การปฐมพยาบาลภาวะฉุกเฉิน กรณิภา คงยืน ชนมน เจนจิรวัฒน์
การปฐมพยาบาลภาวะฉุกเฉิน เป็นลม ชัก หอบจากอารมณ์ Hyperventilation syndrome
เป็นลม ความหมาย หมดสติ เป็นอยู่ชั่วครู่ เกิดขึ้น อย่างกะทันหัน ในที่นี้หมายถึงอาการอยู่ๆก็หมดสติทรุดลงกับพื้น ซึ่งเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และเป็นอยู่ชั่วประเดี๋ยวเดียว ก็ฟื้นคืนสติได้เป็นปกติ มีสาเหตุได้ต่างๆ ถ้าพบในคนอายุต่ำกว่า ๓๐ ปี มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าพบในคนสูงอายุ อาจจะเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
สาเหตุ & ประเภทของการเป็นลม เลือดเลี้ยงสมองน้อยลงชั่วขณะ เป็นลมธรรมดา กิริยาบางอย่าง สาเหตูเป็นลม....เกิดจากเซลล์สมองมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลงชั่วขณะ มีสาเหตุได้หลายประการ ขึ้นกับชนิดของอาการเป็นลม ดังนี้ 1. เป็นลมธรรมดา เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของอาการเป็นลมทั้งหมด เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง มักเกิดกับคนหนุ่มสาว (แต่คนวัยอื่นก็พบได้) ผู้ป่วยจะเป็นคนที่สุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ขณะเกิดอาการเป็นลมผู้ป่วยมักจะอยู่ในท่ายืน อาจมีประวัติว่าอยู่ในที่ที่มีคนแออัด อากาศร้อนอบอ้าว หรืออยู่กลางแดด บางคนอาจมีประวัติว่าอดนอน หิวข้าว ร่างกายเหนื่อยล้า หรือยืนนานๆ บางคนอาจมีอารมณ์เครียด กลัว ตกใจ กลัวเจ็บ 2. เป็นลม เนื่องจากกิริยาบางอย่าง เช่น ขณะกลืนอาหาร ไอรุนแรง เบ่งถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ หลังกินอาหาร หันคอ โกนหนวด (ด้วยเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า) ใส่เสื้อคอคับ เป็นต้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง จะมีเหตุกระตุ้นชัดเจน 3. เป็นลมเนื่องจากความดันต่ำในท่ายืน ผู้ป่วยขณะอยู่ในท่านอนจะรู้สึกเป็นปกติดี แต่เมื่อลุกขึ้นยืนจะมีอาการหน้ามืดเป็นลมทันที เนื่องจากความดันเลือดจะลดต่ำลงเมื่ออยู่ในท่ายืน สมองจึงขาดเลือดไปเลี้ยง มักพบในคนสูงอายุ ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่กินยารักษาโรคความดันเลือดสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ที่มีภาวะตกเลือด 4. เป็นลมเนื่องจากภาวะของโรคบางอย่าง เช่นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันต่ำ ในท่ายืน จากโรคบางอย่างเช่นโรคหัวใจ
อาการ อาการเตือน อาการขณะเป็นลม 1. อาจมีอาการเตือนล่วงหน้า เช่น หนักศีรษะ ตัวโคลงเคลง มองเห็นภาพเป็นจุดดำหรือตามัวลง มีเสียงดังในหู คลื่นไส้ นานประมาณ 2-3 นาที 2. อาการขณะเป็นลม รู้สึกใจหวิว แขนขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่ไหว หน้าซีด เหงื่อออกเป็นเม็ดทั่วใบหน้าและลำตัว มือเท้าเย็น ชีพจรอาจเต้นช้า (ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที) และหมดสติอยู่ชั่วประเดี๋ยวเดียว อาจนานเพียงไม่กี่วินาที ถึง ๑-๒ นาที แล้วก็ฟื้นคืนสติได้เอง
การประเมิน แยกโรค ชอ็ก หมดสติ (COMA ) น้ำตาล ในเลือดต่ำ Hyperventilation การแยกโรค อาการเป็นลมหมดสติ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่ 1. หมดสติหรือ coma ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถฟื้นสติได้เอง มักมีสาเหตุที่ร้ายแรง จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน 2. ช็อก ผู้ป่วยจะมีอาการใจหวิวใจสั่น เหงื่อออกตามตัว มือเท้าเย็น กระสับกระส่ายลุกขึ้นนั่งไม่ไหว เนื่องจากจะมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม โดยที่ยังพอรู้สึกตัว ไม่หลับสนิทแบบเป็นลมหรือหมดสติ มักมีสาเหตุที่ร้ายแรง จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเช่นเดียวกัน 3. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบในผู้ที่อดข้าว หรือใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการใจหวิวใจสั่น รู้สึกหิวข้าว เหงื่อออก แล้วมีอาการเป็นลมหรือหมดสติ 4. กลุ่มอาการ หอบจากอารมณ์(hyperventilation syndrome) บางครั้งจะมีอาการหมดสติแน่นิ่งชั่วขณะ คล้ายอาการเป็นลมได้ ผู้ป่วยมักมีอาการคิดมาก กังวล นอนไม่หลับ หรือมีอาการหายใจหอบลึก มือจีบเกร็ง หลังมีเรื่องขัดใจ 5. โรคลมชัก ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติชั่วคราวร่วมกับอาการแขนขาชักเกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก ตาค้าง อาจมีอาการปัสสาวะราด แต่จะมีอาการปวดมึนศีรษะ ง่วงนอน มึนงง ต่อมาอีกหลายชั่วโมง ลมชัก
การปฐมพยาบาล นอนราบ ไม่หนุนหมอน ยกปลายเท้าสูงเล็กน้อย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก อากาศถ่ายเทดี
ชัก ความหมาย & สาเหตุ ความหมาย : การที่ร่างกายมีอาการสั่นเกร็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจกระตุก คือมีเกร็งสลับกับผ่อนคลายเป็นจังหวะ และไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุ : การชักเกิดจากการเกิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติขึ้นในสมอง และกระตุ้นให้เกิดการกระตุกผิดปกติของกล้ามเนื้อตามมา
ชัก อาการ อาการชักแบ่งออกได้โดยง่ายๆ เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อาการชักแบ่งออกได้โดยง่ายๆ เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. อาการชักจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองเฉพาะส่วน หรือเฉพาะตำแหน่งซึ่งอาการแสดงออกจะมีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสมองที่ทำงาน ผิดปกตินั้นมีหน้าที่ควบคุมอะไร อาทิเช่น ถ้าสมองส่วนที่มีการทำงานผิดปกติเฉพาะส่วนนั้นเกิดขึ้นบริเวณสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อแขน และใบหน้า 2. อาการชักชนิดที่เมื่อเริ่มชักสมองทำงานผิดปกติทั่วทั้งสมองสามารถแสดงออกได้ทั้งอาการชักเกร็งกระตุก หรืออาการแสดงที่ไม่ใช่เป็นอาการชักเกร็งกระตุกก็ได้ อาจจะมีได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น ตาเหม่อลอย, ไม่รู้สึกตัว, ผงกศีรษะหรือสัปหงก, สะดุ้งผวา หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจและไม่รู้สึกตัว
ชัก การปฐมพยาบาล 1.เป้าหมายหลักก็คือ การป้องกันการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นขณะชัก พยายามไม่ให้ผู้ป่วยล้มลง จัดให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้นในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ควรมีเฟอร์นิเจอร์ หรือวัตถุแหลมคม ที่ผู้ป่วยอาจไปกระทบกระแทกได้ขณะชัก 2. หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะไม่ให้ถูกกระแทก 3. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวมๆ โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ไม่ควรจะรัดมากเกินไป
ชัก ข้อควรระวัง ข้อควรระวัง ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ในผู้ป่วยชัก 1. ห้ามผูกตรึง (Restrain) ผู้ป่วย 2. ห้ามนำวัตถุใดๆรวมถึงนิ้วมือของผู้ช่วยเหลือใส่ในปากของผู้ป่วยระหว่างฟันบนและล่าง เนื่องจากไม่ได้ช่วยเหลืออะไรซ้ำร้ายยังสามารถเกิดอันตรายจากวัตถุที่ทำให้เกิดแผลในปากผู้ป่วย และนิ้วของผู้ช่วยเหลือขาดได้ 3. อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะกำลังชักเกร็ง ยกเว้นกรณีชักอยู่ในบริเวณที่ไม่ปลอดภัย 4. ไม่ต้องพยายามทำให้ผู้ป่วยหยุดชัก เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้ตัวและห้ามตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับยาฉีดเข้าเส้นเลือดเท่านั้น 5. อย่าให้ผู้ป่วยรับประทานอะไรทางปากจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชักและตื่นดีแล้ว (อย่าให้กินอะไรจะดีกว่าเนื่องจากเสี่ยงต่อการชักซ้ำและเกิดการสำลักอาหารหรือน้ำลงปอดได้)
ชัก การปฐมพยาบาล 1. หลังจากนั้น จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าพัก (Recovery position) โดยนอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น และป้องกันการสำลักอาหารลงปอด (aspiration) โดยเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงที่จะอาเจียน 2. อยู่กับผู้ป่วยคนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชัก หรือจนกว่าจะมีบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเหลือ โดยอาจช่วยจับชีพจร และดูการหายใจไปด้วย
หอบจากอารมณ์ คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ
หอบจากอารมณ์ การปฐมพยาบาล