งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
โดย นางสาวสร้อยสิริ บรรณวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย วิสัยทัศน์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นองค์กรหลักของประเทศในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองปลอดภัย

3 สรุปความเป็นมา แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ เห็นชอบเค้าโครงร่างแผนฯ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ เห็นชอบร่างแผนฯ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช) เห็นชอบแผนฯ ครม.อนุมัติ แผน ปภ.ชาติ 2558 31 มี.ค.58 9 ก.พ.58 18 พ.ย.57 5 มิ.ย.56 ปัจจุบัน

4 แนวคิดหลัก - แนวคิดการวางแผนด้วยสถานการณ์ ( Scenario Planning )
- เป็นกรอบการปฏิบัติงาน (Framework ) - เปลี่ยนจาก Disaster Management เป็น Disaster Risk Management - รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน (Resilience)

5 วัตถุประสงค์ของแผน 1. เป็น กรอบการปฏิบัติงาน ของทุกภาคส่วนในการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย 2. ให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการดำเนินการ ลดความเสี่ยง จากสาธารณภัย ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม 3. การจัดการสาธารณภัยของประเทศ เป็นเอกภาพมี มาตรฐาน เดียวกัน และมีขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นสากล 4. ส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการจัดการความ เสี่ยงจากสาธารณภัย

6 สาระสำคัญแผน ปภ.ชาติ พ.ศ. 2558
มุ่งเน้นเอกภาพการจัดการสาธารณภัย บูรณาการทำงานทุกหน่วยงาน เน้นกลยุทธ์การทำงานเชิงรุก แนวคิดการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย หลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย นำไปสู่การจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับหลัก ( แนวคิด – รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน )

7 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘
แผน ปภ.58 บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บทที่ 6 บทที่ 7 บทที่ 8 ภาคผนวก

8 บทที่ ๑ สถานการณ์และแนวโน้มสาธารณภัย
1.1 สถานการณ์สาธารณภัยโลก 1.2 สถานการณ์สาธารณภัยประเทศไทย 1.3 ปฏิทินสาธารณภัยในประเทศไทย 1.4 บทเรียนการจัดการสาธารณภัยที่ผ่านมา 1.5 บทสรุป

9 บทสรุป แนวโน้มสถานการณ์สาธารณภัยรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
ความท้าทายต่อการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง กระบวนการ องค์ความรู้ พัฒนาระบบป้องกัน การเตรียมความพร้อม การสร้างภูมิคุ้มกัน รู้รับ ปรับตัว โดยอาศัยความรู้ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ นโยบายของชาติให้ความสำคัญอย่างยิ่ง สอดคล้องนโยบายระดับโลก “การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ”( Disaster Risk Management ) จัดการเชิงรุกสู่ยั่งยืน (Resilience) มีสภาพดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ( Build Back Better and Safer )

10 บทที่ ๒ นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการสาธารณภัย
บทที่ ๒ นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการสาธารณภัย เป้าหมายของแผน ปภ.ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ 1. ระบบการจัดการสาธารณภัยมีความพร้อมรับสถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว พื้นที่ประสบภัยได้รับการฟื้นฟูบูรณะอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 2. สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกันในการจัดการสาธารณภัย 3. ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัย พัฒนาศักยภาพสังคมและท้องถิ่น เข้าสู่ “การรู้รับ – ปรับตัว – ฟื้นเร็วทั่ว – อย่างยั่งยืน” (Resilience)

11 นโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
2.1.1 การพัฒนาและส่งเสริมการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ด้วยการ ป้องกันการลดผลกระทบ และการเตรียมความพร้อมให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้เป็นชุมชนปลอดภัย ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการ พัฒนาป้องกัน เพื่อให้เกิดการรู้รับและปรับตัวต่อผลกระทบจากสาธารณภัยสู่การ จัดการอย่างยั่งยืน การบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพการ จัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล พร้อมทั้ง การบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและ ทันเหตุการณ์

12 นโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
2.1.3 การพัฒนาระบบการฟื้นฟูให้สามารถสนองต่อความต้องการของ ผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พื้นที่ประสบภัยได้รับการซ่อมสร้าง และฟื้นสภาพให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วหรือดีกว่าเดิม การพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานความร่วมมือระหว่างประเทศในด้าน การจัดการสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ

13 ยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการ จัดการสาธารณภัย

14 หลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
บทที่ ๓ หลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

15 วงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ฟื้นสภาพ และการซ่อมสร้าง บรรเทาทุกข์ Relief Build Back Better and Safer

16 กลไกการจัดการความเสี่ยง
1. ระดับนโยบาย - คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) - คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ( กปอ.) 2. ระดับปฏิบัติ 2.1 กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) 2.2 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) 2.3 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ.) 2.4 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ( กอปภ.กทม.) 2.5 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ (กอปภ.อ.) 2.6 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาล (กอปภ.ทน./ทม./ทต.) 2.7 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบล (กอปภ.อบต.) 2.8 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมืองพัทยา (กอปภ.เมืองพัทยา)

17 ระดับการจัดการสาธารณภัย
ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย 1 สาธารณภัยขนาดเล็ก ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น และ/หรือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ควบคุม และสั่งการ 2 สาธารณภัยขนาดกลาง ผู้อำนวยการจังหวัด หรือผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 4 สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ

18 การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
บทที่ ๔ การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

19 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยง จากสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยง จากสาธารณภัย

20 กลยุทธ์ที่ 1 สร้างระบบการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีมาตรฐาน
ประเมินภัย ลดความล่อแหลม ลดความเปราะบาง เพิ่มศักยภาพ

21 กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
2.1 การป้องกัน และลดผลกระทบ 2.1 การป้องกัน และลดผลกระทบ ใช้โครงสร้าง ไม่ใช้โครงสร้าง 2.2 การเตรียมความพร้อม บุคคล ภาคประชาชน และภาครัฐ เครื่องมือ อุปกรณ์ งบประมาณ

22 การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รูปแบบการอภิปราย รูปแบบการปฏิบัติ ประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop ฝึกปฏิบัติ Drill บนโต๊ะ Tabletop ฝึกเฉพาะหน้าที่ Functional ให้ กอปภ.ช.ทุกระดับจัดการฝึกฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ฝึกเต็มรูปแบบ Full Scale

23 กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
● การเตรียมการอพยพ ● การเตรียมการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ● การจัดตั้งองค์กรการเรียนรู้สาธารณภัย ● การพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ ● การจัดตั้งคลังสำรองทรัพยากร

24 2.3 ระบบการเตือนภัย ● กระบวนการแจ้งเตือนภัย ● การพัฒนาระบบเตือนภัย
2.3 ระบบการเตือนภัย ● ระดับของระบบการเตือนภัย ● กระบวนการแจ้งเตือนภัย ● การพัฒนาระบบเตือนภัย

25 กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสร้างแนว
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสร้างแนว ปฏิบัติในการลดความเสี่ยง ● ทุกภาคส่วนร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมการลดความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพสู่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ● รัฐต้องกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนการบูรณาการลดความเสี่ยง จากสาธารณภัยให้ไปสู่สังคม/ชุมชนทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม

26 การจัดการในภาวะฉุกเฉิน
บทที่ ๕ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน

27 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการในภาวะฉุกเฉิน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการในภาวะฉุกเฉิน

28 แนวคิดการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
มาตรฐาน การจัดการ เอกภาพ โครงสร้างองค์กร ยืดหยุ่น

29 องค์กรปฏิบัติในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
กองบัญชาการ ปภ.แห่งชาติ กอปภ.กลาง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด / กทม. (ระดับ 1 – 2) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด / กทม. (ระดับ 3 – 4) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ กอปภ.ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ ทน. ทม. ทต. อบต. พัทยา

30 กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ/ศูนย์บัญชาการณ์เหตุการณ์
ผู้บัญชาการ/ผู้อำนวยการ ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติ ส่วนปฏิบัตการ ส่วนอำนวยการ ส่วนสนับสนุน

31 แนวทางปฏิบัติในการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย
ระดับ การจัดการ ผู้ออกประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย 1 สาธารณภัยขนาดเล็ก ผู้อำนวยการจังหวัด / ผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร 2 สาธารณภัยขนาดกลาง 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 4 สาธารณภัยขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

32 การยกระดับการจัดการสาธารณภัย
พื้นที่ จำนวนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ประชากร จำนวนและลักษณะประชากรในพื้นที่ ความซับซ้อน ความสามารถ ความยากง่าย สถานการณ์แทรกซ้อน เงื่อนไขทางเทคนิคของสถานการณ์ ศักยภาพทรัพยากร ความสามารถในการปฏิบัติงาน กำลังคน เครื่องมือ อุปกรณ์ งบประมาณ ดุลยพินิจ การประเมินสถานการณ์

33 ผู้บัญชาการ/ผู้อำนวยการ
ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม ศูนย์ประสานการปฏิบัติ ส่วนปฏิบัติการ -สปฉ.๑ คมนาคม -สปฉ.๔ ผจญเพลิง -สปฉ.๗ สนับสนุนทรัพยากรทางทหาร -สปฉ.๘ การแพทย์และสาธารณสุข -สปฉ.๙ ค้นหาและกู้ภัย -สปฉ.๑๐ สารเคมี วัตถุอันตราย -สปฉ.๑๓ รักษาความสงบเรียบร้อย ส่วนอำนวยการ -สปฉ.๕ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน -สปฉ.๑๕ ต่างประเทศ กฎหมาย ส่วนสนับสนุน - สปฉ.๒ เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -สปฉ.๓ สาธารณูปโภค -สปฉ.๖ สวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ -สปฉ.๑๑ เกษตร -สปฉ.๑๒ พลังงาน -สปฉ.๑๔ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ศึกษาและวัฒนธรรม -สปฉ.๑๗ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -สปฉ.๑๘ งบประมาณและการบริจาค

34 บทที่ ๖ การฟื้นฟู

35 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การฟื้นฟู สร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การฟื้นฟู ฟื้นฟู สร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ฟื้นฟู

36 แนวคิดการฟื้นฟู หลักการฟื้นฟู Build Back Better and Safer
ผู้ประสบภัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ประสบภัยมี ส่วนร่วมตัดสินใจ พิจารณา ความเสี่ยงในการฟื้นฟูและสร้างใหม่ Build Back Better and Safer

37 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู (Recovery) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย การฟื้นฟูสภาพจิตใจ ด้านสุขภาพ การช่วยเหลือด้านข้อมูล ข่าวสาร การโยกย้าย /ตั้งถิ่นฐาน การช่วยเหลือด้านการเสริมศักยภาพประชาชน/ชุมชน ด้านสังคม การกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการเงิน การคลังที่เหมาะสม การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ หรือเงินทุนด้านต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

38 ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย
บทที่ ๗ ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย

39 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

40 แนวคิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การประสานงานด้านมนุษยธรรมของประเทศมีเอกภาพ การปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมของประเทศมีมาตรฐาน การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศ อยู่บนพื้นฐานหลักสากล การนำประเทศไทยสู่แนวหน้าในการจัดการสาธารณภัย

41 กลยุทธ์การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มี เอกภาพ กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสาธารณภัยของประเทศ กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมบทบาทความเป็นประเทศแกนนำด้านการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย

42 การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
บทที่ ๘ การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ

43 การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้แนวทาง
1. การเสริมสร้างและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของแผน ปภ.ชาติ ไปสู่การปฏิบัติของทุกภาคส่วน 2. การบูรณาการประสานการปฏิบัติแผน ปภ.ชาติกับแผนเพื่อการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยอื่นๆ 3. ผลักดันให้มีงบประมาณเชิงบูรณาการด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ของทุกหน่วยงาน 4. กำหนดบทบาทหน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายทุกระดับ ในการขับเคลื่อนแผนไปสู่ การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ 5. การติดตามและประเมินผล 6. การวิจัยและพัฒนาแผน ปภ.ชาติ

44 บทที่ ๑ สถานการณ์และแนวโน้มสาธารณภัยในอนาคต
สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ ความสำคัญของสถานการณ์สาธารณภัย โลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความ ร่วมมือกับต่างประเทศ ภายใต้กรอบการ ดำเนินงานต่างๆ เช่น กรอบการดำเนินงาน เซนได กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ จึงได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ และนำแนวคิด “การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย” (Diaster Risk Reduction) มาใช้จัดการ สาธารณภัย เชิงรุกสู่ยั่งยืน (Resilience) แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ สะท้อนบทเรียนการจัดการสาธารณภัยของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขในการจัดทำแผนต่อไป ความสำคัญของการนำ “หลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย” มาใช้ในการจัดการสาธารณภัย

45 บทที่ ๒ นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
บทที่ ๒ นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ เป้าหมายการจัดการสาธารณภัย เน้นการสร้าง องค์ความรู้ ความตระหนัก วัฒนธรรมความ ปลอดภัย พัฒนาศักยภาพสังคม ท้องถิ่น เพื่อ เข้าสู่ “การรู้รับ-ปรับตัว-ฟื้นเร็วทั่ว-อย่าง ยั่งยืน” นโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ ๔ ด้าน ได้แก่ ส่งเสริมการลดความเสี่ยง การบูรณาการความร่วมมือ พัฒนาระบบฟื้นฟู และส่งเสริมมาตรฐานความร่วมมือระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์ ๔ ด้าน ได้แก่ การพัฒนาและลดความ เสี่ยง การบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน การพัฒนาระบบการฟื้นฟู และการพัฒนาความ ร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสาธารณภัย การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉินได้เพิ่มเติมเรื่องการสร้างระบบและแนวปฏิบัติในการบรรเทาทุกข์ การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟู เน้นการประเมินความต้องการภายหลังเหตุการณ์สาธารณภัย และการฟื้นฟูดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer) เพิ่มยุทธศาสตร์การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสาธารณภัย

