนาบได้ 3. เมื่อครบ 10 นาที ให้ล้างสไลด์ด้วยน้ำสะอาด โดยเอียงไสลด์ให้ฟิล์มบางอยู่ด้านบนแล้วเทน้ำเบาๆไล่สีออกจนหมด 4. ใช้ทิชชูซับที่ขอบปลายสไลด์ รอจนแห้ง จึงตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ฟิล์มหนา ฟิล์มบาง
พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม
ลักษณะของเชื้อมาลาเรีย ring form -ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ (Infected Red Blood Cell Morphology) มีความแตกต่างกัน ระยะโทรโฟรซอยต์ (Trophozoite stage) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ Early trophozoite ,Growing trophozoite ระยะไชซอนต์ (Schizont stage) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ Immature schizont/ Young schizont , Mature schizont ระยะแกรมีโตไซต์ (Gametocyte stage) Micro gametocyte (เพศผู้) Macro gametocyte (เพศเมีย)
การตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยชุดตรวจอย่างรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test หรือ RDT) สะดวก รู้ผลเร็ว ไม่ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะ ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว