งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ
น.ส.กนกอร เยาว์ดำ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

2 ลักษณะทางพันธุกรรม chromosome Rice plant Plant cell DNA

3 ลักษณะทางพันธุกรรม ถอดรหัส แปรรหัส ม้วนพับ DNA RNA Amino acid Protein

4 การใช้ประโยชน์จากดีเอ็นเอ

5 การใช้ประโยชน์จากดีเอ็นเอ
DNA fingerprint รูปแบบของแถบ DNA ที่มีความแตกต่างของขนาดชิ้น DNA ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล

6 การตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าวด้วยการตรวจสอบดีเอ็นเอ
วิธีการตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าวที่แม่นยำคือการตรวจสอบ ดีเอ็นเอด้วยโมเลกุลเครื่องหมายหรือการจัดทำลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprinting) โดยการใช้โมเลกุลเครื่องหมายมาตรวจสอบความแตกต่างของ รหัสพันธุกรรมของข้าวแต่ละพันธุ์ หลังจากการสีข้าวแล้วข้าวสารที่ได้ไม่สามารถจะนำมาเพาะให้เป็น ต้นเพื่อเก็บตัวอย่างใบมาสกัดดีเอ็นเอได้ เนื่องจากส่วนของต้นอ่อนถูกขัดสีออกไป ดังนั้นการตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ในข้าวสาร จึงต้องทำการสกัดดีเอ็นเอจาก เมล็ดข้าวสารซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากเนื่องจากเมล็ดข้าวสารมีองค์ประกอบหลัก คือแป้งและมีปริมาณดีเอ็นเอน้อยมาก

7 ตัวอย่างงานวิจัย ณัฐหทัย เอพาณิช และหทัยรัตน อุไรรงค (กรมวิชาการเกษตร) ได้พัฒนาวิธีการตรวจการปลอมปนของขาวสารพันธุปทุมธานี 1 ในขาวหอมมะลิไทย

8 สกัดดีเอ็นเอจากข้าวสาร เพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอด้วยวิธี PCR
(วิธีที่ 1 ตม + แชแข็ง) (วิธีที่ 2 ตม + แชแข็ง + ตกตะกอน) เพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอด้วยวิธี PCR (RM17, RM157, RM168, RM202, RM213, RM247) วิเคราะห์ PCR product

9 พะยอม โคเบลลี่ และคณะ (2552) ได้พัฒนาวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากเมล็ดข้าวสารและการนำโมเลกุลเครื่องหมายมาใช้เพื่องานตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว สกัดดีเอ็นเอจากข้าวสารด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ดังนี้ (1) สกัดดีเอ็นด้วย Proteinase K ใน SAD extraction buffer และ 2x CTAB (2) สกัดดีเอ็นเอด้วยเครื่องสกัดดีเอ็นเออัตโนมัติชนิดเคลื่อนย้ายได้ (Maxwell) (3) สกัดดีเอ็นเอด้วยเครื่องสกัดดีเอ็นเออัตโนมัติ (Xiril) ใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SSRs จำนวน 32 เครื่องหมาย จากการวิเคราะห์ข้อมูลแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่างตรงตำแหน่งเครื่องหมายโมเลกุล จำนวน 23 เครื่องหมาย ด้วยการใช้ cluster analysis สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ออกจากข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่างตรงตำแหน่งเครื่องหมายโมเลกุล จำนวน 13 เครื่องหมาย ด้วยการใช้ cluster analysis สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ออกจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1

10 วราพงษ์ ชมาฤกษ์ และคณะ(2554) ได้ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยจากตลาดค้าปลีกและค้าส่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ สำนักงานฝ่ายการเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดทำโครงการ” การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิไทยในตลาดจีน : ความรุนแรง ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข” ซึ่งโครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยความรุนแรงของประเด็นปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิไทยในตลาดจีน และวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและแผนดำเนินการต่อผู้บริหารทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คณะผู้ดำเนินการประกอบด้วย 2 หน่วยงาน คือ สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีรับผิดชอบ ดำเนินการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของตัวอย่างข้าวหอมมะลิด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ 

11 ตัวอย่างจากเมืองกวางโจว และเซินเจิ้น จำนวน 107 ตัวอย่าง รวมกับตัวอย่างพันธุ์ข้าวจีนอีก 2 ตัวอย่างคือ พันธุ์ #923 และ พันธุ์ #9113  ตัวอย่างที่ระบุในภาชนะบรรจุชัดเจนว่าเป็น ข้าวหอมมะลิของไทย จำนวน 43 ตัวอย่าง เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอจำนวน 4 ตำแหน่งพบว่า มี 24 ตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานส่งออกข้าวหอมมะลิของกระทรวงพาณิชย์ คิดเป็นร้อยละ 55.8 ส่วนตัวอย่างที่ระบุบนภาชนะบรรจุว่าเป็นข้าวหอมไทย มีจำนวน 45 ตัวอย่าง แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอพบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานการส่งออกข้าวหอมมะลิของกระทรวงพาณิชย์ คิดเป็นร้อยละ 6.7  สำหรับตัวอย่างข้าวสารในตลาดค้าส่งทั้งหมด 20 ตัวอย่าง มีระบุว่าเป็นข้าวหอมมะลิ จำนวน 17 ตัวอย่าง ส่วนอีก 3 ตัวอย่างระบุเพียงว่าเป็นข้าวหอมไทยคือ P6, P9 และ P16 ในจำนวน 17 ตัวอย่างที่ระบุว่าเป็นข้าวหอมมะลิ มีเพียงตัวอย่าง P1 เท่านั้นที่ผ่านมาตรฐานการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 5.8 อีก 11 ตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 64.7 ส่วนอีก 5 ตัวอย่างมีรูปแบบของแถบดีเอ็นเอแตกต่างจากข้าวหอมมะลิ คิดเป็นร้อยละ 29.4 

12


ดาวน์โหลด ppt การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google