46 บทที่ ๓ หลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ หลักการและแนวคิดการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั่วโลก ยอมรับว่าสาธารณภัยเป็นเรื่องที่จัดการได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดภัยขึ้นก่อน กลไกในการจัดการโครงสร้างองค์กร ตั้งแต่ ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติ เพื่อแสดง บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ให้ความสำคัญกับแนวคิดการจัดการสาธารณภัยที่จะดำเนินการก่อนภัยจะเกิดขึ้น มีการรวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัยไว้

47 บทที่ ๔ การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ แนวคิดและวิธีปฏิบัติในการลดโอกาสที่จะ ได้รับผลกระทบทางลบจากสาธารณภัย เพื่อดำเนินนโยบาย มาตรการหรือกิจกรรม กลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติให้แก่หน่วยงาน ทุกภาคส่วนในการวางแผนและปฏิบัติการ ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้นำเสนอกลยุทธ์การสร้างระบบการประเมินความเสี่ยงจาก สาธารณภัย และนำผลลัพธ์มาใช้เป็นเครื่องมือจัดการสาธารณภัยนั้นๆ นำยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจาก สาธารณภัยมาใช้เป็นหลักการในการลดความเสี่ยงและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนนำหลักการดังกล่าวผนวกในนโยบาย

48 บทที่ ๕ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน
สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ การจัดการในภาวะฉุกเฉินให้ได้มาตรฐาน โดยการจัดระบบ การจัดการทรัพยากร เพื่อ เผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งสามารถ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้ ๓ กลยุทธ์ ได้แก่ มาตรฐาน เอกภาพ และความยืดหยุ่น แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ กำหนดให้มีส่วนงานสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ. :(EmergencySupport Function : ESF) ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ

49 บทที่ ๖ การฟื้นฟู สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗
ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ เป็นการดำเนินงานภายหลังจากที่ภาวะ ฉุกเฉินบรรเทาหรือได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค การ ดำรงชีวิต และวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนที่ ประสบสาธารณภัยให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer) แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ ได้นำปัจจัยต่าง ๆ ในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย มาช่วยในการฟื้นฟู โดยมีกลยุทธ์การพัฒนาระบบการประเมินความต้องการภายหลังเกิดเหตุการณ์สาธารณภัย ตลอดจนการฟื้นฟูที่ดีกว่าเดิม (ซึ่งแผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ จะเน้นการฟื้นฟู ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว)

50 บทที่ ๗ ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสาธารณภัย
บทที่ ๗ ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสาธารณภัย สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ เนื่องจากสาธารณภัยในปัจจุบันมีความ ไร้พรมแดนมากขึ้น แต่ละประเทศรวมถึง ประเทศไทยจะต้องให้การส่งเสริมและ สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการจัดการ ความเสี่ยงให้แก่ประเทศที่ประสบภัย ในแต่ละครั้งได้ แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขึ้นใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย ทั้งในด้านการประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสาธารณภัย และส่งเสริมความเป็นประเทศแกนนำด้านการจัดการสาธารณภัย

51 บทที่ ๘ การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
สาระสำคัญ ข้อแตกต่างแผน ปี๕๘ กับ แผนเดิม ปี ๕๓-๕๗ เป็นกระบวนการนำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างเป็น รูปธรรม กำหนดการติดตามประเมินผล โดยยึด หลักการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา กำหนดให้มีการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์การ ความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมทั้ง ศึกษาบทเรียนสาธารณภัยที่ผ่านมา (Lesson Learn) แผน ปภ. ปี ๕๘ นี้ มีการกำหนด แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆไว้ชัดเจน รวมทั้งนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อน ขั้นตอนต่างๆ ของการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

52 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย บทสรุป การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยสามารถเริ่มได้ด้วยตนเอง ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ เนื่องจากสาธารณภัยเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดสังคมที่มีความพร้อมรับ และปรับตัว เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากสาธารณภัย

53 “ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย
ฟื้นฟูและกู้ภัย คือหัวใจกรม ปภ.” สายด่วนนิรภัย 1784 ระบบแจ้งเหตุด่วนสาธารณภัย


ดาวน์โหลด ppt แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google